×

โฉมหน้า 37 ผู้นำ ‘คุกคามเสรีภาพสื่อ 2021’ โดย Reporters Without Borders

โดย THE STANDARD TEAM
06.07.2021
  • LOADING...
คุกคามเสรีภาพสื่อ

นี่คือโฉมหน้าของ 37 ผู้นำที่ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้นำที่คุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อ ปี 2021 โดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรอย่าง Reporters Without Borders (RSF) ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพสื่อในประชาคมโลกและจัดทำรายงานประจำปีตลอดช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา

 

โดยเกือบครึ่งหนึ่งของผู้นำที่ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้นำที่คุกคามเสรีภาพสื่อนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้นำที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในแบล็กลิสต์ในปีนี้ ซึ่งในจำนวนนี้ 19 ราย เป็นผู้นำของประเทศที่มีสถานะทางเสรีภาพสื่อ ‘สีแดง’ (สถานการณ์เลวร้าย) ขณะที่อีก 16 ราย เป็นผู้นำของประเทศที่มีสถานะทางเสรีภาพสื่อ ‘สีดำ’ (สถานการณ์เลวร้ายอย่างมาก) ส่วนใหญ่เป็นผู้นำที่มักครองอำนาจเป็นระยะเวลานาน ผูกขาดและไม่ยอมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ส่วนใหญ่เป็นผู้นำของประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก

 

ในย่านอาเซียน นอกจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้นำที่คุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อในปีนี้แล้ว ยังมี ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา, พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ ผู้นำรัฐประหารเมียนมา, เหงียน ฟู้ จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม, โรดริโก ดูเตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ หรือแม้แต่ ลีเซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ที่ตระกูลลีและพรรคกิจประชาชน (PAP) ครองอำนาจในสิงคโปร์มาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

 

ขณะที่ในปีนี้ มีผู้นำหญิง 2 ราย ที่ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้คือ แคร์รี ลัม ผู้บริหารสูงสุดเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นหุ่นเชิดให้กับรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ อีกทั้งยังมีส่วนทำให้สำนักพิมพ์อย่าง Apple Daily ต้องปิดกิจการลงไปในที่สุด หลังยืนหยัดนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนชาวฮ่องกงมานานกว่า 25 ปี และ ชีค ฮาซีนา นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ สนับสนุนกฎหมายความมั่นคงทางดิจิทัล เมื่อปี 2018 นำไปสู่การดำเนินคดีกับสื่อมวลชนและบล็อกเกอร์มากกว่า 70 ราย

 

คุกคามเสรีภาพสื่อ

 

ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

พิสูจน์อักษร: นัฐฐา สอนกลิ่น

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X