นิทรรศการศิลปะ Thailand Biennale ครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นแล้วที่จังหวัดเชียงราย โดยมี The Cinema for All Pavilion อีกหนึ่งในกิจกรรมไฮไลต์ของงาน ที่มี Josh Siegel ภัณฑารักษ์ดูแลผลงานในพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ MoMA ร่วมกับผู้กำกับภาพยนตร์ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เป็นผู้คัดเลือกนำมาฉาย ณ โรงเรียนบ้านแม่มะ รวมถึงมีเซสชันสำหรับเสวนาและเวิร์กช็อปโดย Common Move โปรเจกต์ที่แบรนด์แฟชั่นอย่าง CHANEL ให้การสนับสนุน
ครั้งนี้ THE STANDARD POP มีโอกาสได้เดินทางไปยังจังหวัดเชียงรายเพื่อร่วมเข้าชมงานศิลปะ ซึ่งก็มีความหลากหลายของรูปแบบและเนื้อหาจากศิลปินไทยและระดับโลก อีกทั้งยังได้ร่วมพูดคุยกับ Precious Okoyomon ศิลปินศิลปะแนว Conceptual ชาวอเมริกันเชื้อสายไนจีเรีย เธอคือ 1 ใน 10 ผู้ชนะของโครงการ CHANEL NEXT PRIZE ปี 2021 ที่ได้มาร่วมโชว์ผลงาน ณ ประเทศไทย ในครั้งนี้ด้วย
ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ผู้อำนวยการจัดงาน Thailand Biennale ครั้งที่ 3 และ Precious Okoyomon
https://www.youtube.com/watch?v=XSc5r-2oO_c
คุณกับแบรนด์ CHANEL ร่วมงานกันอย่างไรบ้าง
นับเป็นเวลาสองปีแล้วที่ฉันได้รับรางวัล CHANEL NEXT PRIZE ซึ่งนั่นก็น่าทึ่งมาก เพราะฉันรัก CHANEL ฉันชอบที่จะร่วมงานกับพวกเขา และมันก็เป็นเหมือนศูนย์บ่มเพาะการเติบโตที่ดีอีกด้วย
สำหรับผลงานการแสดงที่เวนิสในตอนนั้น ฉันยังนึกถึงมันอยู่เลย มันเป็นสัปดาห์ที่สนุกมาก เพราะฉันก็กำลังจัดงานศิลปะชิ้นใหญ่ของตัวเองไปด้วย การที่ได้ทำงานอย่างนั้นถือว่าเป็นบทบาทที่ดีจริงๆ และฉันก็เพิ่งมีงานล่าสุดที่ลอนดอนไป ซึ่งก็ผ่านมาแล้วสองปีหลังจากที่ฉันได้รับรางวัล ฉันรู้สึกสนุกมาก รวมถึงได้รู้จักผู้ชนะรางวัลคนอื่นๆ ด้วย
ผลงานศิลปะของ Precious Okoyomon
คุณรู้สึกอย่างไรบ้างที่แบรนด์อย่าง CHANEL ช่วยผลักดันและสนับสนุนศิลปินกับวงการศิลปะ ให้คนทำงานด้านนี้ได้มีพื้นที่โชว์ผลงาน
ศิลปินทุกคนต่างต้องการการสนับสนุนทั้งหมดที่เราหาได้ เพราะเราสามารถทำทุกอย่างร่วมกันเพื่อโปรโมตงานได้ ฉันรู้สึกขอบคุณที่ CHANEL อยากสนับสนุนศิลปินกับทุกคนที่ได้รับรางวัล
ซึ่งก็ได้รวบรวมคนที่เก่งๆ มาทั้งนั้น เรามีทั้งนักแต่งเพลง, 3 ศิลปินสุดน่าทึ่ง Keiken: Hana Omori, Isabel Ramos และ Tanya Cruz หรือผู้สร้างภาพยนตร์อย่าง Wang Bing ฉันมีความสุขมาก เขาได้รับรางวัลภาพยนตร์ด้วย ฉันเป็นแฟนตัวยงของเขามาหลายปี เขาสามารถไต่ระดับไปได้ จนตอนนี้อยู่ที่ปารีสแล้ว เขากำลังสร้างภาพยนตร์เรื่องใหม่อยู่ตอนนี้ ซึ่งเราก็ควรหันมาสนับสนุนงานศิลปะเหล่านี้ของพวกเขาด้วย และให้พื้นที่แก่พวกเขาในการเติบโตโดยไม่ต้องกดดันและทักท้วงอะไรพวกเขามากมาย
ในฐานะศิลปิน สิ่งที่ฉันต้องการมากที่สุดคือเวลานอกที่จะสร้างความฝัน และถ้าฉันไม่มีพื้นที่นั้น บวกกับมีความเครียดในชีวิตจริงอีก มันทำให้งานออกมาแย่ได้เลยนะ
โรงเรียนบ้านแม่มะ จังหวัดเชียงราย สถานที่จัดแสดงงานศิลปะ The Cinema for All Pavilion
คุณได้ทำกิจกรรมอะไรบ้างตอนมาประเทศไทยครั้งนี้
ฉันไปที่เขตอนุรักษ์ช้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีผู้หญิงคนหนึ่งที่อยู่กับครอบครัวเลี้ยงช้างมาประมาณ 20 ปีได้ ฉันก็แบบว่า ‘นี่มันบ้าไปแล้ว’ ฉันชอบที่นี่มากจริงๆ เพราะฉันอาศัยอยู่ในนิวยอร์ก แน่นอนว่าในนิวยอร์กไม่ได้มีอะไรแบบนี้
ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะหลีกหนีจากฤดูหนาวและมานำเสนอผลงานที่นี่ได้ เพราะฉันอยู่ที่นี่มาได้สักพักแล้ว ฉันเลยได้รู้จักกับอาหารไทยบางเมนู รวมทั้งพบปะผู้คน และทุกคนก็ใจดีมาก ฉันพบว่าตัวเองพูดคุยกับคนแปลกหน้าตลอดเวลา ซึ่งฉันก็กระตือรือร้นที่จะเดินไปรอบๆ เพื่อพูดคุยกับคนแปลกหน้า บอกได้เลยว่าฉันใช้ชีวิตเหมือนกับดิสนีย์ที่แสนจะแฟนตาซี
The Cinema for All Pavilion ฉายภาพยนตร์หายากทั้งเก่าและใหม่จากทั่วโลก
คุณกินอาหารเผ็ดสไตล์ไทยๆ ได้หรือไม่
จริงๆ แล้วฉันรู้จักประเทศไทยไม่มากก็น้อย เพราะฉันมีเพื่อนชาวไทยจำนวนมาก ดังนั้นฉันจึงรู้สึกคุ้นเคยกับอาหารที่ฉันเคยกินมา แม้ว่าฉันจะเป็นชาวไนจีเรีย
จริงๆ แล้วมีความคล้ายคลึงกันมากนะ ระหว่างอาหารไทยกับไนจีเรีย นั่นก็คือ ‘การหมัก’ สิ่งหนึ่งที่คนไทยมีเหมือนกันคือการจัดการกับเครื่องเทศในแบบที่ชาวไนจีเรียเป็น ฉันยังทึ่งเลย เพียงแค่ฉันไม่รู้มาก่อนเท่านั้น
ส่วนการทำกับข้าวนี่ก็เจ๋งมากนะ เพราะทุกครั้งที่ฉันทำอาหารในอเมริกามันก็จะออกมาเหมือนสูตรตามที่เคยทำมา แต่ในที่สุดฉันก็ทำอาหาร (แบบไทยๆ) ได้ มันช่างน่าทึ่งสำหรับฉันจริงๆ ฉันชอบเรียนรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับอาหาร
ฉันชอบไปตลาดด้วย เพราะว่าตลาดสดเป็นหนึ่งในสิ่งที่ฉันชอบ เพราะฉันซึมซับความเป็นไทยมาสักระยะหนึ่งแล้ว มันก็เหมือนมีวิธีที่เกี่ยวข้องกับอาหาร และการได้ลองสัมผัสสิ่งต่างๆ และมันก็สำคัญสำหรับฉันมาก ฉันเลยชอบไปตลาดมากๆ
ปัจจุบันนวัตกรรม AI เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก ในฐานะที่คุณเป็นศิลปิน มองถึงความท้าทายด้านความคิดสร้างสรรค์แข่งกับเทคโนโลยีไว้อย่างไรบ้าง
ฉันเป็นคนที่โตมากับอินเทอร์เน็ต ตอนนี้ฉันอายุ 30 ปีแล้ว ตอนนี้ฉันมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ฉันไม่สามารถจินตนาการถึงชีวิตที่ปราศจากเทคโนโลยีได้ ณ จุดนี้ ฉันจึงเปิดกว้างกับ AI
จริงๆ ฉันเปิดรับวิธีที่เราจะทำงานร่วมกับมันได้ ถ้ามันทำให้คุณรู้สึกเวิร์ก โดยปกติแล้วปัญหามนุษยชาติคือเราสามารถหลีกหนีมันไปได้ และเรายังเขียนโค้ดมนุษยชาติของเราเองลงในเครื่องจักรอีกด้วย น่าสนใจตรงที่เราจะฝึกระบบความเข้าใจความรู้ขั้นสูงเหล่านี้ได้อย่างไร เพื่อไม่ให้รับเอาลักษณะที่ท็อกซิกของเราปนไปในการทำความเข้าใจฐานความรู้
แล้วมีวิธีใดบ้างในการเปลี่ยนเครื่องมือเหล่านี้ให้ทำงานร่วมกับเรา และเราจะเรียนรู้จากพวกมันอย่างไรเพื่อปรับตัว เพราะเราคงไม่สามารถจินตนาการถึงยูโทเปียได้หรอก หากไม่มีเทคโนโลยี
ณ จุดนี้ เราต้องการมัน เราจำเป็นต้องมีมันเพื่อเรียนรู้วิธีของเราที่จะก้าวไปสู่สิ่งที่เป็นมนุษย์ในลักษณะนี้ ฉันเลยยอมรับสิ่งนี้ เราต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของเราอย่างรวดเร็ว เพราะมันจะเหมือนกับว่าเราตามไม่ทันจนถึงตอนนี้ ฉันขอเปิดเผยว่าหมกมุ่นอยู่กับ AI มันช่างเรียนรู้เร็วเสียจนน่ากลัว แต่ก็น่าตื่นเต้นด้วย เพราะทำให้เรามีโอกาสเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้างที่อาจเปลี่ยนแปลงโลกได้
ดังนั้น เราแค่ต้องหาวิธีที่จะไม่ตกอยู่ในระบบความเข้าใจแบบแยกส่วนของเรา หรือยอมปล่อยให้ระบบทุนนิยมมากดขี่ตัวเราได้ เราจะทำให้มันเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ขั้นสูงสุดสำหรับทุกคนได้อย่างไร ถ้าใครรู้คำตอบแล้วก็บอกฉันด้วย
ภาพ: CHANEL