×

ดาราศาสตร์

19 เมษายน 2023

รู้จักยาน JUICE​ และภารกิจค้นหาชีวิตต่างภพใต้ผิวน้ำแข็ง​ของดวงจันทร์​ดาวพฤหัสบดี

จรวดแอเรียน 5 ส่งยาน JUICE ขององค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA ออกจากฐานปล่อยจรวดในเฟรนช์เกียนา ภูมิภาคโพ้นทะเลของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อเวลา 19.14 น. ของวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา ตามเวลาในประเทศไทย   การปล่อยยานครั้งนี้ล่าช้าจากกำหนด 1 วันเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุฟ้าผ่าบริเวณฐานปล่อยจรวด อย่างไรก็ตาม การปล่อยยานในรอบที่ 2 นี้สำเร็จด้วยดี ...
หลุมดำ
31 มีนาคม 2023

รู้จักหลุมดำขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ มีมวลพอๆ กับดวงอาทิตย์ถึง 32,000 ล้าน​ดวง

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดอรัมในประเทศอังกฤษ นำโดย ดร.เจมส์ ไนติงเกล พบหลุมดำ ‘มวลมหาศาล’ ที่ถือได้ว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา ผ่านเทคนิคการสังเกตการบิดโค้งของแสงที่เรียกว่า ‘เลนส์ความโน้มถ่วง’   หลุมดำขนาดมโหฬารนี้แฝงตัวอยู่ในใจกลางกาแล็กซี Abell 1201 ห่างจากโลกของเราออกไปประมาณ 2,700 ล้านปีแสง มีมวลในระดับที่น่าตกใจ นั่นคือเกินร...
ดาวเคราะห์ 2023 DW
10 มีนาคม 2023

NASA ชี้แจง ดาวเคราะห์ 2023 DW ที่เพิ่งค้นพบ ‘มีโอกาสน้อย’ ที่จะพุ่งชนโลกในปี 2046

สำนักงานประสานงานด้านการป้องกันเกี่ยวกับดาวเคราะห์ภายใต้องค์การ NASA ชี้แจงถึงกรณีดาวเคราะห์น้อย 2023 DW ที่เพิ่งค้นพบไปเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า หลังจากที่เฝ้าติดตามดาวเคราะห์น้อยดวงนี้พบว่ามีแนววงโคจรที่อาจจะพุ่งชนโลกในอีกราว 23 ปีข้างหน้า แต่เน้นย้ำว่ามี ‘โอกาสน้อย’ ที่มันจะพุ่งชนโลกในช่วงวันวาเลนไทน์ ปี 2046    หน่...
เจมส์ เว็บบ์
23 กุมภาพันธ์ 2023

เจมส์ เว็บบ์ ค้นพบกาแล็กซีเก่าแก่ขนาดใหญ่ 6 กาแล็กซี ที่อาจทำให้มนุษย์ต้องทำความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับเอกภพในยุคแรกเริ่ม

เป็นอีกครั้งที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ได้ยกระดับองค์ความรู้ของมนุษย์เกี่ยวกับจักรวาลในยุคแรกเริ่ม โดยในครั้งนี้นักดาราศาสตร์ระบุว่า ข้อมูลที่ได้จากเจมส์ เว็บบ์ เผยให้เห็นวัตถุที่คาดว่าเป็นกาแล็กซีขนาดใหญ่ 6 กาแล็กซีที่มีมวลพอๆ กับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา โดยถือกำเนิดขึ้นประมาณ 540-770 ล้านปี หลังจากปรากฏการณ์บิ๊กแบง (เมื่อ 1.38 หมื่นล้าน...
2 กุมภาพันธ์ 2023

นักฟิสิกส์พบวิธีการใช้คลื่นความโน้มถ่วงค้นหาจุดเริ่มต้นของกาลเวลา

เมื่อเริ่มกำเนิดเอกภพในเหตุการณ์ ‘บิ๊กแบง’ จักรวาลเริ่มมีแรงพื้นฐานทั้งสี่ จากนั้นอนุภาคมูลฐานต่างๆ ก็เริ่มก่อกำเนิดขึ้น แต่ทั้งหมดยังเต็มไปด้วยความมืดมิดจวบจนอนุภาคโฟตอนแรก หรือ ‘แสง’ กำเนิดตามมา    นั่นคือเหตุการณ์เมื่อ 13,800 ล้านปีก่อน นักฟิสิกส์ต่างพยายามศึกษาจักรวาลในช่วงเวลาของการก่อกำเนิดดังกล่าว แต่ก็ยังไม่มีเครื่องมือที่เห...
Gaia BH1
7 พฤศจิกายน 2022

พบ ‘Gaia BH1’ หลุมดำที่อยู่ใกล้โลกที่สุดเท่าที่เคยเจอมา

ในจักรวาลมีเทหวัตถุที่น่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ‘หลุมดำ’ เทหวัตถุทรงพลังที่แม้แต่แสงก็หนีออกมาจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันไม่ได้   ล่าสุดทีมงานของ ดร.คารีม เอล-บาดรี จากศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสมิธโซเนียน ได้ประกาศการค้นพบหลุมดำชนิดมวลดาวฤกษ์ที่มีตำแหน่งอยู่ใกล้โลกมากที่สุด ทำลายสถิติของทุกหลุมนับจากอดีตที่ผ่านมา...
เนบิวลานายพราน
14 กันยายน 2022

เจมส์ เว็บบ์ ปล่อยภาพ ‘เนบิวลานายพราน’ เผยรายละเอียดสุดคมชัด

เรียกได้ว่าสร้างปรากฏการณ์อย่างต่อเนื่องสำหรับกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ โดยล่าสุดนั้นได้ปล่อยภาพของเนบิวลานายพราน (Orion Nebula) ที่เผยให้เห็นรายละเอียดที่มีความคมชัดสูงมากกว่าที่กล้องโทรทรรศน์ในอดีตเคยบันทึกไว้ได้   NASA ร่วมกับองค์การอวกาศยุโรป (ESA) องค์การอวกาศแคนาดา (CSA) และทีมนักวิทยาศาสตร์ PDRs4All เปิดเผยภาพอันน่าตื่นตาตื...
เนบิวลาทารันทูลา
7 กันยายน 2022

เจมส์ เว็บบ์ ปล่อยภาพสุดตื่นตาของเนบิวลาทารันทูลา

วานนี้ (6 กันยายน) NASA ได้ปล่อยภาพใหม่อันน่าตื่นตาของเนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula) หรือที่รู้จักในชื่อ 30 Doradus ซึ่งถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์   เนบิวลาทารันทูลาอยู่ห่างจากโลกของเราออกไป 161,000 ปีแสงในเมฆแมเจลแลนด์ใหญ่ (Large Magellanic Cloud) ซึ่งเป็นกาแล็กซีบริวารของกาแล็กซีทางช้างเผือก โดยเป็นเนบิวลาที่มีขนาดใหญ่...
5 กันยายน 2022

‘ท่องไปในดวงดาว’ เปิดไทม์ไลน์ย้อนดูผลงานน่าตื่นเต้นจาก เจมส์ เว็บบ์

NASA ได้ปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ขึ้นสู่ห้วงอวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2021 เพื่อรับช่วงต่อจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่กำลังจะปลดประจำการ    เวลาผ่านไปไม่ถึง 1 ปี เจมส์ เว็บบ์ ก็ได้สร้างความตื่นเต้นให้กับแวดวงดาราศาสตร์ (และผู้ที่คลั่งไคล้จักรวาลอย่างพวกเรา) แบบต่อเนื่อง ด้วยการปล่อยภาพชุดสุดสวยของดวงดาวบนเอกภพ รวมถ...
ทางช้างเผือก
2 กันยายน 2022

ทางช้างเผือกบนขอบฟ้าแม่จันใต้

ช่างภาพ THE STANDARD เก็บภาพทางช้างเผือกในคืนมืดสนิท ปรากฏแสงสว่างของดาวฤกษ์ ถูกถ่าย ณ ระดับความสูง 1,350 เมตร หมู่บ้านแม่จันใต้ จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา เป็นของขวัญจากพื้นที่ห่างไกล มาช่วยส่งกำลังใจให้คนเมืองได้หยุดพักและดื่มด่ำกับวันหยุดสุดสัปดาห์     เรื่อง: ชาคร ฉายเพชร ภาพ: ศักดิภัท ประพันธ์ว...


Close Advertising