×

ปรับใจอย่างไรให้เฮลตี้ในสภาวะวิกฤตโควิด-19 กับ ดุจดาว วัฒนปกรณ์

29.03.2020
  • LOADING...

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว ผู้เชี่ยวชาญด้าน Empathic Communication ผู้ทำเวิร์กช็อป One on One ในนาม The Workshoppers และโฮสต์ประจำรายการ R U OK พอดแคสต์ มาร่วม Special Live #ฝ่าวิกฤตโควิด19 กับ THE STANDARD ในวันนี้ เพื่อแนะนำวิธีการปรับจิตใจให้มีสุขภาพที่ดีท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 

 

  1. ในการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายคนรู้สึกเครียดและวิตกกังวลจากทั้งการติดเชื้อและวิกฤตในด้านอื่นของชีวิตที่ต้องรับมือ (การงาน, การเงิน) สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติหรือไม่ที่เราจะรู้สึกอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้าหากคุณเริ่มหงุดหงิด เครียด วิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นั่นคือสัญญาณของการระบายออก เมื่อข้างในของคุณรู้สึกว้าวุ่น หมายความว่าคุณต้องการระบายความรู้สึกออกมา แต่ต้องเลือกหาวิธีการที่ดี ถ้าหากรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือไม่อยากจะทำอะไรบางอย่าง ก็หาอย่างอื่นไปทำก่อนเพื่อให้หายเครียด โดยการค้นหาหลายๆ กิจกรรม บางคนอาจจะเล่นดนตรี วาดภาพ หรือทำอะไรให้สบายใจก่อนที่จะไปเริ่มสิ่งที่ต้องทำในภายหลัง เพื่อลดภาวะความเครียดให้น้อยลง

    2. สำหรับคนที่อยู่บ้านกับครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนตลอดเวลา ที่อาจจะทำให้เกิดการทะเลาะกันโดยไม่จำเป็นได้ ดุจดาวแนะนำให้เปิดใจกันไปเลยกับคนที่อยู่กับเราว่า ‘เราเครียดเนอะ’ ‘ใช่ เราก็เครียด’ อยากให้โฟกัสเรื่องของการสื่อสาร เพราะการสื่อสารคือสิ่งที่อาจจะทำให้เครียดกว่าเดิม เช่น การใช้น้ำเสียงที่ผิดอาจจะทำให้เกิดการทะเลาะกันได้ เป็นต้น ฉะนั้นการสื่อสารที่ดีและถูกต้องเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เราอยู่รอดได้ในสถานการณ์แบบนี้

    3. ส่วนคุณแม่ที่ตอนนี้มีลูกที่อยู่บ้านด้วยกัน 24 ชั่วโมง อยากแนะนำให้คุณแม่หาเวลาตอนลูกหลับก็ได้ หาเวลาให้ตัวเองด้วย อย่าลืมเติมเต็มสิ่งที่ตัวเองอยากทำ หรืออาจจะให้ลูกช่วยทำงานบ้านเพื่อแบ่งเบาภาระในบ้านก็ได้

    4. สิ่งที่คนต้องเผชิญตอนนี้ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องปรับตัว ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างการทำงานที่บ้าน จนถึงบางคนที่อาจจะต้องออกจากงาน ทุกคนต้องปรับตัวให้เร็วและไม่เครียดจนเกินไป โดยการเริ่มต้นสำรวจสภาวะอารมณ์ของตัวเองว่ารู้สึกอย่างไร อาจใช้เวลา 1-3 วันเพื่อยอมรับความรู้สึกตัวเองว่าเครียดหรือโกรธ หรือคุณอาจจะโทรหาคนที่รู้สึกว่าเขาปลอดภัยสำหรับคุณ และเล่าให้เขาฟังว่าคุณโกรธหรือเครียดเพราะอะไร จากนั้นทำให้ตัวเองอยู่ในภาวะที่ยอมรับได้และตั้งสติ

    5. หลังจากนั้นให้นึกว่าคุณต้องทำอะไรบ้าง เพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสภาวะความเครียดเช่นนี้มันเป็นของคุณ อาจลองค้นหาตัวเลือกใหม่ๆ ที่มากขึ้น ค้นหาไอเดียจากที่อื่นๆ เพื่อหาวิธีปรับตัวหรืออยู่รอด

    6. สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือการจัดการกับความเครียดในขณะที่ต้องรับข้อมูลข่าวสารตลอดทั้งวัน ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณมีข้อมูลที่มากมายเกินรับได้ มันจะโอเวอร์โหลด ฉะนั้นคุณไม่ต้องเกาะข่าวสารตลอดเวลาก็ได้ ทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ไม่อยู่ตรงหน้าจอบ้าง เพราะการที่เราเห็นอะไรทุกอย่างตลอดเวลามันทำให้เกิดความกังวลมาก แนะนำให้เอาตัวเองออกจากข่าวและตัวหนังสือ แต่ก่อนที่คุณจะออกจากการติดตามข่าว คุณต้องติดตามข่าวเหล่านั้นให้ทันกับความต้องการของตัวเองก่อน อยากรู้เท่าที่รู้ และต้องมีความเห็นอกเห็นใจตัวเองบ้าง ผ่อนหนักให้เป็นเบา

    7. สิ่งที่เราสามารถทำให้กันและกันได้ในช่วงนี้คือการรับฟัง ช่วยประคองจิตใจกันและกัน อย่างคนที่อยู่กับสมาชิกในครอบครัวท่ามกลางความเครียด อะไรก็เปราะบางและ มีความอ่อนไหวหมด ไม่จำเป็นแนะนำทุกอย่าง เน้นการรับฟังและไม่ตัดสินเขา

    8. สำหรับคนที่ติดต่อใครไม่ได้เลย สิ่งที่เราทำได้คือการฟังตัวเอง เราสามารถคุยกับตัวเองได้ การคุยกับตัวเองไม่ได้บ้านะ ถ้าความเครียดอยู่ในใจ มันจะระเบิด เราพูดออกมาเบาๆ ก็ได้ว่าเราเครียดนะ แล้วจะได้ยินว่าข้างในตัวเรามีอะไรที่กังวล ตอนนี้เราก็จะรู้เท่าทันใจตัวเองว่ากำลังเครียดเรื่องอะไรและต้องการอะไร 

 

ปัจจุบัน ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว นอกจากจะทำหน้าที่โฮสต์ของพอดแคตส์ R U OK แล้ว ดุจดาวยังทำเวิร์กช็อปในนาม The Workshoppers ที่จะช่วยเหลือและให้คำปรึกษา พร้อมทั้งบำบัดความรู้สึกของคุณได้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/TheWorkshoppers.th/ 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising