🟡 “เป็นแบรนด์ Gen X อยากเจาะกลุ่มตลาด Gen Z ที่สำคัญคืออย่าทิ้ง Millennial”
🟡สรุปไฮไลต์จากเวที ‘Networking Q&A After Match’ เซสชันพิเศษในงาน The Secret Sauce Summit 2024: Winning the New Wave เกมธุรกิจชนะโลกใหม่ กับ อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อะแด็ปเตอร์ ดิจิตอล กรุ๊ป คำถามส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การสื่อสารของแบรนด์กับแต่ละเจเนอเรชัน และที่สำคัญคือการปรับกลุ่มเป้าหมายไปที่ Gen Z
🟡Q: เมื่อฐานลูกค้าเดิมเป็น Gen X แต่อยาก Rebranding เพื่อจับกลุ่มลูกค้าใหม่อย่าง Gen Z ทำอย่างไรให้สำเร็จ ทั้งที่อินไซต์บอกว่า Gen Z ไม่ใช้จ่ายเงินเท่าเจเนอเรชันอื่น
การรักษาอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด อาจเริ่มต้นจากการพูดคุย รีเสิร์ช ทดลอง และสิ่งสำคัญคือการขยับลงมาสื่อสารกับกลุ่ม Millennial พร้อมกับการทำบรรยากาศโดยรอบของแบรนด์ให้ดูทันสมัยมากขึ้น แล้วค่อยๆ มองหา Gen Z ที่เหมาะสมกับแบรนด์ได้ทดลองใช้สินค้าและบริการ การรีแบรนด์กระโดดไปที่ Gen Z ทันทีไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การค่อยๆ ไหลลงมาเป็นน้ำตกทำให้ธุรกิจไปรอดมากกว่า และระหว่างนั้นก็ศึกษา ทำความเข้าใจ Gen Z ไปเรื่อยๆ จะทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับสินค้าและบริการ
ส่วนการตัดสินใจ Rebranding เพื่อจับกลุ่ม Gen Z นั้นต้องกลับมาถามตัวเองก่อนว่าแบรนด์ของเราแข็งแรงหรือไม่ ถ้าแข็งแรงก็สามารถ Modernize แบรนด์เพื่อให้กลุ่มลูกค้ากว้างขึ้น แต่ถ้าแบรนด์ยังไม่แข็งแรงมากนัก การแตกแบรนด์ใหม่ก็เป็นทางเลือกที่ดี โดยมุ่งเน้นไปที่ธรรมชาติของ Gen Z ที่ให้ความสำคัญกับการ Maintain รายได้เพื่อรักษาไลฟ์สไตล์มากกว่าการสร้างทรัพย์สิน และมุ่งเน้นไปที่สุนทรียะ (Aesthetic) แต่เหนือกว่าการ Rebranding คือการทำให้แบรนด์รู้สึก Modernize Now อาจเป็นทางออกที่สำคัญกว่า
🟡Gen Z มองความสัมพันธ์เป็นรูปแบบ Situation คือชั่วคราว ไม่ยั่งยืน สุดท้ายแล้วคุ้มไหมที่จะลงทุนกับกลุ่มนี้ หรือเมื่อ Gen นี้โตขึ้นจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่
การจะตอบว่า Gen Z จะเปลี่ยนไปจากนี้หรือไม่เป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะไม่มีใครรู้ แต่ในฐานะการทำแบรนด์ ไม่ต้องทำให้ Gen Z รักแบรนด์ แต่ต้องทำให้ Gen Z มีความจำเป็นที่จะต้องใช้แบรนด์ของเรา เพราะ Gen Z ยังเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ได้รับความนิยมในคนหมู่มาก (Popularity) อยู่ดี ฉะนั้นตราบใดที่แบรนด์ยังได้รับความนิยม ไม่ว่าเจเนอเรชันไหนก็เลือกใช้
🟡Q: ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มสำหรับทำมาร์เก็ตต้ิงหลากหลาย จะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์ของเราเหมาะสมกับแพลตฟอร์มไหน
สิ่งแรกคือต้องตั้งคำถามว่าเราอยากสื่อสารกับตลาดและทดลองในแต่ละแพลตฟอร์มว่ามีผลกระทบกับคนที่เราอยากคุยด้วยแตกต่างกันอย่างไร จากนั้นจึงค่อยมาจัดลำดับความสำคัญ การเลือกทำสื่อแบบเดียวแล้วลงทุกแพลตฟอร์มเหมือนกันไม่เวิร์ก เพราะแต่ละที่มีธรรมชาติที่แตกต่างกัน Instagram เน้นกลุ่มพรีเมียม, YouTube เหมาะกับกลุ่มที่ชอบคอนเทนต์ขนาดยาว ส่วน Facebook เป็นฐานที่ใช้ยิงโฆษณา จากนั้นจึงมาดูว่าแต่ละแพลตฟอร์มเข้ากับแต่ละเซ็กเมนต์ที่วางไว้อย่างไร
🟡Q: อยากไวรัล อยากลงทุนใน TikTok แต่เงินจำกัด ทำอย่างไรดี
แม้ว่าเราจะสามารถ Identify ได้ว่าสูตรของการทำให้คลิปไวรัลทำอย่างไร แต่พบว่าหลายครั้งการทำซ้ำไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ ฉะนั้นการจะพึ่งพาไวรัลเพียงอย่างเดียวอาจส่งผลชั่วคราว แต่การค่อยๆ หาสูตรที่ส่งผลต่อการขายระยะยาวจะเป็นประโยชน์ต่อแบรนด์มากกว่า
การลงเงินเพื่อโปรโมตสินค้าใน TikTok ควรตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าสื่อสารกับใคร ซึ่งลูกค้าอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือไม่รู้จัก ไม่ซื้อ, รู้จักแต่ไม่ซื้อ, รู้จักและซื้อจนเป็นแฟนประจำ การแยกลูกค้าเป็นกลุ่มทำให้พบว่ามีอินไซต์ไม่เหมือนกัน และเราควรคุยกับใครเพิ่มมากขึ้น และถ้าหากอยากใช้ Influencer เพื่อโปรโมตแบรนด์ การทำงานร่วมกับ Influencer ที่ใช้แบรนด์อยู่แล้วจะมีความจริงแท้ (Authentic) มากกว่า และอาจมีพาร์ตเนอร์เพื่อขอคลิปหรือ Asset เหล่านั้นมาลงสื่อของแบรนด์เพิ่มก็อาจได้ผลที่ชัดเจนขึ้น
#APThai #APThaiบริษัทอสังหาอันดับ1 #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #TheSecretSauceSummit2024