×

‘เศรษฐกิจสหรัฐฯ’ อาจไม่ถดถอยอย่างน่ากังวลตามคาด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานว่างและอัตราการว่างงาน

01.10.2022
  • LOADING...
เศรษฐกิจสหรัฐฯ

แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับการเกิดภาวะเศรษฐกิจกถดถอยอย่างรุนแรงในสหรัฐฯ แต่ล่าสุดทั้ง IMF และ Goldman Sachs ซึ่งเต็มไปด้วยนักเศรษฐศาสตร์แถวหน้า ต่างออกมาแสดงความคิดเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจจะไม่รุนแรงอย่างที่กังวล โดยปัจจัยที่ทำให้มุมมองเริ่มเปลี่ยนไปก็คือตำแหน่งงานว่างและอัตราการว่างงาน 

 

เมื่อไม่นานมานี้ การปราบเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงให้อยู่หมัดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้เริ่มดำเนินการผ่านนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น ด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วเพื่อลดภาวะเงินเฟ้อ และคาดว่าจะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องต่อไป หลังจากสหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรือตัวเลขเงินเฟ้อ ในเดือนสิงหาคมขยายตัว 8.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.1% 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


คำถามคือการต่อสู้กับเงินเฟ้อในครั้งนี้จะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะสร้างสมดุลของอุปสงค์และอุปทานในตลาดแรงงานได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงโดยไม่ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวหรือเผชิญกับภาวะถดถอย นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะไม่ทำให้อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นมากนั่นเอง 

 

อย่างไรก็ตาม โอลิเวียร์ แบลนชาร์ด อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ไม่เห็นโอกาสที่อุปสงค์ในตลาดแรงงานจะลดลง โดยปราศจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงาน โดยระบุว่าจากข้อมูลทางสถิติในอดีต พบว่าตำแหน่งงานว่างที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญนั้น ผลที่ตามมาคืออัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเห็นได้ชัดในช่วงเศรษฐกิจซบเซา หลายบริษัทมักจะชะลอการจ้างงานออกไปก่อน จนถึงประกาศเลิกจ้างพนักงาน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายของบริษัทที่มีจำนวนมากลงนั่นเอง

 

สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปัจจุบัน การผลักดันให้อัตราการว่างงานกลับเข้าสู่อัตราการว่างงานตามธรรมชาติ (Natural Rate of Unemployment) ที่ระดับ 4.5-5% อาจไม่เพียงพอที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดจากการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ประกอบกับการปรับขึ้นราคาสินค้าและการปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งจะวนลูปจนเกิดเป็นวงจรเงินเฟ้อที่ยากจะแก้ไข (Wage-Price Spiral) 

 

ด้วยเหตุนี้ แบลนชาร์ดจึงเห็นความเป็นไปได้บางอย่างที่อัตราการว่างงานจะต้องเพิ่มขึ้นสูงถึง 6% หรือมากกว่า ซึ่งจะเป็นชนวนเหตุสำคัญของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรง

 

ในทางกลับกัน ทางด้าน แจน แฮตซิอุส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs มองว่าตลาดแรงงานสามารถปรับสมดุลได้โดยไม่ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเชื่อว่าสถานการณ์ตลาดแรงงานได้เปลี่ยนแปลงไปหลังการระบาด ส่งผลให้ตลาดแรงงานร้อนแรงในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ ความร้อนแรงของตลาดแรงงานนั้นได้คลี่คลายในช่วงหลังการระบาด ทำให้ตำแหน่งงานว่างลดลงโดยไม่ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นนั่นเอง

 

นอกจากนี้ แฮตซิอุสยังเชื่อว่าในที่สุดอัตราเงินเฟ้อจะสามารถควบคุมได้ โดยคาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มสู่ระดับสูงสุดที่ประมาณ 4% ณ สิ้นปี 2024 และชี้ให้เห็นถึงปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่คลี่คลาย ประกอบกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงเมื่อเร็วๆ นี้ กำลังส่งแรงกระตุ้นในการขจัดเงินเฟ้อที่มาจากราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงในวงกว้างมากขึ้นนั่นเอง 

 

โดยรวมแล้ว หากพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อ ตลาดแรงงาน และแนวโน้มการเติบโตของสหรัฐฯ ล่าสุด ทำให้แฮตซิอุสมั่นใจมากขึ้นว่า Fed จะสามารถนำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงจอดได้อย่างนุ่มนวล (Soft Landing) แม้ว่า Fed จะมุ่งมั่นต่อสู้กับเงินเฟ้อมากกว่าสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้คาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นมากขึ้น และอัตรา​​ดอกเบี้ยนโยบายในปี 2022 ที่สูงขึ้นที่ 4-4.25% 

 

อย่างไรก็ตาม เขาเห็นโอกาสที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ด้วยความน่าจะเป็น 30% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า และประมาณ 50% ในอีก 24 เดือนข้างหน้า โดยคาดว่าภาวะถดถอยดังกล่าวน่าจะไม่รุนแรง

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising