ทางการเกาหลีใต้ยกเลิกมาตรการ Social Distancing สำหรับป้องกันการระบาดของโรคโควิด และเคอร์ฟิวเที่ยงคืนของร้านอาหาร อย่างไรก็ตาม การประกาศดังกล่าวไม่ถือเป็นข่าวดีของหนุ่มสาวชาวเกาหลีใต้เลย
สำหรับพนักงานออฟฟิศอายุน้อยบางคน การผ่อนคลายข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิดหมายถึงการกลับมาของ ‘Hoesik’ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในสำนักงานที่มีมาช้านาน ซึ่งส่งเสริมให้มีการรวมตัวของบริษัท การประชุมสายสัมพันธ์มักจัดขึ้นนอกเวลาทำงาน โดยมีกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่อาหารเย็นแบบง่ายๆ ไปจนถึงการออกนอกบ้านในช่วงสุดสัปดาห์
“ในอดีต Hoesik ถือเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีของกลุ่ม แต่ทุกวันนี้พนักงานรุ่นใหม่ถือว่า Hoesik เป็นการทำงานล่วงเวลา” กวางยองชิน ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยจุงอัง กล่าวกับ Insider พร้อมเสริมว่า ความรู้สึกดังกล่าวแพร่หลายในหมู่คนรุ่น MZ ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มคน Millennials และ Gen Z
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- แม่ว่าอย่างนี้ต้องลาออก! Break My Soul เพลงใหม่จาก ‘บียอนเซ่’ ที่สะท้อนปรากฏการณ์ ‘การลาออกครั้งใหญ่’ ที่กำลังเกิดขึ้นในอเมริกา
- ผลวิจัยใหม่ Gen Z และ Millennials ยอม ‘ลาออก’ หรือ ‘ว่างงาน’ ถ้าต้องทำงานในบริษัทที่ ‘ไม่มีความสุข’
ชาวเกาหลีใต้ที่มีอายุมากกว่ามองว่าการชุมนุมเหล่านี้เป็นการเข้าสังคม แต่สำหรับหลายๆ คนในรุ่น MZ การชุมนุมมีแนวโน้มที่จะ “เสริมสร้างวัฒนธรรมเผด็จการที่ชาวเกาหลีใต้อายุน้อยกว่าจำนวนมากขึ้นเลือกที่จะไม่เข้าร่วมอีกต่อไป” ยุนดุกฮวาน บอกกับ BBC ในปี 2020
สำหรับหลายๆ คนทั่วโลกที่ชื่นชอบการทำงานจากที่บ้าน วัฒนธรรมในที่ทำงานเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนึ่งในผลพลอยได้เพียงไม่กี่อย่างของโควิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับพนักงานชาวเกาหลีใต้ ซึ่งก่อนเกิดโรคระบาดเป็นที่รู้กันว่าต้องทำงานล่วงเวลา โดยมีการทำงาน 52 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และยังคงต้องออกไปสังสรรค์หลังเลิกงาน
อีริค ซอ ผู้จัดการฝ่ายขายวัย 30 ปีของธุรกิจสตาร์ทอัพบอกกับ Insider ว่า เขาโชคดีที่ไม่ต้องสัมผัสกับวัฒนธรรม Hoesik “(พวกเรา) ส่วนใหญ่ยังเด็กและไม่อยากปฏิบัติตามวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งนี่เป็นเรื่องปกติ คุณสามารถปฏิเสธได้”
ชิน ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยากล่าวว่า “วัฒนธรรมในที่ทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเผยให้เห็นถึงความเป็นปัจเจกบุคคลที่สำคัญในหมู่คนรุ่นใหม่”
แม้ว่าพนักงานรุ่นใหม่จะมีความรู้สึกเชิงลบต่อ Hoesik แต่ ซูยงกู ศาสตราจารย์ด้านการตลาดที่มหาวิทยาลัยสตรีซุกมยอง ในกรุงโซล บอกกับ Reuters ว่า “คนงานอาวุโสจำนวนมากยังคงเชื่อว่าการรวมตัวกันดังกล่าวจำเป็นต่อการสร้างสายสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน”
“Hoesik ไม่ใช่แค่ดื่มหนักหลายชั่วโมงโดยเปล่าประโยชน์ แต่ยังเป็นวิธีการสื่อสารและเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม” แช ซึ่งอายุ 40 ปีและไม่เปิดเผยชื่อเต็มของเขา บอกกับ Korea Herald ในเดือนพฤศจิกายน
น่าเสียดาย สำหรับเพื่อนของซอบางคนที่บริษัทยังคงต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรม Hoesik ด้วยการปฏิเสธคำเชิญของผู้บังคับบัญชาให้ออกไปเที่ยวหลังเลิกงานไม่ใช่ทางเลือกที่ดี ซึ่ง “พวกเขารู้สึกกดดัน พวกเขารู้สึกว่าหากไม่ไปจะถูกมองว่าไม่เหมาะกับวัฒนธรรมของบริษัท”
อย่างไรก็ตาม ชินบอกกับ Insider ว่า พนักงานอาวุโสยอมรับมากขึ้นต่อความลังเลใจของรุ่น MZ ที่มีต่อ Hoesik เพราะ “คนทำงานรุ่นเก่าตระหนักดีว่าคนรุ่นใหม่ค่อนข้างแตกต่างจากตัวเอง”
อ้างอิง:
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP