×

เดี๋ยวเลิก เดี๋ยวเริ่ม แล้วก็เลิกใหม่ …? ทำไมการเลิกบุหรี่ถึงไม่สำเร็จแบบยั่งยืนเสียที [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
06.05.2019
  • LOADING...
QuitForBetterLife

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • สิ่งที่ทำให้คนเสพติดการสูบบุหรี่ ได้แก่ สารนิโคติน  เนื่องจากสารชนิดนี้สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และตรงไปยังสมองได้ภายในระยะเวลา 6 วินาที  จากนั้นจะเข้าไปกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทต่างๆ เช่น โดพามีน เอ็นโดฟิน เซอโรเตอโรน เป็นต้น สารเหล่านี้ล้วนเป็นสารที่ทำให้เราสุขใจชั่วขณะ ส่งผลให้ ณ เวลานั้น สิงห์อมควันจึงรู้สึกพึงพอใจและผ่อนคลาย  แต่เมื่อระดับของนิโคตินลดลงและสารต่างๆ เหล่านี้จางหายไป ความรู้สึกดีชั่วครู่จึงมลายหายไปด้วย
  • ภาวะ “ถอนนิโคติน” ที่ไม่ได้การตอบสนองจะทำให้รู้สึกหดหู่ กระวนกระวาย หงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์เสียง่าย และยากที่จะจดจ่อกับสิ่งตรงหน้า รวมถึงผลกระทบทางกายอย่างหัวใจเต้นช้าลง ไม่มีเรี่ยวแรง เหงื่อแตก ปวดศีรษะไม่มีสาเหตุ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลา 4-6 ชั่วโมงหลังสูบบุหรี่มวนสุดท้าย ดังนั้นเพื่อเรียกคืนความรู้สึกในแง่บวก ผู้ติดบุหรี่จึงเกิดอาการอยากสูบซ้ำ วนเวียนอยู่อย่างนี้ ไม่จบไม่สิ้น
  • มาร่วมส่งต่อพลังแห่งชัยชนะ และร่วมส่งกำลังใจให้กับเพื่อนๆ ที่กำลังอยู่ในวงจรบุหรี่ให้พวกเขาก้าวพ้นมันไปให้ได้ ด้วยการโพสต์แชร์ประสบการณ์การเลิกบุหรี่ หรือบอกเล่าเทคนิคที่ทำให้คุณตัดขาดจากบุหรี่ได้สำเร็จ ทุกการโพสต์ของคุณยังมีค่ามากกว่าที่คิด เพราะทุกๆ 1 โพสต์จะถูกเปลี่ยนเป็นเงินสมทบทุน 10 บาท เพื่อบริจาคให้กับกองทุนศูนย์โรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งปอด

เมื่อการเลิกสูบบุหรี่ว่ายากแล้วแต่การหักห้ามใจไม่ให้กลับไปหาวังวนเดิมยากยิ่งกว่า หลังมีผลการวิจัยพบว่าโดยปกติทั่วไปคนที่เคยติดบุหรี่ต้องใช้เวลามากกว่า 6-11 ครั้งกว่าที่จะเลิกบุหรี่ได้อย่างยั่งยืนโดยไม่คิดหวนกลับอีก ซึ่งการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จอย่างยั่งยืนนั้นจึงต้องใช้ทั้งแรงใจ แรงกาย และปณิธานอันหนักแน่นว่าสงครามนี้ระหว่างคุณกับเจ้าบุหรี่ตัวร้ายต้องยุติลงแต่เพียงเท่านี้ ไม่มีเจ็บไปเจ็บมาซ้ำสอง

 

อยากเลิก ต้องเข้าใจที่มาของอาการเสพติด

แม้ในบุหรี่หนึ่งมวนจะมีส่วนประกอบมากมาย แต่สิ่งที่ทำให้คนเสพติดการสูบบุหรี่ ได้แก่ สารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ เนื่องจากสารชนิดนี้สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และตรงไปยังสมองได้ภายในระยะเวลา 6 วินาทีเท่านั้น ซึ่งนิโคตินจะเข้าไปกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทต่างๆ เช่น โดพามีน เอ็นโดฟิน เซอโรเตอโรน เป็นต้น สารเหล่านี้ล้วนเป็นสารที่ทำให้เราสุขใจชั่วขณะ ส่งผลให้ ณ เวลานั้น สิงห์อมควันจึงรู้สึกพึงพอใจและผ่อนคลาย  หากติดบุหรี่อยู่แล้วการสูบบุหรี่จะบรรเทาความอยากหรือการลงแดง แต่เมื่อระดับของนิโคตินลดลงและสารต่างๆ เหล่านี้จางหายไป ความรู้สึกดีชั่วครู่ จึงมลายหายไปด้วย ร่างกายจึงต้องการเติมซ้ำ เกิดเป็นภาวะ “ถอนนิโคติน” ที่ถ้าหากไม่ได้การตอบสนอง ผลที่ตามมาคือความรู้สึกหดหู่ กระวนกระวาย หงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์เสียง่าย และยากที่จะจดจ่อกับสิ่งตรงหน้า รวมถึงผลกระทบทางกายอย่างหัวใจเต้นช้าลง ไม่มีเรี่ยวแรง เหงื่อแตก ปวดศีรษะไม่มีสาเหตุ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลา 4-6 ชั่วโมงหลังสูบบุหรี่มวนสุดท้าย ดังนั้นเพื่อเรียกคืนความรู้สึกในแง่บวก ผู้ติดบุหรี่จึงเกิดอาการอยากสูบซ้ำ วนเวียนอยู่อย่างนี้ ไม่จบไม่สิ้น ถึงอย่างไรก็ตาม นิโคตินเป็นเพียงสารที่ทำให้เกิดการเสพติดการสูบบุหรี่เท่านั้น แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็งแต่อย่างอย่างไร อันตรายเหล่านั้นแท้จริงแล้วเกิดจากส่วนประกอบอื่นๆ ในบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็น ทาร์ คอร์บอนมอนอกไซด์ และอื่นๆ อีกมากถึงกว่า 70 ชนิด

 

 

กับดักนิโคตินที่ทำให้เลิกไม่ได้สักที

แม้ว่าการเลิกบุหรี่ถาวรเป็นเรื่องยากแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น คุณต้องเริ่มจากการเปลี่ยน Mindset ของตนเองก่อน โดยการมองว่าการสูบบุหรี่ไม่ได้เป็นเพียงพฤติกรรมที่ไม่ดี หากแต่เป็นพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพของตัวคุณและคนรอบข้าง แม้ว่าเราจะเคยเลิกบุหรี่มาแล้วสำเร็จ แต่การกลับไปหาสารเสพติดชนิดนี้อีกครั้ง แสดงให้เห็นว่าร่างกายพ่ายแพ้ให้กับอะไรบ้างอย่าง ที่ทำให้คุณติดกับดักนิโคตินอีกรอบ เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้คนเรากลับไปสูบบุหรี่อีกครั้งหลังเลิกมาได้พักใหญ่ ตัวการสำคัญอยู่ที่การรับมือกับสิ่งปลุกเร้าหรือสิ่งจุดชนวนได้ไม่ดีนัก เช่น การเห็นคนรอบข้างสูบบุหรี่บ่อยครั้ง การได้กลิ่นบุหรี่ หรือใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยควันบุหรี่  วิธีนี้แก้ได้ด้วยการพยายามหลีกเลี่ยงการนั่งร่วมโต๊ะกับผู้สูบบุหรี่ หรือลุกมานั่งบริเวณอื่นเมื่อมีการสูบบุหรี่เกิดขึ้น รวมถึงการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรง เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง การสูญเสีย หรือความเครียดที่ไม่สามารถหาทางออกได้อย่างทันทีทันใด แนวโน้มที่คนกลุ่มนี้จะหันหาบุหรี่จึงค่อนข้างสูงตามไปด้วย เนื่องจากคุ้นชินกับการใช้บุหรี่เป็นทางลัดเพื่อให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นทาสบุหรี่ไปเสียแล้ว

 

 

เทคนิคการบอกลาบุหรี่อย่างถาวร

คำแนะนำที่ได้ผลคือเมื่อใดที่รู้สึกถึงสิ่งจุดชนวน อย่างแรกคือบอกตัวเองว่าแรงจูงใจของเราที่ต้องการเลิกบุหรี่คืออะไร สิ่งใดที่ทำให้เราตัดสินใจลุกขึ้นมาเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ จากนั้นลองใช้หลักจิตวิทยาอย่างการมอบรางวัลให้ตนเอง หลังเลิกได้เป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เช่น ซื้อรองเท้าคู่ใหม่ หรืออาหารดีๆ สักมื้อ เพื่อสร้างกำลังใจและเกิดเป็นพฤติกรรมทำซ้ำ หรืออาศัยเทคนิคการทดแทนสิ่งที่ไม่ดีด้วยสิ่งดี เช่น เมื่อใดที่รู้สึกอยากสูบบุหรี่ให้ลุกขึ้นเดินขึ้นลงบันได ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ หรือกินผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเพื่อลดความอยากนิโคติน ไม่ก็เปลี่ยนไปกิจกรรมอื่น เช่น ออกกำลังกายตอนเย็น แทนการสังสรรค์กับเพื่อน

 

นอกจากนั้นหนทางหลุดพ้นจากวังวนนิโคติน ยังรวมถึงการอาศัยตัวช่วยทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อช่วยรับมือกับความอยากนิโคติน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยานิโคติน หมากฝรั่งนิโคติน หรือแผ่นแปะนิโคติน ซึ่งออกฤทธิ์ด้วยการปล่อยนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย แทนที่การสูบบุหรี่ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและลดปริมาณลงเรื่อยๆ เพื่อให้การเลิกบุหรี่นั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น การเผชิญหน้ากับการขาดนิโคตินจึงไม่รุนแรงเท่ากับการหักดิบไปเลย

 

ถึงตอนนี้หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เห็นด้วยกับเรา หรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายมาก่อนที่จะโบกมือลาบุหรี่ได้สำเร็จ  มาร่วมส่งต่อพลังแห่งชัยชนะ และร่วมส่งกำลังใจให้กับเพื่อนๆ ที่อยู่ในวงจรบุหรี่ให้พวกเขาก้าวพ้นมันไปให้ได้ ด้วยการแชร์ประสบการณ์การเลิกบุหรี่ หรือบอกเล่าเทคนิคที่ทำให้คุณตัดขาดจากบุหรี่ได้สำเร็จ ทุกๆ 1 แชร์ของคุณยังมีค่าเป็นเงินสมทบทุน 10 บาท เพียงแชร์ลิ้งก์จาก THE STANDARD พร้อมแชร์ประสบการณ์ของคุณ และ Hashtag เพื่อบริจาคให้กับกองทุนศูนย์โรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งปอด

 

อ้างอิง

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising