×

เตือน ‘สูบบุหรี่ในบ้าน’ ผิดกฎหมาย มีผลบังคับใช้ 20 ส.ค. เป็นต้นไป

20.06.2019
  • LOADING...
Smoking ban in housing

วันนี้ (20 มิ.ย.) ระหว่างแถลงข่าว ‘บ้านปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ลดความรุนแรงต่อสุขภาพ’ เลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เผยว่า การสูบบุหรี่ในบ้านสามารถเอาผิดตามกฎหมายได้ เพราะขณะนี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป

 

โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเน้นการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ส่งเสริมครอบครัว และคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลต่างๆ โดยในส่วนของความรุนแรงในครอบครัว กำหนดไว้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำใดๆ ที่บุคคลในครอบครัวได้กระทำต่อกันโดยเจตนาให้เกิดหรือในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ เสรีภาพ หรือชื่อเสียงของบุคคลในครอบครัว ซึ่งครอบครัวมี 3 ลักษณะ คือ ตามสายโลหิต ตามพฤตินัย/นิตินัย และบุคคลที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน

 

นอกจากนี้ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวอีกว่า ในส่วนของการสูบบุหรี่ในบ้านของบุคคลในครอบครัว จะส่งผลเสีย 3 ด้าน ดังนี้

 

1. ทำให้สัมพันธภาพครอบครัวเริ่มลดลง เพราะลูกเมียไม่อยากที่จะเข้าใกล้ หรือลูกเกิดพฤติกรรมเลียนแบบด้วยการสูบบุหรี่

 

2. เมื่อไม่ได้สูบบุหรี่แล้วจะเกิดอาการหงุดหงิด ก้าวร้าวด้วยท่าทางและวาจา นำสู่การก่อความรุนแรงทางกายหรือจิตใจ

 

3. คนในบ้านได้รับควันบุหรี่มือสองและมือสาม ซึ่งในกรณีนี้หากคนในบ้านได้รับผลกระทบ โดยเกิดปัญหาสุขภาพ และยืนยันได้ว่าเกิดจากการได้รับควันบุหรี่

 

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ใหม่นี้จะถือว่าผู้ที่สูบบุหรี่ในบ้านมีความผิดในฐานของการก่อความรุนแรงในครอบครัว เพราะทำให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพของคนในครอบครัว อาจจะต้องขึ้นศาลเพื่อพิจารณาความผิด 2 ศาล คือ

 

1. ศาลอาญา กรณีที่มีการทำร้ายทางกาย ได้รับโทษตามกฎหมายอาญา

 

2. ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้คุ้มครองคนในครอบครัว และสั่งบังคับให้ผู้ที่สูบบุหรี่ และทำให้เกิดปัญหาในบ้านเข้ารับการบำบัดและเลิกบุหรี่ เพื่อไม่ให้ทำพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงอีก

 

ภาพ: ประชาสัมพันธ์ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X