×

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงหนักสุดในรอบ 3 วัน นักลงทุนแห่เทขายหุ้นเทค เซ่นพิษ Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย

18.08.2023
  • LOADING...
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

บรรยากาศตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเมื่อวันพฤหัสบดี (17 สิงหาคม) ปรับตัวร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เนื่องจากการเทขายในตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกทวีความรุนแรงขึ้น บวกกับบรรดานักลงทุนที่ลดความกระตือรือร้นของบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการเติบโตของตลาด 

 

โดยดัชนี Nasdaq 100 ร่วงลง 3.2% ถือเป็นการปรับลดลงที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 3 วันนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ สาเหตุหลักมาจากการที่นักลงทุนกำลังสูญเสียความเชื่อมั่นว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

Tom Garretson นักวางกลยุทธ์พอร์ตโฟลิโออาวุโสของ RBC Wealth Management กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ตลาดหุ้นเคลื่อนไหวปรับตัวลดลงอย่างเงียบๆ เมื่อเทียบกับยุคอื่นๆ ที่ Fed ดำเนินนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมถึงหุ้นในตลาดวงกว้าง กำลังรู้สึกถึงน้ำหนักของผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกัน นักลงทุนในตลาดได้เห็นหุ้นเทคโนโลยีลดลงประมาณ 7-15%

 

ขณะเดียวกัน ข้อมูลก่อนเปิดตลาดนิวยอร์ก แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งเมื่อบวกกับรายงานการประชุมของ Fed ที่เปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งส่งสัญญาณความเป็นไปได้ที่ Fed ยังคงให้ความสำคัญกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ทำให้นักลงทุนยังไม่สามารถคลายแนวป้องกันของตนเองลงได้ 

 

Mike Loewengart จาก Morgan Stanley Global Investment Office กล่าวว่า ราคาบ้าน ยอดค้าปลีก และอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในขณะนี้ ล้วนตอกย้ำภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ดังนั้นจึงยังไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง แม้ว่า Fed จะส่งสัญญาณระงับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้าก็ตาม 

 

นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดยังกังวลว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงนานกว่าที่คาดไว้ หลังรายงานการประชุมประจำวันที่ 25-26 กรกฎาคม ระบุว่า Fed มีความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% ซึ่งทำให้ Fed จำเป็นต้องใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินต่อไป

 

ขณะที่มาตรวัดความกลัวของวอลล์สตรีท CBOE Volatility Index หรือ VIX แตะ 18 เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ช่วงการซื้อขาย โดยดัชนี VIX ที่ไม่ถึงระดับที่สูงกว่า 30 ถือเป็นระดับที่สะท้อนสัญญาณของความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความล้มเหลวของภาคธนาคารในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา 

 

ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดยังถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังการเปิดเผยรายงานการประชุม Fed ซึ่งส่งสัญญาณว่า Fed จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี พุ่งทะลุ 4.3% แตะระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี

 

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นแตะ 4.33% ห่างจากระดับสูงสุดเพียงไม่กี่จุดที่เคยทำไว้ในปี 2022 ซึ่งการดีดตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดราคาของตราสารหนี้ทั่วโลก รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของสหรัฐฯ จะทำให้ผู้บริโภคมีเงินสำหรับการใช้จ่ายลดน้อยลง และบริษัทต่างๆ จะเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากการชำระหนี้ ทำให้บริษัทเหล่านี้ลดการลงทุน และลดการจ่ายเงินปันผลแก่นักลงทุน

 

ด้านอัตราผลตอบแทนทองคำในตลาดอังกฤษปรับตัวพุ่งสูงขึ้น หลังจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างดื้อดึง ขณะที่ข้อมูลค่าจ้างที่แข็งแกร่งได้กระตุ้นให้นักลงทุนวางเดิมพันว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเป็น 6% และรักษาระดับให้สูงต่อไปอีก ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 20 ปีของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นหลังจากการประมูลตราสารหนี้ ทำให้ความต้องการของนักลงทุนลดลง และจีนยังคงให้น้ำหนักกับการสร้างความเชื่อมั่นของบริษัทในภาคอสังหาริมทรัพย์ หลังมีรายงานว่าภาคอสังหาอาจเลวร้ายยิ่งกว่าที่รายงานอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็น

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X