×

‘ตำมั่ว’ ตำนานร้านอาหารเลือดใหม่ที่ถนัดตำและยังถนัดทำธุรกิจร้านอาหาร ในวันที่ค้นพบส่วนผสมทางธุรกิจที่ลงตัวเพื่อพาองค์กรเข้าสู่ตลาดหุ้น [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
11.10.2019
  • LOADING...
Tummour

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • ปีนี้ตำมั่วครบรอบ 30 ปี ในธุรกิจอาหารอาหารอีสานสุดดุเดือด แต่ตำมั่วก็ยังขยายสาขาไม่หยุดจนตอนนี้มีกว่า 100 สาขา และเพื่อตอบแทนลูกค้าที่สนับสนุนมาตลอด จึงจัดแคมเปญใหญ่แจกรางวัลกว่า 1.2 ล้านบาท
  • ชวนคุยกับ เบส-ศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ ผู้ก่อตั้ง ‘ตำมั่ว’ ในวันที่จับมือเดินหน้ากับ บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจใหม่ พร้อมดันเซ็นกรุ๊ปให้เป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจอาหาร 

“การเป็นแบรนด์ใหญ่อาจไม่ใช่ประเด็นที่ทำให้เราทำธุรกิจได้ง่าย แต่การเป็นแบรนด์ที่ดีต่างหากที่จะทำให้คุณอยู่ในธุรกิจนี้ได้อย่างยั่งยืน” นี่คือแนวคิดการดำเนินธุรกิจของ เบส-ศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ ผู้ก่อตั้ง ‘ตำมั่ว’ และดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจใหม่ บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

 

ล่าสุดแบรนด์ตำมั่ว ร้านอาหารอีสานเลือดใหม่ที่ยืนยันความเป็นแบรนด์ที่ดีมานานกว่า 30 ปี กำลังจะมีแคมเปญ ‘ตำมั่วฉลอง 30 ปี แจกใหญ่ทุกแบรนด์ในเครือส่งท้ายปี’ รวมมูลค่ากว่า 1.2 ล้านบาท เพื่อคืนกำไรให้กับลูกค้าที่อยู่เคียงข้างแบรนด์ตลอด 30 ปี และตอกย้ำให้คนไทยภูมิใจในแบรนด์ไทยที่ขยายสาขาไปยังต่างประเทศได้ไม่แพ้ร้านอาหารจากต่างแดน

 

อะไรคือเบื้องหลังความสำเร็จของการทำธุรกิจร้านอาหารอีสานที่มีคู่แข่งทั้งรายเล็ก รายใหญ่ เยอะไม่ใช่เล่น และการเติบโตแบบก้าวกระโดด เมื่อศิรุวัฒน์นำแบรนด์ในเครือทั้งหมดเข้าร่วมหุ้นกับ บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) THE STANDARD จะพาคุณไปหาคำตอบผ่านบทสัมภาษณ์นี้

 

Tummour

 

ตำมั่ว ถนัดตำ และยังถนัดทำธุรกิจร้านอาหารอีสาน

ศิรุวัฒน์เล่าย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของแบรนด์ตำมั่ว อาหารอีสานขนานแท้ที่มีพื้นเพจากนครพนม ในยุคที่อาหารอีสานขึ้นห้างยังไม่ใช่สิ่งที่ใครๆ ทำกัน “เนื่องจากที่บ้านเป็นคนนครพนม เรามีสูตรอาหารที่ดีอยู่แล้ว ก่อนหน้านั้นคุณแม่มาเปิดร้านอาหารที่ปทุมธานี ตอนนั้นผมยังทำงานเอเจนซีโฆษณาในตำแหน่ง Creative Director เราสร้างแบรนด์ให้คนอื่นๆ จนเริ่มเข้าใจวิธีการ ก็เริ่มอยากสร้างธุรกิจของตัวเอง นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของตำมั่ว

 

