โลกของการทำงานคือโลกอีกใบที่ใกล้ตัวเราทุกคน คือโลกที่คุณต้องพบเจออยู่ตลอดวัน ตลอดเดือน ตลอดปีอย่างหลีกหนีไม่ได้ เราอยากให้คุณลองสำรวจไปรอบๆ ตัวขณะนั่งหลังงออยู่หน้าคอมพิวเตอร์คู่ใจของคุณว่า แท้จริงแล้ว คุณเคยได้ลองสำรวจชีวิตความเป็นอยู่ของคุณและองค์กรของคุณอย่างถี่ถ้วนหรือไม่ บริษัทคุณสามารถตอบรับความต้องการหรือสร้างสรรค์นโยบายใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อก้าวทันพฤติกรรมของคนทำงานที่เปลี่ยนไปแล้วหรือไม่? หรือคุณรู้สึกว่าบรรยากาศรอบตัวก็แห้งเหี่ยวเหมือนที่เคยเป็นมา?
THE STANDARD ขออนุญาตเชิญชวนคุณไปสำรวจ 4 วิถีการทำงานของคนออฟฟิศยุคใหม่ในโลกยุคนี้ ว่าปัจจุบันอะไรคือสิ่งที่มนุษย์ต้องการเพื่อพัฒนาการทำงานและการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น หรือมีความสุขมากยิ่งขึ้น
งานดี ชีวิตก็ต้องดีด้วย
สิ่งแรกที่คนทำงานในยุคนี้หรือไม่ว่าในยุคไหนควรจะต้องตระหนักกันไว้เสมอ คือการที่คุณจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง ‘การทำงาน’ และ ‘ชีวิตส่วนตัว’ ให้พอดิบพอดีกัน มีการงานที่ดีแล้ว ชีวิตในเรื่องอื่นๆ ก็ต้องดีตามกันไปด้วย แน่นอนว่าความสมดุลสองเรื่องทั้งการงานและชีวิตมันสำคัญอย่างไร? ตามการศึกษาจากงานวิจัยของแกลลัพ บริษัทวิจัยสถิติทางด้านเศรษฐกิจ เผยว่าจากการสัมภาษณ์กลุ่มคนทำงานที่ทำงานมากกว่า 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสามารถ ‘ทำได้จริง’ นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการจัดการลำดับความสำคัญของชีวิต ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ และการมีช่วงเวลาหยุดพักให้กับตัวเอง ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวไม่ใช่แค่คนทำงานเท่านั้น แต่หมายถึงนักกีฬาที่เก็บตัวฝึกซ้อมสำหรับการแข่งขันโอลิมปิกก็ดี หรือแม้แต่นักเรียนเกรดเยี่ยมที่ทำคะแนนได้เกรดเอเสมอ
ดังนั้นเราจึงเห็นว่าแท้จริงแล้วบรรยากาศโดยรอบของสถานที่ทำงานนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะหากคุณได้เปลี่ยนบรรยากาศทำงานในพื้นที่เอาต์ดอร์ ที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้หรือพื้นที่สีเขียวๆ ก็เปรียบเสมือนคุณได้พักผ่อน พักสายตา เพิ่มไฟและความคิดให้กับการทำงานของคุณได้
ยืดหยุ่น แต่ไม่หย่อนยาน
หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า ‘Gig Economy’ กันมาบ้าง กับการนิยามการทำงานของคนยุคใหม่ที่ว่าด้วยเรื่องของคนในกลุ่มทำงานแบบฟรีแลนซ์ พาร์ตไทม์ ไม่มีเวลางานตายตัวหรือสัญญาว่าจ้างระยะยาวเป็นหกเจ็ดปี พวกเขาคือกลุ่มที่ต้องการความยืดหยุ่นและเวลาแก่ชีวิตที่มากกว่า แต่ในขณะเดียวกันหลายๆ คนที่มีงานประจำเองก็ต้องการทำงานที่ไม่รัดกุมเวลา หรือมีเวลาเข้างานที่แน่นอนเช่นกัน ซึ่งเราเข้าใจว่าไม่ใช่ทุกสายงานสายอาชีพจะสามารถถือครองสิทธิ์การทำงานที่ ‘ยืดหยุ่น’ เช่นนี้ได้ แต่หากว่าเราลองเปลี่ยนเวลาการเข้างานออกงานให้ตอบรับกับสภาพสังคมของเราได้ก็น่าจะเป็นหนทางที่น่าสนใจ
คุณลองจินตนาการถึงช่วงเช้าวันจันทร์ที่ฝนตกหนักและรถไฟฟ้าเสีย คุณในฐานะลูกจ้างที่ต้องรีบบึ่งไปถึงออฟฟิศให้ทันแปดโมงหรือเก้าโมงจะรู้สึกหงุดหงิดกับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ขนาดไหน ลองมองย้อนกลับไปในฐานะองค์กรหรือบริษัท หากคุณลองเลื่อนเวลาการเข้างานได้ให้สายขึ้นอีกนิด แต่ยังคงปริมาณชั่วโมงการทำงานไว้ให้ครบถ้วน ก็ไม่น่าใช่เรื่องที่น่ากลัวแต่อย่างใด ทั้งยังให้อิสระในการจัดการเวลาแก่พนักงานทุกคน ซึ่งเป็นการวัดคุณภาพและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลไปในตัวด้วย
พักกลางวัน คือความสุขระหว่างวัน
อีกเรื่องที่น่าสนใจกับการทำงานของคนในยุคนี้คือการพักผ่อนระหว่างวัน เพื่อเสริมความสุขให้ทุกวันทำงานเป็นเรื่องสนุกๆ คุณอาจจะรู้สึกว่าเวลาช่วงพักกลางวันนั้นเป็น Golden Time ของคุณ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณเองก็ต้องเร่งใช้เวลาตรงนั้นอย่างคุ้มค่า เพื่อที่จะได้รีบกลับมาทำงานให้ทันในช่วงบ่าย แต่จะดีกว่าหรือไม่หากออฟฟิศยุคใหม่ตอบโจทย์คนทำงานยุคใหม่ ให้คุณได้ใช้เวลาตรงนั้นอย่างคุ้มค่าแท้จริง ในสถานที่ที่ คุณสามารถเดินเล่นช้อปปิ้งและมีร้านอาหารหลากหลายให้เลือกทานในช่วงพักกลางวัน รวมไปถึงมีพื้นที่ส่วนกลางให้เดินเล่นพักผ่อนเพื่อย่อยอาหารก่อนกลับไปทำงาน รวมไปถึงยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้ทำทั้งก่อนและหลังทำงาน เช่นฟิตเนส หรือสวนสาธารณะ เพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย พร้อมลุยงานต่ออย่างเต็มที่
เงินอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป
ในเรื่องการทำงานถ้าเราไม่พูดถึงเรื่อง ‘ค่าตอบแทน’ เลยมันก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะมันคือค่าเหนื่อย ค่าแรง ค่าความคิดที่เราใช้ไปกับการทำงาน ซึ่งแน่นอนว่าค่าตอบแทนที่สูงมักมากับหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากมายกว่าผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่า (แต่เรื่องนี้ก็ไม่จริงเสมอไป-จริงไหม) แต่ผลงานวิจัยล่าสุดของแอนดรูว์ แชมเบอร์เลน (Andrew Chamberlain) นักวิจัยจากกลาสดอร์ บริษัทวิจัยทางด้านเศรษฐกิจ กลับออกมาเปิดเผยว่า ‘เงิน’ อาจไม่ใช่คำตอบของการเลือกทำงานในบริษัทใดบริษัทหนึ่งอีกต่อไป จากการสำรวจเด็กๆ จบใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนกว่า 6,000 คนพบว่า ปัจจัยที่จะทำให้พวกเขาเลือกทำงานในบริษัทสักแห่งหนึ่ง คำตอบที่คนตอบมากที่สุดก็คือ ‘เงิน’ นั่นแหละ คุณเดาไม่ผิดหรอก เพราะสุดท้ายเงินก็สำคัญเสมออยู่วันยันค่ำ แต่คำตอบใหม่ที่เกิดขึ้นและตามมาติดๆ ในอันดับที่สองคือ ‘วัฒนธรรมองค์กร’ อันเป็นเรื่องใหม่ที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้น และเงินอาจไม่ใช่คำตอบเดียวเสมอไปอีกแล้ว
‘เอ๊ะ บริษัทนี้ทำงานกันอย่างไรนะ’ หรือ ‘สงสัยจังว่าที่นี่เขาทำงานกันมีความสุขหรือเปล่า’ คำถามเหล่านี้คือการวัดคุณค่าขององค์กรอย่างแท้จริง ว่าคนภายนอกรู้สึกอย่างไร และอยากจะร่วมงานกับบริษัทดังกล่าวหรือไม่ อันเป็นความคิดเห็นสำคัญที่จะคัดกรองให้คนที่ ‘อยาก’ เข้ามาทำงานจริงๆ และอยากทำงานไม่ใช่แค่เพราะตัวเงินที่พึงพอใจ แต่ยังหมายรวมถึงบรรยากาศโดยรวมอีกด้วย หากบริษัทมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีแล้ว นั่นคือบ่อเกิดของการทำงานที่ดีด้วยเช่นกัน บ้างก็อาจจะมีเวิร์กช็อปเพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรและพนักงานทุกเดือน หรือการหมุนเวียนทีมงานไปเรื่อยๆ เพื่อประสบการณ์หลากหลาย หรือไม่ต้องคิดไปไกลขนาดนั้นก็ได้ เพียงแค่มีการเฮโลกันไปกินข้าว นั่งชิลดวลดริงก์สักแก้วหลังเลิกงานให้เกิดสังคมใหม่ๆ เพื่อนใหม่ หรือแค่เล่นจับคู่บัดดี้กันทุกเดือนก็เป็นความรู้สึกที่ดีมากๆ แล้ว
คุณมีพื้นที่ที่จะรองรับความต้องการของคุณหรือยัง
และนอกเหนือจากวิถีการทำงานของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไปแล้ว สิ่งที่จะเข้ามาตอบรับความต้องการเหล่านั้นให้กับพวกเขาคือสถานที่ที่เพียบพร้อมและตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ของคนทำงานได้อย่างรอบด้าน และโครงการใหม่ล่าสุดอย่าง The PARQ คือสถานที่ที่พร้อมสนับสนุนทุกเหตุผลของวิถีการทำงานของคนยุคใหม่ กับพื้นที่สำนักงานระดับเกรดเอ ที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและระดับสากล ด้วยนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของบุคลากร ซึ่งจุดเด่นของอาคารนี้คือขนาดพื้นที่ต่อชั้น (Floor Plate) ซึ่งปราศจากเสาภายใน (Column-free) ขนาดใหญ่ถึง 5,000 ตารางเมตร นับเป็นพื้นที่มากที่สุดในกรุงเทพฯ และเพดานสูงถึง 3 เมตร เพื่อสร้างความยืดหยุ่นแก่ผู้เช่าในการจัดสรรและออกแบบพื้นที่สำนักงานของตนเอง
นอกจากนี้ยังมีส่วนบริเวณของ The PARQ Life (เดอะ ปาร์ค ไลฟ์) เป็นแหล่งรวมร้านค้า ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์อาหาร บนพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิด ‘Eat Well and Shop Well’ เพื่อให้ชีวิตคุณได้บาลานซ์ความสุขทั้งเรื่องงานและการใช้ชีวิตได้อย่างครบถ้วน
และสิ่งที่โครงการ The PARQ ให้ความสำคัญมากๆ อีกหนึ่งจุด คือการรังสรรค์พื้นที่อาคารและสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพและประสิทธิภาพของมนุษย์ โดยภายในยังมีสวน ‘Q Garden’ (คิว การ์เด้น) ซึ่งเป็นสวนลอยฟ้าขนาด 3,400 ตารางเมตรที่ร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดและตกแต่งด้วยธารน้ำอย่างสวยงามไว้ รวมถึงจัดสรรพื้นที่สีเขียวอีกมากกว่า 7,000 ตารางเมตร โดยผสมผสานอยู่ในพื้นที่ส่วนต่างๆ ทั่วทั้งโครงการ เพื่อให้ผู้ใช้ชีวิตใน The PARQ และผู้มาเยือนสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ตลอดเวลาอีกด้วย
นอกจากนี้ โครงการยังใช้คอนเซปต์ ‘Build Well’ สอดแทรกบริการอัจฉริยะต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐาน ‘LEED’ (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็นระบบการจัดเรตติ้งที่คิดขึ้นโดยสภาการก่อสร้างอาคารสีเขียวแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Green Building Council-USGBC) เพื่อประเมินผลงานด้านสิ่งแวดล้อมของอาคาร และ ‘WELL’ ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสูงสุดที่ใช้กับอาคาร การออกแบบพื้นที่ภายในและชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการออกแบบส่วนประกอบเพื่อการใช้งาน สร้างให้เกิดความสมบูรณ์ และการวัดผลที่สนับสนุนและพัฒนาสุขภาพและสวัสดิภาพของมนุษย์ โดยในโครงการ The PARQ เองมีเทคโนโลยีที่สอดรับกับมาตรฐานสากลดังกล่าวไว้มากมาย ทั้งเครื่อง UV Emitter ที่จะตรวจจับรังสีอัลตราไวโอเลตเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศในอาคาร มีระบบการความคุมและระบายอากาศบริเวณอาคารที่จอดรถ และเซนเซอร์ตรวจสภาวะก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในอากาศ รวมไปถึงการออกแบบให้ภายในอาคารมีเสียงรบกวนต่ำที่สุด เป็นต้น สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการที่มุ่งจะเป็นอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทยที่รับรองโดยมาตรฐานอาคารระดับโลก LEED Gold และ WELL Gold
หากงานดีแล้ว ชีวิตดีแล้ว คุณควรจะมีพื้นที่ที่ดีในการตอบรับความต้องการขององค์การคุณได้อย่างรอบด้าน เพื่อก้าวที่ใหม่กว่า และพัฒนาการของวิถีชีวิตมนุษย์และคุณภาพชีวิตการทำงานของทุกคน
สามารถติ
อ้างอิง: