×

ชมคลิป: มองความหวังหลังสภาตีตกร่าง รธน.-สมรสเท่าเทียมไหม? ไม่ขัด รธน. แต่ให้มี กม. แยกใช้ | THE STANDARD NOW

โดย THE STANDARD TEAM
17.11.2021
  • LOADING...

มองอนาคตและความหวัง หลังสภาตีตก ร่าง รธน. ไม่ยกเลิก ส.ว. กับ ไอติม-ปิยบุตร-ชินวรณ์​ ปชป. 

 

หลังการประชุมสภาอัดดุเดือด วันนี้ (17 พฤศจิกายน) ที่ประชุมร่วมของรัฐสภาก็มีมติ ‘ไม่รับ’ หลักการของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560  ซึ่ง พริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Re-Solution และผู้ริเริ่มในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 135,247 คน เป็นผู้เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การ ‘รื้อระบอบประยุทธ์’ ด้วยการยกเลิก ส.ว. เพื่อมุ่งสู่สภาเดี่ยว โดยมีเสียงเห็นชอบ-ไม่เห็นชอบ อยู่ที่ 206 ต่อ 473 เป็นอันปิดฉากข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงกติกาสูงสุดโดยภาคประชาชนไปอีกครั้ง

 

ชวนคุย ชวนมองอนาคตและความหวัง กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล และ พริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Re-Solution หลังยืนยันพร้อมสู้เพื่อเปลี่ยนแปลง รธน.ฉบับปี 2560 ต่อไป

 

พร้อมมองความเห็นในมุมพรรคร่วมผู้ปัดตกร่างฯ กับ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กับจุดยืนแก้รัฐธรรมนูญ ตอนนี้ยังเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนไปอย่างไร และอะไรคือเงื่อนไข

 


 

สมรสเท่าเทียมไหม? เมื่อไม่ขัด รธน. แต่ศาลฯ ให้มี กม. เฉพาะ

 

ฟังความเห็น รศ.อานนท์ มาเม้า อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

หลังวันนี้ (17 พฤศจิกายน) ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายแพ่งฯ ม.1448 ที่กำหนดการสมรสเฉพาะชาย-หญิง ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

 

สำหรับที่มาของคดีนี้ สืบเนื่องจาก เพิ่มทรัพย์ แซ่อึ้ง และ พวงเพชร เหมคำ คู่รักซึ่งมีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิง ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 แต่ถูกนายทะเบียนปฏิเสธ ทั้งคู่จึงยื่นคำร้องต่อศาลสั่งให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนสมรส ต่อมานายทะเบียนปฏิเสธ จึงให้ศาลส่งคำร้องโต้แย้งประเด็นข้อกฎหมายไปยังศาลรัฐธรรมนูญ จนสุดท้ายก็ได้คำตัดสินดังกล่าว 

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีปมปัญหาที่ทำให้กลุ่ม LGBT ไม่พอใจ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีข้อสังเกตว่ารัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สมควรดำเนินการตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อไป ทำให้เกิดคำถามว่าหากเป็นเช่นนี้ การสมรสเท่าเทียมจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ หากต้องมีกฎหมายเฉพาะแยกออกไป แทนที่จะใช้กฎหมายเดียวกันกับคนทั่วไป?

 

พบกันวันนี้ 17 พฤศจิกายน เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ในรายการ THE STANDARD NOW กับ อ๊อฟ ชัยนนท์ ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising