×

อินโดนีเซียมีหนาว! ไทยพบแร่ลิเธียม-โซเดียม ผลิตแบตเตอรี่ EV 100% ขึ้นแท่นผู้ผลิตเบอร์ 3 ของโลก รองจากโบลิเวียและอาร์เจนตินา

19.01.2024
  • LOADING...

ไทยเฮ! พบแร่ศักยภาพลิเธียม-โซเดียม แร่หลักในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 100% เดินหน้าตรงตามเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางและฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV ในภูมิภาค ขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียเองย้ำชัดว่า จะผลักดันให้อินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปลายทศวรรษนี้เช่นกัน

 

รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งสำรวจจนพบแหล่งแร่ลิเธียมที่มีศักยภาพ 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม ล่าสุดไทยยังค้นพบแหล่งแร่โซเดียมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นปริมาณสำรองอีกจำนวนมาก ซึ่งแร่ทั้งสองชนิดนี้ถือเป็นแร่หลักหรือวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) 100% เสริมศักยภาพความพร้อมของไทยในการเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางและฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV ในภูมิภาค 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

จากปีก่อนหน้าที่เป็นข่าวใหญ่ว่าอินเดียค้นพบแร่ลิเธียม และกลายเป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และ EV นั้น ตอนนี้ไทยก็มีลุ้นเช่นกัน ซึ่งล่าสุดจากข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ระบุว่า ไทยสำรวจพบ (Resources) แร่ลิเธียมกว่า 14,800,000 ล้านตัน (Million Tonne: Mt) ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ค้นพบแร่ดังกล่าวมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากโบลิเวียและอาร์เจนตินา 

 

การค้นพบแร่ศักยภาพลิเธียม-โซเดียม ถือเป็นทั้งข่าวดีและเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย “ทำให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองแร่ลิเธียมมากที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติที่มีศักยภาพเข้ามาตั้งโรงงาน ท่ามกลางการแข่งขันของนานาประเทศ” เพื่อให้ไทยมุ่งสู่การเป็นฐานผลิตหลักของภูมิภาค ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าความต้องการลิเธียมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายในปี 2025 และจะต้องการมากกว่า 2 ล้านตันภายในปี 2030 

 

พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า “หลังจากที่ได้พูดคุยกับนักลงทุน เมื่อทราบว่าไทยมีแหล่งลิเธียมก็ได้รับความสนใจอย่างมาก มีการสอบถามเข้ามาว่าจะมีการผลิตที่ไหน อย่างไร โดยเฉพาะนักลงทุนจีน ในส่วนนี้เชื่อว่าจะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าสู่การเป็นฐานผลิตแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค”  

 

อดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กพร. ได้อนุญาตอาชญาบัตรพิเศษจำนวน 3 แปลง เพื่อสำรวจแหล่งลิเธียมในพื้นที่อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 

 

รองรับรถยนต์ EV 1 ล้านคัน 

 

โดยพบว่าหินอัคนีเนื้อหยาบมากสีขาว หรือหินเพกมาไทต์ ซึ่งเป็นหินต้นกำเนิดที่นำพาแร่เลพิโดไลต์สีม่วง หรือแร่ที่มีองค์ประกอบของลิเธียมมาเย็นตัวและตกผลึก จนเกิดเป็นแหล่งลิเธียมที่มีศักยภาพ 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติ มีปริมาณสำรองประมาณ 14.8 ล้านตัน เกรดลิเธียมออกไซด์เฉลี่ย 0.45% และแหล่งบางอีตุ้ม  

 

โดยลิเธียมจากแหล่งเรืองเกียรติ หากมีการอนุญาตประทานบัตรเพื่อทำเหมือง คาดว่าจะสามารถนำแร่ลิเธียมมาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาด 50 kWh ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคัน 

 

ที่สำคัญคือเทคโนโลยีการแต่งสินแร่ลิเธียมในปัจจุบันสามารถควบคุมและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนได้เป็นอย่างดี 

 

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ทั้งไทยและอินโดนีเซียต่างเป็นประเทศที่มีนโยบายการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า และตั้งเป้าฮับการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องภูมิภาค 

 

โดยอินโดนีเซียมีแต้มต่อทั้งประชากรจำนวน และมียอดขายรถยนต์ในประเทศที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนไทยแม้มีตลาดภายในประเทศที่เล็กกว่า แต่ยังคงรั้งตำแหน่งดีทรอยต์แห่งเอเชียในอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาป ซึ่งมีตลาดส่งออกในต่างประเทศที่ใหญ่กว่า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีมากขึ้น 

 

 

 

ดังนั้นทรัพยากรแร่จึงเป็นโอกาสและความท้าทายของไทยและอินโดนีเซีย

แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อินโดนีเซียมีจุดแข็งด้านทรัพยากรห่วงโซ่อุปทานแร่ดิบที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อนำมาผลิตแบตเตอรี่ โดยเฉพาะนิกเกิล ซึ่งกว่า 25% ล้วนอยู่ในอินโดนีเซีย ส่งผลให้กลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตนิกเกิลรายใหญ่ที่สุดของโลกที่มีปริมาณมากถึง 1 ล้านเมตริกตัน

 

แม้มีนิกเกิล แต่อินโดนีเซียยังขาดลิเธียมสำรอง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตไปบ้าง อย่างไรก็ตาม บริษัทเหมืองแร่ในท้องถิ่นและระดับโลกหลายแห่งมุ่งมั่นที่จะขยายการดำเนินงานเหมืองแร่นิกเกิลในอินโดนีเซีย เพื่อผลิตสารตัวกลางนิกเกิลและโคบอลต์อย่างต่อเนื่อง โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง CATL, LG Energy Solution, Tsingshan, BASF, Zhejiang Huayou Cobalt และ POSCO ต่างได้ประกาศแผนการลงทุนในโรงงานผลิตที่จะแปรรูปนิกเกิลและโคบอลต์ในอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าการลงทุนเหล่านี้จะทำให้อินโดนีเซียมีกำลังการผลิตเซลล์ลิเธียมไอออน 25GWh ภายในปี 2025 และจะขยายเป็น 80GWh ภายในปี 2030

 

นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียย้ำชัดว่า จะผลักดันให้อินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปลายทศวรรษนี้เช่นกัน

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X