×

งานศึกษาเผย มลพิษทางอากาศทำให้อายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 20 เดือน วัยเด็กได้รับผลกระทบมากที่สุด

03.04.2019
  • LOADING...
State of Global Air (SOGA) 2019

วิกฤตการณ์ด้านมลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก ล่าสุดรายงานการศึกษาของ State of Global Air (SOGA) 2019 ที่เผยแพร่ในวันนี้ (3 เม.ย.) ระบุว่าเด็กๆ ที่เกิดมาในช่วงเวลานี้จะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 20 เดือน โดยภูมิภาคเอเชียใต้ได้รับผลกระทบมากที่สุด

 

จากรายงานระบุว่า มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 1 ในทุกๆ 10 คนที่เสียชีวิตลงในปี 2017 และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับโรคไข้เลือดออก อุบัติเหตุบนท้องถนน และการสูบบุหรี่ ซึ่งเด็กในเอเชียใต้จะมีอายุขัยสั้นลงมากที่สุดถึง 30 เดือน ตามมาด้วยซับซาฮารา 24 เดือน ในขณะที่เด็กๆ ในเอเชียตะวันออกจะมีอายุขัยลดลงราว 23 เดือน ซึ่งมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการจราจร ภาคอุตสาหกรรม และการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาหารในครัวเรือน

 

ทางด้าน Alastair Harper หัวหน้าแคมเปญและฝ่ายประชาสัมพันธ์ประจำ Unicef UK เน้นย้ำว่า ปัญหามลพิษทางอากาศกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญระดับโลก โดยเด็กๆ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด มีงานศึกษาจำนวนมากบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทางอากาศกับน้ำหนักของเด็กแรกเกิดที่น้อยกว่ามาตรฐาน ลดการเจริญเติบโตของปอด รวมถึงภาวะโรคหอบหืดในเด็ก

 

นอกจากนี้กลุ่มผู้สูงอายุก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ในแต่ละปีมีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศทั่วโลกเป็นจำนวนมาก จากรายงานระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากอาการผิดปกติทางปอดสูงถึง 41% มะเร็งปอด 19% โรคหัวใจ 16% และช็อกเป็นลมหมดสติอีก 11% โดยประชากรในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาได้รับผลกระทบเกี่ยวกับฝุ่นละออง PM2.5 มากกว่าประชากรในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว 4-5 เท่า

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X