×

ว่าด้วยเรื่อง ‘ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ’ ในปี 2024 ของไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สะเทือนห่วงโซ่อุปทานโลก กดดันภาคธุรกิจแค่ไหน?

04.07.2024
  • LOADING...

ศูนย์กลางฐานผลิต (Hub) สำคัญของโลกอย่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ อาจบีบให้บริษัทต่างๆ และนักลงทุนต้องทบทวนการลงทุน คิดหากลยุทธ์ใหม่ ท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคที่กำลังเป็นตลาด ‘เนื้อหอม’ เป็นห่วงโซ่อุปทานสำคัญของโลก สามารถดึงดูดเงินเม็ดเงินลงทุน FDI  

 

ก่อนจะมีผลช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เพื่อนบ้านแต่ละประเทศมีนโยบายค่าแรงขั้นต่ำอย่างไร และภาคธุรกิจสะท้อนอะไรบ้าง 

 

ในเดือนกรกฎาคมนี้ เวียดนามจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 6% ในเมืองใหญ่ๆ เช่น ฮานอย และโฮจิมินห์ โดยปัจจุบันคนงานได้รับเงิน 4.96 ล้านดองต่อเดือน (193 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือราว 7,200 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นประมาณ 80% เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน 

 

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม ขยายตัว 6.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาค โดยปัจจัยหลักมาจากภาคการผลิตที่แข็งแกร่ง ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวนมาก และแน่นอนว่าการค้าและความสัมพันธ์อันดีกับจีน บวกกับ ‘ค่าแรงที่ค่อนข้างถูก’ เป็นหนึ่งแรงดึงดูดหลักให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนาม   

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

แม้เวียดนามค่าแรงถูก แต่ ‘ที่ดินเริ่มแพง’  

 

อย่างไรก็ตาม ค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามที่ปรับสูงขึ้นก็ยังคงต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีค่าแรงขั้นต่ำสูงกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐ แถมค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามที่ปรับขึ้นแล้วก็ยังต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำของจีนที่ 2,420 หยวน (ราว 332 ดอลลาร์) หรือราวๆ 12,000 บาท อยู่มาก 

 

แต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างต่อเนื่องของเวียดนามก็อาจลดแต้มต่อของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวียดนามพึ่งพาอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labor-Intensive Industry) เช่น อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วน และการตัดเย็บ

 

Akira Miyamoto ผู้อำนวยการทั่วไปของ Sufex Trading ซึ่งเป็นตัวกลางในเวียดนามที่ช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นที่กำลังมองหาพื้นที่สวนอุตสาหกรรมเพื่อการลงทุน กล่าวว่า บริษัทกังวลเกี่ยวกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลายบริษัทกำลังพิจารณาที่จะขยายออกไปนอกเขตเมืองใหญ่ เพราะโดยทั่วไปเวียดนามควบคุมค่าแรงขั้นต่ำใน 4 ภูมิภาค และค่าจ้างในเขตเมืองใหญ่สูงกว่าค่าแรงในภูมิภาคที่มีการพัฒนาน้อยกว่า 40%

 

ภาพ: Pham hung / Getty Images

 

ขณะเดียวกัน Miyamoto ก็ตั้งข้อสังเกตว่า ค่าแรงไม่ได้เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว “ราคาที่ดินในสวนอุตสาหกรรมก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่รอบๆ นครโฮจิมินห์ 

 

เอกชนไทยเบรก ‘เศรษฐา’ ขึ้นค่าแรง ระบุไม่สอดคล้องความเป็นจริงเศรษฐกิจ

 

นอกจากเวียดนามที่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มีแผนจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรายวันเป็น 400 บาท เพิ่มขึ้นประมาณ 14% จากค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันที่ 300-350 บาท ซึ่งแม้จะมีเสียงสะท้อนจากภาคอุตสาหกรรมและนักธุรกิจอย่างมาก แต่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ก็ยังคงเดินหน้าผลักดันมาตรการดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยคาดว่าจะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม ทำให้คนงานหนึ่งคนจะมีรายได้อย่างน้อยประมาณ 237 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือราวๆ 8,700 บาท

 

อย่างไรก็ตาม การขึ้นค่าแรงของไทย ยังคงได้รับเสียงสะท้อนจากภาคเอกชน ทั้งสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งล่าสุด พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ระบุว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน ‘ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง’ ของพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ยิ่งจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรม

 

 

“หอการค้าไม่แน่ใจว่ารัฐบาลปรับขึ้นมาช่วยหรือซ้ำเติม เพราะตอนนี้แค่ประกาศว่าจะปรับขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ หลายธุรกิจก็ไปไม่รอดแล้ว” พจน์กล่าว

 

ฟิลิปปินส์เตรียมปรับขึ้น 6% 

 

ในขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์ออกมาเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (1 กรกฎาคม) ว่าจะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในพื้นที่เมโทรของกรุงมะนิลาเป็น 645 เปโซ (11 ดอลลาร์ต่อวัน) ซึ่งเพิ่มขึ้น 6% จากปัจจุบันที่ 610 เปโซ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม ซึ่งแรงงานจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำประมาณ 241 ดอลลาร์ต่อเดือน

 

นโยบายใหม่นี้เกิดขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้ในปี 2023 รัฐบาลฟิลิปปินส์ ได้วางแผนปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำรายวันเพื่อจัดการอัตราเงินเฟ้อ โดยช่วงแรกจะมีผลเฉพาะกับกรุงมะนิลาก่อน ซึ่งมีเป้าหมายช่วยบรรเทาค่าครองชีพผู้บริโภค หลังจากที่ต้องทนทุกข์กับค่าเงินเปโซที่อ่อนค่า ทำให้กำลังซื้อของสกุลเงินที่หายไป 

 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในท้องถิ่นฟิลิปปินส์ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นค่าจ้างอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจในประเทศที่ใหญ่ที่สุดของประเทศก็ออกมาแถลงการณ์ว่า “การขึ้นค่าจ้างแรงงานอาจทำให้นักลงทุนถอดใจ”

 

มาเลเซียยังไม่ปรับเพิ่ม แต่จะใช้นโยบาย ‘ขึ้นค่าแรงตามทักษะ’

 

ในส่วนของประเทศมาเลเซียยังไม่น่าจะมีการปรับเปลี่ยนค่าแรงขั้นต่ำในปีนี้ เนื่องจากมาเลเซียได้ปรับนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในปี 2022 ทำให้ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ริงกิต (318 ดอลลาร์ต่อเดือน)

 

ในปีนี้รัฐบาลมาเลเซียได้เปิดตัวโครงการค่าจ้างใหม่ที่เรียกว่านโยบายค่าจ้างแบบก้าวหน้า เพื่อส่งเสริมให้นายจ้างในภาคส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นค่าจ้างโดยเฉพาะสำหรับผู้มีรายได้น้อย องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การเติบโตของค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาทักษะและผลผลิต กรอบค่าจ้างรายสาขา และมาตรการการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ได้รับการปรับปรุง ในขณะนี้นโยบายค่าจ้างแบบก้าวหน้าจะเป็นแบบสมัครใจสำหรับนายจ้าง

 

อย่างไรก็ตาม นโยบายค่าแรงย่อมมีผลต่อต้นทุนการผลิต ภูมิภาคอาเซียนในฐานะซัพพลายเชนโลกอาจมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนแน่นอน อย่างเช่นไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปบทวิเคราะห์ไว้ว่า หากไทยปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาท จะส่งผลต่อเงินเฟ้อสูงขึ้น 0.1% และต้นทุนแรงงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 6%

 

แม้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ก็เสี่ยงถูกเลิกจ้างงานในบางกิจการ หากภาครัฐไม่ได้มีมาตรการคู่ขนานดูแลราคาสินค้าและบริการร่วมด้วย ท้ายที่สุดอาจต้องเผชิญความเสี่ยงถูกเลิกจ้างจากการหันไปประยุกต์ใช้เทคโนโลยี หรือบางกิจการโดยเฉพาะ SMEs ที่อาจแบกรับต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่ไหวจนต้องปิดตัวลง มีผลต่อการลงทุน FDI

 

อ้างอิง:  

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X