“ผมรีแบรนด์ร้านของคุณแม่โดยใช้หลักการเดียวกับการสร้างแบรนด์ให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างตัวตนให้แบรนด์ใหม่ เซตเมนู มาไล่ดูเลยว่าตอนแม่ทำร้าน เมนูใดบ้างที่ขายดี เมนูยอดนิยมมีตัวไหนบ้าง ได้มาเป็นเมนูส้มตำ 4 ตัวก็หยิบมาเป็นจุดขาย ใส่คาแรกเตอร์ให้กับตำมั่ว เมนูตำมั่วมีจริงๆ ที่อีสาน เขานำอาหารที่อยู่ในตู้เย็นมาผสมกัน ผมว่าคำมันน่ารักดี และผมเชื่อว่าคนพูดชื่อเมนูนี้จะต้องฉุกคิดและถามต่อว่า…เมนูอะไร

 

“ดีเอ็นเอของตำมั่วชัดเจนมาก เพราะดีเอ็นเอแบรนด์กับคาแรกเตอร์ของซีอีโอต้องใกล้เคียงกัน ผมจึงเขียนดีเอ็นเอของแบรนด์ให้เป็นคนอีสานที่ทันสมัย แต่ไม่ลืมรากเหง้า จึงเลือกที่จะให้ตำมั่วเป็นอาหารอีสานที่มีความเป็นรากเหง้าที่รสชาติ แต่คาแรกเตอร์อื่นๆ ทันสมัย สร้างแท็กไลน์ ‘อาหารรสจัด ถนัดเรื่องตำ’ ให้คนรู้จักเราง่ายขึ้น” 

 

Tummour

 

เมื่อดีเอ็นเอตรงกัน ความยิ่งใหญ่ของแบรนด์ธุรกิจไทยจึงเกิดขึ้น

อย่างที่ทราบกันดี ตอนนี้ตำมั่วดำเนินธุรกิจภายใต้เครือบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยิ่งทำให้แบรนด์เติบโตแบบก้าวกระโดด ศิรุวัฒน์เสริมว่าการตัดสินใจจับมือกับเครือใหญ่อย่างเซ็นกรุ๊ป เพราะต้องการผลักดันแบรนด์ที่เกิดจากคนไทยให้ดังไกลไปต่างแดนจนสร้างความภูมิใจให้กับคนไทย

 

“ที่เลือกเข้ามาถือหุ้นกับบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เพราะดีเอ็นเอแบรนด์เราเหมือนกัน ตอนที่ตัดสินใจเป็นช่วงที่ผมมีแพสชันว่าจะนำธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว ก็เป็นจังหวะที่ได้รู้จักกับเซ็นกรุ๊ป พอได้ลองคุย เห็นทิศทางการทำธุรกิจ และอายุแบรนด์ที่ใกล้ๆ กัน ผู้บริหารก็อายุไล่เลี่ยกัน เราจึงมองอะไรหลายๆ อย่างไปในทิศทางเดียวกัน พอมาคิดว่าเราจะเข้าตลาดหุ้นเองหรือจับมือใครแล้วเข้าตลาดหุ้นจะเป็นทางที่สวยงามที่สุด ซึ่งดีเอ็นเอของเซ็นกรุ๊ปแมตช์กัน เราต่างรักธุรกิจของเรา มันก็น่าจะเป็นมากกว่าเรื่องธุรกิจ นี่คือสิ่งที่คุยกันแล้วเราแฮปปี้ที่จะทำธุรกิจร่วมกัน”  

 

ส่วนผสมที่ลงตัวทำให้เกิดกลยุทธ์

“ถ้าผู้ใหญ่พูดกันจะบอกว่า 1+1 ต้องได้ 5 ด้วยความที่เซ็นกรุ๊ปเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีความพร้อมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง HR, Logistics, R&D หรือ Operation จะพาธุรกิจเราวิ่งได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันเดิมทีตำมั่วก็มีความแข็งแรงในเรื่องของอาหารไทยหรือการเข้าใจตลาดที่เป็นแมสมากกว่า ผมว่าส่วนผสมมันเอื้อกัน และถ้า SMEs อย่างผมจะกระโดดเข้าตลาดหุ้นคงต้องเตรียมการเยอะมาก แต่เซ็นกรุ๊ปพร้อมอยู่แล้ว ทีม Operation ของเขาแข็งแรง ทำให้เมื่อเราจับมือกันก็ยิ่งทำให้เราอยู่ในมาตรฐานที่เติบโตได้ง่ายและเร็วขึ้น ภาพรวมมันเหมือนเป็นจิ๊กซอว์ที่เราเข้ามาเสียบพอดี

 

“ตอนนี้ผมดูด้าน New Business มันคือเรื่องใหม่ เพราะเมื่อก่อนเซ็นกรุ๊ปเป็น Chain Restaurant คือเป็นธุรกิจร้านอาหารที่ขยายเยอะในห้าง พอผมเข้ามาดู New Business ผมเรียกตัวเองว่า Food Service มันคือการ verify ตัวเองให้เป็นการขายอาหาร ขายการส่งอาหารถึงบ้าน รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจอาหาร ทุกรูปแบบของการทำธุรกิจด้านอาหาร ร่วมถึงการสร้างแบรนด์ใหม่ๆ

 

“ความสำเร็จที่ชัดเจนคือเมื่อธุรกิจในเครือตำมั่วเข้ามาอยู่ภายใต้บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มันยิ่งช่วยซัพพอร์ตกัน ยกตัวอย่าง ก่อนหน้านี้ตำมั่วมี 100 กว่าสาขา ตอนนี้พอรวมทั้งหมด 12 แบรนด์ในเครือ เรามีมากกว่า 300 สาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในฐานะผู้บริหาร New Business ความง่ายก็คือผมสามารถทำให้ผู้บริโภคมีอาหารกินได้ 7 วันโดยไม่ซ้ำแบรนด์ ทั้งอาหารญี่ปุ่น อาหารไทย อาหารอีสาน อาหารตามสั่ง และเมื่อเป็นเดลิเวอรี เขาสามารถสั่งอาหารทุกร้านในเครือได้ในเบอร์เดียว” 

 

 

กลยุทธ์ในตลาดเดลิเวอรี เดินเกมแบบช้าๆ แต่คุณภาพดีชัวร์

ในตอนแรกที่เริ่มบุกตลาดเดลิเวอรี ศิรุวัฒน์มองว่านี่เป็นเรื่องใหม่สำหรับแบรนด์ จึงต้องการความเข้าใจ ความชำนาญ และรักษาคุณภาพให้ได้เหมือนมานั่งกินที่ร้าน “เพราะเราทำธุรกิจร้านอาหารมากว่า 30 ปี สิ่งที่ผมให้ความสำคัญที่สุดคือกินตำมั่วที่ร้าน ถ้ามาส่งที่บ้านก็ต้องอร่อยเหมือนกันนะ ที่เราเดินช้ากว่าคู่แข่งเพราะเราต้องการความเนี้ยบ ให้ส้มตำเรายังกรอบ ให้แซลมอนยังสด นี่คือสิ่งที่เราคิด เพราะอย่างที่บอกว่าเราไม่ได้ทำตามกระแส แบรนด์ที่ดีต้องมีจุดยืน เรากล้าบอกเลยว่าบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เราชำนาญ Chain Restaurant และ Food Service ซึ่งสมัยนี้คือการส่งอาหารไปถึงบ้าน เราจะต่อยอดจากความชำนาญจนเรามั่นใจ 

 

“สิ่งแรกคือเราต้องสร้างมาตรฐานของอาหารให้ไปส่งที่บ้านคุณภาพเหมือนกับคุณมานั่งกินที่ร้าน ต่อมาคือการมองหาแพ็กเกจจิ้งที่ใช้แล้วเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายคือการให้ผู้บริโภครับรู้ว่าคุณโทรมาเบอร์เดียว แต่มีทางเลือกถึง 12 แบรนด์ ใน 7 วัน ถ้าคุณต้องการให้เราไปเสิร์ฟ เรามีตั้งแต่อาหารไฮเอนด์จนถึงอาหารแมส ความวาไรตี้ตรงนี้เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคที่เขามีทางเลือกมากขึ้น”

 

ศิรุวัฒน์บอกว่าแบรนด์จะไม่เปลี่ยนตัวเองตามกระแส แต่แค่ซัพพอร์ตกระแส “ตอนนี้เรามีไมโครแฟรนไชส์ซึ่งก็คือ ‘เขียง’ เรามองว่าภายในสิ้นปี 2562 น่าจะเปิดได้อีก 40 สาขา เราเล็งโลเคชันที่ใกล้ผู้บริโภคมากขึ้นคือตามตึกแถวและปั๊มน้ำมัน เพราะ Main Business ของเราอยู่ในห้าง ZEN, AKA, On The Table หรือตำมั่ว ดังนั้นเราจะเริ่มมีสาขาที่เข้าไปใกล้เขามากขึ้นคือ เขียง หรือตำมั่ว Express สุดท้ายเราก็ใช้ตรงนี้นำอาหารไปเสิร์ฟถึงบ้าน อันนี้คือการต่อยอดธุรกิจที่เรามี สิ่งที่เราโฟกัสคือเราจะเลือกต่อยอดในสิ่งที่เราถนัด นั่นคือสิ่งที่ผมจะทำและบริษัทจะเลือกทำ” 

 

 

ตอกย้ำความยั่งยืนของเบอร์หนึ่งอาหารอีสาน จัดแคมเปญฉลองครบรอบ 30 ปี คืนกำไรให้ลูกค้า

“ความตั้งใจที่เราจัดแคมเปญ ‘ตำมั่วฉลอง 30 ปี แจกใหญ่ทุกแบรนด์ในเครือส่งท้ายปี’ ก็เพื่อตอบแทนลูกค้าทุกคน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตำมั่วมีวันนี้ได้เพราะลูกค้าทุกคน ตอนนี้แบรนด์ตำมั่วอยู่ในจุดของการทำธุรกิจแบบยั่งยืนแล้ว ลูกค้ากลุ่มแรกตั้งแต่รุ่นคุณแม่เปิดร้านเดิมเริ่มเข้าสู่วัยคุณตาคุณยาย และรุ่นที่ผมทำเริ่มเป็นคุณพ่อคุณแม่ แล้วก็เริ่มมีคนรุ่นใหม่ที่มาใช้บริการของเรา คราวนี้เราจะทำอย่างไรให้ทุกคนทราบว่าแบรนด์ของคนไทยที่มี 100 กว่าสาขาทั้งในและต่างประเทศเป็นที่น่าภาคภูมิใจ นั่นเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผมอยากสื่อสารกับคนไทยว่ามีไม่กี่แบรนด์ที่เป็นของคนไทย หลายแบรนด์ในเครือของเรา ต่างชาติมาซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดต่างประเทศ จึงอยากให้คนไทยภูมิใจกับแบรนด์ไทย ถ้าเราอยากให้เศรษฐกิจในประเทศดีก็อยากให้อุดหนุนแบรนด์ของคนไทย เพราะวัตถุดิบก็ถูก ซื้อในประเทศ พนักงานก็เป็นคนไทย เงินมันก็หมุนเวียนในประเทศ ผมว่านี่น่าจะเป็นเรื่องที่เราต้องช่วยกัน

 

“และสุดท้ายแคมเปญนี้จะตอกย้ำให้รู้ว่าตำมั่วไม่ใช่น้องใหม่ เราไม่ได้แค่อยู่นาน แต่เรายั่งยืนแบบมั่นคงด้วย”  

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

FYI
  • แคมเปญ ‘ตำมั่วฉลอง 30 ปี แจกใหญ่ทุกแบรนด์ในเครือส่งท้ายปี’ คืนกำไรให้ลูกค้าในเครือ ได้แก่ ตำมั่ว, ลาวญวน, แจ่วฮ้อน, เฝอ, เดอ ตำมั่ว และเขียง ลุ้นรางวัลใหญ่กว่า 1.2 ล้านบาท ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 พฤศจิกายน 2562 ที่ร้านในเครือทุกสาขา 
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X