บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Esri Thailand ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนา ArcGIS ซอฟต์แวร์ด้านเทคโนโลยี GIS อันดับ 1 ของโลก เปิดเวที Thai GIS User Conference 2022 หรือ TUC ครั้งที่ 26 ภายใต้แนวคิด ‘GIS-Mapping Common Ground’ ซึ่งเป็นงานที่ถ่ายทอดเทรนด์เทคโนโลยีจาก UC2022 งานสัมมนาด้าน GIS ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากสหรัฐอเมริกา
เรียกได้ว่างาน TUC2022 นี้ เป็นเวทีอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเทคโนโลยี GIS หรือ Geographic Information System หรือที่เรียกเป็นภาษาไทยก็คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีหลักการทำงานในการรวบรวม จัดการ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่น ภาพแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ (ข้อมูลเชิงพื้นที่) และข้อมูลอื่นๆ มาวิเคราะห์ผ่านคอมพิวเตอร์ และแสดงผลในรูปแบบ ‘รูปภาพ’ หรือ ‘แผนที่’ เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในงานยังอัดแน่นไปด้วย Session การบรรยายที่เจาะลึกถึงการใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน พร้อมเคล็ดลับที่นำไปใช้ได้จริงทั้งในภาครัฐบาล ภาคเอกชน และกลุ่มอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท อีกทั้งยังมีบูธนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชันด้าน GIS กว่า 20 บูธ ให้ผู้เข้าร่วมงานได้พูดคุยสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง
ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด
อัปเดตเทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่น่าจับตามอง และโปรดักต์ใหม่ๆ จาก Esri Thailand
วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ ประเด็นหลักๆ เน้นหนักไปที่การแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเทคโนโลยี GIS และเน้นย้ำให้มองเห็นภาพเดียวกันว่า ‘Mapping’ คือการใช้แผนที่เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร สร้างพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ร่วมกัน เพื่อให้สามารถทำงานแก้ไขปัญหา หรือมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน โดยมี ArcGIS เป็นตัวขับเคลื่อน
ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า GIS เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างมุมมองใหม่ในมิติที่แตกต่าง เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาให้ได้ผลลัพธ์เชิงบวก Esri จึงมุ่งมั่นพัฒนาซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ArcGIS แพลตฟอร์มที่ครอบคลุมการทำงานกับข้อมูลเชิงพื้นที่ทุกรูปแบบ ทั้งบนเดสก์ท็อป เซิร์ฟเวอร์ โมบายล์ และระบบคลาวด์เทคโนโลยี ซึ่งทาง Esri เองก็พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาเพื่อซัพพอร์ตกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่กลุ่มผู้ใช้งานพื้นฐานที่ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างข้อมูล ไปจนถึงกลุ่มผู้ใช้งานระดับสูงที่ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ในหลากหลายอุตสาหกรรม
บนเวที ธนพรยกตัวอย่างไฮไลต์ของ ArcGIS ที่น่าจับตามองในปีนี้ รวมถึงเปิดตัวโปรดักต์ใหม่ๆ หลายตัว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการสร้างแผนที่อัตโนมัติจากภาพถ่ายด้วยระบบประมวลผลอัจฉริยะ (GeoAI & Machine Learning) ที่ถูกพูดถึงบนเวที UC2022 ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดย GeoAI & Machine Learning จะแปลงข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียมให้เป็นแผนที่ดิจิทัลได้โดยไม่ต้องใช้คน ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วย Pretrained Deep Learning Model ซึ่งเป็นโมเดลสำเร็จรูปพร้อมใช้งานบน ArcGIS Living Atlas ซึ่งเป็นคอมมูนิตี้ที่จะนำข้อมูลมาแชร์ร่วมกัน
