×

อังกฤษประกาศยกเครื่อง ‘อุตสาหกรรมการเงิน’ ครั้งใหญ่ หวังกระตุ้นการเติบโต

10.12.2022
  • LOADING...

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (9 ธันวาคม) รัฐบาลของอังกฤษได้ประกาศแผนปฏิรูปการกำกับดูแลอุตสาหกรรมการเงิน ซึ่งเป็นเหมือนการยกเครื่องกฎหมายของยุโรปซึ่งกระทบต่อการเติบโต

 

การปรับกฎหมายทั้ง 30 ข้อที่ประกาศออกมาในครั้งนี้ รวมถึงการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องแยกหน่วยธุรกิจลูกค้ารายย่อยออกจากธุรกิจการลงทุน ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ครั้งแรกตั้งแต่วิกฤตการเงินเมื่อปี 2008 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


รัฐบาลยังได้ยืนยันอีกว่าจะทบทวนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นมาหลังปี 2008 เช่นกัน อย่างกฎเกณฑ์ที่ชื่อว่า The Senior Managers Regime ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2016 กำหนดว่าบุคคลขององค์กรที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกำกับ สามารถถูกลงโทษจากการตัดสินใจที่แย่ การกำหนดวัฒนธรรมองค์กร หรือการตัดสินใจใดๆ ที่เกิดขึ้น 

 

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ‘Edinburgh Reforms’ ซึ่งการปรับกฎเกณฑ์ในครั้งนี้ยังรวมถึงการทบทวนเกณฑ์เกี่ยวกับการทำธุรกรรมขายชอร์ต (Short-Selling) การเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น การจัดทำงบดุลของบริษัทประกัน และการตั้งกอง REIT 

 

เจเรมี ฮันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอังกฤษ กล่าวว่า เขาต้องการทำให้แน่ใจว่าอังกฤษจะเป็น ‘ศูนย์กลางทางการเงินที่เปิดกว้างมาก มีไดนามิก และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก’ 

 

“Edinburgh Reforms เป็นการต่อยอดจาก Brexit ซึ่งให้อิสระเราในการปรับกฎเกณฑ์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับชาวบริติชและธุรกิจของเรา” 

 

การปรับเกณฑ์ในครั้งนี้จะขยายผลการปฏิรูปให้ครอบคลุมกฎหมายของยุโรปบางส่วน ซึ่งกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ดิจิทัลเทคโนโลยี และ Life Sciences

 

ก่อนหน้านี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่าการที่สหราชอาณาจักรตัดสินใจออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการเงินของประเทศ โดยสำนักข่าว Reuters รายงานว่า อังกฤษต้องสูญเสียเงินหลายพันล้านยูโรในแต่ละวันเพื่อการซื้อขายหุ้นและตราสารอนุพันธ์ในตลาด หลังจากการตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป 

 

ขณะที่นักวิจัยของ London School of Economics กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า อุตสาหกรรมการเงินเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก Brexit 

 

ด้วยความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้การมองหาแนวทางในการกระตุ้นการเติบโตเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนสำหรับรัฐบาลอังกฤษ

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising