คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.00% นับเป็นการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับธนาคารกลางประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงธนาคารแห่งประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% เมื่อสัปดาห์ก่อน
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังคงถือว่า ‘อยู่ในระดับต่ำ’ เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ซึ่งอยู่ที่ 2.5% ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียที่ 4.25% และเวียดนามที่ 5%
จากข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศสุดท้ายของโลกที่ใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบ หลังจากธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 0.0% ในเดือนกรกฎาคม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ส่องนโยบาย ‘แบงก์ชาติทั่วโลก’ เมื่อ ‘วิกฤตเงินเฟ้อ’ กลายเป็นวิกฤตระดับโลกที่ทุกประเทศไม่อาจหลีกเลี่ยง
- วิเคราะห์ 5 สัญญาณ บ่งชี้ เงินเฟ้อ โลกใกล้ถึงจุดพีค
- 10 อันดับ สกุลเงินเอเชีย ที่อ่อนค่าสูงสุดนับจากต้นปี 2565
ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP