×

SEAC ดึง 3 ภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ เทงบกว่า 100 ล้าน เปิดตัว The Stanford Thailand Research Consortium ดึงมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สร้างสรรค์งานวิจัยไทย เพื่ออนาคตของคนไทยที่ดีกว่า [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
08.10.2019
  • LOADING...
SEAC

“ประเทศไทยไม่เคยมีงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์แก้ไขบริบทความเป็นไทยได้จริงๆ สักครั้ง เพราะในอดีตเราใช้งานวิจัยจากต่างชาติ ที่เขาทำขึ้นเพื่อประเทศตัวเองมาโดยตลอด และวันนี้ถึงเวลาที่เราต้องปรับเปลี่ยนเพื่ออนาคตของประเทศไทยกันสักทีแล้ว” จากแนวคิดของ อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) หรือศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กลายมาเป็นก้าวสำคัญในการก่อตั้ง The Stanford Thailand Research Consortium โดยมี 3 ยักษ์ใหญ่ภาคเอกชน ได้แก่ AIS, AP Thailand และ KBank มาเป็นกำลังหลัก ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในการสร้างสรรค์งานวิจัยไทยให้ครอบคลุมทุกมิติ เจาะลึกทุกระดับ และสามารถตอบโจทย์บริบทความเป็นไทยได้อย่างแท้จริงล

 

SEAC

 

The Stanford Thailand Research Consortium จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มี SEAC ภายใต้การบริหารงานของอริญญา ที่ได้ใช้ระยะเวลาเกือบ 3 ปี เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นเสมือนผู้แทนและศูนย์กลางในการเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย จนเกิดความร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่น เพื่อสนับสนุนกันและกันในการพัฒนาธุรกิจ ด้วยเป้าหมายที่จะสร้างสิ่งที่ดีให้กับประเทศไทย ครอบคลุมใน 4 มิติองค์ความรู้เพื่ออนาคต ได้แก่ 1. ยกระดับความสามารถคนไทยให้เท่าทันโลก 2. นำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจไทย 3. เสริมสร้างมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนไทยให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืน และ 4. ส่งเสริมการพัฒนาสังคมเมืองที่คิดถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน โดยมีทาง SEAC เป็นผู้กำกับดูแลให้งานวิจัยที่ออกมาตอบโจทย์ตรงจุด ตามแต่ละบริบทของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการพัฒนาเรื่องธุรกิจ คน และเทคโนโลยี นำไปสู่การแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจเพื่อแข่งขันบนเวทีโลก 

 

SEAC

 

ณ ปัจจุบัน The Stanford Thailand Research Consortium กำลังศึกษาและดำเนินการงานวิจัย ผ่านการทำงานร่วมกันจากทุกฝ่ายตามที่กล่าวมาอย่างเข้มข้น ซึ่งภายในอนาคตอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า จะผลิดอกออกผลเป็นงานวิจัยของชาติไทยหลากหลายแขนง ก่อเกิดประโยชน์มหาศาลประเมินมูลค่าไม่ได้ จากหลากหลายวิชา ที่ครอบคลุมไปยังระบบต่างๆ ของประเทศ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และธรรมชาติวิทยา ฯลฯ ตามโจทย์ และวิสัยทัศน์ ของ 3 ผู้บริหารระดับสูงจาก 3 ภาคธุรกิจที่ต้องการทดแทนคุณค่ากลับคืนสู่ประเทศไทยในบริบทใหม่ อาทิ โครงการต่างๆ เหล่านี้   

 

SEAC

 

อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) กับหนึ่งในหัวข้องานวิจัยที่สนับสนุนให้ทาง The Stanford Thailand Research Consortium ทำการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเจาะลึกอย่างเต็มรูปแบบเรื่อง ‘คุณภาพของคน’ ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่โลกธุรกิจทั่วโลกต่างกำลังเผชิญอยู่ เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนสำหรับประเทศไทย ตลอดจนองค์ความรู้ที่ประเทศไทยจะได้รับระหว่างร่วมกันทำงานวิจัย จากศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญระดับโลกของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาศักยภาพคนไทย นำประเทศก้าวเดินไปสู่มาตราฐานใหม่ ให้เท่าทันกับบริบทของโลกธุกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป  

 

SEAC

 

กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในเรื่อง ‘Digital Disruption’ ที่เชื่อว่าสิ่งที่ท้าทายมากไปกว่าการปรับตัวให้ทันกระแสโลกยุคดิจิทัล นั่นคือการเตรียมพร้อมให้คนไทยมีความเข้าใจ ตื่นตัว และพร้อมนำองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปคิดค้นต่อยอดทำสิ่งใหม่ๆ โดยมีพื้นฐานจากความคิดสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยในวงกว้าง ซึ่งการเข้าร่วมศึกษาวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ SEAC ในครั้งนี้ จึงถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยยกระดับองค์ความรู้ของคนไทยได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยยกระดับสังคม และเศรษฐกิจของประเทศได้ในระยะยาว

 

SEAC

 

และ ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กับความมุ่งมั่นในการช่วยแก้ไขปัญหาและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เช่น โครงการรักษ์ป่าน่าน ที่จะทำวิจัยร่วมกับ The Stanford Thailand Research Consortium เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหากับจังหวัดอื่นๆ ในอนาคต ตลอดจนงานวิจัยในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศไทย ด้วยความตระหนักรู้และเข้าใจมากขึ้น

 

นอกจากนี้ สิ่งที่ SEAC โดยอริญญาให้ความสำคัญเหนืออื่นใดก็คือ ความมุ่งมั่นในการให้งานวิจัยที่ออกมาทุกชิ้นต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ นำมาซึ่งโอกาสในทักษะชีวิตใหม่ๆ และนวัตกรรมใหม่ อยู่ภายใต้หลักการ

 

‘Do Good’ ประเทศไทยต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

 

‘Do Well’ ธุรกิจไทยต้องตอบโจทย์ใหม่ๆ ได้ในทุกการเปลี่ยนแปลง

 

เมื่อเคียงคู่กับเจตนารมณ์ของ SEAC ที่ต้องการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้วยการสร้าง ‘Lifelong Learning Ecosystem’ หรือสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเข้าไปด้วยแล้ว ก็ยิ่งมั่นใจได้ว่า SEAC ร่วมกับภาคเอกชนต่างๆ และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ค่อยๆ เริ่มผนึกกำลังสร้างสรรค์งานวิจัยไทย เพื่ออนาคตของคนไทยที่ดีกว่าอยู่ ณ ขณะนี้ จะเติบโตฝังรากแก้วลึกเข้าไปในทุกภาคส่วน และช่วยให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้า เท่าทัน ทัดเทียมเวทีโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าโลกจะถูก Disruption ด้วยภาวะอะไรก็ตาม

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising