ใน 1 ปีของประเทศไทยมีฤดูทั้งหมด 3 ฤดู เมื่อแต่ละฤดูเปลี่ยนไป ก็จะส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก และชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละคนเช่นเดียวกัน ซึ่งนั่นมีที่มาที่ไปและเหตุผลสนับสนุนว่าทำไมในบางฤดูมนุษย์ถึงรู้สึกเศร้ากว่าปกติ
อาการที่เกิดขึ้นมีชื่อเรียกว่า ‘ภาวะซึมเศร้าตามฤดูตาล’ หรือ Seasonal Affective Disorder (SAD) เป็นภาวะซึมเศร้าอีกประเภทหนึ่งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล อาการเบื้องต้นจะรู้สึกเศร้า ขาดพลังงาน หมดความสนใจในกิจกรรมตามปกติ ง่วงนอน และน้ำหนักขึ้น
โดยปกติ SAD จะเกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูหนาว ก่อนที่จะสิ้นสุดลงที่ช่วงฤดูร้อน ซึ่งในช่วงฤดูหนาวใครหลายคนอาจเผชิญกับ ‘Winter Blues’ เป็นภาวะที่ทำให้รู้สึกหดหู่เล็กน้อย แต่ SAD รุนแรงกว่า เพราะมันส่งผลต่อชีวิตประจำวันด้วย
ซึ่งกว่า 5% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ประสบกับ SAD โดยมีแนวโน้มที่จะเริ่มในวัยรุ่นที่อายุระหว่าง 18-30 ปี และส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นักวิจัยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล โดยเชื่อว่า ‘การขาดแสงแดด’ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะนี้ในมนุษย์
นอกจากนี้แสงแดดยังทำให้นาฬิกาชีวิตเปลี่ยนไป ทั้งการควบคุมอารมณ์ การนอนหลับ และฮอร์โมน ที่สำคัญสารเคมีในสมองอาจเปลี่ยนไปด้วย เพราะแสงแดดช่วยควบคุมเซโรโทนินซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดความสุข รวมไปถึงวิตามินดีและการเพิ่มของเมลาโทนินด้วย
อ้างอิง: