×

จับตา สินค้าส่งออกไทย โดนพิษ ‘ภาษีทรัมป์’ คาดทุบส่งออกไทยลดลง 8.1 แสนล้านบาท เมื่อบังคับใช้ครบ 5 ปี

21.04.2025
  • LOADING...

ประเด็นภาษี Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูง สร้างความปั่นป่วนให้กับการค้าไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้ประเทศไทย ไปติดตามการวิเคราะห์จาก SCB EIC ในประเด็นนี้ว่าจะมีผลต่อกลุ่มสินค้าส่งออกของไทยรุนแรงแค่ไหน

 

โชติกา ชุ่มมี ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิต ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Morning Wealth ว่า ประเมินผลกระทบจากนโยบายภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทยและเศรษฐกิจของไทยหลากหลายช่องทาง ดังนี้

 

  1. ผลกระทบทางตรงต่อการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดสหรัฐฯ
  • ระดับการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ
  • อัตราภาษีของไทยเทียบกับคู่แข่งในสหรัฐฯ
  • สหรัฐฯ สามารถหาสินค้าทดแทน หรือมี Domestic Supply หรือไม่

 

  1. ผลกระทบทางอ้อม
  • การส่งออกสินค้าขั้นกลางไปในประเทศต่างๆ ที่โดนภาษี Reciprocal Tariff ส่งผลให้ความต้องการสินค้าขั้นกลางจากไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าขั้นกลางที่ส่งไปจีน
  • ปัญหาสินค้าจีนที่มีแนวโน้มอาจจะทะลักเข้าประเทศไทยและตลาดโลกมากขึ้น จากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลง และการเร่งหาตลาดส่งออกทดแทนสหรัฐฯ จะยิ่งซ้ำเติมความรุนแรงของปัญหา Chinese Influx ดังนั้นสินค้าจีนทะลักจะมีความเสี่ยงที่จะมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
  • การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกหรือเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ภาษีศุลกากรตอบโต้ของสหรัฐฯ ทำให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอลงและกระทบต่อ Global Demand
  • การเปิดตลาดสินค้าบางประเทศเพื่อเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ เช่น เครื่องบิน, อาวุธยุทโธปกรณ์, โดรน, สินค้าเกษตร, เนื้อสัตว์, LNG
  • การส่งออกสินค้าไปประเทศที่มีมาตรการตอบโต้สหรัฐฯ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าไทยอาจปรับตัวดีขึ้น ไทยอาจได้อานิสงส์ในการส่งออกสินค้าไปทดแทนสหรัฐฯ
  • การปรับเปลี่ยน Supply Chain โดยนักลงทุนต่างชาติอาจชะลอการลงทุนหรือปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออก

 

 

จับตากลุ่มสินค้าไทยโดนกระทบหนักจาก Reciprocal Tariff

 

สำหรับกลุ่มตัวอย่างสินค้าที่คาดว่าได้รับผลกระทบตามระดับความรุนแรง ประเมินว่ามีดังนี้

 

 

Reciprocal Tariff ทำส่งออกไทยลดลง 8.1 แสนล้านบาทใน 5 ปี

 

สำหรับภาพการส่งออกของไทยในระยะต่อไปมีแนวโน้มที่จะหดตัวลงในช่วง 10 เดือนที่เหลือของปีนี้ คือ ในช่วงเดือนมีนาคม-ธันวาคม จะถูกผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ เป็นแรงฉุดสำคัญจากกลุ่มสินค้าในหมวดยานยนต์ สินค้าเกษตร และปิโตรเคมี ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของส่งออกทั้งปี 2568 มีความเสี่ยงที่เห็นอัตราการเติบโตที่ติดลบ

 

โดยประมาณการดังกล่าวเป็นการทำไว้ก่อนช่วงที่สหรัฐฯ จะประกาศขยายระยะเวลาในการเจรจาออกไป 90 วัน ดังนั้นจึงมี Upside Risk เล็กน้อยก่อนที่จะครบกำหนด 9 กรกฎาคมนี้ ที่จะมีการเร่งการส่งออกในบางสินค้าให้มีการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ในระยะยาวยังมี Downside Risk ที่ค่อนข้างชัดเจน

 

แม้ว่าหลังจากในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้การส่งออกไทยสามารถขยายเติบโตได้ค่อนข้างดีอยู่ที่ระดับประมาณ 14% โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีการเร่งการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนคือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นไปตามวัฏจักรของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเติบโตรวมถึงมีการเร่งการส่งออกก่อนที่มาตรการภาษีของสหรัฐฯ จะเริ่มมี รวมถึงกลุ่มเหล็กที่เติบโตดี

 

สำหรับประเด็นภาษี Reciprocal Tariff ถือเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามต่อไปในระยะยาว ซึ่งจะมีผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรงและต่อเนื่อง

 

นอกจากนี้หากประเมินผลกระทบในกรณีที่สหรัฐฯ มีการจัดเก็บภาษี Reciprocal Tariff จากไทยในอัตราที่เคยประกาศไว้ที่ 36% ประเมินว่ามีผลกระทบรุนแรงและชัดเจนมากขึ้นต่อเนื่องตามระยะเวลาที่นานขึ้น ภายใต้อัตราภาษีดังกล่าวจะทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ จะลดลงสะสมราว 8.1 แสนล้านบาท เมื่อบังคับใช้ครบ 5 ปี หรือมูลค่าการส่งออกจะลดลงประมาณ 40% หากเทียบกับมูลค่าการส่งออกในปี 2567 และหากภาษีดังกล่าวมีผลกระทบใช้ 10 ปี ความเสียหายก็จะเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง

 

 

อย่างไรก็ดีความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจริงขึ้นอยู่กับปัจจัยการเจรจาของหน่วยงานภาครัฐของไทยที่จะมีการเจรจากับสหรัฐฯ ก่อนที่ภาษีดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 กรกฎาคมปีนี้ว่าจะออกมาอย่างไร หรืออัตราภาษีที่แท้จริงที่จะบังคับใช้จะมีตัวเลขที่เท่าไร

 

แนะกลยุทธ์ 4P ปรับตัวรับมือ Reciprocal Tariff

 

โชติกากล่าวต่อว่า สำหรับผู้ประกอบการส่งออกของไทยมีข้อแนะนำดังนี้และควรดำเนินการทันที โดยผู้ประกอบการสามารถใช้กลยุทธ์ 4P ดังนี้

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising