รายงานล่าสุดของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ระบุว่า ไทยเผชิญวิกฤตเยาวชนและประชากรวัยแรงงานขาดแคลนทักษะหรือมีทักษะทุนชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์ (Threshold Level) ‘ในสัดส่วนที่สูง’ โดยปัญหาดังกล่าวคาดว่าได้สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 20.1% ของ GDP
เปิดข้อค้นพบ (ที่น่าตกใจ) ในรายงาน
- เยาวชนและประชากรวัยแรงงานในประเทศไทยจำนวนเกือบ 2 ใน 3 (64.7%) มีทักษะทุนชีวิตในด้านการรู้หนังสือ (Reading Literacy) ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งหมายความว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถที่จะอ่านและเข้าใจข้อความสั้นเพื่อแก้ปัญหาง่ายๆ เช่น การทำตามฉลากยา
- ขณะที่ 3 ใน 4 (74.1%) ของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานมีทักษะทุนชีวิตด้านดิจิทัล (Digital Skills) ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หมายความว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ประสบปัญหาในการใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์และแป้นพิมพ์ (Keyboard) บนคอมพิวเตอร์พกพา และไม่สามารถทำงานง่ายๆ เช่น การค้นหาราคาที่ถูกต้องของสินค้าจากเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ได้
- ยิ่งไปกว่านั้น 30.3% ของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานมีทักษะทุนชีวิตทางอารมณ์และสังคม (Socio-Emotional Skills) ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งหมายความว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่มีแนวโน้มที่จะคิดริเริ่มเพื่อสังคม หรือมีความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น และมีจินตนาการ
อ่านบทความและรายงานฉบับเต็มได้ที่:
- https://thestandard.co/thailand-crisis-skills-shortage/
- https://www.eef.or.th/wp-content/uploads/2024/02/ASAT-report_TH.pdf
ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย