×

สำรวจความคืบหน้าการควบรวมกิจการระหว่าง SCGL กับ JWD สู่ ‘SCGJWD’ หรือชื่อย่อการซื้อ-ขายใน ตลท. ‘SJWD’ ผู้นำด้านบริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน [ADVERTORIAL]

02.03.2023
  • LOADING...
SCGJWD

HIGHLIGHTS

  • การควบรวมของ SCGL และ JWD เป็นบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘SCGJWD’ โดยใช้ตัวย่อการซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ‘SJWD’ จะทำให้เกิดผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายแบบครบวงจร (Integrated Logistics and Supply Chain Solutions Provider) รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
  • การรวมกิจการครั้งนี้เป็นการผสานจุดแข็งของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ฝั่ง JWD มีความชำนาญด้านสินค้าที่ต้องการการดูแลแบบเฉพาะด้าน ส่วน SCGL มีความเข้าใจในตัวอุตสาหกรรมอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตและเชี่ยวชาญกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) รวมถึงโอกาสในการสร้าง Synergy เพิ่มเติมในอนาคต นอกจากนี้ฐานลูกค้าของทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทับซ้อนกันอย่างมีนัยสำคัญ สามารถสร้างการเติบโตจากการขยายฐานลูกค้าของทั้งสองฝ่าย
  • ในด้านงบการเงินและโครงสร้างทางการเงินภายหลังรวมกิจการเป็น บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ ที่โดดเด่นและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยงบการเงินรวมเสมือนหลัง JWD รวมกิจการ SCGL ในงวด 6 เดือนแรก ปี 2565 มีรายได้รวม 14,270  ล้านบาท และกำไรสุทธิ 584 ล้านบาท
  • มีการตั้งเป้ามูลค่าตลาดของ SJWD ที่ 1 แสนล้านบาทภายในปี 2570 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่ง บล.หยวนต้า ประเมินว่า หากอิง PER 35 เท่า ควรมีกำไรสุทธิราว 2,900 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป หรือการเติบโตของกำไรหลังควบรวมแล้วเฉลี่ยที่ 23% ต่อปี CAGR 4 ปี (2566-2570) ซึ่งมีความเป็นไปได้

หนึ่งในการควบรวมกิจการที่น่าจับตามองที่สุดในปี 2566 คือการที่บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SCGL) และบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (JWD) สองผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนชั้นนำระดับภูมิภาคอาเซียน ประกาศดีลรวมกิจการครั้งสำคัญแบบ ‘พาร์ตเนอร์ชิป’ ภายใต้ชื่อบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘SCGJWD’ โดยใช้ตัวย่อการซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ‘SJWD’

 

ที่บอกว่าน่าจับตา เพราะการที่สองบริษัทยักษ์ใหญ่มารวมตัวกันจะทำให้เกิดผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจร (Integrated Logistics and Supply Chain Solutions Provider) รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

 

ซึ่งไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังเติบโต จากการจัดอันดับดัชนีประเทศตลาดเกิดใหม่ด้านโลจิสติกส์ในปี 2565 (The Agility Emerging Markets Logistics Index 2022) จำนวน 50 ไทยติดในอันดับที่ 8 ด้วยกัน

 

สำหรับกลุ่มสมาชิกอาเซียน มาเลเซียเป็นอันดับ 4 อินโดนีเซียเป็นอันดับ 5 และเวียดนามเป็นอันดับ 11 ของโลก ซึ่งเหตุผลจากความสำคัญในการเป็นห่วงโซ่อุปทานโลก เป็นฐานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ มีนโยบายดึงดูดการลงทุน มีโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจและการส่งออกช่วงหลังโควิด มีระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของอีคอมเมิร์ซสูง เชื่อมโยงสหรัฐอเมริกาภายใต้กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ตามลำดับ

 

จุดนี้เองทำให้อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์ที่น่าสนใจ ทั้งปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ตามการเติบโตของการลงทุน และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานโลก และเป็นโอกาสที่สำคัญของ ‘SJWD’ ด้วย

 

ซึ่งหลังการควบรวมทั้งคู่จะมีฐานลูกค้ารวมกันมากกว่า 2,400 ราย, มีพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดพักรถรวมกว่า 2.3 ล้านตารางเมตร ตลอดจนรถขนส่งกว่า 12,000 คัน

 

 

แลกหุ้นกันเรียบร้อย

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ทั้งสองบริษัทมีการแลกหุ้นระหว่างกันเรียบร้อย โดย JWD ได้ลดทุนและเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทฯ เป็น 905,510,153 บาท จากเดิม 510,000,000 บาท และออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 791,020,363 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อจัดสรรและเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นของ SCGL ที่ราคาหุ้นละ 24.02 บาท สำหรับเป็นค่าตอบแทนการรับโอนหุ้นสามัญของ SCGL แทนการชำระด้วยเงินสด ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นของ SCGL เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใน JWD คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.7 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมดของ JWD ภายหลังทำธุรกรรมครั้งนี้

 

หลังจากนั้น JWD ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) โดยใช้ตัวย่อ ‘SJWD’ ในการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริหารงานโดยมี Co-CEO (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม) ร่วมกันบริหารงาน ได้แก่ บรรณ เกษมทรัพย์ ซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่ม SCGL และ ชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ซึ่งเป็นตัวแทนจาก JWD

 

การบริหารงานแบบ Co-CEO ไม่ค่อยมีให้เห็นมากนักในประเทศไทย แต่ในบริษัทระดับโลกหลายแห่งเลือกที่จะใช้โมเดลดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาโดย Harvard Business Review พบว่า จากการศึกษาผลการดำเนินงานของบริษัทมหาชน 87 แห่งที่มี Co-CEO พบว่า บริษัทเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นมากกว่าบริษัทอื่นๆ

 

โดยบริษัทที่มี Co-CEO สร้างผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเฉลี่ยต่อปีที่ 9.5% ซึ่งดีกว่าค่าเฉลี่ย 6.9% อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเหตุผลที่ Co-CEO สามารถสร้างผลงานได้ดีกว่ามาจากการร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญ 2 คน ซึ่งจะนำเอาความสามารถ ภูมิหลัง และมุมมองที่ลึกซึ้งและหลากหลายมาสู่การบริหารงาน

 

 

รวมจุดแข็งเข้าด้วยกัน

การรวมกิจการครั้งนี้เป็นการผสานจุดแข็งของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ด้านความเป็นผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มสินค้าเฉพาะทางของ JWD เช่น สินค้าควบคุมอุณหภูมิ สินค้าอันตราย และรถยนต์ เป็นต้น และด้านความชำนาญสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมของ SCGL เช่น เหล็กและวัสดุก่อสร้าง กระดาษและบรรจุภัณฑ์ และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการโลจิสติกส์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งบริการคลังสินค้า ซัพพลายเชน และการขนส่งสินค้าแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบ

 

นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการนำ Digitalization เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการให้บริการที่สูงขึ้น ช่วยลดเวลาในการทำงาน ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ ช่วยสร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจ และช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผ่านการพัฒนาระบบภายในบริษัท เช่น การใช้ Platform as a Service (PaaS), การวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าเพื่อใช้ในการพัฒนาบริการ (Data Analytics) รวมถึงการใช้ระบบติดตามการขนส่ง (Telematics) ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพการให้บริการ รวมถึงโอกาสในการสร้าง Synergy เพิ่มเติมในอนาคต

 

 

สำหรับจุดแข็งการดำเนินธุรกิจมีฐานของลูกค้าของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ได้ทับซ้อนกันอย่างมีนัยสำคัญ สามารถสร้างการเติบโตจากการขยายฐานลูกค้าของทั้งสองฝ่าย และการได้ฐานลูกค้ารายใหญ่ภายในเครือ SCG จะช่วยรักษาการเติบโตและลดความผันผวนของธุรกิจได้เป็นอย่างดี

 

ด้านต้นทุนและการบริหาร การรวมกิจการจะทำให้ SJWD ก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียนทันที ส่งผลให้ได้ประโยชน์จากขนาดกิจการที่ใหญ่ขึ้น การรวมกันของหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญ รวมถึงสามารถส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

สำหรับโอกาสทางธุรกิจที่ทั้งสองวางแผนร่วมกันมีทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่

 

  1. การเพิ่มรายได้จากการ Cross-Sale และ Up-Sale จากฐานลูกค้าเดิมของ SCGL และ JWD เพื่อเพิ่มรายได้และการประหยัดต้นทุน
  2. การสร้างมูลค่าเพิ่มในบริการเดิมที่แต่ละฝ่ายมีความชำนาญ เช่น คลังห้องเย็น ลานจอดรถยนต์ คลังสินค้าอันตราย การขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบ เป็นต้น
  3. การเชื่อมต่อฐานการให้บริการในภูมิภาคอาเซียนแบบไร้รอยต่อ โดยนำ Business Model ที่ประสบความสำเร็จในไทย ไปสร้างการเติบโตในต่างประเทศ
  4. ให้บริการแบบ D2C (Direct to Consumer) ตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ห้องเก็บของส่วนตัวให้เช่า โลจิสติกส์สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และการขนส่งแบบด่วน
  5. พัฒนาขอบเขตการให้บริการอย่างต่อเนื่องในธุรกิจใหม่ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม บริการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับจัดการโลจิสติกส์ เป็นต้น

 

เร่งเครื่องบุกโลจิสติกส์อาเซียน

ปัจจุบัน SCGL มีการดำเนินธุรกิจในหลายประเทศจากการขยายธุรกิจ เพื่อรองรับการขยายของกลุ่ม SCG เช่น เวียดนาม, อินโดนีเซีย, จีน, กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมา และฟิลิปปินส์ เป็นต้น โดยสามารถให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนจากไทย, สปป.ลาว, เวียดนาม ไปยังจีน และมีธุรกิจเรือลำเลียงสินค้า (Barge) ที่สามารถขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา และเมียนมา รวมถึงมีธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางเรือ ซึ่งสามารถร่วมกับ JWD ขยายเส้นทางให้บริการไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน

 

ทั้งนี้ SCGL มีแผนขยายบริการโลจิสติกส์ทางรางและอากาศ ซึ่งเมื่อรวมกับ JWD แล้วจะสามารถขยายเครือข่ายการให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางเรือและราง มีต้นทุนต่ำกว่าทางรถ โดยฐานลูกค้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะเพิ่มโอกาสขนส่งสินค้าได้ทั้งขาไปและขากลับ

 

ขณะที่ความร่วมมือในการขยายธุรกิจในต่างประเทศมองว่า เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีศักยภาพจากอัตราเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคนี้ จึงมีความต้องการคลังสินค้าและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม และสามารถขยายการลงทุนสร้างคลังสินค้าเพิ่มเติมในประเทศต่างๆ เพื่อสร้างการเติบโตในระดับภูมิภาค

 

หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจด้วยแนวคิด ESG

นอกจากนี้จะให้ความสำคัญกับเรื่อง Sustainability เช่น การเป็น ‘Green Logistic’ มุ่งเน้นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยการลดการใช้พลังงาน ทั้งการนำรถขนส่งพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้ และการใช้พลังงานจาก Solar Roof ภายในคลังสินค้า เป็นต้น ผ่านแนวคิด ESG (Environment, Social, Governance) ดังนี้

 

