×

Sustainable Finance จะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวอย่างไร? [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
01.09.2022
  • LOADING...
Sustainable Finance

เมื่อโลกกำลังเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมรับผิดชอบต่อวิกฤตภาวะโลกร้อน ในขณะเดียวกัน Sustainable Finance ก็อาจเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะเข้ามาช่ว ยให้ธุรกิจทุกไซส์ ทั้งองค์ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ สามารถฟื้นตัวได้ ท่ามกลางอุปสรรคและความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทั่วโลก

 

ปัจจุบันองค์กรเอกชนชั้นนำล้วนให้ความสำคัญกับแนวคิดการเงินเพื่อความยั่งยืนอย่างมาก ด้านสถาบันการเงินและนักลงทุนก็เช่นกัน คาดการณ์ว่าในอนาคต Sustainable Finance จะไม่ใช่กระแส แต่จะกลายเป็นวิสัยทัศน์และพันธกิจองค์กร หรือแม้กระทั่ง Mindset ของทุกคน

 

นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ GC ร่วมกับสำนักข่าว THE STANDARD พร้อมผนึกความร่วมมือครั้งใหญ่จากกว่า 40 ผู้นำทางความคิด ตัวแทนคนรุ่นใหม่ และผู้ขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน หลากหลายวงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมกันคิด แชร์ และต่อยอดสู่เป้าหมายสร้างโลกแบบ Net Zero จัดงาน GC Circular Living Symposium 2022 ภายใต้แนวคิด ‘Together To Net Zero – เพราะศูนย์ไม่ใช่แค่เป้าหมาย แต่คือเส้นชัยของเราทุกคน’ ขึ้นเมื่อวันที่ 25-26 สิงหาคมที่ผ่านมา

 

บนเวทีเสวนาหัวข้อ ‘Green Recovery: How Sustainable Finance Shape The Future of Business’ ผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรระดับโลกที่อุดมไปด้วยองค์ความรู้ด้าน Sustainable Finance ได้ร่วมกันค้นหาแนวทางสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย Sustainable Finance โลกธุรกิจในอนาคตกับบทบาทการลงทุนและการขับเคลื่อนการเงินเพื่อความยั่งยืน จะเชื่อมต่อและเอื้อประโยชน์ต่อกันได้อย่างไร THE STANDARD สรุปประเด็นสำคัญบนเวที เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ต้องการก้าวเดินไปบน Journey เดียวกัน

 

Sustainable Finance

 

“สิ่งที่เราต้องการให้เห็นวันนี้คือ เราอยากเป็น Pilot Case อยากจะเป็น Role Model อยากจะชวนทุกท่านร่วมเดินทางในเส้นทางที่ GC กำลังเดิน และมี Commitment อย่างเต็มที่

 

“GC ประกาศว่าปี 2050 เราจะเป็น Net Zero เป็นภารกิจที่ทำให้ทั้งองค์กรต้องปรับตัว ทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำอย่างไรให้ใช้พลังงานน้อยลง รวมถึงเรื่องของการปรับพอร์ตโฟลิโอการลงทุน ปัจจุบันธุรกิจ GC เติบใหญ่มากขึ้น ปีที่แล้วก็เพิ่งไปซื้อกิจการของ Allnex ทั่วโลกมา ใช้เม็ดเงิน 5 พันล้านดอลลาร์ ทำให้วันนี้เรามีโรงงานในเมืองไทย 40 โรงงาน และอีก 42 โรงงานทั่วโลก นี่เป็น Success Case ที่ว่าขนาดเรายังไม่เริ่มเข้าสู่ Sustainable Finance Frame แต่ด้วยธุรกิจมันดึงดูดได้ และเป็นที่น่ายินดี เราจะมีเคสแรกที่อาจจะเป็น Green Loan ที่เป็นดอลลาร์และยูโรเบส จากการที่เราจะทำรีไฟแนนซ์ธุรกิจที่เพิ่งไปซื้อมา

 

“มองระยะยาว การที่เราจะไปถึง Net Zero ได้ นอกจากเพิ่มประสิทธิภาพ ลงทุนปรับพอร์ตโฟลิโอไปสู่ Low Carbon Business แล้วก็จะมีเรื่องของการทำ Compensation Prevent อาจจะต้องไปลงทุนซื้อหรือลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการจัดเก็บหรือกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วเอาไปผลิตเป็นปิโตรเคมีเพิ่มเติม

 

“ที่ผ่านมาธุรกิจในเชิงไบโอเคมิคอล ไบโอพลาสติก เราเริ่มพัฒนามากว่า 10 ปี แต่วันนี้หลายโครงการไบโอพลาสติกของ NatureWorks ที่เราลงทุนกับ Cargill พลิกฟื้นจากการเป็น Cost Center มาเป็น Profit Center เรียบร้อย และพร้อมที่จะขยายงานในเมืองไทย ก็จะสร้างโรง PLA ที่มาจากน้ำอ้อยที่นครสวรรค์เป็นโรงที่สอง และจะเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

“GC มีหลายอย่างที่เป็น Case Study ที่พร้อมแล้วสำหรับการที่จะใช้เครื่องมือทางการเงิน ตลาดเงิน ตลาดทุน ที่เรียกว่า Green Financing เราจะเป็น Ahead of The Game ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีคุณภาพ มีการตอบรับและต้นทุนแข่งขันได้ และนำมาสนับสนุนลงทุนในธุรกิจที่เรียกว่า Low Carbon Business ทำให้เราขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ได้ในอีก 32 ปีข้างหน้า

 

“ความท้าทายของ GC ในวันนี้คือการ Balancing ระหว่างเวลาที่เหมาะสมที่ตลาดมาถึง และทรัพยากรที่จะทุ่มทุนไปในขณะที่ธุรกิจปัจจุบันยังต้องเดินได้และแข่งขันได้ด้วย

 

“เรื่องเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่จะปรับพอร์ตโฟลิโอ การที่จะซัพพอร์ตซัพพลายเชน พาเดินไปด้วยกัน พัฒนาสินค้า ธุรกิจใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ในอนาคต ต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น เราอาจจะวางเป้า 10 ปี 30 ปี ไว้เช่นนั้น แต่ถ้าเราไม่มีเงินทุนที่เหมาะสมและคนที่เข้าใจว่าเราทำธุรกิจใหม่ๆ แบบนี้เพื่ออะไร มันก็ไปไม่ถึงดวงดาว

 

“การที่เรามีองค์กร มีพาร์ตเนอร์ มันจะพัฒนาขับเคลื่อนไปในทางเดียวกัน Sustainable Finance เป็นกลไกสำคัญมาก มันเหมือนเราเห็นเกาะอยู่ตรงนั้นว่าโลกต้องเปลี่ยนไปแบบนั้น เรากำลังสร้างสะพาน Sustainable Finance คือสะพานที่วางไปถึงเกาะนั้น เราจะไปตามเป้า ได้เร็วกว่าเป้า หรือไม่ได้ไปเลย ขึ้นอยู่กับเม็ดเงินที่ท่านทั้งหลายใน Ecosystem จะสนับสนุน และขึ้นอยู่กับ Commit ขององค์กร ทำในสิ่งใหม่ สิ่งยิ่งใหญ่ด้วยกัน

 

“สิ่งที่รู้สึกว่าทำสำเร็จคือการทำให้เกิด Awareness เป็น Roll Model เป็น Pilot Case ให้ทุกท่านได้เห็นว่าความจริงแล้วไม่ต้องเกิดกับบริษัทใหญ่ๆ เลย มันเป็นไปได้ที่บริษัทใหญ่ๆ หรือผู้ที่มีประสบการณ์แล้วไปหาทุกท่าน ไปหาชุมชน ไปหาผู้ประกอบการรายย่อย ทุกภาคส่วนที่เราเข้าถึงก็มีผู้ประกอบการที่ทำเช่นนี้ได้

 

“เรามั่นใจว่าเราจะสร้างคัลเจอร์ของการเป็น Net Zero ให้กับคนของ GC ทุกคน และ Stakeholder ของ GC ให้มาทำสิ่งเหล่านี้ร่วมกัน เป็นสิ่งสำคัญเพราะทุกอย่างมันเริ่มจาก Mindset เริ่มจากวิถีในการใช้ชีวิต

 

“ถ้าเรารวมพลัง Connect The Dot จับมือกัน เรื่องของ Net Zero ที่เราบอกว่าเลขศูนย์มันคือเส้นชัย เลขศูนย์คือศูนย์รวมใจ และ Climate Change หรือ Net Zero ไม่ใช่เทรนด์ แต่มันคือความจริง ในวันนี้ก็อยากจะเรียนเชิญทุกท่านร่วมเดินทางไปกับเรา ไม่ต้องไปในสเปซที่เหมือนๆ แต่เราจะจูงมือกันไปและเข้าสู่เส้นชัยตามเป้าหมายที่ท่านวางไว้ด้วยกัน”

 

ส่วนหนึ่งของเวทีเสวนา ‘Sustainable Finance จะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวอย่างไร’ โดย ภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC

 


 

Sustainable Finance

 

“ภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านการลงทุน การบริโภค หรือการบริการต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีส่วนส่งผลกระทบต่อโลก วันนี้ Climate Change เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพวกเรา เรื่องเหล่านี้หากปล่อยปละละเลยไปความยั่งยืนทางเศรษฐกิจก็จะเกิดปัญหา

 

“เราเห็น Magetrend ของโลก กระแสตอบรับที่ต้องการเห็นโลกมีความเป็นกรีนมากขึ้น เห็น Commitment ต่างๆ และสำคัญที่สุดคือกระแสที่ต้องการจะเห็นคำตอบที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Carbon Border กลไกที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัว หรือข้อกำหนดจากทางยุโรปที่ว่า หากไม่สามารถทำให้เกิด Greener ขึ้นมาได้ จะมีการเก็บภาษีภายในปี 2070

 

“ในฐานะที่แบงก์ชาติเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการกำหนดทิศทางต่างๆ เราเล็งเห็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดขึ้น ถ้าเรายังไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ ต้นทุนของการผลิต ต้นทุนของการกู้ยืมก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

 

“บริษัทใหญ่ๆ ยังไม่เป็นกังวลเท่ากับ SMEs ที่จะถูกเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งเงินทุนที่อาจจะมีต้นทุนสูงขึ้น ฉะนั้นบทบาทของเราในภาคการเงินต้องดูว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้บริษัทต่างๆ ก้าวข้ามอุปสรรคไปได้ ซึ่งไม่ง่ายสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ภาคการเงินก็ต้องถ่วงดุลให้ดี จะทำอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากธุรกิจที่อาจจะยังไม่ตอบโจทย์เรื่องของสิ่งแวดล้อมไปสู่สิ่งแวดล้อมในเวลาที่เหมาะสม ต้นทุนที่เหมาะสม

 

“แบงก์ชาติและหน่วยงานที่ดูแลนโยบายก็เล็งเห็นว่าไทม์มิ่งของการปรับเปลี่ยน สปีดของการปรับเปลี่ยน ต้องมีจังหวะความเหมาะสม

 

“ความโชคดีของเราที่มี 5 หน่วยงานในการกำหนดนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นทางแบงก์ชาติ, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง, ตลาดหลักทรัพย์, ก.ล.ต. และผู้ที่ดูแลด้านประกันภัยคือ คปภ. ได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาภาคการเงิน ‘Sustainable Finance Initiatives for Thailand’ มุ่งเน้นให้ความสำคัญและกำหนดทิศทางในกรอบดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับ Sustainable Finance โดยเน้นไปที่โครงสร้างของการทำธุรกิจที่จะทำให้ตอบโจทย์เรื่องการทำ Sustainable Finance มากขึ้น

 

“แบงก์ชาติออก Paper ที่จะใช้เป็นทิศทางของการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย พูดถึง 5 Building Blocks ที่สำคัญ ได้แก่

  1. กำหนดให้สถาบันการเงินต้องออกผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ
  2. มีการจำแนกกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ชัดเจนเพื่อจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Taxonomy
  3. สร้างฐานข้อมูลที่เป็นระบบและเข้าถึงได้ มีมาตรฐานในการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน
  4. โครงสร้างแรงจูงใจส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และ
  5. ต้องเสริมองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรในภาคการเงิน

 

“แต่การที่จะตอบโจทย์ตรงนั้นได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ สถาบันการเงินจะต้องทำให้เรื่องนี้มันอยู่ในวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ แบงก์ชาติเองเมื่อ 5 ปีที่แล้วเราตั้ง Unit ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม เป็น Full Time Staff ซึ่งเป็นธนาคารกลางแห่งแรกๆ ที่มี Commitment ในเรื่องนี้ เพราะเราต้องการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าในฐานะคนที่ดูแลนโยบาย เรามีการจัดอบรม สัมมนา เข้าไป Engaged กับสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นบอร์ดของสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อจะได้มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

 

“สิ่งที่เราต้องทำคือเรื่องการเป็นพาร์ตเนอร์กับสถาบันการเงิน ในเรื่องของการทำให้กระบวนการภายในของสถาบันการเงินมีความพร้อมมากขึ้น เริ่มแรกที่เราจะทำคือหาแนวทางกระบวนการร่วมกัน เช่น พัฒนาเครื่องมือต่างๆ ให้สถาบันการเงินมีความพร้อมในการประเมินความเสี่ยงเหล่านั้น อย่าง Steet Test หรือการทำ Taxonomy ที่เราเริ่มจากสองภาคธุรกิจหลักๆ ก่อนก็คือ ภาคพลังงานกับภาคขนส่ง

 

“ประโยชน์ 3 ประการของการเปิดเผยข้อมูลคือ

  1. ข้อมูลที่มีคุณภาพ ครบถ้วน จะทำให้รู้ฐานะปัจจุบันว่าเราเป็นธุรกิจ Green จริงหรือไม่
  2. ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้เกี่ยวข้อง และ
  3. เป็นแต้มต่อให้กับธุรกิจ

 

“จากนี้ไปสิ่งที่อยากจะเห็นคือความต่อเนื่องและ Commitment ที่จะเกิดขึ้นจากผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าทางเราเอง ทางสถาบันการเงิน และภาคธุรกิจที่เราอยากจะตอบโจทย์เรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

“ผมอยากจะทำให้ Journey นี้ไปด้วยกัน เราไม่ได้ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ SMEs เพราะคงไม่ใช่เรื่อง Sustainable Finance ว่าจะต้องการต้นทุนที่ถูกขึ้น แต่มันเป็นการตอบโจทย์เชิงธุรกิจที่จะผลักดันประเทศเราขับเคลื่อนไปข้างหน้าให้ได้”

 

ส่วนหนึ่งของเวทีเสวนา ‘Sustainable Finance จะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวอย่างไร’ โดย รณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

 


 

Sustainable Finance

 

“สิ่งที่เราพยายามทำและพยายามที่จะให้ทุกๆ ภาคส่วนในตลาดทุน ตั้งแต่บริษัทไปจนถึงนักลงทุนมีการนำเรื่องของ ESG เรื่องของความยั่งยืนมาปฏิบัติ โจทย์ไม่ง่าย แต่ก็มีโอกาสค่อนข้างเยอะ เพราะว่าเป็น Global Standard แล้ว

 

“โจทย์คือในส่วนของบริษัท จะทำอย่างไรให้เขาอยากทำในเรื่องของความยั่งยืน และให้เขารู้สึกว่ามันมีประโยชน์ ทำอย่างไรที่ไม่ให้เขาทำแค่แผน แต่ทำให้เชิงปฏิบัติหรือเรียกว่า ESG in Practice สิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ทำคือ เราทำ Guideline ให้เพื่อให้เขาเห็นตัวอย่างควบคู่ไปกับการให้ความรู้ ให้การอบรม สร้างให้เกิด Community รวมถึงการให้รางวัล เรามีการมอบรางวัล Sustainability Award of Honor ชูให้เห็นว่าบางบริษัทที่เขาทำดียกย่องว่าเขาเป็นตัวอย่าง

 

“อีกด้านคือนักลงทุน โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรให้เขาอยากลงทุนในบริษัทที่ทำดี เดี๋ยวนี้เด็กรุ่นใหม่อย่าง Gen Z ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม เขาจะลงทุนในสิ่งที่เขาสนใจ เรียกว่า Invest to Express เขาจะลงทุนในสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวตนของเขา หนึ่งในสิ่งนั้นคือเรื่องของความรักษ์โลก รักสังคม และเรื่องของความโปร่งใส ทั้งหมดนี้มันคือ ESG

 

“การที่นักลงทุนจะลงทุนในสิ่งที่เขาสนใจได้เขาต้องมีข้อมูล ทางตลาดหลักทรัพย์และหลายหน่วยงานที่เป็นพันธมิตรเราพยายามทำเรื่องของข้อมูลของบริษัท เขาทำอะไร วัดผลได้ขนาดไหน เซฟคาร์บอนไปเท่าไร ทำให้สังคมหรือสิ่งแวดล้อมดีขึ้นขนาดไหน และสะท้อนกับ Bottom Line ของบริษัทหรือไม่ เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า Triple Bottom Line (People, Planet, Profit) พวกนี้ทั้งหมดมันจะออกมาเป็นข้อมูล ให้ผู้ที่ตัดสินใจลงทุนหรือผู้ประกอบการนำไปใช้ได้

 

“เรื่องความยั่งยืนต้องทำทั้ง Ecosystem ตั้งแต่บริษัทไปถึงนักลงทุน และตัวกลาง ก็คือเรื่องของข้อมูล และเรื่องของ Professional นักวิเคราะห์ IR บริษัท เวลาเขาไปพูดกับนักลงทุนเขาต้องเข้าใจเรื่องนี้ ต้องตอบคำถามได้ ขณะเดียวกันผู้ที่ลงทุนเองต้องเข้าใจในเรื่องนี้ด้วย

 

“ในเรื่องความยั่งยืน ยากที่สุดคือเรื่อง Mindset สมัยก่อนทุกคนมองว่ามันเป็น Cost แต่พอเกิดประเด็นเรื่องโควิด มีดิสรัปชันมา มุมมองเริ่มเปลี่ยน คนเริ่มมองว่าเรื่องของความยั่งยืนเป็นเรื่องของ Risk Management

 

“จากเดิมเคยเป็น Might to do มาเป็น Must do มุมมองเปลี่ยนไปแล้ว เรื่อง Sustainability เป็นเรื่องของบริษัททุกระดับ เล็กก็ได้ ใหญ่ก็ได้ ใหญ่ช่วยเล็กยิ่งดี และตอนนี้ตลาดมี Facility ที่ช่วยทุกขั้นตอน และสิ่งที่จะแก้ไขเรื่องนี้ได้อย่างจริงจังคือเรื่องของ Data เพราะข้อมูลที่ลึกและวัดผลได้ ใช้ในการตัดสินใจได้จริง ก็จะเป็นจุดที่ทำให้เรื่องของ Green Wash หายไป

 

“อีกเรื่องที่ผมคิดว่าเป็น Way Forward ที่เริ่มเห็นเทรนด์เวลาเห็นคนพูดเรื่องความยั่งยืน คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องที่ลงลึก เราในฐานะตลาดก็คงจะสนับสนุนในเรื่องของความรู้ จับเรื่องเทรนด์มาแชร์ให้กับบริษัทจดทะเบียน”

 

ส่วนหนึ่งของเวทีเสวนา ‘Sustainable Finance จะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวอย่างไร’ โดย ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 


 

Sustainable Finance

 

“HSBC เราเห็นพัฒนาการในเรื่อง Sustainable Finance อย่างก้าวกระโดดในระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพราะฉะนั้น Investor โดยเฉพาะ Investor ใหญ่ๆ กองทุนใหญ่ แบงก์ใหญ่ๆ หลายแห่งในยุโรป อเมริกา หรือตะวันออกกลาง ทุกวันนี้เวลาเขาลงทุนหรือปล่อยกู้เขาจะให้ความสำคัญกับเรื่องของ Sustainable Risk ค่อนข้างมาก

 

“ฝั่งของ HSBC เวลา Approve สำหรับปล่อยเงินกู้หรือการ Investment สิ่งหนึ่งที่เราเพิ่มเข้ามาคือการทำ Climate Risk Assessment ของลูกค้าแต่ละราย

 

“ปี 2021 เราจะเห็นว่าตลาด Global Bonds Market ที่เป็น Sustainable เกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ไปแล้ว ในขณะเดียวกัน ทางด้าน Loan ก็เกิน 7 แสนล้านดอลลาร์

 

“ตอนนี้ทาง European มีนโยบายเข้มข้นเกี่ยวกับ Sustainable อย่างที่เห็นในยุโรปมี Commitment ที่จะเลิกใช้รถยนต์ที่เป็นเครื่องสันดาป มันก็เป็นแรงขับเคลื่อนจากผู้บริโภค นักลงทุน และผู้วางกฎระเบียบด้วย เลยทำให้ตลาดส่วนนี้เติบโต

 

“ฟากเอเชียแปซิฟิก ผลิตภัณฑ์ที่เห็นส่วนใหญ่เป็น Sustainable Liked Loan (SLL) มากกว่า Green Loan และถ้าพูดถึง Sector ที่มาระดมทุนผ่านตลาด Loan ใหญ่สุดก็เป็น Utilities ตามมาด้วย Financial Services

 

“วันนี้การทำ Sustainable Finance มันขึ้นอยู่กับความเข้าใจของแต่ละแบงก์ จำเป็นต้องมี Common Ground Taxonomy เพื่อจำแนกให้ชัดเจนว่าอะไร Green อะไร Brown เพราะสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น กลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่บางราย ถ้าต้องการไประดุมในตลาดต่างประเทศ สิ่งที่เราทำอยู่ในเมืองไทยมันอาจไม่ Green ในกฎเกณฑ์ของเขาก็ได้ อย่าง European Union กฎระเบียบเข้มข้นมากว่าอะไร Green อะไรไม่ Green แม้กระทั้งในอาเซียนเองก็จะมี ASEAN Taxonomy ดังนั้นต้องให้มันสอดคล้องหรือใกล้กันถึงจะไปในตลาดต่างประเทศได้

 

“การแก้ปัญหา HSBC มองในลักษณะของ End to End ตั้งแต่เริ่มต้นเลยว่าทางลูกค้าเรามี Objective ทาง ESG อย่างไร จากนั้นก็อาจมีการคุยเพื่อวางแผนช่วยเหลือลูกค้าในการทำ Climate Strategy ขณะเดียวกันเราจะมีโปรดักต์หรือโซลูชันอะไรมาเติมเพื่อให้เขาไปถึงจุดหมายได้

 

“HSBC เป็นแบงก์แรกในเมืองไทยที่มี Green Deposit ลูกค้าที่เป็นลูกค้ารายแรกของเราคือ Indorama และ CP ALL เป็นบัญชีที่แสดงให้เห็นว่ามันถูกใช้ไปในโปรเจกต์ที่ Green และอันดับต่อไปเราช่วยธนาคารเพื่อการเกษตรออก Bonds เป็น Sustainability Bonds เอามาใช้ในการปลูกป่าและมาใช้ในการพัฒนาในด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ

 

“Climate Risk เป็นเรื่องจริงและเป็นปัญหาที่รุนแรง ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว และการที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ มันจะต้องมีการลงทุนในแง่ของการเปลี่ยนผ่าน มีการลงทุนในแง่ของโครงสร้างอีกหลายอย่าง

 

“ตอนนี้ทาง HSBC ได้เข้าร่วม Net Zero Banking Alliance ซึ่งมีกว่า 100 ธนาคารทั่วโลกเข้าร่วม จุดประสงค์หลักขององค์กรนี้คือมี Commitment ที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการปล่อยกู้ ในขณะเดียวกันเรามีการลงทุนเพื่อให้บรรลุพันธกิจ Net Zero ภายในปี 2050 และต้องบรรลุเป้าหมายภายในองค์กรของเราเองให้เป็น Net Zero ภายในปี 2030 และมี Commitment ที่จะสนับสนุนลูกค้าให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero ด้วยเช่นกัน”

 

ส่วนหนึ่งของเวทีเสวนา ‘Sustainable Finance จะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวอย่างไร’ โดย กฤษฎา แพทย์เจริญ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายพาณิชย์ธนกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย

 


 

Sustainable Finance

 

“ธนาคารเองก็จะถูกผลักดันให้ปล่อย Sustainable Finance มากขึ้น โดยเฉพาะเราปล่อย Loan เราทำ Bonds ให้กับลูกค้าเยอะ เพราะฉะนั้นเขาก็มองว่าธนาคารน่าจะช่วยผลักดันเรื่องของ Sustainable Finance ให้มากขึ้น

 

“ธงของเราคือต้องการให้ทุกธุรกิจที่เป็นลูกค้าธนาคาร ผู้ประกอบการ มีความเข้าใจที่จะ Improve Operation ตัวเองให้มีความเขียวมากขึ้น เห็นแก่สังคมมากขึ้น

 

“Pain Point ที่เห็นคือ ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจเรื่อง Sustainable Finance คนธนาคารเองก็ใช่ว่าจะเข้าใจกันหมด และอย่าลืมว่าอยู่ในระบบทุนนิยม คำถามแรกคือว่ามีรีเทิร์นหรือเปล่า ถ้าเป็นผู้ประกอบการที่ยังไม่มี Track Record อะไรแล้วมาทำเรื่องนี้ เราก็ต้องเข้าไปช่วยปรับโครงสร้าง

 

“เวลาไปคุยกับลูกค้าแล้ว Pain Point หนึ่งที่เจอคือ ทำไมต้องทำตอนนี้? ก็ต้องอธิบายกัน ต้องโชว์ Story ของลูกค้าในแง่ของ ESG ด้วย

 

“ถ้าบริษัทไหนยังไม่มีโปรเจกต์ที่แน่นอน หรือบางธุรกิจไม่สามารถเอาเงินไปลงโปรเจกต์โดยตรง เราก็มาเซ็ต KPI ร่วมกันว่าบริษัทจะมีการปรับปรุงในเรื่องของ ESG ให้ดีขึ้น ซึ่งการทำกระบวนการนี้จะดูกันที่ 3 คีย์เวิร์ดคือ H I S หนึ่งคือ Historical ในอดีตเราทำได้ดีแค่ไหน ตอนนี้ในอนาคต KPI เซ็ตกันต้องเข้มข้นกว่าเดิม จะได้มี Improvement ที่ดี เรื่อง I คือ Industry’s Peers บริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งในและต่างประเทศ ลดคาร์บอนได้เร็วกว่าเราแค่ไหน และ 3 เป็นเรื่องของ Science Based Scenarios เป็นเรื่องยากเพราะเป็นการทำงานของฝั่งไฟแนนซ์และฝั่งวิศวกรรม ในการที่เราจะต้องทำร่วมกันว่าจะคำนวณ Green House Gas Ambition ยังไง และโปรเจกต์จะลดได้อย่างไร แต่พอเราทำตรงนี้ได้ ทำเป็นโปรดักต์ที่เรียกว่า Sustainable Liked คือ Bonds กับ Loan ที่ได้ออกไป บริษัทสามารถใช้เงินที่ไหนก็ได้

 

“การทำโซลูชันหรือ Product Program เป็นการเพิ่ม Awareness ให้กับลูกค้าที่จะต้องปล่อยสินเชื่อไปในแนวนี้มากขึ้น ในแง่ของโปรดักต์วันนี้ก็อยู่ในช่วงของการพัฒนาอยู่ อย่างโปรดักต์ที่เกิดขึ้นก็จะมี Green Bonds / Green Loan อันนี้ก็เห็นชัด เป็นเรื่องตราสารหนี้หรือสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม

 

“เพื่อสังคมก็มี Social Bonds ที่เป็น Women Bonds เราระดมเงินแล้วเอาเงินก้อนนี้มาปล่อยให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีผู้หญิงเป็น Leader

 

“ความร่วมมือสำคัญและเราต้องเปิดตัวเองและก็พยายามที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้เร็วขึ้นและ Embrace มาใน DNA”

 

ส่วนหนึ่งของเวทีเสวนา ‘Sustainable Finance จะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวอย่างไร’ โดย ประกอบ เพียรเจริญ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X