×

Toshiba บริษัทหัวแถวด้าน ‘การเข้ารหัสเชิงควอนตัม’ พร้อมดันการใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคตอันใกล้ หลังสัญญาณความสำเร็จเริ่มปรากฏ

03.12.2023
  • LOADING...
Toshiba

ลองจินตนาการถึงเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่มีแค่เราและเพื่อนของเรารู้ว่าข้อความที่ทั้งสองฝ่ายกำลังคุยกันเป็นเรื่องอะไร

 

Nikkei Asia รายงานว่า Toshiba บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่เป็นผู้นำในเรื่องนี้กำลังพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า ‘Quantum Encryption’ ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ในสเกลที่แพร่หลายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อทำให้การสื่อสารในโลกอินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัย เป็นส่วนตัว และป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตให้แน่นหนามากยิ่งขึ้น 

 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2021 บริษัทได้ทำการส่งข้อมูลระยะทาง 600 กิโลเมตรระหว่างกรุงโตเกียวและเมืองโอซาก้าด้วยวิธีดังกล่าวได้สำเร็จ และตอนนี้กำลังทดสอบกับสถาบันการเงินในประเทศฝั่งตะวันตกอย่าง Ernst & Young และธนาคาร HSBC 

 

ความสำเร็จครั้งนี้ได้สร้างความหวังให้กับบรรดาบริษัทและหน่วยงานรัฐต่างๆ ถึงการเก็บรักษาข้อมูลที่ได้ชื่อว่ามีความปลอดภัยที่สุด โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความอ่อนไหวต่างๆ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเงิน ไปจนถึงข้อมูลพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล หลังความกังวลเรื่อง Quantum Computing เพิ่มความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลได้ หากการเก็บรักษายังเป็นวิธีการเข้ารหัส (Encryption) อย่างในปัจจุบัน เนื่องจาก Quantum Computing มีความเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ในตอนนี้อย่างมหาศาล

 

แนวความคิดของศาสตร์การเข้ารหัสเชิงควอนตัมนั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี 1969 ในสหรัฐอเมริกา และบริษัท Toshiba ก็เริ่มค้นคว้าและวิจัยเทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ปี 1991 “ในช่วงที่เราเริ่มการพัฒนา เรารู้ดีว่ามันต้องสำเร็จเพราะความต้องการในฝั่งไอทีและความปลอดภัยมีสูงมาก เราจึงพัฒนามาเรื่อยๆ ถึงแม้จะมีความท้าทายบ้าง” ชินยะ มุราอิ พนักงานอาวุโสประจำ Toshiba Digital Solutions กล่าว

 

ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมานานของบริษัท ทำให้ Toshiba ขึ้นมาอยู่แถวหน้าของวงการ โดยพนักงานรายหนึ่งของบริษัท กล่าวกับ Nikkei Asia ว่า “ถ้าพูดถึงเรื่องการเข้ารหัสเชิงควอนตัมแล้ว เราน่าจะอยู่ใกล้ความจริงที่สุดในการนำเทคโนโลยีนี้ออกมาใช้ให้แพร่หลายในวงกว้าง”

 

ขนาดมูลค่าตลาดในปัจจุบันของการเข้ารหัสเชิงควอนตัมอยู่ที่ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การคาดการณ์ของบริษัทวิจัยตลาด Global Information มองว่ามันสามารถเติบโตได้ถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 6 เท่าของขนาดปัจจุบัน ซึ่ง Toshiba เองก็มีเป้าหมายที่ต้องการจะเป็นบริษัทรายแรกที่นำเทคโนโลยีนี้มาสู่ตลาดอย่างแพร่หลายเป็นรายแรกเพื่อความได้เปรียบทางการค้า

 

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันเมื่อขนาดตลาดขยายตัวขึ้น โดยผลสำรวจจากสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งญี่ปุ่น (JSAT) เผยว่ามีบริษัทสื่อสารและสตาร์ทอัพอีกจำนวนไม่น้อยที่กำลังผลักดันให้เทคโนโลยีนี้สามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X