  1. การหา Solution ในการเพิ่ม Backhaul Matching คือ การแมตช์เที่ยวรถระหว่างขาไปและขากลับ เพื่อไม่ให้เกิดการขนส่งเที่ยวเปล่า ลดการใช้เชื้อเพลิง ลดการเกิดมลพิษทางอากาศที่กำลังส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมในขณะนี้ 
  2. บริการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ Multimodal ด้วยเครือข่ายการขนส่งทั้งทางรถและทางเรือ ผสมผสานโมเดลการขนส่งสินค้าเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่ต้องการขนส่งสินค้าภายในประเทศ หรือนำเข้า-ส่งออกสินค้า เหมาะสำหรับสินค้าเทกอง (Bulky) หรือสินค้าที่มีการขนส่งเป็นปริมาณมาก
  3. ใช้ระบบ TMS (Transportation Management System) ช่วยให้การจัดส่งที่เน้น ESG มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจาก TMS เป็นระบบบริหารจัดการงานใน Logistics ทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ทำให้เข้าสู่การขนส่งแบบยั่งยืนได้มากขึ้น 
  4. Telematics Solution เทคโนโลยีที่ใช้ในการควบคู่กับการขับขี่ เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง ลดต้นทุน และเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ เพิ่มความปลอดภัยในทุกเที่ยวการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งลดการสูญเสียเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น 
  5. การใช้พลังงานจาก Solar Roof ที่นำมาติดตั้งหลังคาของคลังสินค้า 

 

มาร์เก็ตแคป 1 แสนล้านไม่ใช่เรื่องยาก

ขณะเดียวกันในด้านงบการเงินและโครงสร้างทางการเงินภายหลังรวมกิจการเป็น บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ หรือ SJWD จะโดดเด่นและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยงบการเงินรวมเสมือนหลัง JWD รวมกิจการ SCGL ในปี 2565 มีรายได้รวม 25,548 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.62 บาท

 

บล.พาย ได้ออกบทวิเคราะห์ที่ประเมินว่า SJWD จะคว้าโอกาสทางธุรกิจจากการค้าชายแดนที่โตขึ้นเฉลี่ยต่อปี 7% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากกลุ่มการค้าอาเซียนมีแนวโน้มพึ่งพากันและกันมากขึ้น

 

นอกจากนี้คาดว่าอัตรากำไรจะปรับดียิ่งขึ้นจาก Synergy ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังควบบริษัท ซึ่งรวมถึงการขจัดต้นทุนซ้ำซ้อน การแชร์ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและ Economies of Scale และประโยชน์จากกระแส รายได้ที่แน่นอนจากกลุ่ม SGC

 

รวมถึงอำนาจการต่อรองกับคู่ค้าที่สูงขึ้นและต้นทุนทางการเงินที่ลดลง โดยคาดว่าจะเห็นประโยชน์ร่วมชัดเจนขึ้นในปี 2566 เนื่องจากคาดว่าการบูรณาการจะใช้เวลาไม่นาน อิงจากองค์ความรู้ในการดำเนินกิจการของแต่ละฝ่ายและการให้บริการที่มีส่วนทับซ้อนกันไม่มาก

 

ด้าน บล.หยวนต้า วิเคราะห์ว่า การ Synergy ที่สำคัญในช่วงแรกคือการเพิ่มมาร์จิ้น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็น Synergy ในช่วง 2H66 และเต็มปีในปี 2567 โดยการ Synergy ที่สำคัญและมีผลต่อการเติบโตในช่วงแรกไม่ใช่การเพิ่มรายได้ แต่เป็นการใช้สินทรัพย์ที่แต่ละฝ่ายมีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เพิ่ม Gross Profit Margin และ Net Profit Margin

 

อีกเรื่องที่น่าจับตามองไม่แพ้กันคือ การตั้งเป้ามูลค่าตลาดของ SJWD ที่ 100,000 ล้านบาทภายในปี 2570 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า บล.หยวนต้า ประเมินว่า หากอิง PER 35 เท่า ควรมีกำไรสุทธิราว 2,900 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป หรือการเติบโตของกำไรหลังควบรวมแล้วเฉลี่ยที่ 23% ต่อปี CAGR 4 ปี (2566-2570) ซึ่งมีความเป็นไปได้

 

และหากเป็นไปได้ตามแผนคาดว่า SJWD จะถูกเพิ่มเข้าสู่ SET50 ภายในปี 2569 เมื่อกำไรแตะระดับ 1,800-1,900 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะมีมูลค่าตลาดเกินกว่า 60,000 ล้านบาท (อิง PER 35x)

 

ทั้งหมดนี้สะท้อนสมการที่ว่า ‘1+1 มากกว่า 2’ เพราะ SJWD กำลังจะเติบโตแบบที่ใครก็ฉุดไม่อยู่

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X