×

ผลสำรวจชี้ ภาระหนี้สินครัวเรือนไทยสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2567 เฉลี่ยกว่า 6 แสนบาทต่อครัวเรือน

10.09.2024
  • LOADING...
หนี้ครัวเรือน

ผลสำรวจชี้ ภาระหนี้สินครัวเรือนไทยสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2567 เฉลี่ยกว่า 6 แสนบาทต่อครัวเรือน สาเหตุมาจากรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีเหตุไม่คาดคิดที่ต้องใช้เงินฉุกเฉิน และค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า 71.6% ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยมีปัญหาผิดนัดชำระหนี้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

 

วันนี้ (10 กันยายน) ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย ปี 2567 พบว่า ครัวเรือนไทยมีภาระหนี้สินเฉลี่ย 606,378 บาทต่อครัวเรือน นับเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่เริ่มสำรวจในปี 2552

 

นับว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.4% (จากภาระหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนไทยปี 2566 ที่เฉลี่ย 559,408 บาทต่อครัวเรือน) โดยในจำนวนนี้เป็นหนี้ในระบบ 69.9% และอีก 30.1% เป็นหนี้นอกระบบ

 

ทั้งนี้การสำรวจดังกล่าวเป็นการสำรวจทั่วประเทศ จำนวน 1,300 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1-7 กันยายน 2567 ขณะที่ข้อมูลล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนของไทยต่อ GDP ในไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 90.8%

 

หนี้ครัวเรือน

Screenshot

 

 

สาเหตุที่ผู้คนเป็นหนี้เพิ่มขึ้น 10 อันดับแรก ได้แก่

 

  1. รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 14%
  2. มีเหตุไม่คาดคิดที่ต้องใช้เงินฉุกเฉิน 12.4%
  3. ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น 12%
  4. ภาระทางการเงินของครอบครัวสูงขึ้น 11.2%
  5. ล้มเหลวจากการลงทุน 9.7%
  6. ลงทุนประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น 8.8%
  7. ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 7.7%
  8. ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมากขึ้น 7%
  9. ค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน 4.1%
  10. ขาดรายได้ เนื่องจากถูกออกจากงาน 3.9%

 

เกือบครึ่งมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย เกินครึ่งแก้ปัญหาด้วยการกู้

 

เมื่อให้เปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในปัจจุบันพบว่า 46.3% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่ารายจ่าย, 35% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีรายได้ครัวเรือนเท่ากับรายจ่าย และ 18.7% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีรายได้ครัวเรือนมากกว่ารายจ่าย

 

เมื่อถามถึงวิธีแก้ปัญหา กรณีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย พบว่า 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะใช้วิธีกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ, 25.1% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะใช้วิธีประหยัด/ลดค่าใช้จ่าย, 10.4% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะใช้วิธีดึงเงินออมออกมาใช้ และ 9.5% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะใช้วิธีหารายได้เพิ่ม

 

สำหรับลักษณะการกู้ยืมที่นิยมที่สุดคือการกดเงินสดจากบัตรเครดิต คิดเป็นสัดส่วนดังนี้

  • กดเงินสดจากบัตรเครดิต 24.8%
  • กู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ 23.7%
  • กู้เงินจากธนาคารเฉพาะกิจ 21.2%
  • การจำนำสินทรัพย์ 7.9%
  • กู้เงินจากสหกรณ์ 7.6%
  • กู้ยืมจากญาติพี่น้อง 7.3%
  • กู้ยืมจากนายทุน 6.0%
  • ขายสินทรัพย์ 0.9%
  • บริษัทให้สินเชื่อ 0.6%

 

พบ 71.6% เคยมีปัญหาผิดนัดชำระหนี้

 

นอกจากนี้ 71.6% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เคยประสบปัญหาการขาดการผ่อนชำระหรือผิดนัดผ่อนชำระ

 

ขณะที่อีก 6 เดือน – 1 ปีข้างหน้า 34.2% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีโอกาสมากที่จะประสบปัญหาการผ่อนชำระหนี้, 29.9% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีโอกาสน้อยที่จะประสบปัญหาการผ่อนชำระหนี้, 29.1% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีโอกาสปานกลางที่จะประสบปัญหาการผ่อนชำระหนี้ และ 6.8% ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีโอกาสประสบปัญหาการผ่อนชำระหนี้

 

Screenshot

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X