แนวโน้มการลงทุนในปี 2566 ยังเป็นปีที่มีความท้าทายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณชะลอตัวลง แต่หากมองในอีกมุมหนึ่งก็ถือว่าเป็นความสำเร็จที่เริ่มสะท้อนให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ จากใช้นโยบายทางการเงินเข้มงวดของธนาคารกลางทั่วโลกในการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกในช่วงตลอดปีที่ผ่านมา แนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งราคาพลังงานและอาหารที่เริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ในช่วงกลางปี 2565 ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เฟ้อในประเทศต่างๆ ทั่วโลกชะลอความร้อนแรงขยายตัวด้วยอัตราเร่งที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินเฟ้อของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและยูโรโซน น่าจะผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้วตั้งแต่ครึ่งปีหลังที่ผ่านมา โดยเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่เคยเร่งตัวสูงถึง +9.1%YoY ในเดือนมิถุนายน เริ่มชะลอลงมาสู่ระดับ +7.1%YoY ในเดือนพฤศจิกายน ในขณะที่ยูโรโซนก็น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้วเช่นเดียวกัน หลังขยายตัวสูงถึง +7.9%YoY ในเดือนสิงหาคม ก่อนที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด รวมถึงการเปิดประเทศของจีนที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2566 ถือว่าเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนั่นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกสำคัญที่ช่วยเรียกความเชื่อมั่นและความคาดหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนได้ในปีนี้ และน่าจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมถึงการค้าทั่วโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน และยิ่งไปกว่านั้น การที่นักท่องเที่ยวจีนสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ จะเป็นผลบวกต่อการฟื้นตัวของภาคการบริโภคและการท่องเที่ยวได้ ซึ่งหากพิจารณาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพารายได้ทั้งจากการค้าและการท่องเที่ยวจากจีนค่อนข้างมาก โดยในช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิดมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 27% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยทั้งหมดในปี 2562 ซึ่งภายหลังการเปิดประเทศของจีนน่าจะหนุนให้นักท่องเที่ยวจีนทยอยเดินทางเข้าประเทศไทยในระดับ 5 ล้านคน (หรือประมาณเกือบ 20% ของระดับปกติ) ภายในปี 2566 และค่อยๆ เร่งตัวสู่ระดับปกติในปี 2567
หากพิจารณาเศรษฐกิจไทย ที่นอกจากจะได้อานิสงส์เชิงบวกจากปัจจัยภายนอกต่างๆ ส่องปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเส้นทางตลาดหุ้นไทยปี 2566
แนวโน้มการลงทุนในปี 2566 ยังเป็นปีที่มีความท้าทายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณชะลอตัวลง แต่หากมองในอีกมุมหนึ่งก็ถือว่าเป็นความสำเร็จที่เริ่มสะท้อนให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ จากใช้นโยบายทางการเงินเข้มงวดของธนาคารกลางทั่วโลกในการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกในช่วงตลอดปีที่ผ่านมา
แนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งราคาพลังงานและอาหารที่เริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ในช่วงกลางปี 2565 ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เฟ้อในประเทศต่างๆ ทั่วโลกชะลอความร้อนแรงขยายตัวด้วยอัตราเร่งที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินเฟ้อของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ และยูโรโซน น่าจะผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้วตั้งแต่ครึ่งปีหลังที่ผ่านมา โดยเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่เคยเร่งตัวสูงถึง +9.1%YoY ในเดือนมิถุนายน เริ่มชะลอลงแล้ว
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่กำลังจะเกิดก็ถือว่ามีผลต่อการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและการลงทุนของไทยในระยะยาวเช่นกัน ซึ่งจากสถิติในอดีตที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมักจะมีแรงหนุนจากความคาดหวังเก็งกำไรเชิงบวกก่อนการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเร่งใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ๆ เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐภายใต้ปีงบประมาณใหม่
ขณะเดียวกัน แรงหนุนจากความคาดหวังเชิงบวกต่อการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองยังเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทยในภาพรวม จากสถิติการเลือกตั้ง 5 ครั้งล่าสุดในอดีต บ่งชี้ว่า SET Index มักจะปรับตัวขึ้นในช่วง 3 เดือนก่อนการเลือกตั้ง โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +3.4% และยังคงโดดเด่นต่อเนื่อง 1 เดือนหลังการเลือกตั้ง ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย +5.3% ซึ่งหากประเมินจากกรอบระยะเวลาที่การเลือกตั้งทั่วไปน่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรครบวาระในวันที่ 23 มีนาคม 2566 หรือในกรณีของการยุบสภาในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน
ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิด Election Rally ในช่วง 1Q66 ก่อนการเลือกตั้ง และต่อเนื่องหลังการเลือกตั้งในช่วง 2Q66 จากการตอบรับเชิงบวกต่อโครงการต่างๆ ที่เริ่มมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ด้านกลยุทธ์การลงทุน เริ่มมีความน่าสนใจจากแนวโน้มตลาดหุ้นไทยที่ยังมีทิศทางปรับตัวขึ้นด้วยแรงหนุนจากภาพเงินเฟ้อทั่วโลกที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว การกลับมาของเศรษฐกิจจีน ผสานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และการเลือกตั้งรอบใหม่ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นแรงผลักดันให้กระแสเงินทุนยังคงไหลเข้าไทยต่อเนื่อง และหนุนทิศทางค่าเงินบาทยังคงแข็งค่า
ดังนั้นจึงมองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานเด่น ซึ่งธีมการลงทุนที่น่าสนใจจะเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่อิงกับภาพเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัว ผสานกับการกลับมาของจีน ซึ่งคาดจะเป็นบวกต่อกลุ่มค้าปลีก กลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มธนาคาร นอกจากนี้ แนะนำสะสมกลุ่มที่จะได้อานิสงส์เชิงบวกจากความคาดหวังของการเลือกตั้งครั้งใหม่ โดยจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของประเทศ และเพิ่มความคาดหวังต่อการผลักดันโครงการลงทุนต่างๆ ของภาครัฐและเอกชนมากยิ่งขึ้น ถือเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
นอกจากนี้ แนวโน้มของค่าเงินบาทที่มีโอกาสแข็งค่าต่อเนื่องถือเป็นบวกต่อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า หรือมีการกู้ยืมเงินในสกุลต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง กลุ่มโรงไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าทยอยสะสมเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม “การลงทุนที่ดีควรพิจารณาถึงปัจจัยรอบด้าน” ซึ่งนั่นหมายถึงการนำปัจจัยเสี่ยงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจก่อนการลงทุน โดยในระยะกลางมีสิ่งที่ต้องจับตาเป็นอย่างยิ่งคือ หลังจากที่จีนเปิดประเทศแล้ว อุปสงค์จากจีนจะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าทั่วไปปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้อกลับมาเร่งตัวอีกรอบ ย่อมส่งผลให้ธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกจะยังต้องคงนโยบายดอกเบี้ยแบบตึงตัว และจะเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านลบแก่ตลาดการเงินการลงทุนในอนาคต
บทความที่เกี่ยวข้อง
- “นี่เป็นราคาที่เราพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย” เจ้าของสุกี้ตี๋น้อยกล่าวหลัง Jaymart ควักเงิน 1.2 พันล้านบาทเข้าถือหุ้น 30%
- ADVANC ทุ่ม 32,420 ล้านบาท เข้าซื้อกิจการ 3BB จาก JAS
- กางแผน ‘โอ้กะจู๋’ หลังมี OR เป็นแบ็กอัป เดินหน้าขยายสาขาเพิ่มเป็น 60 แห่ง ขายผักสดและบุก CLMV ก่อน IPO ในปี 2567