นอกจากนี้ยังมีความสามารถใหม่ที่จะเสริมเข้าไปใน ArcGIS และแอปพลิเคชันใหม่ๆ เช่น GeoAI เป็นการนำความสามารถของ AI เข้าไปในซอฟต์แวร์ของ ArcGIS ให้สามารถวิเคราะห์ลักษณะเชิงพื้นที่ หรือข้อมูลภาพ แม้กระทั่งข้อมูลเท็กซ์ ก็สามารถ Convert ให้กลายเป็นภาพ ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ใหม่ๆ ของข้อมูลในด้านต่างๆ ได้ด้วยโมเดลพร้อมใช้งานที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์ ArcGIS หรือ ‘ArcGIS GeoAnalytics Engine’ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถหาคำตอบหรือรูปแบบจากข้อมูล Big Data รองรับการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Big Data หลายแหล่งภายในระบบขององค์กร ประมวลผลไวขึ้น ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ArcGIS ยังมีความสามารถด้าน 3D อย่างครบวงจร ทั้งการแสดงผล การปรับปรุงข้อมูลที่อยู่บนดินและใต้ดินผ่านแอปพลิเคชันบนทุกอุปกรณ์ โดยเฉพาะการทำ Digital Twins ในขณะที่ ‘ArcGIS Maps SDK’ จะมาช่วยซัพพอร์ตนักพัฒนาเกม หรือกราฟิกดีไซเนอร์ ที่ต้องออกแบบผังเมืองหรืองานชิ้นใหญ่ๆ รวมถึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
ยกตัวอย่างความสามารถของ ArcGIS ที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้งาน เช่น การทำสมาร์ทซิตี้ โดยใช้เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองเสมือนจริงในรูปแบบดิจิทัล หรือ Digital Twins ที่เมืองซูฟอลส์ ในรัฐเซาท์ดาโคตาของสหรัฐอเมริกา ที่เตรียมความพร้อมรับมือกับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น โดยสร้างเป็นแบบจำลองเมือง 3 มิติจากข้อมูลต่างๆ และนำมาให้ทุกหน่วยงานใช้ร่วมกันในการวางแผน ทั้งการให้บริการประชาชน การจำลองการเกิดสภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการดูแลสภาพแวดล้อมในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้งาน ArcGIS Utility Network กับการบริหารจัดการโครงข่ายสายส่งระบบจำหน่ายไฟฟ้าของรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ที่สามารถจำลองให้เห็นองค์ประกอบต่างๆ ภายในสถานีไฟฟ้าทั้งที่อยู่บนดินและใต้ดิน ระบบนี้สามารถทำงานร่วมกับ IoT และพัฒนาต่อยอดไปเป็น Digital Twins ได้ในอนาคต และยังสามารถจำลองสถานีไฟฟ้าพลังงานทดแทนหรือโซลาร์ฟาร์มให้เข้ามาอยู่ภายในโครงข่ายไฟฟ้าเดียวกันได้อีกด้วย
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา
FutureTales Lab Magnolia Quality Development Corporation
GIS เครื่องมือที่จะนำไปสู่เป้าหมาย ‘Future of Urban Resilience’
ด้าน ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales Lab Magnolia Quality Development Corporation ฉายภาพการใช้เทคโนโลยี GIS กับการวางแผนเมืองในอนาคตผ่านเคสตัวอย่างในหัวข้อ ‘Future of Urban Resilience made possible by GIS’ โดยเริ่มจากชี้ให้เห็นความสำคัญในการสร้างภาพอนาคตผ่านเทคโนโลยี “จำเป็นต้องเริ่มจากการนำข้อมูลรอบตัวมาวิเคราะห์และทำความเข้าใจอนาคตอย่างเป็นระบบ โดยจะต้องเข้าใจให้ครบทุกมิติ เช่น สังคม การเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อม แล้วจึงนำการคิดเชิงวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ เฟรมเวิร์กที่เหมาะสม และ Data มาผนวกรวมเข้าด้วยกัน
“เราอาจจะนำภาพเมืองของอนาคตมาเป็นแรงบันดาลใจได้ แต่เราไม่สามารถนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาได้ 100% ดีที่สุดคือการใช้ Data ของเมืองนั้นๆ การมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่สามารถวัดผลได้อย่างแม่นยำ ก็เพื่อจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีป้องกัน ก็จะทำให้เราเข้าใจอนาคตได้ชัดขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี GIS ช่วยได้มาก ทำให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่มากยิ่งขึ้น”
ดร.การดี ยกตัวอย่างการนำระบบ GIS มาใช้เพื่อจำลองสถานการณ์ปี 2020-2050 ผ่านพื้นที่ของกรุงเทพฯ โดยนำปัจจัยด้านอากาศเข้ามาเป็นตัวแปร เพื่อให้เห็นภาพว่าในอนาคตหากปริมาณ PM2.5 เพิ่มเกินค่าเฉลี่ยความปลอดภัย กรุงเทพฯ ในอนาคตจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร และหากเพิ่มพื้นที่สีเขียวจะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากแค่ไหน
ข้อดีของเทคโนโลยี GIS นอกจากจะช่วยป้องกันความเสียหายก่อนจะเกิดขึ้น เช่น หา Hotspot ที่อาจเกิดจากการสร้างสถาปัตยกรรม ดูข้อมูลได้ว่าส่งผลกระทบด้านใดและมากแค่ไหน แต่ต่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็ยังสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก GIS มาเตรียมปฏิบัติการแก้ไขได้ทันท่วงที เป็นการนำ Data มารับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นให้กลับสู่สภาพเดิมหรือดีกว่าเดิมได้อย่างรวดเร็ว
“GIS เป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ Future of Urban Resilience ได้อย่างแท้จริง” ดร.การดี กล่าวทิ้งท้าย
ปลดล็อกเทรนด์เทคโนโลยีภายใต้แนวคิด ‘GIS-Mapping Common Ground’
ช่วง Plenary Session ที่ 2 โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจาก Esri Thailand ได้นำเสนอเทรนด์เทคโนโลยีที่น่าสนใจผ่าน 3 คอนเซปต์หลัก ได้แก่
- Mapping Geography พาไปเปิดคลังข้อมูล GIS ที่พร้อมเปิดให้ ArcGIS ทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ ซึ่งจะช่วยให้การทำแผนที่ของคุณง่ายขึ้น และข้อมูลมีความถูกต้องสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางกายภาพต่างๆ ข้อมูล Vector/Raster รวมทั้ง Apps, Imagery และ Tools ต่างๆ
- Mapping Patterns & Relationships พบกับความสามารถของการวิเคราะห์แบบ Advanced Analytics ที่เป็นมากกว่าการวิเคราะห์แบบธรรมดาทั่วไป ทำให้เห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อประกอบการตัดสินใจและคาดการณ์ผลลัพธ์ได้
- Mapping Reality: Digital Twins การจำลองภาพเสมือนจริงในรูปแบบ 3 มิติ ที่ไม่ใช่แค่เพื่อการ Visualization เพียงอย่างเดียว แต่เพื่อช่วยในการบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่าน 2 เคสที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านทางเท้า และปัญหาด้านความปลอดภัย
นอกจาก Session หลักๆ ยังมี Technical Sessions สำหรับผู้ที่สนใจเครื่องมือและฟีเจอร์ต่างๆ แบบเจาะลึก 9 หัวข้อที่น่าสนใจ เช่น เทคนิคการสร้างแผนที่อัตโนมัติด้วยระบบประมวลผลอัจฉริยะ GeoAI, ยกระดับการบริหารจัดการสาธารณภัยอย่างเต็มรูปแบบด้วย ArcGIS Mission, เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Big Data และเรียลไทม์ ด้วยเทคโนโลยี GIS ฯลฯ
เชื่อแน่ว่าจะได้เห็นการต่อยอดของหลายองค์กรหลังจบงานสัมมนาครั้งนี้ เพราะนับจากนี้ไปเทคโนโลยี GIS จะกลายเป็นอาวุธลับที่ทุกองค์กรต้องนำไปเพิ่มศักยภาพในการจัดการและวิเคราะห์ Big Data ให้เป็น Data Intelligence ได้อย่างทรงประสิทธิภาพ
รอดูกันว่างานสัมมนาครั้งต่อไปของ Esri Thailand จะมาในหัวข้อไหน และจะมีโปรดักต์ใหม่ๆ มาซัพพอร์ตผู้ใช้งานอีกหรือเปล่า รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งปี สามารถติดตาม Esri Thailand ได้ที่ www.esrith.com และ Facebook Page: https://www.facebook.com/ESRITHAILAND