×

เมื่อถูกเลิกจ้าง แรงงานจะได้รับค่าชดเชยเท่าไร?

04.07.2022
  • LOADING...
แรงงาน

สิทธิของแรงงานไม่ได้หยุดอยู่เพียงการจ้างงานที่เป็นธรรม แต่รวมไปถึงเมื่อพวกเขาถูกเลิกจ้างแล้วจะได้รับค่าชดเชยและการปฏิบัติอย่างยุติธรรมหรือไม่

 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ได้มีการระบุค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้างไว้อย่างชัดเจน ทั้งในกรณีที่ลูกจ้างไม่มีความผิด มีการปรับปรุงหน่วยงาน ทำให้ต้องลดจำนวนแรงงาน และในกรณีย้ายสถานประกอบการ โดยอย่างน้อยที่สุดพวกเขาต้องได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน ไม่รวมค่าชดเชยพิเศษกรณีถูกเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด 

 

THE STANDARD สรุปค่าชดเชยที่แรงงานต้องได้เมื่อถูกเลิกจ้าง ตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ทราบถึงสิทธิที่แรงงานทุกคนพึงได้รับ

 

เลิกจ้างโดยไม่มีความผิด

จ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน

  • > 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี 

ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

  • > 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี 

ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน 

  • > 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี 

ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 

  • > 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี 

ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน 

  • 10 ปีขึ้นไป

ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน 

 

เลิกจ้างเพราะปรับปรุงหน่วยงานหรือเปลี่ยนรูปแบบ

 

  • ต้องแจ้งวัน-เหตุผล และชื่อคนที่จะถูกเลิกจ้าง ก่อนวันเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 60 วัน
  • ถ้าไม่แจ้ง ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีขึ้นไป ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วันต่อการทำงาน 1 ปี
  • ค่าชดเชยพิเศษ รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน

 

ย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้งที่อื่น ทำให้ลูกจ้างทำงานลำบากมากขึ้น

 

  • นายจ้างต้องแจ้งไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย 
  • ถ้าไม่แจ้งตามเวลาที่กำหนด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  • ถ้าลูกจ้างไม่สะดวกไปทำงาน สามารถยกเลิกสัญญาจ้าง โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยปกติ

 

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

 

  • ลูกจ้างลาออกเอง
  • ทุจริตต่อหน้าที่-กระทำความผิดอาญา
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 
  • ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่เป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว (กรณีร้ายแรง ไม่จำเป็นต้องตักเตือน) 
  • ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • ได้รับโทษจำคุก 
  • กรณีการจ้างที่กำหนดเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนด

 

 

ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร

อ้างอิง: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

X
Close Advertising