×

เมืองไทยรั้ง ‘อันดับ 10’ ของโลก จากการจัดอันดับประเทศที่มี ‘มหาเศรษฐี’ ซึ่งมีมูลค่าความมั่งคั่งมากกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท

11.11.2021
  • LOADING...
มหาเศรษฐี

Hurun Report ได้เปิดเผย Hurun Global Rich List 2021 ซึ่งเป็นการจัดอันดับประเทศที่มี ‘มหาเศรษฐี’ (วัดจากความมั่งคั่งในมืออย่างน้อย 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.3 หมื่นล้านบาท) มากที่สุดในโลก

 

รายงานระบุว่า การจัดอันดับรอบนี้ทั่วโลกมีมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้น 412 คน หรือเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 8 คน ทำให้มีมหาเศรษฐีรวมทั้งสิ้น 3,228 คน

 

จีนแผ่นดินใหญ่เป็นประเทศที่มีมหาเศรษฐีมากที่สุดในโลก ด้วยจำนวน 1,058 คน เพิ่มขึ้น 259 คน รองลงมาเป็นสหรัฐอเมริกาที่มีมหาเศรษฐี 696 คน เพิ่มขึ้น 70 คน อันดับที่ 3 ของอินเดียมี 177 คน ตามด้วยเยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ มีประเทศละประมาณ 100 คน

 

ที่น่าสนใจคือ ‘ประเทศไทย’ รั้งอันดับประเทศที่ 10 ของตาราง โดยมีมหาเศรษฐีทั้งสิ้น 52 คน ลดลง 5 คนด้วยกัน

 

ปักกิ่งเป็นเมืองที่มีมหาเศรษฐีอาศัยอยู่มากที่สุดของโลกเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน โดยมีมหาเศรษฐี 145 คนอาศัยอยู่ที่นั่น เพิ่มขึ้น 35 คน ตามด้วยเซี่ยงไฮ้ มีจำนวน 113 คนเพิ่มขึ้น 30 คนทำให้พลิกแซงนิวยอร์กที่ตกมาเป็นอันดับ 3 ด้วยตัวเลข 112 คน เพิ่มขึ้น 14 คน โดย 6 ใน 10 เมืองที่มีมหาเศรษฐีอาศัยอยู่มากที่สุดตกเป็นของแดนมังกร

 

ขณะที่ ‘กรุงเทพฯ’ รั้งอันกับที่ 12 โดยมีมหาเศรษฐีอาศัยอยู่ทั้งสิ้น 51 คนด้วยกัน

 

รายงานจาก Nikkei Asia ระบุว่า ไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นประเทศหนึ่งที่ช่องว่างระหว่างคนรวยและจนค่อนข้างกว้าง แม้ว่าจากการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาเผยว่า รายได้ครัวเรือนต่อเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 17,000 บาทในปี 2557 เป็น 22,000 บาท ภายในปี 2563 แล้วก็ตาม

 

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณี เลาวกุล จากศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า คนรวยที่สุด 40 คนของไทยในปีนี้ ครอบครองความมั่งคั่งมูลค่า 1.517 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 28% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

 

รายงานของ Nikkei Asia ยังระบุด้วยว่า ช่องว่างรายได้ของประเทศไทยในปี 2561 นั้นกว้างที่สุดในโลก โดยข้อมูลของ Credit Suisse เผยว่า บุคคล 1% ครอบครองความมั่งคั่ง 66.9% ของประเทศไทยในปีนั้น 

 

แม้ว่าตัวบ่งชี้ในปี 2563 จะลดลงเหลือ 40% ซึ่งสอดคล้องกับประเทศส่วนใหญ่ในช่วงการระบาดใหญ่ แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่ไม่เท่าเทียมกันมากที่สุดในโลกอันดับที่ 5 จาก 40 ประเทศที่จัดอันดับโดย Credit Suisse

 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X