×

THE END OF GLOBALIZATION?: จากยูเครนถึงไต้หวัน ไทยควรวางหมากอย่างไร ในเกมภูมิรัฐศาสตร์โลก

26.11.2022
  • LOADING...
THE END OF GLOBALIZATION

 

 

“ตกลงมันเกิดอะไรขึ้นหลังรัฐประหาร 2014 ทำไมชุดความคิดด้านการต่างประเทศไทยหลังปี 2014 มันเหมือนหายไปเลย…หรือว่าปัญหาอยู่ที่วิสัยทัศน์ของกลุ่มผู้นำที่ไม่มีชุดความคิดด้านการต่างประเทศที่ชัดเจน ทำให้เสน่ห์ไทยไม่มี 

 

ถ้าเราบอกว่า เราไม่ต้องการให้โลกจับตามองเรา นั่นอาจเป็นเพราะผลพวงของรัฐประหาร 

 

แต่พอนานขึ้นๆ เราติดนิสัยที่จะเป็นคนไม่พูด ไม่แสดงออก และเชื่อว่าการไม่พูดและไม่แสดงออกบนเวทีโลกจะเป็นสิ่งที่พิทักษ์เรา แต่สำหรับผมว่าไม่ใช่ แต่กลับเป็นการทำลายผลประโยชน์ของตัวเราเอง”

 

ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นต่อบทบาทการต่างประเทศของไทย หลังเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อปี 2014 บนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022  วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565

 


“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Quiet Diplomacy ต้องนำมาซึ่งผลที่จับต้องได้

 

…และบางครั้งก็สามารถใช้ควบคู่ไปกับการทูตแบบ Megaphone ได้ 

 

อาทิ การส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ตรงนี้ไม่ต้อง Quiet แต่ต้องทำแบบเสียงดัง ประเทศไทยจึงจะได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น”

 

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แสดงความคิดเห็นต่อบทบาทการต่างประเทศของไทยในระยะหลังๆ ที่มีลักษณะเป็น Quiet Diplomacy บนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565


 

“แนวทางแก้ไข (วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน) คือ ต้องรักษาอธิปไตยของยูเครน 

 

ต้องรักษาหลักเรื่องสิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง อย่างดินแดนที่รัสเซียอ้าง ก็ต้องปล่อยให้เขากำหนดชะตากรรมของพวกเขา ไม่ใช่เข้าไปจัดการเลือกตั้งเอง 

 

ยูเครนต้องมีความเป็นกลาง ไม่ควรสมัครเข้าเป็นสมาชิก NATO เพราะสิ่งนี้จะทำให้ดุลแห่งอำนาจในยุโรปเสียไป 

 

และอาจต้องหาโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง รัสเซีย-NATO เสียใหม่ เพราะ NATO ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดช่วงสงครามเย็น”

 

สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ที่ปรึกษาพิเศษด้านการต่างประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

แสดงความคิดเห็นถึงแนวทางแก้ไขวิกฤตความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน บนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565


“เรากำลังสร้างสภาวะของการเป็นกองเชียร์สงคราม 

เราดูสงครามเหมือนกับเชียร์กีฬา

ไม่ต่างกับการแทงม้าว่า ฝ่ายไหนจะชนะ

ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตราย เพราะข้อมูลหลายส่วนที่พูดถึงกันไม่ค่อยเป็นจริง”

 

ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นต่อกรณีสงครามในยูเครน บนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022 
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565


 

 

โลกาภิวัตน์แบบเดิม สิ้นสุดลงแล้ว จบไปแล้ว 

เป็นโลกาภิวัตน์ใหม่ 

หรือจะเรียกว่า เศษเสี้ยวของโลกาภิวัตน์”

 

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แสดงความเห็นเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน บนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565


 

 

“ศตวรรษนี้เป็นศตวรรษของเอเชีย 

เป็นศตวรรษของโลกาภิวัตน์ที่ไม่เหมือนเดิม 

เป็นโลกาภิวัตน์ที่แบ่งเป็น 2 ขั้ว

เป็นห่วงโซ่ซัพพลายเชนที่แยกออก 

แต่อยู่คนเดียว อยู่แต่ข้างในไม่ได้”

 

ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ด้านกฎหมายและการเมืองระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นเกี่ยวกับสภาพโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน บนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565


 

 

“วิชารัฐศาสตร์มีกติกาข้อเดียวคือ จะเป็นนโยบายได้ ต้องเปลี่ยนรัฐบาลได้

 

ถ้าจะเปลี่ยนยุทธศาสตร์ประเทศใหม่ โดยไม่เปลี่ยนรัฐบาลเลย 

คำตอบคือ เป็นไปไม่ได้

 

ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นต่อข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนหรือขับเคลื่อนนโยบายผ่านมุมมองทางรัฐศาสตร์ บนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X