×

วิกฤตของ Shopee กับการ ‘ยุติธุรกิจ’ ในอาร์เจนตินา และหยุดการดำเนินงานในชิลี โคลอมเบีย และเม็กซิโก พร้อมกับปลดพนักงานท้องถิ่น

10.09.2022
  • LOADING...
Shopee

‘Shopee’ บริษัทอีคอมเมิร์ซที่เป็นเจ้าของโดยบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติสิงคโปร์อย่าง Sea กำลังยุติกิจการประเทศอาร์เจนตินา และหยุดการดำเนินงานในชิลี โคลอมเบีย และเม็กซิโก พร้อมๆ กันกับการเลิกจ้างพนักงานของบริษัทเกมอย่าง Garena

 

หัวหน้าผู้บริหารของ Shopee อย่าง Chris Feng กล่าวในอีเมลที่ส่งถึงพนักงานว่า “จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจมหาภาคในปัจจุบัน บริษัทจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรไปกับงานหลัก”

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

จากแหล่งข่าว 3 แห่งระบุว่า Shopee จะ ‘ยุติกิจการทั้งหมด’ ในอาร์เจนตินา และเปลี่ยนมาทำธุรกิจแบบ Cross-Border ในประเทศในประเทศชิลี โคลอมเบีย และเม็กซิโก แต่จะเลิกจ้างพนักงานท้องถิ่นหลายตำแหน่ง ซึ่ง Shopee ได้ยืนยันกับ Reuters แล้วว่าจะใช้โมเดล Cross-Border ของทั้ง 3 ประเทศ

 

ก่อนหน้านี้ Sea ได้ปลดพนักงานในบริษัทลูกอย่าง Garena ในประเทศเซี่ยงไฮ้ไปกว่า 15% เนื่องจากต้องการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของบริษัทในระยะยาว ซึ่งรายงานของ Reuters บอกว่าอยู่ในหลักหลายร้อยคน

 

Sea เคยมีมูลค่าทางการตลาดเพิ่มสูงกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เนื่องจากเกมและอีคอมเมิร์ซนั้นบูมเพราะการระบาดของโควิด แต่นับแต่นั้นมาหุ้นของบริษัทร่วงลงเรื่อยๆ นับแต่นั้นมาเหลือเพียง 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ณ ตอนนี้

 

นอกเหนือจากการปลดพนักงานใน Garena แล้ว การพัฒนาเกมใหม่ยังถูกยกเลิก แหล่งข่าวบอกกับ Reuters ต่อว่า มีการเลิกจ้างรอบเล็กๆ กับทีมต่างๆ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่าน

 

Free Fire เป็นเกมที่สร้างรายได้มากที่สุดของ Sea มาช้านาน โดยทำรายได้มากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 ตามรายงานของบริษัทวิจัย Sensor Tower

 

ผลกำไรของเกมได้ช่วยสนับสนุนธุรกิจที่ไม่ทำกำไรแต่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น Shopee ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่นักวิเคราะห์บางคนเรียกว่าไม่ยั่งยืน

 

Sea ยังกำลังเจอวิกฤตรายได้จากการเล่นเกมที่ลดลง เนื่องจาก Free Fire ประสบปัญหาหลังจากที่เกมถูกแบนโดยรัฐบาลอินเดียในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ถัดมาในเดือนมีนาคม Shopee ประกาศว่ากำลังปิดกิจการในอินเดียและฝรั่งเศส

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising