×

SMEs จะเริ่มต้นใช้ Blockchain อย่างไร? หาคำตอบผ่านคู่มือ ‘เช็กลิสต์ทำความเข้าใจ Blockchain สำหรับ SMEs ก่อนเริ่มใช้จริง’ จาก THE SME HANDBOOK [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
07.07.2022
  • LOADING...
SMEs

ปัจจุบันธุรกิจหรือองค์กรที่มีข้อมูลจำนวนมหาศาล ต้องการความปลอดภัยและโปร่งใส เริ่มนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้มากขึ้น อย่างธุรกิจอาหาร ที่สร้างระบบติดตามเส้นทางการขนส่งจากต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค หรือแม้แต่องค์กรการกุศลก็ใช้ตรวจสอบเส้นทางการบริจาคเงินตั้งแต่ผู้บริจาคจนถึงผู้รับบริจาค 

 

แม้ว่า Blockchain จะนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจอื่นนอกเหนือจากกิจกรรมทางการเงินได้ แต่ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่เหมาะจะนำมาใช้ สัญชัย ปอปลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด ชวน SMEs รู้ให้ลึกถึงความหมายที่แท้จริงของ Blockchain และทำความเข้าใจการนำไปใช้จริงกับธุรกิจ พร้อมเคสตัวอย่างจริงผ่านคู่มือ ‘เช็กลิสต์ทำความเข้าใจ Blockchain สำหรับ SMEs ก่อนเริ่มใช้จริง’ ในพอดแคสต์ THE SME HANDBOOK by UOB Season 4 รวม Know-How การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ SMEs 

 

SMEs

 

Blockchain คืออะไร SMEs จะนำไปปรับใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

อธิบายง่ายๆ Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างระบบที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางในการส่งข้อมูล เหมือนบัญชีสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้ามาช่วยกันจดและตรวจสอบธุรกรรมได้ เพื่อเช็กว่าธุรกรรมตรงนี้เกิดจากจุดไหนไปสู่จุดไหน มีการเปลี่ยนแปลงตรงไหนบ้าง จึงมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากไม่สามารถปลอมแปลงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไปแล้วได้ 

 

Blockchain แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  • Public Blockchain ทุกคนสามารถเข้าไปดูธุรกรรมได้อย่างอิสระ ที่รู้จักกันดีก็เช่น Bitcoin, Ethereum
  • Private Blockchain เป็นข้อมูลธุรกิจที่ใช้สื่อสารกันภายในองค์กร หรือบริษัทในเครือเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึง คล้ายกับ ‘Intranet’ ที่นิยมใช้กันภายในองค์กร 

 

สัญชัยวิเคราะห์ให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า ข้อดีของระบบ Blockchain คือ มีความโปร่งใส ปลอมแปลงข้อมูลยาก และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้องค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ เช่น Walmart ที่เอาไปใช้กับเรื่อง Supply Chain หรือบริษัทเฮลท์แคร์ที่นำ Blockchain มาใช้เก็บข้อมูลของคนไข้ ในมุมอุตสาหกรรมก็มีการนำมาใช้ในเรื่องของการระดมทุน นอกจากนี้ธุรกิจสื่อและอื่นๆ ตอนนี้ก็เริ่มมีการประยุกต์ใช้ Blockchain แล้ว

 

แล้วธุรกิจของคุณจำเป็นต้องลงทุนใน Blockchain หรือไม่?

แทนที่จะตั้งคำถามว่า “จะนำ Blockchain ไปใช้ในธุรกิจอย่างไร?” สัญชัยแนะให้ลองเปลี่ยนคำถามใหม่เป็น “ธุรกิจของคุณมีความเชื่อมโยงกับ Blockchain มากน้อยแค่ไหน?” 

 

“ถามตัวเองว่าคุณจะพัฒนาองค์กรอย่างไร โดยนำเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น Blockchain, AI, Big Data หรือ Deep Tech มาช่วยส่งเสริม ซึ่งพื้นฐานการนำมาใช้ในธุรกิจที่ง่ายที่สุดคือ การรับชำระเงิน (Payment) ผ่านระบบ Blockchain หรือ Cryptocurrency นั่นเอง หรือนำไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิต รวมถึงการ Settlement กันระหว่างองค์กรที่เป็นคู่ค้า” 

 

สัญชัยยกตัวอย่างว่า ธุรกิจขายส่งแบบปกติทั่วไปอาจยังไม่เหมาะ เพราะใช้งานเทคโนโลยีแค่ธุรกรรมพื้นฐาน แต่ถ้าเป็นธุรกิจค้าปลีกที่มีเรื่องของ Customer Engagement มาเกี่ยวข้อง อาจจะต้องเริ่มคิดแล้วว่าจะนำ Blockchain ไปประยุกต์ใช้ในด้านไหนได้บ้าง เช่นเดียวกับการระดมทุนผ่าน Blockchain ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กเกินไปก็อาจจะไม่คุ้มทุน การไปกู้ธนาคารอาจจะเหมาะสมกว่า เพราะในอนาคตธนาคารก็จะมีการนำเรื่องของ Decentralized Finance หรือที่เรียกย่อๆ ว่า DeFi มาเกี่ยวข้องมากขึ้น

 

SMEs

 

เคสตัวอย่างการนำ Blockchain ไปปรับใช้ในธุรกิจ

สัญชัยบอกว่าตัวอย่างเคสที่เห็นในปัจจุบันอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ Blockchain ค่อนข้างสูง ดีเวลลอปเปอร์ก็ยังมีน้อย ต้นทุนสูง และเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ เช่น 

 

‘SiriHub Token’ (สิริฮับ โทเคน) โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน แทนที่จะไปกู้ธนาคารก็สามารถทำผ่านระบบ DiFi ได้ ในรูปแบบ Investment Token ให้คนทั่วโลกระดมทุนเข้ามา หลังจากธุรกิจไปได้ดีก็ค่อยแบ่งกำไรให้กับนักลงทุน เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีโปรเจกต์ แต่ไม่มีเงินทุน 

 

‘Walmart’ ตัวอย่างการนำระบบ Blockchain ไปใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อแก้ Pain Point เรื่องการตรวจสอบคุณภาพของผลไม้ที่รับซื้อมาจากหลายแหล่ง โดยนำ Blockchain เข้ามาช่วย Verify ข้อมูลผลไม้ทุกอย่างลง Database หากพบสินค้ามีปัญหาสามารถสแกนดูข้อมูลบนฉลากได้เลยว่าสินค้ามาจากฟาร์มไหน ผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง แทนที่จะตีมูลค่าความเสียหายเหมารวมทั้งล็อต ก็แก้ปัญหาได้ตรงจุด และเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคมากขึ้น 

 

ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กยังไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ก็เริ่มมีธุรกิจขนาดเล็กนำไปปรับใช้บ้าง เช่น ‘Plastic Bank’ สตาร์ทอัพจากแคนาดาที่แก้ปัญหาพลาสติกล้นชายหาด ด้วยการชักชวนคนในชุมชนให้ช่วยกันเก็บขยะพลาสติกเพื่อแลกเป็น Token แล้วนำไปใช้แลกสินค้าและบริการจากพาร์ตเนอร์ของ Plastic Bank เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา ร้านค้า ร้านอาหารในชุมชน

 

“ตอนนี้เรายังอยู่ในยุคเริ่มต้นของ Blockchain ยังมีอุปสรรคในการใช้งาน ความยุ่งยาก ผู้บริโภคยังไม่เข้าใจ ต้นทุนที่สูง แต่เชื่อว่าไม่เกิน 5 ปี จะได้เห็นการนำ Blockchain และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในโลกธุรกิจ แม้จะอยู่ใน Early Stage แต่เนื่องจากความพร้อมด้านเทคโนโลยีพื้นฐานมีอยู่แล้ว เหลือแค่พัฒนาวิธีการใช้งานให้ง่ายขึ้น ยิ่งถ้าต้นทุนลดลง ประสิทธิภาพเกิดขึ้น เชื่อว่าหลายองค์กรน่าจะนำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดไหนก็ตาม 

 

“ด้านผลกระทบเชิงบวกของธุรกิจ SMEs คงเป็นเรื่องของโอกาสให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ๆ ที่อาจจะมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง” สัญชัยกล่าวเสริม 

 

SMEs

 

SMEs ไทยพร้อมแค่ไหน และควรลงทุนขนาดไหนถ้าอยากนำ Blockchain มาใช้? 

สัญชัยให้ไอเดียง่ายๆ สำหรับธุรกิจที่พอจะมีความพร้อม เริ่มต้นด้วยการหาไอเดียที่จะนำ Blockchain มาทดลองใช้ในองค์กรก่อน ลงทุนรอบเดียวไม่ต้องลงทุนเยอะ แล้วค่อยวัดผลว่าการลงทุนครั้งนี้ได้อะไรตอบแทนบ้าง เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดขั้นตอนจาก 7 วัน เหลือ 24 ชั่วโมงก็คุ้มค่าที่จะลงทุนเพิ่ม หรือช่วยลดต้นทุนจาก 100 บาท เหลือ 80 บาท

 

“อยากให้มอง Blockchain เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเครื่องมือ เพราะอาจมีเครื่องมืออื่นๆ ที่เหมาะกับธุรกิจคุณมากกว่า หรือลองสังเกตการณ์ว่าในต่างประเทศ ธุรกิจแบบเราเขานำเทคโนโลยีอะไรไปปรับใช้ ควบคู่ไปกับการมองหา Business Model ใหม่ๆ เพราะในโลก Blockchain มีแผนธุรกิจใหม่ๆ เยอะ เช่น การเงินไร้ศูนย์กลาง เล่นเกมหาเงินได้ บางคนไปถึงเรื่อง Shop-to-earn หรือเป็นแต้มให้กับพนักงานในองค์กรแล้วไปแลกของกับคู่ค้า” 

 

ด้านตัวเลขการลงทุนใน Blockchain สัญชัยบอกว่าปัจจุบันยังเคาะแน่ชัดไม่ได้ มีตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์ไปจนถึงหลายสิบล้านดอลลาร์ แต่ในภาพรวมควรเริ่มจากโปรเจกต์เล็กๆ เพราะใช้เงินทุนน้อย เริ่มทดสอบกับคู่ค้าไม่กี่ราย คอยดูว่าระบบเสถียรจริงไหม แล้วค่อยขยายไปสู่คู่ค้ารายอื่นๆ ต่อไป 

 

“ธุรกิจไทยมีความพร้อมสูงจากที่คุยกับหลายองค์กร ปีนี้น่าจะได้เห็น Used Case ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า หรือแบรนด์ใหญ่ๆ เริ่มมองเห็นภาพแล้วว่า Blockchain, Metaverse หรือ NFT จะนำมาเกี่ยวอย่างไรกับธุรกิจ” 

 

แต่สำหรับ SMEs ที่ยังต้องหาสมดุลระหว่างการอยู่รอดในวันที่กระแสเงินสดจำเป็น และยังต้องเสริมเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรเดินต่อ สัญชัยแนะให้บาลานซ์กระแสเงินสดให้ดีก่อน แล้วค่อยแบ่งกำลังคนส่วนเล็กๆ และเงินลงทุนส่วนหนึ่งเพื่อมาต่อยอดสู่การทำเทคโนโลยี 

 

“ไม่ต้องตั้งต้นทุนสูงมาก เน้นหาพาร์ตเนอร์ที่จะทำให้ Win-Win ไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย แทนที่จะต้องลงเงินเพื่อสร้างระบบใหม่ขึ้นมา ลองเจรจาแล้วใช้วิธีแลกทรัพยากรกันก็ได้ แนะนำว่าให้เริ่มจากเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยชิมลางไปเรื่อยๆ ว่าธุรกิจของเรามีศักยภาพในองค์กรที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างไรได้บ้าง” 

 

 

คำแนะนำสำหรับ SMEs ที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาซัพพอร์ตธุรกิจให้เติบโต

“อย่าคาดหวังว่าลงทุนเทคโนโลยีเท่านี้ต้องได้กลับคืนมาเท่าไร มันเป็นการตั้งต้นที่ผิด เพราะโลกของเทคโนโลยีนี้ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน” 

 

“อาจทดลองทำโปรเจกต์เล็กๆ โดยที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล” สัญชัย แนะให้ลองมองหากลุ่มคนในบริษัทที่เข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เพราะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้เร็วกว่า “ปล่อยให้เขาไปค้นคว้าและนำไอเดียมาพรีเซนต์ให้ผู้บริหารฟัง แล้วร่วมกันประเมินความเป็นไปได้ว่าจะสามารถนำแนวทางในการใช้เทคโนโลยีพวกนี้ไปต่อยอดธุรกิจอะไรได้บ้าง” 

 

สัญชัยยังย้ำอีกว่า ไม่ว่าองค์กรไซส์ไหน ดำเนินธุรกิจอะไร คำถามแรกสำคัญที่สุด นั่นคือ “องค์กรเราอยากจะพัฒนาไปแบบไหน” เพราะไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีในโลกอนาคตที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X