×

ซีพีเอฟร่วมพิทักษ์ระบบนิเวศทางทะเล ผ่านโครงการ ‘CPF Restore the Ocean’ สร้างระบบอาหารมั่นคง

โดย THE STANDARD TEAM
20.09.2022
  • LOADING...
CPF Restore the Ocean

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไม่ใช่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพียงมิติเดียว แต่เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงของประชากรโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความมั่นคงทางอาหาร

 

ดัชนีจากรายงานสิ่งแวดล้อมโลก (The Living Planet Report 2020) แสดงให้เห็นว่าจำนวนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ ลดลงเฉลี่ยถึง 68% ระหว่างปี 1970-2016 จำนวนประชากรนี้คือมาตรวัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพโดยรวม ยิ่งไปกว่านั้น รายงานนี้ยังตอกย้ำว่าความจำเป็นของมนุษย์ในการพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เป็น 8 รากฐานความมั่นคงทางอาหารของทุกคน ยกตัวอย่างเช่น เกือบ 700 สปีชีส์ของสัตว์น้ำ ได้รับการเพาะเลี้ยงเป็นแหล่งอาหารมนุษย์ ยังไม่รวมสัตว์น้ำและพืชน้ำอื่นๆ อีกกว่า 1,800 สายพันธุ์ในมหาสมุทร ที่เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงดูประชากรโลกเช่นกัน

 

การดูแลระบบนิเวศเพื่อฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อรักษาระบบผลิตอาหารและการบริโภคของโลกให้ดำเนินอยู่บนเส้นทางที่มั่นคงและยั่งยืน

 

CPF Restore the Ocean ร่วมพิทักษ์ระบบนิเวศทางทะเล สร้างเสริมระบบอาหารโลกมั่นคง

 

หนึ่งในโครงการเพื่อร่วมพิทักษ์ระบบนิเวศทางทะเล ก้าวสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืน คือ โครงการ CPF Restore the Ocean ที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผนึกกำลังกับภาคีเครือข่ายองค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น สร้างการมีส่วนร่วมจัดการขยะทะเลอย่างยั่งยืน โดยซีอีโอ ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ เป็นประธานเปิดตัวโครงการฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งภายใต้กลยุทธ์เป้าหมายองค์กร CPF 2030 Sustainability in Action

 

โครงการฯ มุ่งสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจแก่พนักงานซีพีเอฟและชุมชนชายฝั่งทั่วประเทศไทย ร่วมลดขยะและรวมพลังจิตอาสาเก็บขยะทะเล รวมทั้งบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธีตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้ทศวรรษแห่งการลงมือทำ CPF Sustainability in Action 2030 สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)

 

 

ในระดับปฏิบัติการ ได้รับความร่วมมือจากคนรุ่นใหม่ ที่มีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการ CPF Restore the Ocean อย่าง ณัฐณิชา ลิมปนวัสส์ ผู้จัดการฝ่ายด้านพัฒนาความยั่งยืนวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำ หน่วยงาน Aqua Feed Technology เล่าว่า ปัจจุบันผู้บริโภคคาดหวังและต้องการความเชื่อมั่นจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ

 

  1. ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารทะเล โดยคำนึงถึงแหล่งผลิตและที่มา ซึ่งมีผลต่อสุขภาพ นอกจากนั้นผู้บริโภคยังสนใจและยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  2. การต่อต้านการใช้แรงงานประมงที่ผิดกฎหมายทุกรูปแบบ แรงงานเด็ก และการใช้แรงงานทาส
  3. กระบวนการผลิตที่โปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้ มีความรับผิดชอบในการผลิต และไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

 

CPF Restore the Ocean

 

“แม้ว่าในธุรกิจสัตว์น้ำของซีพีเอฟจะไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคการประมงโดยตรง เนื่องจากไม่ได้มีเรือประมงของตัวเอง แต่ก็มีความเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การประมงจากการรับซื้อวัตถุดิบ เช่น ปลาป่นและน้ำมันปลาที่มีแหล่งที่มาจากทะเลจากผู้ผลิตเข้ามาใช้ในธุรกิจเพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์น้ำ จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งอาหารสำคัญของทุกคน” ณัฐณิชากล่าว

 

 

ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่มีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม ณัฐณิชายังได้เชิญชวนเพื่อนพนักงานมาช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นต้นทางของแหล่งอาหาร เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นปัญหาของโลกที่ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ไข ช่วยกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเยียวยาธรรมชาติ เพื่อผลลัพธ์ปลายทางคือความมั่นคงทางอาหารของทุกชีวิต

 

จับมือเครือข่ายสร้างต้นแบบสู่การขยายผลพื้นที่อื่นๆ

 

CPF Restore the Ocean เป็นโครงการภายใต้ความมุ่งมั่นด้าน Waste to Value โดยเป้าหมายของซีพีเอฟคือสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม ในการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอาหารทั้งหมด มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทางทะเล โดยมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาขยะทะเลและขยะชายหาด รวมถึงทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชน

 

“โครงการ CPF Restore the Ocean เริ่มดำเนินการในปี 2565 อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บริษัทฯ ดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เรามีพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนหลายแห่ง เช่น ตำบลบางหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร ตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง ตำบลท่าพริก จังหวัดตราด เป็นต้น เมื่อมีการทำโครงการ CPF Restore the Ocean จึงได้ผนึกกำลังกับภาคีเครือข่ายที่เคยทำงานร่วมกันอยู่แล้ว เพื่อเป็นต้นแบบที่จะขยายไปยังพื้นที่อื่นต่อไปได้”

 

 

กับดักขยะทะเล (Trap the Sea Trash) 3R สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน

 

โครงการกับดักขยะทะเล ขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์ป่าชายเลนของซีพีเอฟ เป็นการต่อยอดจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ในโครงการ ‘ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน’ สู่การแก้ปัญหาขยะทะเล โดยปัจจุบันนำร่องในพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร และตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง

 

ซีพีเอฟร่วมมือกับชุมชนตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร หมู่ที่ 4, 5 และ 6 และเทศบาลตำบลบางหญ้าแพรก สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ลดการทิ้งขยะ เก็บและดักขยะในคลองสาธารณะของตำบลบางหญ้าแพรก ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำบริเวณปากอ่าวและทะเลอ่าวไทยตอนบน เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่ทะเล ควบคู่ไปกับส่งเสริมการบริหารจัดการขยะทะเลตามแนวทาง 3R คือ ลดการใช้ (Reduce), นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ชุมชนมีรายได้จากการนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นและถูกวิธี โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 มีปริมาณขยะที่เก็บได้รวมทั้งสิ้น 2,850 กิโลกรัม

 

เช่นเดียวกับกิจกรรมเก็บขยะกับชุมชนพื้นที่ป่าชายเลน ตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สามารถเก็บขยะได้ 1,537 กิโลกรัม ทั้งขยะพลาสติกและขวดแก้วที่สามารถนำไปขายให้กับคนรับซื้อขยะ และนำเงินมาใช้สนับสนุนการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในชุมชน ส่วนขยะทั่วไปทางเทศบาลนำไปกำจัดตามแนวทางที่เหมาะสม โดยบริษัทฯ สร้างเครือข่ายร่วมทำกิจกรรม เช่น กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยววิถีชุมชนปากน้ำประแส, กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปากน้ำประแส, อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) และโรงเรียนในพื้นที่ เป็นต้น

 

 

เก็บขยะชายหาด (Coastal Cleanup Day) ชวนพนักงานรักษ์ทะเล

 

โครงการนี้เป็นโครงการที่ซีพีเอฟร่วมดำเนินการเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นพิทักษ์มหาสมุทรกับ Seafood Business for Ocean Stewardship หรือ SeaBOS องค์กรเครือข่ายระดับโลก ซึ่งสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทะเลชั้นนำจากทั่วโลก โดยสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันเก็บขยะชายหาดสากล หรือวัน Coastal Cleanup Day 2022 (ตรงกับวันเสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปี) ซีพีเอฟจัดกิจกรรมรวมพลังพนักงานเพื่อเก็บขยะชายหาด 7 จุดทั่วประเทศ ประกอบด้วย ป่าชายเลนบริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ตำบลบางหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร, ชายหาดหน้าทับ (บางสน) ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร, ชายหาดบางสัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา, ชายหาดท่าบอน ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา, ชายหาดแพรกเมือง อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช, ชายหาดเรือรบประแสและศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง และหาดทรายแดง หินลาวา บ้านธรรมชาติล่าง ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เก็บขยะได้ทั้งหมดรวม 7,153 กิโลกรัม

 

 

ขยะดีมีค่า แลกสินค้ากลับไปใช้

 

ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Center หรือศูนย์ FLEC) ภายใต้การดำเนินงานของภาคีเครือข่ายที่ซีพีเอฟ และ บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP ร่วมสนับสนุน จัดอบรมให้ความรู้แรงงานประมงข้ามชาติและครอบครัว บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ครูและนักเรียน ให้มีความเข้าใจในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เปลี่ยนขยะให้มีค่า สร้างการมีส่วนร่วมของแรงงานข้ามชาติในการแก้ปัญหาขยะชายฝั่งและขยะทะเล

 

โครงการขยะดีมีค่าฯ ได้รับความสนใจจากแรงงานข้ามชาติและครอบครัว นำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปคัดแยกขยะที่รีไซเคิลได้ประเภทต่างๆ ที่บ้าน เช่น ขวดพลาสติก กระดาษลัง ขวดแก้ว อะลูมิเนียม ฯลฯ เพื่อนำมาแลกสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยกิจกรรมรับแลกขยะที่จัดขึ้นครั้งแรก ศูนย์ FLEC สามารถรวบรวมขยะรีไซเคิลได้ถึง 500 กิโลกรัม และนำรายได้จากการจำหน่ายขยะมาใช้เป็นทุนในการดำเนินโครงการต่อไป

 

 

Upcycling สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากขยะทะเล

 

อีกส่วนหนึ่งของความตั้งใจที่ซีพีเอฟร่วมแก้ปัญหาขยะทะเล โดยในปี 2561 ได้ร่วมมือกับกรมประมง ส่งเสริมและรณรงค์ให้ชาวประมงลดการทิ้งขยะลงสู่ทะเล โดยสนับสนุนถังขยะประจำเรือจำนวน 200 ถัง เพื่อให้ชาวประมงเก็บขยะจากกิจกรรมประมง ทั้งขยะจากการบริโภคบนเรือและขยะที่ติดมากับเครื่องมือประมงกลับขึ้นฝั่ง โดยขยะที่รีไซเคิลได้จะถูกคัดแยกและส่งขายให้กับโรงรับซื้อขยะต่อไป

 

ซีพีเอฟต่อยอดโครงการ มุ่งขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุม ตั้งแต่การเก็บขยะ คัดแยก การจัดการ จนถึงการรีไซเคิลและ Upcycle เพื่อสร้างมูลค่า โดยเดินหน้าโครงการนำร่องประสานความร่วมมือกับท่าเรือเอกชนในจังหวัดตรังและชาวประมงเก็บขยะจากทะเลคืนฝั่ง จากการรวบรวมขยะจากเรือประมงที่มาขึ้นท่าพบว่า มีขยะที่รีไซเคิลได้จำนวนมาก เช่น ขวดพลาสติก PET, ขวดแก้ว, เศษแห, เศษอวน ที่สามารถเพิ่มมูลค่าขยะเหล่านี้ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ ซีพีเอฟจึงได้หาแนวทางนำขยะพลาสติกประเภทขวด PET ที่เก็บจากทะเลเข้าสู่การแปรรูปเป็นเส้นใยพลาสติก ผลิตเป็นเสื้อโปโล ซึ่งได้รวมเอาขยะพลาสติกจากกิจกรรมขยะดีมีค่าเข้าร่วมด้วย ตลอดโครงการสามารถ Upcycling ได้มากกว่า 1,300 ตัว คิดเป็นขวด PET ประมาณ 200 กิโลกรัม

 

 

Restore the Ocean ตอบโจทย์ SDGs

 

ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘ครัวของโลก’ ซีพีเอฟมุ่งมั่นมีส่วนร่วมสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน ผลิตอาหารคุณภาพ ปลอดภัย อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการ รองรับความต้องการของประชากรทั่วโลก ควบคู่ไปกับการร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ ระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งโครงการ CPF Restore the Ocean เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายดังกล่าวที่ซีพีเอฟเริ่มต้นจากการสร้างความตระหนักสู่พนักงานในองค์กร สู่ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ประชาสังคม และชุมชน เพื่อร่วมกันลดปริมาณขยะในทะเล และนำมาสู่การบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี ตามแนวทางทศวรรษแห่งการลงมือทำ CPF Sustainability in Action 2030 และยังเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) อีกด้วย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X