บิ๊กเทคระดับโลกเริ่มถอนการลงทุนออกจาก ‘จีน’ เพื่อลดความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ปีนี้ภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนามรับอานิสงส์ไปเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็น Apple Inc. ที่เริ่มย้ายฐานการผลิต Apple Watch, MacBook, AirPods และซัพพลายเออร์รายใหญ่ Luxshare Precision Industry, Foxconn, Samsung แต่เมื่อเวียดนามเจอปัญหาความมั่นคงทางพลังงานที่ยังแก้ไม่ตกอาจต้องคิดใหม่
แม้ว่าเวียดนามจะให้คำมั่นสัญญาว่าจะเพิ่มความมั่นใจโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงด้านพลังงานให้มากขึ้น เนื่องจากการแข่งขันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) เริ่มร้อนแรงอีกครั้งทั้งโลกและในภูมิภาค
ส่งผลให้เวียดนามต้องรับแรงกดดันจากประเทศคู่แข่งอย่างมาเลเซียและอินเดียมากขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีว่าฮานอย เวียดนาม เป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนชิป เนื่องด้วยรัฐบาลส่งเสริมมาตรการ ทั้งการยกเว้นภาษี ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การผลิตไฟฟ้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เกิดอะไรขึ้นกับเวียดนาม? เมื่อ ‘ซัพพลายเชนแห่งเอเชีย’ ซึ่งเป็นฐานผลิตระดับโลกให้กับ Foxconn และ Samsung เกิดปัญหาไฟดับบ่อยครั้ง
- ก๊าซธรรมชาติ อาจเป็นผู้คุมเกม Data Center และ AI ไทยมี ไฟฟ้าสีเขียว พร้อมรองรับแค่ไหน?
- ส่องศักยภาพเศรษฐกิจไทยและเพื่อนบ้าน ใครมีแต้มต่อด้านใดบ้าง?
ล่าสุด เจิ่น ดุย ดง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน ออกมาระบุว่า เขารู้ดีว่าเศรษฐกิจประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่วันนี้อาจต้องเร่งเครื่อง เนื่องจากการแข่งขันอุตสาหกรรมชิปเริ่มร้อนแรงมากขึ้น
“ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้ากลายเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของธุรกิจ และเรารู้ดีว่าโอกาสจะไม่รอประเทศใดทั้งนั้น”
เวียดนามมองมาเลเซีย-อินเดียคู่แข่งสำคัญ
ขณะนี้ต้องจับตาคู่แข่งอย่างอินเดียที่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างโรงงานผลิตชิปแห่งแรก ในขณะที่มาเลเซียกำลังดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศไปพร้อมกับกระตุ้นการลงทุนของนักลงทุนในประเทศ
นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานในยุคโควิด ทำให้บริษัทต่างๆ กระจายการผลิตออกจากจีน
จึงเป็นจังหวะและโอกาสสำคัญของการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมชิปของหลายๆ ประเทศ ที่นำมาพร้อมการสร้างการแข่งขันที่รุนแรง ความท้าทายการลงทุน และความพร้อมด้านแรงงาน
เจิ่นยอมรับว่า “ปัญหาพลังงานของเวียดนามคือ เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังน้ำลดน้อยลง มักสะเทือนความมั่นคงในการใช้ บ่อยครั้งจึงเกิดไฟฟ้าตก ติดๆ ดับๆ ซึ่งทำให้โรงงานบริษัทระดับโลกอย่าง Samsung ต้องหยุดชะงักในปี 2023” เจิ่นกล่าว
เนื่องจากการผลิตชิปเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ความแม่นยำสูง ซึ่งมีความอ่อนไหวอย่างยิ่งต่อการหยุดชะงักของความไม่เสถียรด้านพลังงาน
เจิ่นกล่าวอีกว่า ทางออกของเวียดนาม ณ เวลานี้อยู่ระหว่างนำโครงการพลังงานมาหารือ ไม่ว่าจะเป็นโครงการขนาด 500 เมกะวัตต์ที่วางไว้ในปลายปีนี้ เพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับเวียดนามตอนเหนือที่เป็นพื้นที่เน้นการลงทุนด้านชิป
จำเป็นต้องนำเข้าถ่านหิน
โดยจะเพิ่มการนำเข้าถ่านหิน ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นความท้าทายเป้าหมายของพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่อาจสร้างปัญหาให้กับบริษัทต่างๆ ที่อาจกดดันจากเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน
อย่างไรก็ตาม เวียดนามเป็นที่ตั้งของบริษัทชิปหลายสิบแห่ง รวมถึงโรงงานทดสอบและประกอบที่ใหญ่ที่สุดของ Intel
จากความพยายามในการก้าวข้ามการผลิตขั้นพื้นฐานในช่วงสองปีที่ผ่านมา ถึงวันนี้บริษัทได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการสร้างศูนย์วิจัยชิป 4 แห่ง ในกรุงฮานอย 2 แห่ง และเมืองโฮจิมินห์และดานังที่ละ 1 แห่ง ซึ่งจะร่วมมือกับบริษัทเอกชน
นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย 36 แห่ง เพื่อฝึกอบรมวิศวกรอย่างน้อย 50,000 คน
โดยบริษัทชิปจากไต้หวันและสหรัฐฯ ให้ความสำคัญอย่างมากต่อแผนนโยบายดังกล่าว ซึ่งในเดือนเมษายนจะมีการประชุมกับผู้บริหารและนักวิชาการเพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้
ที่สำคัญ เร็วๆ นี้เวียดนามจะพิจารณาภาษีและมาตรการดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่เสนอให้กับนักลงทุนด้านเทคโนโลยีขั้นสูงทั้งหมด
“เราจะปรับปรุงประเทศของเรา เพราะงบประมาณของรัฐที่ทุ่มไปจะมีความสำคัญอย่างมาก” เจิ่นกล่าวทิ้งท้าย
อ้างอิง: