×

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

2 ตุลาคม 2023

‘พาดหัวยั่วให้คลิก’ คือศัพท์บัญญัติของ Clickbait หรือ คลิกเบต หลอกล่อให้อ่าน แต่เนื้อหาไม่ครบ-บิดเบือน

วันนี้ (2 ตุลาคม) สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติที่น่าสนใจ โดยมีรายละเอียดระบุว่า พาดหัวยั่วให้คลิก, คลิกเบต เป็นศัพท์บัญญัติของคำว่า Clickbait หมายถึง การพาดหัวข่าวหรือหัวข้อเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต เพื่อดึงดูดความสนใจให้ผู้อ่านเกิดความอยากรู้อยากติดตามอ่านเนื้อหาโดยคลิกเข้าไปอ่าน ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้นอาจไ...
Rishi Sunak
26 ตุลาคม 2022

เขียนชื่อ นายกฯ อังกฤษคนใหม่ ตามราชบัณฑิตฯ เป็นภาษาไทยอย่างไร

ช่วงเย็นวานนี้ (25 ตุลาคม) Rishi Sunak เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสหราชอาณาจักร หรือ อังกฤษ อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีเชื้อสายอินเดียคนแรกของอังกฤษ รวมถึงเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในรอบเกือบ 200 ปี ด้วยวัยเพียง 42 ปีเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม หลัง Sunak ก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯ คนใหม่ ได้เกิดข้อถกเถียงในการเข...
Bangkok
16 กุมภาพันธ์ 2022

ราชบัณฑิตยสภาแจง ‘กรุงเทพ​มหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung​Thep​ Maha​ Nakhon​ และ​ Bangkok

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (15 กุมภาพันธ์) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอ หนึ่งในนั้นคือเมืองหลวงของประเทศไทย ให้แก้ไขจาก Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon โดยเก็บชื่อเดิม (Bangkok) ไว้ในวงเล็บ   ล่าสุด สำ...
ราชบัณฑิตยสภา บัญญัติคำ ‘Metaverse’
3 ธันวาคม 2021

ราชบัณฑิตยสภา บัญญัติคำ ‘Metaverse’ เป็นชื่อภาษาไทยว่า ‘จักรวาลนฤมิต’ และสามารถเขียนทับศัพท์เป็น ‘เมตาเวิร์ส’

มีรายงานจากที่ประชุม คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยราชบัณฑิตยสภามีมติบัญญัติคำว่า ‘Metaverse’ ให้มีชื่อภาษาไทยว่า ‘จักรวาลนฤมิต’ ส่วนคำว่า Metaverse สามารถเขียนเป็นคำทับศัพท์ว่า ‘เมตาเวิร์ส’    สำหรับ Metaverse คือการผสานสภาพแวดล้อมของโลกแห่งความจริงและเทคโนโลยีเข้าด...
15 พฤษภาคม 2020

ราชบัณฑิตฯ บัญญัติศัพท์ใหม่ ‘New Normal’ ใช้ นิวนอร์มัล-ความปกติใหม่-ฐานวิถีชีวิตใหม่

เมื่อวันที่ (13 พฤษภาคม) ศ.นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า ‘New Normal’ พร้อมให้รายละเอียดระบุว่า ‘การพิจารณาศัพท์บัญญัติและนิยามของคำว่า New Normal และ New Norm’   “ราชบัณฑิตยสภาได้แต่งตั้งคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชาและที่จำเป็นเร่งด่วน คณะ...
10 สิงหาคม 2018

ราชบัณฑิตยสภา แจงใช้ ‘ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี’ ถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ข้อมูลถึงการใช้ ‘ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี’ ว่า จากการที่มีข้อมูลส่งเผยแพร่ต่อกันทางไลน์ อ้างว่าไม่ให้ใช้ ‘ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี’ โดยอ้างพระราชสำนักบ้าง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนบ้าง ซึ่งส่งต่อกันโดยไม่อ้างอิงที่มาของผู้ให้ข้อมูลก็มี การอ้างดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่อาจนำมาอ้างอิงอย่างเป็นทาง...
19 มีนาคม 2018

ราชบัณฑิตฯ แจง คำว่า ‘แซ็ว’ เกิดจากการพิมพ์พจนานุกรมฯ ผิด ให้ใช้ ‘แซว’ ตามเดิม

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ออกจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ระบุเรื่องการใช้ คะ, ค่ะ ซึ่งเป็นคำลงท้ายของผู้หญิงที่มักใช้กันอย่างสับสน จึงย้ำเตือนให้เขียนอย่างถูกต้อง โดยจำไว้ว่าที่ถูกต้องคือ คะ, ค่ะ, นะคะ (ไม่มี ค๊ะ, ไม่มี ค๋ะ, ไม่มี นะค่ะ)   นอกจากนี้ คำว่า ‘แซว’ ซึ่งมีผู้สงสัยว่าที่ถูกต้องควรจะเขียนว่า แซว หรือ แซ็ว เนื่องจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิ...


Close Advertising