×

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัส ‘แก๊สน้ำตา’

โดย THE STANDARD TEAM
17.11.2020
  • LOADING...
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัส ‘แก๊สน้ำตา’

แก๊สน้ำตา หรือ Tear Gas เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมักนำมาใช้ในการสลายการชุมนุม มีทั้งแบบที่เป็นฝุ่นฟุ้งกระจายและแบบสเปรย์พริกไทย คุณสมบัติของแก๊สน้ำตาคือ สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่อถูกร่างกายจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวที่สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง เยื่อบุตา เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุจมูกและทางเดินหายใจ 

 

แก๊สน้ำตาอาจเป็นอันตรายแก่ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดหรือถุงลมโป่งพองอยู่เดิม การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตาจะเกิดขึ้นทันทีที่สัมผัส (ภายใน 30 วินาที) และจะคงอยู่นานราว 10-30 นาทีหลังการสัมผัส ซึ่งอาจมีอาการอยู่นานได้ถึง 24 ชั่วโมง 

 

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ได้แนะนำวิธีการปฐมพยาบาลหากถูกแก๊สน้ำตาในสถานการณ์การชุมนุม โดยมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

 

  1. นำผู้ถูกแก๊สน้ำตาออกมาอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  2. หากถูกผิวหนัง ควรถอดเสื้อผ้าออก จากนั้นให้ล้างตัวด้วยน้ำประปาหรือน้ำสะอาด โดยให้น้ำไหลผ่านจำนวนมากอย่างน้อย 10-15 นาที 
  3. หากมีการระคายเคืองตา ถ้าใส่คอนแท็กเลนส์อยู่ ต้องถอดออกก่อน แล้วจึงล้างตาด้วยน้ำประปาหรือน้ำสะอาด โดยเอียงหน้าเทน้ำล้างให้ไหลจากหว่างคิ้วไปทางหางตานานอย่างน้อย 10-15 นาที 
  4. บ้วนปากหลายครั้งด้วยน้ำสะอาด หลังจากน้ันสามารถดื่มน้ำหากรู้สึกระคายคอ ทั้งนี้ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำผู้ถูกแก๊สน้ำตาส่งโรงพยาบาล โดยสามารถขอความช่วยเหลือได้ที่สายฉุกเฉิน 1669

 

 

ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising