×

เกาะติดความเคลื่อนไหวแถลงนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ 2

โดย THE STANDARD TEAM
25.07.2019
  • LOADING...
เกาะติดความเคลื่อนไหวแถลงนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ 2

26 กรกฎาคม 2562

 

 

ถ่ายทอดสด: สรุปภาพรวมการประชุมร่วม แถลงนโยบายรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ วันที่สอง
 
 

 

KEY MESSAGES: สรุปภาพรวมแถลงนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ 2 วันที่ 2 นายกฯ น็อตหลุดตอนท้าย-เน้นอภิปรายนโยบาย

 

 

1. ภาพรวมแถลงนโยบายวันที่ 2 ฝ่ายค้านเน้นกลยุทธ์อภิปรายเจาะทีละนโยบายในเชิงลึก ทำให้ตลอดทั้งวันแทบไม่มีการประท้วงเกิดขึ้นในสภา

 

2. ความวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อ สุทิน คลังแสง ส.ส. จังหวัดมหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นอภิปรายโดยพาดพิงรัฐมนตรีหลายคน และย้อนการทำงานของรัฐบาลไปถึงช่วงที่ คสช. ทำรัฐประหาร ทำให้เกิดการประท้วงเป็นระยะ ก่อนที่สุดท้าย พล.อ. ประยุทธ์ จะลุกขึ้นชี้แจงด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว พร้อมกล่าว “เสียดายที่ในช่วงสุดท้ายที่เราควรจะจากกันดีๆ มันถูกทำลายไป” 

 

3. เกิดเหตุชุลมุนเล็กน้อยกรณี พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ที่ถูกเชิญออกจากสภาในวันแรก แต่ต้องการกลับเข้ามาอภิปรายอีกครั้งในประเด็นที่ค้างไว้ แต่ประธานวินิจฉัยไม่อนุญาต ทำให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ขู่ว่าจะขอดำเนินการตามกฎหมายอาญาต่อประธานสภา ชวน หลีกภัย 

 

4. พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่ถูกจับตามอง ลุกขึ้นชี้แจงในสภาเป็นครั้งแรก ประเด็นถูกพาดพิงเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับงบประมาณของกระทรวงกลาโหม และการพูดเล่นกรณีเรือล่ม และก่อการร้ายโรงแรมไทยในเคนยา 

 

5. ช่วงเย็น ส.ว. โอนเวลาอภิปรายให้กับฝ่ายรัฐบาล หลังสภามีการกวดขันเรื่องเวลาอย่างเข้มงวดตลอดทั้งวัน

 

6. หลังการแถลงนโยบายแล้ว รัฐบาลประยุทธ์ 2 จะสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างเต็มรูปแบบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

 


 

ถ่ายทอดสด: การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาวันที่ 2 (26 กรกฎาคม 2562) ช่วงที่ 2

 


 

สภาป่วน ประท้วงวุ่นทิ้งท้ายแถลงนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ 2 วันที่ 2

 


 

ทิม พิธา อภิปรายนโยบายรัฐบาล พร้อมชูโมเดล ‘กระดุม 5 เม็ด’ แก้ปัญหาเกษตรกรอย่างยั่งยืน

 

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

 

วันนี้ (26 ก.ค. 2562) พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ยืนขึ้นอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายทางการเกษตร เผยว่า จากที่อ่านนโยบายที่วางไว้ตามกรอบ 12 นโยบายเร่งด่วน และ 12 นโยบายหลักนั้น พบว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปฏิบัติได้ เพราะแต่ละนโยบายไม่ได้เชื่อมโยงกันแต่อย่างใด แต่ละประเด็นและแต่ละปัญหานั้น มีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกันเหมือนการติดกระดุม ที่หากติดผิดตั้งแต่เม็ดแรกก็จะผิดตลอดไป

 

อีกทั้งเมื่อดูที่นโยบายฉบับนี้ก็จะเห็นว่า ไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน เนื่องจากบางปัญหาเป็นต้นเหตุ ส่วนบางปัญหาเป็นปลายเหตุ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญในการที่จะอภิปรายในครั้งนี้ คือการเรียงลำดับความสำคัญของนโยบายเร่งด่วน

 

อย่างไรก็ตาม ทิม พิธา ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ยกโมเดล ‘กระดุม 5 เม็ด’ ที่จะช่วยแก้ปัญหาเกษตรกร พร้อมอธิบายโดยเริ่มจาก

 

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

 

กระดุมเม็ดที่ 1 คือเรื่องของที่ดิน ซึ่งปัญหาที่พบก็คือ ที่ดินของประเทศไทยมีความกระจุก เหลื่อมล้ำ และไม่ชอบธรรมในการใช้กฎหมาย โดย 90% ของที่ดินในประเทศไทย ถูกครอบครองโดยคนเพียง 10% ส่วนอีก 75% ของประชาชนในประเทศไทย ไม่มีโฉนดของตัวเอง ชาวนากว่า 45% ยังมีความจำเป็นที่จะต้องเช่าที่ดินอยู่ ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ระบบทุนนิยมได้

 

“ที่ดินคือคอขวดของปัญหาเกษตรกรรมเกือบทั้งหมด ที่ดินคือชีวิต ที่ดินคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ที่ดินคือกระดุมเม็ดแรก เมื่อเราติดให้ถูกต้อง ปัญหาที่เหลือจะแก้ได้ง่ายมาก แต่ถ้าเกิดเราติดผิด ปัญหาอื่นที่เราพยายามที่จะแก้ก็จะไม่สามารถแก้ได้อย่างยั่งยืน เพราะเกษตรกรเหล่านี้ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง เขาจึงไม่มีทรัพย์สินที่จะสามารถค้ำประกัน และไม่สามารถที่จะเข้าสู่ระบบทุนนิยมได้ พวกเขาไม่มีโฉนดที่จะเข้าไปจำนองในธนาคาร ทำให้เขาไม่สามารถที่จะเข้าสู่ระบบการเงินได้ หมายความว่ามีความจำเป็นที่จะต้องออกไปกู้นอกระบบ ซึ่งเป็นกระดุมเม็ดที่ 2 ซึ่งในเรื่องของหนี้สินเกษตรกร เมื่ออยู่ในวงจรหนี้สิน เขาจดจ่อกับความจำเป็นที่จะต้องรีบใช้หนี้ให้ได้ ทำให้เขาต้องการความแน่นอนในการทำงาน มีความจำเป็นที่จะต้องทำวิธีเดิมๆ ปลูกพืชเดิมๆ ใช้วิธีที่ถูกที่สุด เพราะมันมีต้นทุนจากค่าเช่าที่ดิน และต้นทุนจากดอกเบี้ยนอกระบบอยู่แล้ว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีเยอะๆ เพื่อที่จะให้สินค้าออกมามีคุณภาพ เวลาจะปลูกอะไรก็ต้องปลูกพืชเชิงเดี่ยว ปลูกซ้ำ ทำให้มีปัจจัยในการโดนกดดันราคาอีก ซึ่งนั่นก็คือกระดุมเม็ดที่ 3 เรื่องของสารเคมีการเกษตร เรื่องของการประกันราคา

 

“ในขณะที่เราต้องการจะพัฒนาเศรษฐกิจให้กับนักลงทุน ไม่ว่าจะไทยหรือเทศ ในการดึงพวกเขาเข้ามา แต่ในขณะเดียวกันทำไมเราถึงไม่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับประชาชนคนไทยด้วยกัน ที่พยายามจะมีที่ดินเป็นของตัวเองมาตลอด 50 ปี ทั้งที่อยู่ห่างจากเขตเศรษฐกิจไม่ถึง 1 ชั่วโมง”

 

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

 

ส่วนกระดุมเม็ดที่ 2 คือปัญหาหนี้สิน หากเกษตรกรอยู่ในวงจรหนี้สิน สิ่งแรกที่จะนึกถึงคือการรีบใช้หนี้ให้ได้ และทำให้ติดลูปการปลูกพืชซ้ำๆ เดิมๆ จนเป็นปัจจัยกดดันราคาพืชผลการเกษตร

 

เม็ดที่ 3 คือต้นทุนสูง เกษตรกรทำงานด้วยต้นทุนสูง แต่ได้ราคาต่ำ ทำให้ไม่สามารถเก็บออม และไม่มีเงินทุนเป็นของตัวเอง จึงไม่สามารถเข้าถึงการแปรรูป และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้

 

กระดุมเม็ดที่ 4 คือนวัตกรรม การแปรรูปสินค้าเกษตร โดยเฉพาะกัญชามีคุณค่ามากกว่ามูลค่า และห่วงว่าคนไทยต้องนำเข้ากัญชา และมีทุนใหญ่ผูกขาดผลประโยชน์ คำถามคือจะผลักดันกัญชาทางการแพทย์ให้เป็นเบอร์หนึ่งของเอเชียได้อย่างไร

 

และกระดุมเม็ดที่ 5 คือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หลายคนต้องการพัฒนาตัวเองจากผู้ผลิต เป็นผู้ให้บริการเกษตรเชิงท่องเที่ยว แต่ติดปัญหาที่กระดุมเม็ดที่ 1 เหมือนเดิม

 

“สุดท้ายนี้การติดกระดุมเม็ดที่ 5 ต้องเริ่มจากการปลดล็อกกระดุมทุกเม็ดเสียก่อน” พิธา กล่าวทิ้งท้าย

 


 

ถ่ายทอดสด: การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาวันที่ 2 (26 กรกฎาคม 2562) ช่วงที่ 1 (ต่อ)

 

ถ่ายทอดสด: การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาวันที่ 2 (26 กรกฎาคม 2562) ช่วงที่ 1

 


 

‘ทิม พิธา’ กระดุม 5 เม็ด สะท้อนปัญหาเกษตรกรไทย

 

 


KEY MESSAGES: ‘กระดุม 5 เม็ด’ โมเดลแก้ปัญหาเกษตรของ ทิม พิธา

 

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายถึงนโยบายด้านการเกษตร พร้อมพูดถึงปัญหาของเกษตรกรผ่าน ‘กระดุม 5 เม็ด’ โมเดลที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยในแบบที่ควรเป็น

 

และนี่คือโมเดลกระดุม 5 เม็ดที่คุณต้องรู้จาก พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

 

 

1. เม็ดที่ 1 ปัญหาที่ดิน: 90% ของที่ดินถือครองโดยคนเพียง 10% ซึ่ง 75% เป็นคนไทยที่ไม่มีโฉนดเป็นของตนเอง และชาวนา 45% ยังต้องเช่าที่ดินอยู่ ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ระบบทุนนิยมได้

2. เม็ดที่ 2 ปัญหาหนี้สิน: หากเกษตรกรอยู่ในวงจรหนี้สิน สิ่งแรกที่จะนึกถึงคือการรีบใช้หนี้ให้ได้ และทำให้ติดลูปปลูกพืชซ้ำๆ เดิมๆ จนเป็นปัจจัยกดดันราคา

3. เม็ดที่ 3 ต้นทุนสูง: เกษตรกรทำงานด้วยต้นทุนสูง แต่ได้ราคาต่ำ ทำให้ไม่สามารถเก็บออม และไม่มีเงินทุนเป็นของตัวเอง จึงไม่สามารถเข้าถึงการแปรรูปและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้

4. กระดุมเม็ดที่ 4 นวัตกรรม: การแปรรูปสินค้าเกษตร โดยเฉพาะกัญชามีคุณค่ามากกว่ามูลค่า และห่วงว่าคนไทยต้องนำเข้ากัญชา และมีทุนใหญ่ผูกขาดผลประโยชน์ คำถามคือจะผลักดันกัญชาทางการแพทย์ให้เป็นเบอร์หนึ่งของเอเชียได้อย่างไร

5. กระดุมเม็ดที่ 5 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร: หลายคนต้องการพัฒนาตัวเองจากผู้ผลิต เป็นผู้ให้บริการเกษตรเชิงท่องเที่ยว แต่ติดปัญหาที่กระดุมเม็ดที่ 1 เหมือนเดิม

 


 

BREAKING: ส.ว. ยินดีโอนเวลาอภิปรายที่เหลือให้รัฐบาลได้อภิปรายเพิ่ม

 

20.10 น. มหรรณพ เดชวิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะวิปของ ส.ว. ลุกขึ้นแจ้งต่อประธานรัฐสภาว่ายินดีที่จะโอนเวลาในการอภิปรายที่เหลืออยู่ทั้งหมดของฝ่าย ส.ว. ประมาณ 1 ชั่วโมงให้กับคณะรัฐมนตรีได้ใช้เวลาส่วนนี้ในการชี้แจงต่อที่ประชุมร่วม วิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปฝ่ายรัฐบาล และสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ว่าที่ผู้นำฝ่ายค้าน ได้ลุกขึ้นอภิปรายเห็นชอบและยินดีต่อแนวทางของ ส.ว. ทำให้ประธานรัฐสภาอนุญาตตามที่ได้แจ้งมา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจะมีเวลาในการอภิปรายเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องบริหารเวลาด้วยเช่นกัน

 


ชวนยืนยัน เสรีพิศุทธ์หมดสิทธิพูดในญัตติแถลงนโยบาย ถือว่าจบแล้วหลังถูกเชิญออกนอกห้องประชุมเมื่อวานนี้

 

 

จากกรณีที่ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ไม่อนุญาตให้ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ขึ้นอภิปรายนโยบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยให้เหตุผลว่าพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ ได้อภิปรายเสร็จสิ้นไปแล้วนั้น  

 

ช่วงเวลาประมาณ 18.10 น. นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. น่าน พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นหารือต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้ประธานรัฐสภาได้วินิจฉัยประเด็นนี้ให้เป็นบรรทัดฐานและมาตรฐานในการทำงาน เนื่องจากการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาเป็นไปตามเอกสิทธิ์ จึงต้องการให้ประธานรัฐสภาได้วินิจฉัยวางบรรทัดฐานว่าสามารถส่งให้ผู้อภิปรายท่านอื่นมาอภิปรายประเด็นเดียวกันกับผู้อภิปรายท่านนั้นได้หรือไม่ และกรณีการถูกเชิญออกนอกห้องประชุมเป็นเรื่องใหญ่ เป็นการลงโทษสมาชิกที่หนัก จึงขอให้ประธานรัฐสภาได้วินิจฉัยเพื่อวางแนวทางว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกเชิญออกไปสามารถที่จะกลับเข้ามาอภิปรายได้อีกหรือไม่

 

ประธานรัฐสภาตอบข้อหารือดังกล่าวว่า โดยความรู้สึกของตนนั้นต้องบอกว่าเห็นใจต่อสมาชิกเป็นอย่างยิ่ง ส่วนกรณีพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ ตนได้ตัดสินใจโดยฝืนความรู้สึก แม้ตนจะไม่ได้นั่งอยู่ในเหตุการณ์ แต่การอภิปรายของสมาชิกในที่ประชุมเวลานั้นได้ขอให้ท่านถอนคำพูด เมื่อท่านไม่ปฏิบัติตามก็มีการใช้มาตรการตามข้อบังคับ ซึ่งการอภิปรายของท่านในญัตตินี้ถือว่าได้จบไปแล้ว เป็นการวินิจฉัยที่ฝืนความรู้สึก แต่เพื่อรักษาหลักการซึ่งเป็นเรื่องใหญ่กว่า

 

“เรียนหลักการอันนี้ไว้กับพวกเรา ไม่ได้ต้องการให้เกิดขึ้น เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแบบนี้ ผมก็ต้องยึดหลักนี้เอาไว้ ที่นี่ไม่ใช่ที่เด็กเล่น ไม่ใช่ที่พูดเหลวไหล ทำไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องของพวกพ้อง เรียนว่าเมื่อเปลี่ยนประเด็นไปแล้ว เปลี่ยนญัตติไปแล้ว ท่านจึงจะสามารถพูดได้ เป็นการตัดสินใจที่จะต้องรักษาหลักของสภาเอาไว้ ไม่ได้เอาเหตุผลส่วนตัวมาช่วยกัน” ประธานรัฐสภากล่าว

 

ด้านนายแพทย์ชลน่านลุกขึ้นอภิปรายอีกครั้ง โดยขอให้ประธานรัฐสภาได้พิจารณาประเด็นการตีความกรณีถือว่าการแถลงนโยบายเป็นเรื่องของญัตติและไม่ให้สิทธิอภิปรายอีกครั้ง เพราะประธานตีความกว้างเกินไป ทำให้สมาชิกเสียโอกาสที่จะอภิปรายในประเด็นหลัง

 

ประธานรัฐสภายืนยันว่าประเด็นดังกล่าวคือการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อที่ประชุมร่วม ซึ่งหมายถึงญัตติที่กำลังอภิปรายอยู่ เรื่องนี้จึงถือว่าจบแล้ว

 


KEY MESSAGES: 5 ประเด็นสะท้อนปัญหาการศึกษาไทยของ กุลธิดา ส.ส. อนาคตใหม่

 

กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายเน้นไปที่นโยบายด้านการศึกษาที่ไม่พบความชัดเจน อีกทั้งยังไร้แนวทางในการพัฒนาบุคลากร และมักจะมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาให้เห็นอยู่เสมอ

 

และนี่คือ 5 ประเด็นสำคัญจากการอภิปรายโดย กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ

 

 

1. นโยบายด้านการศึกษายังไม่ชัดเจน ไม่ช่วยแก้ปัญหาซ้ำซากในเชิงโครงสร้างมานาน 10 ปี เช่น ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หรือการขาดแคลนครู

2. ปัญหาเชิงโครงสร้างการศึกษายังมีอยู่มาก ทำให้แต่ละโรงเรียนมีคุณภาพการศึกษาไม่เท่าเทียมกัน ขาดแคลนครูที่มีคุณภาพ ต้องจ้างครูอัตราจ้างด้วยเงินเดือนต่ำ เป็นภาพสะท้อนปัญหาการศึกษาที่ยังไม่ถูกแก้ไข

3. การแก้ไขปัญหาการศึกษาควรยืนอยู่บนหลักการ ‘ไม่ทิ้งเด็กไทยคนใดไว้ข้างหลัง’

4. ครูส่วนใหญ่มีภาระทางราชการที่มากเกินความจำเป็น นอกจากครูจะเสียผลประโยชน์แล้ว นักเรียนก็ยังเสียโอกาสทางการเรียนด้วย

5. แม้จะมีนโยบายเน้นการมีส่วนร่วม แต่ยังไม่เห็นการมีส่วนร่วมเป็นรูปธรรม เสนอให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษา และเสนอแนวทางที่ต้องการได้ด้วยตัวเอง

 

 


KEY MESSAGES: ณัฐวุฒิ ส.ส. อนาคตใหม่ กับ 4 ประเด็นความเท่าเทียมของคนในสังคม

 

ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายหยิบยกประเด็นเด็ก ผู้ด้อยโอกาส ผู้หลากหลายทางเพศ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นสิ่งที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ 

 

และนี่คือ 4 ประเด็นหลักสำคัญในการอภิปรายของ ณัฐวุฒิ บัวประทุม

 

 

1. ประเด็นของเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ผู้ด้อยโอกาส ผู้หลากหลายทางเพศ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ ควรได้รับการดูแลมากขึ้น แต่กลับพบว่ารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร

2. ตั้งคำถามถึงนายกรัฐมนตรีว่าการแก้กฎหมาย ‘ชาติพันธุ์’ หมายถึงกฎหมายที่ส่งเสริมสภาชนเผ่าพื้นเมืองหรือไม่ ใช่กฎหมายเขตวัฒนธรรมพิเศษที่พวกเขารอคอยหรือไม่ และใช่กฎหมายที่ให้สถานะบุคคลหรือไม่

3. ไม่พบคำว่า ‘ความหลากหลายทางเพศ’ ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาล ทั้งที่ประชากรกลุ่มนี้ในไทยมีจำนวนกว่า 4.3 ล้านคน

4. ฝากถึงกระทรวงสาธารณสุข เพราะลูกหลานแรงงานข้ามชาติเข้ามาเจ็บป่วยในไทยและเสียค่าใช้จ่ายสูง ถ้าเป็นไปได้จะสามารถตั้ง Asian Health Fund ได้หรือไม่

 

 


 

7 พรรคร่วมฝ่ายค้านทำหนังสือขอคืนสิทธิอภิปรายให้เสรีพิศุทธ์ หลังประธานรัฐสภาไม่อนุญาตให้พูดต่อ

 

พรรคฝ่ายค้าน

 

จากกรณีที่ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ไม่อนุญาตให้ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ขึ้นอภิปรายนโยบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยให้เหตุผลว่าพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ ได้อภิปรายเสร็จสิ้นไปแล้วนั้น  

 

ล่าสุด 7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย, พรรคอนาคตใหม่, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคเศรษฐกิจใหม่, พรรคเพื่อชาติ, พรรคประชาชาติ และพรรคพลังปวงชนไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าวกรณีดังกล่าว โดยพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ ระบุว่าในวันนี้มี 3 ประเด็นที่รัฐบาลมีปัญหาที่ตนเองจะอภิปราย ประเด็นแรกคือกรณีของคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี ประเด็นที่สองคือการแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี ประเด็นที่สามคือการถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ 

 

พรรคฝ่ายค้านพรรคฝ่ายค้าน

 

เมื่อวานนี้ตนเองมีปัญหาระหว่างการอภิปรายในประเด็นแรก มีการประท้วง และสุดท้ายต้องพักการประชุม กระทั่งประธานรัฐสภา พรเพชร วิชิตชลชัย กลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง ซึ่งไม่ทราบว่าไปพูดคุยกับใครจึงมีการสั่งให้ถอนคำพูดกรณีระบุว่ามีการโกงการเลือกตั้ง เมื่อตนไม่ถอน ประธานก็สั่งให้ออกนอกห้องประชุมตามข้อบังคับข้อ 114 ตนออกไป 2 นาทีก็กลับมาใหม่ ประธานก็ไม่ได้ว่าอะไร ขณะที่ตนนั่งอยู่ในที่ประชุม

 

วันนี้ตั้งใจจะมาอภิปรายอีก 2 ประเด็นคือ คำแถลงนโยบายของรัฐมนตรีและการถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยการอภิปรายต้องมีการใช้คลิปและเอกสาร ซึ่งท่านประธานรัฐสภา ชวน หลีกภัย ก็อนุญาตให้ใช้คลิปและเอกสารเหล่านั้นได้ กระทั่งมีการหารือกับวิปฝ่ายค้านเพื่อขออภิปราย แต่ปรากฏว่าเมื่อจะเริ่มการอภิปราย ประธานชวนไม่อนุญาตให้พูด และได้เล่าข้อเท็จจริงให้ประธานฟัง เพราะประธานไม่ได้อยู่ในที่ประชุม ตนได้เวลาในการอภิปราย 45 นาที ซึ่งเมื่อวานใช้ไปเพียง 9 นาทีเท่านั้น ตนยังมีเวลาเหลือในการอภิปราย จึงขอขึ้นอภิปราย 

 

ยืนยันว่าประธานชวนทราบดีว่าตนเองจะพูดเรื่องอะไร รวมทั้งคลิปและเอกสารที่ได้ยื่นไป จึงขอตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงไม่อนุญาตให้พูด ไม่มีข้อบังคับห้าม ตนเป็นคนรักษาคำพูด เมื่อไม่ให้พูดก็ไม่พูด

 

พรรคฝ่ายค้าน

 

ส่วนประเด็นเรื่องคำแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีจะให้ นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช เป็นผู้อภิปราย ส่วนประเด็นของการถวายสัตย์จะให้ วิรัตน์ วรศสิริน ส.ส. บัญชีรายชื่อเป็นผู้อภิปราย แต่กรณีการเปิดคลิป ประธานไม่อนุญาต

 

“เมื่อท่านประธานชวนไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ไม่อนุญาตให้พูด ก็ขอใช้สิทธิตามกฎหมายในการฟ้องร้องดำเนินคดี เนื่องจากท่านเองก็บอกว่าเชิญ ผมก็รับคำท้า เพราะผมเป็นฝ่ายโจทก์ ส่วนท่านก็ไปแก้ตัวกับศาลเองแล้วกัน ส่วนตัวผมก็เคารพท่าน ก็เอื้อกันไปมา ขออะไรมาก็ให้ แต่วันนี้ไม่ใช่คุณชวนคนเดิม จะเป็นการฟ้องร้องในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157”

 

พรรคฝ่ายค้าน

 

ด้าน นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าเราต้องการปกป้องการทำงานของ ส.ส. เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก โดยจะทำหนังสือถึงประธานรัฐสภาให้ทราบในวันนี้ว่าการทำหน้าที่ของพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เป็นเอกสิทธิ์ เป็นหน้าที่ในการอภิปรายภายใต้กรอบที่กำหนด เพราะทุกฝ่ายได้ตกลงกันไว้เรียบร้อยเพื่อให้คืนสิทธิ คืนเวลาให้พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ หากท่านอนุญาต และจะขอหารือต่อที่ประชุมร่วมด้วยเพื่อให้เกิดความชัดเจนเป็นมาตรฐานในอนาคต การดำเนินคดีเป็นเรื่องของพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนพรรคร่วมไม่ได้อยากให้มีการฟ้องร้อง เพียงแต่ต้องการให้ประธานทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา 

 

ขณะที่ พลโท พงศกร รอดชมภู ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่ารัฐสภาเป็นอำนาจอธิปไตยสูงสุดในระบอบการปกครอง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการประท้วง เป็นการทำงานปกติของสภา ประธานสามารถควบคุมการประชุมได้ตามที่วินิจฉัย เมื่อถูกเชิญออกก็เป็นเรื่องของการควบคุม แต่สิทธิการอภิปราย การพูดจาของ ส.ส. ยังมีอยู่เต็ม ซึ่งอันนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่

 

พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ กล่าวในตอนท้ายของการแถลงข่าวว่าเมื่อ 7 พรรคร่วมฝ่ายค้านลงนามในหนังสือถึงท่านประธานรัฐสภา พรรคเสรีรวมไทยจะมีการแถลงใน 2 ประเด็นที่ไม่ได้มีการอภิปรายต่อสื่อมวลชนอีกครั้งหนึ่ง

 

พรรคฝ่ายค้าน

 


 

ณัฐวุฒิ ส.ส. อนาคตใหม่ ทวงถามสิทธิ LGBT-ผู้ด้อยโอกาส-กลุ่มชาติพันธุ์ จุติ ไกรฤกษ์ เผยนายกฯ ย้ำไม่ทิ้งคนกลุ่มนี้ไว้ข้างหลัง

 

ณัฐวุฒิ บัวประทุม

 

วันนี้ (26 ก.ค. 2562) ณัฐวุฒิ บัวประทุม ได้อภิปรายถึงประเด็นผู้ด้อยโอกาส ระหว่างการแถลงนโยบายของรัฐบาลว่า จากการที่ได้อ่านนโยบายมาทั้งหมด อยากให้นายกฯ อธิบายความหมายของคำว่า ‘ผู้ด้อยโอกาส’ เหมือนกับที่ตนได้ให้คำนิยามหรือไม่ เนื่องจากพวกตนให้คำนิยามกับบุคคลเหล่านี้ว่า ไม่ได้ด้อยสิทธิหรือด้อยโอกาสในความหมายที่ต้องให้การสงเคราะห์ แต่กลับมองว่า คนเหล่านี้เป็นเจ้าของสิทธิของตัวเอง เป็นประธานแห่งสิทธิ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน

 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยถูกรายงานว่า มีอัตราการรังแกกันในโรงเรียน (Bullying) สูงเป็นอันดับที่สองของโลก ซึ่งที่ผ่านมามักจะพบเห็นข่าวเด็กที่ถูกผู้ใหญ่ละเมิด หรือเด็กละเมิดเด็กกันเอง จึงตั้งคำถามว่า นโยบายเชิงป้องกันปัญหาเหล่านี้ของรัฐบาลคืออะไร ซึ่งมีงานวิจัยให้การยืนยันว่ามีเด็กที่ตกอยู่ในอันตรายเหล่านี้ทั้งหมดในประเทศไทยกว่า 2.7 ล้านคน 

 

ต่อมาคือเรื่องของความหลากหลายทางเพศ ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ในประเทศไทยยืนยันแล้วว่า จำนวนทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 4.3 ล้านคน และอาจสูงถึง 7 ล้านคน แต่กลับไม่พบคำว่า ‘หลากหลายทางเพศ’ ปรากฏในการแถลงของนโยบาย แต่ถึงอย่างนั้นต้องขอบคุณนายกฯ ก็เคยผ่านกฎหมายพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีกระทรวงที่รับผิดชอบทั้งหมด 5 แห่ง ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีรายงานตัวเลขผู้พิการจำนวน 3.7 ล้านคน ซึ่ง 50% ของผู้พิการยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ที่พูดถึงล้วนแต่เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน

 

นอกจากนี้ ณัฐวุฒิยังได้วอนต่อนายกรัฐมนตรีถึงกรณีที่มีการพูดถึงประเด็นของชาวโรฮีนจาว่า ให้แก้ไขคำพูดที่เคยใช้คำว่า ‘ปล่อยให้คนที่ต่างจากเรา เข้ามาอยู่ในประเทศเราจะมีปัญหา’ 

 

“ถ้าท่านนายกฯ จะกรุณาอธิบายว่า ท่านไม่ได้พูดแบบนั้น หรือมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือผมเข้าใจผิดไป ก็นับว่าเป็นประโยชน์ที่ทำให้เราเห็นว่า ในฐานะประชาคมอาเซียน เราไม่ได้มองคนอื่นที่อยู่ประเทศเราแบบนั้น” ณัฐวุฒิ บัวประทุม กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ลุกขึ้นมาตอบคำถามของณัฐวุฒิ บัวประทุม ในทันที โดยเน้นย้ำว่า นายกฯ ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางเพศ และให้แนวนโยบายว่าทุกคนในสังคมต้องมีที่ยืนในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี แม้จะไม่ปรากฏในนโยบายที่รัฐบาลแถลงก็ตาม แต่เร็วๆ นี้ก็เตรียมจัดทำเวิร์กช็อป เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความหลากหลายทางเพศที่มีมาโดยตลอด

 

แม้แต่กลุ่มชาติพันธุ์ หรือคนชายขอบ ทางนายกฯ ได้มอบหมายว่าอย่าทิ้งคนกลุ่มนี้ไว้ด้านหลัง และได้ประสานงานกับสมาชิกสภาท้องถิ่น เพื่อจัดการพบปะและทำงานเชิงรุกเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนประเด็นของการตั้งครรภ์ไม่พร้อม นับว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนและปัญหาใหญ่ โดยส่วนใหญ่เป็นอนาคตของประเทศ จึงพยายามหาแนวทางให้พวกเขาสามารถดูแลบุตรให้มีความสมบูรณ์ และมีความเท่าเทียมเช่นเดียวกับเด็กคนอื่นๆ นอกจากนั้นสิ่งที่พยายามเน้นคือบูรณาการกับกระทรวงแรงงาน เพื่อหาอาชีพที่ยั่งยืนให้ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมสามารถเลี้ยงตัวเองได้ 

 

นอกจากนี้ นายกฯ ยังมีนโยบายในวาระเร่งด่วน คือการเตรียมประเทศไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ เตรียมจัดทำแผนแม่บทปฏิบัติการ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทย และย้ำว่ารัฐบาลให้ความสำคัญทุกเรื่อง และนายกฯ ย้ำเสมอว่า ให้เร่งทำงานให้เหมือนกับว่า คนเหล่านี้เป็นลูกหลานของเราเอง ซึ่งรัฐบาลจะเร่งทำงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมให้เร็วที่สุด

 


 

อนุทินขึ้นอภิปราย เล็งบรรจุแพทย์เข้า รพ.สต. ยกระดับคุณภาพสาธารณสุขพื้นที่ห่างไกล

 

อนุทิน ชาญวีรกูล

 

วันนี้ (26 ก.ค.) อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อภิปรายเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล ระบุว่า ปัจจุบันได้ยกระดับอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ประมาณ 8 พันแห่งทั่วประเทศ แต่ในหลายแห่ง ความรับผิดชอบยังตกอยู่กับเจ้าหน้าที่เพียง 1-2 คนเป็นหลัก ต้องจัดการเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ทุก รพ.สต. ต้องมีหมอและพยาบาลให้บริการประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในทุกพื้นที่ ลดภาระหมอและโรงพยาบาลในตัวเมืองที่วันนี้มีความรับผิดชอบล้นมือ 

 

นอกจากนี้ยังมองไปที่การเพิ่มความรู้ความสามารถให้ อสม. จนสามารถดูแลผู้ป่วยขั้นปฐมภูมิได้ แลกกับค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นตามลำดับความสามารถของแต่ละบุคคล จาก 2.5 พันบาท ถึง 1 หมื่นบาท เป้าหมายให้ อสม. เป็นส่วนเติมเต็มระบบสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกลอีกทางหนึ่ง

 

“ที่สำคัญอีกประการคือ เรื่องกัญชาทางการแพทย์ เมื่อเราให้ผู้ป่วยมาใช้สารที่มีประโยชน์จากกัญชาได้แล้ว มั่นใจว่าจะลดผู้ป่วยที่ไปใช้บริการจากทางภาครัฐ และการใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชายังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนรวมไปถึงภาครัฐที่เคยซื้อยาในราคาแพง เชื่อว่า รัฐบาลจะทำนโยบายเหล่านี้จนได้ผลเป็นรูปธรรม”

 


 

เชือดนิ่ม เฉือนคม เสรีพิศุทธ์ VS ชวน

 


 

ท่องเที่ยวเสียหาย… ผมแค่พูดเล่น

 


 

นโยบายเศรษฐกิจไทยในมุมมองของ 2 รัฐมนตรี

 


 

KEY MESSAGES: อุตตม-สนธิรัตน์ แท็กทีมชี้แจง 5 ประเด็นเศรษฐกิจ

 

อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ขึ้นอภิปรายชี้แจงคลายข้อสงสัยต่อฝ่ายค้าน ถึงนโยบายของรัฐบาล ทั้งเรื่องของงบประมาณและภาพรวมบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อันเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงตลอด 2 วันที่ผ่านมา

 

และนี่คือ 5 เรื่องที่คุณต้องรู้จากการอภิปรายของสองรัฐมนตรีจากพลังประชารัฐอย่าง อุตตม สาวนายน และ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

 

 

1. งบประมาณกลาง 4 แสนล้าน แบ่งเป็นเงินฉุกเฉิน 1 แสนล้าน ซึ่งมีไว้ใช้ในยามจำเป็นและไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อ และที่ผ่านมายังไม่เคยมีการใช้เงินฉุกเฉินจริงๆ

2. เร่งปล่อยสินเชื่อเงินทุนให้คนรายได้น้อย และพยายามพัฒนาแหล่งทุนทางเลือก เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

3. จะทำให้ประชาชนเข้าถึงรายได้จากพลังงาน เพื่อช่วยยกระดับชีวิตประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะฐานราก

4. ส่งเสริมนโยบายปาล์มน้ำมัน นำไปทำน้ำมันไบโอดีเซล สร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์-อุปทานผลผลิต ยกระดับราคาปาล์มตามเป้าที่ตั้งไว้

5. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่ได้ช่วยแค่ประชาชนที่มีรายได้น้อย แต่เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง และส่งเสริม GDP ด้วย

 

 

 


พลเอก ประวิตร ลุกตอบอภิปรายสภาครั้งแรก ย้ำบางเรื่องพูดเล่นกับสื่อ แต่ก็เอาไปเป็นข่าว

 

Photo Album_นายกฯ กลับเข้าสภา บอกไปทำงานมา_COVER

 

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นตอบคำถามในการอภิปรายนโยบายรัฐบาลในช่วงบ่าย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ได้ตอบคำถามต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาว่าเรามีแผนการจัดหายุทโธปกรณ์ของเราอย่างชัดเจน เพราะยุทโธปกรณ์ที่เราใช้ขณะนี้ใช้มาแล้วเป็นเวลา 20-30 ปีทั้งนั้น เมื่อถึงคราวที่เปลี่ยนแปลง เราก็มีการพิจารณาเรื่องงบประมาณสำหรับยุทโธปกรณ์ที่ต้องพัฒนา เป็นเรื่องที่กระทรวงกลาโหมส่งมาแล้วเราก็ทำงานร่วมกัน จะขอให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ชี้แจงเรื่องยุทโธปกรณ์ที่เราจัดซื้อจัดหามาโดยตลอด

 

กรณีเรือล่มก็เป็นการพูดเล่นกับนักข่าว “ผมพูดเล่นกับผู้สื่อข่าว แล้วสื่อก็เอาไปเป็นข่าว โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย” ส่วนกรณีทัวร์ศูนย์เหรียญเป็นเรื่องที่จีนเข้ามาทำธุรกิจในไทย เป็นการจัดทัวร์ที่มีคนจีน แต่ข่าวที่ออกมาจีนมีผลกระทบ ส่วนตัวไม่ได้มีเจตนาในการพูดตามที่มีข่าวออกมา

 

พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงว่างบกองทัพประเทศต่างๆ ก็อยู่ใน 2% ของ GDP หลังปี 2540 งบกองทัพได้ลดลงและมีการโตขึ้นมาบ้างเล็กน้อย ที่ผ่านมาก็อยู่ในระดับมาตรฐาน ซึ่งปีล่าสุดก็อยู่ที่ 1.3% ของ GDP สัดส่วนการพัฒนากองทัพ ภาพรวมถือว่ายังน้อย ยุทโธปกรณ์มีอายุนาน ไม่ได้มีการปรับปรุงให้ใช้งานได้ ส่วนที่ซ่อมไม่ได้ก็ต้องมีการจัดหาทดแทน

 

ในการจัดหานี้มีคณะกรรมการในการจัดหา มีคณะกรรมการในการตั้งเกณฑ์คุณสมบัติ มีทุกเหล่าทัพพิจารณาให้ความเห็นชอบ ยืนยันว่าการจัดหาเป็นไปอย่างโปร่งใส ซึ่งมีหาใหม่แค่ 1 ใน 3 เท่านั้น 

 

เรือดำน้ำเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลและเป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเล ปกป้องน่านน้ำ ซึ่งต้องมีการกำหนดขีดความสามารถ หลายภูมิภาคได้มีการจัดหามาแล้ว แต่การหามาต่อลำก็ใช้เวลานาน มีขั้นตอนที่มากมาย ไม่ได้หามาเพื่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจต่อกัน แต่เป็นการให้เกิดความร่วมมือกันในการรักษาผลประโยชน์

 

ประวิตร ลุกตอบอภิปรายสภา

ประวิตร ลุกตอบอภิปรายสภา

 


นายกฯ กลับเข้าสภา บอกไปทำงานมา

 

Photo Album_นายกฯ กลับเข้าสภา บอกไปทำงานมา_COVER

 

14.45 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางกลับเข้าสภาหลังออกไปปฏิบัติภารกิจในการต้อนรับประธานคณะมนตรีองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่ทำเนียบรัฐบาล ระหว่างเดินเข้าห้องประชุมสภาเพื่อร่วมฟังการอภิปรายในการแถลงนโยบาย ผู้สื่อข่าวได้ถามว่า 

 

สื่อ: วันนี้วันเกิดคุณทักษิณ กล่าวถึงท่านด้วย

 

นายกฯ: (สีหน้าเรียบเฉย)

 

สื่อ: ทำไมหน้าเครียดๆ

 

นายกฯ: ไปทำงานมา

 

 


อุตตม-สนธิรัตน์ร่วมแจงงบกลาง 4 แสนล้าน ไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อ พร้อมนำพลังงานมาสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนทุกระดับ

 

 

วันนี้ (26 ก.ค.) อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อภิปรายตอบข้อซักถามของฝ่ายค้านถึงประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ในนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล 

 

อุตตมชี้แจงเรื่องงบประมาณ โดยระบุว่า งบประมาณจำนวนกว่า 4 แสนล้านบาท หรืองบกลาง โดยแบ่งเป็นงบฉุกเฉินจริงๆ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น ซึ่งงบตรงนี้จำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ส่วนที่มีการตั้งงบประมาณขาดดุลนั้น รัฐบาลได้พิจารณาจากสถานการณ์ให้สอดรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้มีการมาลงทุน แต่ทั้งนี้ การตั้งงบประมาณขาดดุลต้องอยู่ภายใต้วินัยการเงินการคลังด้วย โดยล่าสุด สถาบันได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเศรษฐกิจของไทยจากแนวโน้มมีเสถียรภาพ พบว่า มีแนวโน้มเป็นบวก ซึ่งสะท้อนถึงการยอมรับจากต่างประเทศ และเน้นย้ำว่า งบประมาณเหล่านี้ไม่ได้มีการนำมาใช้พร่ำเพรื่อแต่อย่างใด

 

ส่วนประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของคนรายได้น้อย ทาง รมว.คลัง ระบุว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญถึงการอำนวยความสะดวกสินเชื่อเงินทุนให้คนที่มีรายได้น้อยอยู่เสมอ เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อย ปัจจุบันให้กู้ยืมไปแล้ว 3.8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 41% ของสินเชื่อธนาคารทั้งหมดสำหรับภาคครัวเรือน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังพัฒนาแหล่งเงินทุนทางเลือกอื่น เพื่อให้ประชาชนได้รู้สึกถึงความเป็นธรรมมากขึ้น

 

ขณะเดียวกัน สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ลุกขึ้นชี้แจงกรณีถูกมองในมิติที่เป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาคเอกชน ซึ่ง รมว.พลังงาน ตอบข้อซักถามดังกล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้จะเน้นช่วยเหลือประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะระดับฐานราก และจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการมีรายได้จากพลังงานและยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งจะมีการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 (GDP) บางประการในมิติการนำพลังงานหมุนเวียนให้ชุมชนเข้าถึงได้ รวมทั้งมีส่วนในการบริหารและมีรายได้จากพลังงาน ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากวัสดุเหลือใช้ และกระทรวงฯ จะใช้เงินจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมพลังงานระดับชุมชน เพื่อให้เกิดการผลิตพลังงานและการสร้างอาชีพ 

 

โดยจะทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมให้ได้ภายในปีนี้ ส่วนเรื่องการส่งเสริมปาล์มน้ำมันไปสู่การทำน้ำมันไบโอดีเซล ทั้งน้ำมันบี 7 ไปสู่บี 10 ให้เป็นน้ำมันพื้นฐานและบี 20 ในอนาคต จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์-อุปทานผลผลิตปาล์มน้ำมัน และจะช่วยยกระดับราคาปาล์มน้ำมันไปสู่เป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ได้ 

 

พร้อมย้ำว่า รัฐบาลชุดนี้มีเจตนารมณ์ให้พลังงานเป็นเครื่องมือสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนทุกระดับ ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สร้างอาชีพ สร้างคน สร้างงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งกลไกเหล่านี้จะทำให้พลังงานเป็นพลังงานของทุกคน

 

อ้างอิง:

 


สมศักดิ์ยัน เร่งแก้ปัญหานักโทษล้นคุก แจงกองทุน ยธ. ช่วยทำให้ลดลง เผยมีหน่วยงานไกล่เกลี่ยช่วยทวงเงิน กยศ.

 

UPDATE_สมศักดิ์ยัน เร่งแก้ปัญหานักโทษล้นคุก_WEB

 

วันนี้ (26 ก.ค.) ที่หอประชุมทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อภิปรายตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับงานด้านยุติธรรมตามที่ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และ เสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. อภิปรายและวิจารณ์ รวมถึงฝากความเห็นแนวทางปฏิบัติว่า สิ่งที่ย้ำและยืนยันให้ดำเนินการให้เกิดประโยชน์มากที่สุด จำนวนนักโทษขณะนี้มีมากและล้นคุก หากเปรียบตัวเลขในเรือนนอนของนักโทษตามมาตรฐานสากลพื้นที่ 2.25 ตารางเมตรต่อนักโทษหนึ่งคน วันนี้นักโทษเรือนนอนมีจำนวนมาก โดยปกติพื้นที่คุกในประเทศไทยสามารถรองรับนักโทษได้ 1.5 แสนคน แต่ขณะนี้มีนักโทษมากถึง 3.5 แสนคน ทั้งนี้ในส่วนนักโทษเด็ดขาด ซึ่งเตะต้องไม่ได้ หรือปล่อยตัวไม่ได้ แต่ส่วนนักโทษที่เป็นผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีและคดีไม่ถึงสิ้นสุด ได้พิจารณาถึงแนวทางต่างๆ เพื่อไม่ให้เขาต้องถูกคุมขัง 

 

“ตามขั้นตอนกระทรวงยุติธรรมสามารถใช้เงินในกองทุนยุติธรรมที่เกิดขึ้นสมัยรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้ดำเนินการ 3 ปีแล้ว ช่วยประกันและปล่อยปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี โดยมีผู้ที่ได้รับการประกันจากกองทุนแล้ว  2,396 ราย ขณะที่สัดส่วนหรือแนวทางของนักโทษลดลง หากเป็นปี 2561-2562 นักโทษลดลง จากผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี 62,610 ราย โดยปี 2562 ลดลงถึง 647 ราย เป็นพัฒนาการที่ดีขึ้น มั่นใจในการทำงาน และกองทุนยุติธรรมที่ช่วยมากขึ้น ทำให้ปริมาณนักโทษที่แก้ปัญหาไม่ได้ลดลง” สมศักดิ์กล่าว

 

สมศักดิ์กล่าวอีกว่า ขณะที่การหารือ​ที่ขอให้พัฒนากฎหมาย กระทรวงมีแผนพัฒนากฎหมายที่เตรียมการ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ สำนักงานกิจการยุติธรรม ส่วนการบังคับใช้กฎหมาย สามารถดำเนินการได้ทันที นอกจากนี้ส่วนที่เกี่ยวกับข้อเสนอการทวงหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) แม้จะไม่ใช่งานของกระทรวงยุติธรรมโดยตรง แต่กระทรวงมีหน่วยงานไกล่เกลี่ย เพื่อช่วยนำเงินที่ยังไม่ได้รับคืนกองทุน เข้าสู่กองทุน กยศ. เพื่อให้รุ่นน้องมีเงินและทุนใช้เรียนต่อไป

 

 


อนุพงษ์ ย้ำเอาจริงลุยปราบคอร์รัปชัน ท้าส่งหลักฐานทุจริตมา หากไม่ดำเนินการ ‘เล่นงานผมได้เลย’

 

อนุพงษ์ เผ่าจินดา

 

พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลุกขึ้นชี้แจงในประเด็นการปราบปรามการทุจริต ในระหว่างการประชุมสภาเพื่อแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2 ในวันที่สอง โดยระบุว่า รัฐบาลที่ผ่านมาเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทั้งข้าราชการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการ โดยดำเนินการตามกฎหมายทั้งอาญาและแพ่งอย่างไม่ละเว้นตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี

 

“ผมเดินตามนโยบายปราบคอร์รัปชันร้อยเปอร์เซ็นต์ รับรองได้ว่าที่ทำงานมา 5 ปี ผมไม่มีโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะกรมใด จังหวัดใด รัฐวิสาหกิจใด ภายใต้กำกับของกระทรวงมหาดไทย ผมรับรองว่าถ้ามีท่านดำเนินการได้เลย”

 

นอกจากนี้ พล.อ. อนุพงษ์ ยังระบุถึงสมาชิกรัฐสภาที่มีหลักฐานการทุจริตภายใต้การกำกับของกระทรวงมหาดไทยด้วยว่า หากมีหลักฐานครบก็สามารถส่งมาได้เลย ซึ่งถ้าตนไม่ดำเนินการ ก็สามารถเล่นงานตนได้ พร้อมย้ำอีกครั้งว่าเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

 

ส่วนกรณีการจัดซื้อยุทโธปกรณ์เพื่อบรรเทาสาธารณภัย พล.อ. อนุพงษ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามจัดสรรให้เกิดการใช้ยุทโธปกรณ์ให้คุ้มค่าที่สุด แต่เนื่องจากภัยในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ทั้งอุทกภัย อัคคีภัย และภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น แผ่นดินไหว ทำให้รัฐบาลต้องเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีเครื่องมือบรรเทาภัยหลากหลายประเภท แต่ย้ำว่าจัดซื้อเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และใช้ระบบพูลในจุดศูนย์กลางของแต่ละพื้นที่ ไม่ได้จัดซื้อครบทุกจังหวัด และนำงบประมาณมาจากงบประจำปี ซึ่งหากมีข้อเสนอแนะ รัฐบาลก็ยินดีนำไปปฏิบัติให้เกิดความโปร่งใส

 


เฉลิมชัย เผยปัญหาภัยแล้งเกิดจากฝนทิ้งช่วง เร่งบริหารน้ำที่มีอยู่ให้กระทบเกษตรกรน้อยที่สุด

 

 

วันนี้ (26 ก.ค.) เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวชี้แจงถึงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของประเทศไทยในขณะนี้ โดยระบุว่าสถานการณ์ภัยแล้งของไทยเกิดจากฝนตกทิ้งช่วงไป 2-3 เดือน ในขณะนี้เริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีลมมรสุมพัดผ่านประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทำให้มีปริมาณน้ำเติมเข้าเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนภูมิพลเฉลี่ยวันละ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้ง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก การแก้ไขในระยะเร่งด่วน 

 

โดยทางกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และสำหรับในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤตหรือมีปริมาณน้ำน้อยมาก ก็ต้องบริหารจัดการน้ำที่เหลืออยู่ให้เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และภาคการเกษตร เพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุด ส่วนพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้งไปแล้วนั้น ตนได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรอำเภอและเกษตรตำบล ทุกพื้นที่ ทำงานสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องทุกวัน นอกจากนี้ได้สั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร บินสำรวจหาชั้นบรรยากาศที่เหมาะสมกับการทำฝนเทียมทุกวัน ทุกพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรที่เพาะปลูกพืชหน้าเขื่อนได้รับผลประโยชน์

 

เฉลิมชัยกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาวว่า ตนได้สั่งการให้กรมชลประทานและหน่วยงานในสังกัดทำการสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ทั้งฝายและแก้มลิง และทำการศึกษาแนวทางการเพิ่มปริมาณน้ำให้กับเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนภูมิพล เนื่องจากต้องจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่ 

 

ทั้งนี้ ส่วนตัวพร้อมรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของสมาชิกรัฐสภา เพื่อนำไปปรับใช้ในการจัดทำนโยบายแก้ปัญหาภัยแล้งทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

อ้างอิง:

 


แถลงนโยบายวันที่ 2 นายกฯ-รัฐมนตรี ลุกตอบประเด็นคำถามและพาดพิงแต่เช้า

 

แถลงนโยบาย

 

บรรยากาศการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 2 โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้เดินทางมาถึงอาคารทีโอที สำนักงานใหญ่ แจ้งวัฒนะ ตั้งแต่ช่วงเช้า และได้ลุกขึ้นตอบคำถามในประเด็นนโยบายและการพาดพิงต่างๆ ก่อนที่ในช่วงเวลา 12.10 น. จะเดินทางออกจากที่ประชุมไปปฏิบัติภารกิจให้การต้อนรับประธานคณะมนตรีองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่ทำเนียบรัฐบาล

 

แถลงนโยบาย แถลงนโยบาย แถลงนโยบาย แถลงนโยบาย แถลงนโยบาย

 


นายกฯ แจงปัญหาการค้าทุกคนต้องช่วยกัน ย้ำการเสียภาษีถือเป็นการช่วยประเทศ

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

วันนี้ (26 ก.ค.) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ชี้แจงถึงประเด็นที่ถูกอภิปรายด้านการค้าว่า เรื่องพื้นที่ขายของริมทางที่ถูกและผิดกฎหมายในส่วนนี้ รัฐบาลพยายามที่จะจัดระเบียบให้ได้ เพราะเข้าใจดีถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ส่วนยอดขายที่หายไปครึ่งหนึ่ง อย่างที่เคยได้ระบุว่าบางส่วนได้นำไปค้าขายในระบบออนไลน์ที่แพร่หลายในขณะนี้ ถ้าขายไม่ออกบางครั้งก็เป็นสินค้าเดิมๆ ซึ่งไม่ทันความเปลี่ยนแปลง ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

 

ส่วนประเด็นเรื่องของหนี้ครัวเรือนที่แม้ว่าจะมียอดที่สูงตามที่มีรายงานออกมา แต่ทุกฝ่ายต้องแยกให้ออกว่าหนี้เหล่านี้เกิดจากอะไร และเป็นหนี้ที่สร้างมูลค่าหรือไม่ เช่น ผ่อนรถ-ผ่อนบ้าน หรืออีกประเภทคือหนี้ที่เกิดจากการฟุ่มเฟือย, จากบัตรเครดิตต่างๆ ก็ต้องแยกออกให้ได้ ซึ่งรัฐบาลก็รับมาทุกเรื่องเพื่อนำไปแก้ไขอีกครั้ง

 

“เรื่องการลงทุนเราได้เตรียมการปฏิรูปอย่างที่ท่านสมคิดได้อภิปรายไปเมื่อวานนี้แล้ว ซึ่งเราจะปฏิรูปทั้งระบบ ทั้งกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งในเรื่องของการปฏิรูประบบแนวคิดต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ทุกคนต้องให้ความร่วมมือ เพราะถ้าทุกคนไม่ร่วมมือมันก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี”

 

นอกจากนี้ พล.อ. ประยุทธ์ ยังได้พูดถึงประเด็นการขึ้นค่าแรง พร้อมยอมรับว่า เห็นใจ เพราะทุกอย่างเป็นไปตามแผนดำเนินการของคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งทางรัฐบาลกำลังดำเนินการต่อไป เพราะเกรงว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบธุรกิจ จนส่งผลให้ราคาสินค้ากระทบไปถึงประชาชนผู้โภคด้วย โดยทางรัฐบาลเลือกที่จะดูแลทั้งหมด ซึ่งเราก็ต้องเร่งการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย

 

ส่วนเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของไทย นายกฯ เผยว่ามีอยู่นานแล้ว นั่นคือเว็บไซต์ thaitrade.com ซึ่งทุกคนต้องรู้ ส่วนประเด็นต่อมาคือ ภาษีของออนไลน์เป็นสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ยังเลี่ยงและต้องการคำแนะนำ เพราะฉะนั้นอย่าได้กลัวเรื่องการเสียภาษี เพราะทุกคนต้องภูมิใจที่ได้ช่วยกันพัฒนาประเทศอย่างที่ทุกคนต้องการ

 

ขณะเดียวกัน SME ปัจจุบันประเทศไทยมีอยู่ 3 ล้านราย ซึ่งมีทั้งคนที่เข้มแข็ง-ไม่เข้มแข็งปะปนไปหมด ซึ่งปัญหาต่อมาคือพบว่า หลายคนไม่ขึ้นทะเบียน และด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถกู้เงินเพื่อการลงทุนได้ เพราะเป็นกฎกติกาของ สตก. เพราะฉะนั้นทุกคนต้องเข้ามาอยู่ในระบบ ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลก็จะรับเรื่องมาแก้ไขต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจและอยู่ในระบบดังกล่าวได้

 


นายกฯ ออกจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา บอกเดี๋ยวกลับมา ไปปฏิบัติภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาล

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

เวลา 12.10 น. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เดินทางออกจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา เนื่องจากมีภารกิจในการให้การต้อนรับ Dr. Olumuyiwa Benard Aliu ประธานคณะมนตรีองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ในการเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเข้าร่วมการประชุม ICAO Global Aviation Cooperation Symposium ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 22-24 กรกฎาคม 2562 ที่จังหวัดภูเก็ต ณ ห้องโดมทอง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

 

“เดี๋ยวกลับมา เดี๋ยวกลับมา” นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับสื่อ ก่อนเดินทางออกจาก อาคารทีโอที สำนักงานใหญ่

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 


KEY MESSAGES: สมคิด ชู 6 ประเด็นสำคัญ นโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ

 

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามต่อการอภิปรายของฝ่ายค้าน พร้อมยืนยันว่าที่ผ่านมารัฐบาลพยายามช่วยเกษตรกรทั้งหมด โดยการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ต้องแก้ทั้งระบบ 

 

และนี่คือ 6 ประเด็นสำคัญที่คุณต้องรู้ของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

 

นโยบายรัฐบาล สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

 

1. รัฐบาลพยายามช่วยเกษตรกรทั้งระบบ แม้โครงสร้างระบบราคาไม่เอื้ออำนวย จึงนำ ‘อีคอมเมิร์ซ’ มาช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้เกษตรกรซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค และสนับสนุนค่าเดินทาง

 

2. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยต้องแก้ทั้งโครงสร้าง โดยเร่งแก้ความเหลื่อมล้ำ ราคาผลผลิตการเกษตร และปฏิรูปการศึกษา

 

3. ผลพวงจากความไม่สม่ำเสมอทางเศรษฐกิจคือ รัฐสภาที่เป็นระบบ ‘เดี๋ยวเลือกตั้งใหม่ เดี๋ยวรัฐบาลล่ม’ เป็นผลให้นโยบายที่ออกมาเป็นเพียงการเรียกคะแนนนิยมมากกว่าการนำไปใช้งานบริหารประเทศ 

 

4. รัฐบาลมีเมกะโปรเจกต์มากมาย เช่น รถไฟฟ้ารางคู่ 7 เส้นทางเป็นอย่างน้อย ผลักดันรถไฟไปเมืองรองให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างเมือง การท่องเที่ยวก็จะถูกกระตุ้นไปในตัว

 

5. ตลอด 5 ปี มี 2 ประเด็นที่ต้องเร่งแก้ให้เศรษฐกิจไม่ติดลบ และเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ไม่เลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ส่วนโครงการรับจำนำข้าวต้องเลิกโดยด่วน เพราะเป็นนโยบายใช้ได้เพียงช่วงแรก แต่หลังจากนั้นราคาข้าวตกต่ำทั่วโลก รวมทั้งไทย 

 

6. จากความพยายามของรัฐบาลตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารปี 2557 ส่งผลให้ GDP ขึ้นเป็น 4.8% ทั้งที่ไตรมาส 1 ของปี 2557 ติดลบ 0.4%

 


 

ประธานรัฐสภาคาด ประชุมไม่จบในวันนี้ แต่จะคุมให้อยู่ในกรอบ ยันไม่บังอาจแนะนำนายกฯ ในฐานะมือใหม่

 

ชวน หลีกภัย

 

ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา คาดว่า การแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันนี้น่าจะไม่แล้วเสร็จ อาจต้องขยายเวลาข้ามวัน เพราะยังมีผู้อภิปรายอีกจำนวนมาก โดยหากเป็นไปได้จะควบคุมให้การประชุมแล้วเสร็จในช่วงคืนนี้โดยไม่ต้องนัดประชุมต่อในวันพรุ่งนี้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อภารกิจของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี แต่จะต้องดูว่าเหลือผู้อภิปรายอีกจำนวนเท่าใด เพื่อจัดสรรเวลาให้เหมาะสม 

 

โดยขณะนี้ฝ่ายค้านเหลือจำนวนผู้อภิปรายอีกประมาณครึ่งหนึ่ง ส่วนฝ่ายรัฐบาลเหลือผู้อภิปรายไม่มาก แต่มีการเพิ่มรายชื่อผู้อภิปรายเข้ามา ดังนั้นก็จะกำหนดเวลาให้แต่ละคนอภิปรายประมาณ 2-5 นาที ทั้งนี้ จากการประเมินภาพรวมการประชุมเมื่อวานนี้ก็ถือว่าเป็นปกติ อาจจะมีปัญหาบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมีกรอบกติกาที่ชัดเจน 

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการพูดคุยหรือให้คำแนะนำนายกฯ ในการประชุมร่วมหรือไม่ ประธานรัฐสภาตอบว่า “ไม่บังอาจ” เพราะได้แจกเอกสารระเบียบข้อบังคับการประชุมไปเรียบร้อยแล้ว

 

ส่วนกรณีที่พรรคเสรีรวมไทยตั้งข้อสังเกตว่า ร่างเอกสารแถลงนโยบายของรัฐบาลไม่ได้ระบุตัวเลขงบประมาณไว้ ซึ่งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ประธานรัฐสภากล่าวว่า ร่างแถลงนโยบายมีรายละเอียดและตัวเลขที่ชัดเจนในด้านหลังอยู่แล้วสำหรับบางเรื่อง ซึ่งอยู่นอกเหนือจากคำแถลงของนายกรัฐมนตรี

 


 

ฝ่ายค้านชูแก้รัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น ที่มา ส.ว.-ระบบเลือกตั้ง อัดนายกฯ ไม่มีจุดยืนเรื่องนี้ เขียนไว้แค่ยอมพรรคร่วม

 

ชวลิต วิชยสุทธิ์

 

ชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส. นครพนม พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นอภิปรายนโยบายของรัฐบาลในวันนี้ช่วงหนึ่งว่า หัวใจการแก้ปัญหาของประเทศวันนี้คือการแก้รัฐธรรมนูญ วลีสำคัญคือ “รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบมาเพื่อเรา เพื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี” ซึ่งตนไม่จำเป็นต้องออกชื่อผู้กล่าว เพราะเคารพกันเป็นส่วนตัว เป็นผู้อาวุโสทางการเมือง แต่ท่านก็กล่าวอย่างองอาจในที่สาธารณะ 

 

ชวลิตกล่าวอีกว่า จากวลีดังกล่าวทำให้เห็นได้ชัดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เป็นกลาง มีการเอาเปรียบกันสารพัดในการเลือกตั้งที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าเมื่ออ่านนโยบายที่รัฐบาลส่งมาให้ แม้มีการเขียนถึงการแก้รัฐธรรมนูญอยู่ในนโยบายเร่งด่วน ข้อ 12 คือ การสนับสนุนให้มีการศึกษา การรับฟังความเห็นของประชาชน และการดําเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในส่วนท่ีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ใครๆ ก็รู้ว่าเป็นการให้อย่างเสียไม่ได้ เพราะถ้าจำกันได้ แต่เดิมไม่มี ต้องต่อรองกันวุ่นวายเสียให้หมด แต่ก็ยอมให้มี ซึ่งพรรคร่วมรัฐบาลน่าจะรู้สึกได้ว่าถึงเขาหลอกก็เต็มใจให้หลอก 

 

และหากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวได้ถามนายกฯ ว่า มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งยื่นเงื่อนไขเข้าร่วมรัฐบาล โดยมีจุดยืนในการเข้าร่วมรัฐบาลคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พล.อ. ประยุทธ์ ตอบสั้นๆ ว่า ผมไม่มีจุดยืนในการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นไปตามขั้นตอนกระบวน 

 

ส่วนนโยบายเร่งด่วนข้อ 12 ที่บอกว่าจะสนับสนุนผลการศึกษาเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ ตนไม่คิดว่ารัฐบาลจะทำได้ แต่อย่างไรก็ไม่แน่ เพราะนายกฯ ได้ฟังการอภิปรายวันนี้ อาจจะเห็นตรงกัน แล้วมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยในส่วนที่ตนเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญในการแก้ไข 2 ประเด็นคือ 1. ที่มาและอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. 2. ระบบเลือกตั้ง ที่มีการจัดสรรปันส่วน ทำให้พรรคการเมืองเกิดขึ้นมาก แล้วจะจัดสรรนโยบายอย่างไร ตนขอยืนยันว่าการเมืองเป็นหัวใจสำคัญของประเทศ ถ้านายกฯ รับและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจะได้รับการแก้ไขและดีขึ้นได้ เพราะต่อให้สิบ พล.อ. ประยุทธ์ สิบสมคิด ก็แก้ไขปัญหาปากท้องไม่ได้ ถ้าระบบไม่ได้รับการแก้ไข

 


 

พล.อ. อนุพงษ์ เผยไร้กังวลถูกอภิปรายเรื่องคุณสมบัติ ชี้ฝ่ายค้านควรเสนอแนะในกรอบที่รัฐบาลทำงานได้

 

อนุพงษ์ เผ่าจินดา

 

เช้าวันนี้ (26 ก.ค.) พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงภาพรวมการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวานนี้ โดยระบุว่าการอภิปรายวันแรกถือว่าเป็นไปด้วยดี ซึ่งรัฐบาลก็ได้ชี้แจงไปมากมาย อีกทั้งมีหลายส่วนที่สร้างสรรค์ และชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติว่าจะต้องมีแนวทางที่แน่ชัด และได้มีการกำหนดเป้าหมายในระยะเวลาที่แน่นอนตามกรอบที่วางไว้ เป็นการสร้างสิ่งที่ดีให้กับประชาชน ไม่ใช่บริหารไปตามกรอบ แต่ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน และเชื่อว่านายกรัฐมนตรีเองก็พร้อมที่จะอธิบายด้วยตัวเอง 

 

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงานที่ผ่านมาและนโยบาย เพราะหากไม่ตอบหรือชี้แจง ประชาชนจะไม่เข้าใจ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าฝ่ายที่อภิปรายควรเสนอแนะเกี่ยวกับกรอบการทำงานให้กับรัฐบาลและกระทรวงต่างๆ น่าจะมีประโยชน์กว่า และขอยืนยันว่ากรอบที่รัฐบาลได้แถลงไปก็จะต้องดำเนินการอย่างแน่นอน เพราะถ้าไม่มีการดำเนินการก็จะมีผลต่อในอนาคตที่จะมีการยื่นกระทู้หรือยื่นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

 

นอกจากนี้ พล.อ. อนุพงษ์ ยังให้ความเห็นถึงการที่รัฐมนตรีบางส่วนถูกอภิปรายเรื่องคุณสมบัติของตัวรัฐมนตรีนั้น เผยว่าส่วนตัวไม่ได้กังวลและก็ต้องชี้แจง เพราะถ้าปล่อยให้ลือหรือเขียนกันไปเองก็ไม่มีสิทธิ์ชี้แจง แต่ถ้าได้พูดต่อหน้าในที่รโหฐาน ประชาชนก็จะได้ฟังด้วย

 

ภาพ: ข่าววิทยุรัฐสภา

 


 

ฝ่ายค้านให้รัฐบาลสอบตกแจงนโยบาย เผยยังมีหมัดเด็ดซักฟอก เหลือเวลา 16 ชั่วโมงในการประชุม

 

สุทิน คลังแสง ส.ส. มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และประธานวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า ให้คะแนนรัฐบาลในการชี้แจงนโยบายว่าสอบไม่ผ่าน ไม่ใช่เพราะเป็นฝ่ายค้านแล้วจะหาว่ามีอคติ แต่จากคำแถลงนโยบายที่ทุกคนได้อภิปรายไปแล้วว่ามีความเลื่อนลอย เพราะรัฐบาลไม่สามารถชี้แจงได้ 

 

สุทิน คลังแสง

 

ในส่วนการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน ก็ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ เมื่อวานได้อภิปรายไปเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ยังเหลือผู้อภิปรายอีกมาก และยังมีหมัดเด็ดที่ยังไม่ลงรายละเอียด โดยเฉพาะการอภิปรายรัฐมนตรีรายบุคคล รวมถึงคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี ซึ่งหากวันนี้มีเวลาเพียงพอก็คงจะได้อภิปรายทั้งหมด แต่ยอมรับว่าประเด็นที่เหลืออยู่กับจำนวนเวลาที่มีก็คงได้อภิปรายในภาพรวมเท่านั้น ยืนยันไม่ได้เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีด้วย 

 

ด้าน นายแพทย์สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า การประชุมในวันนี้ยังเหลือเวลาที่ทั้ง 3 ฝ่ายยังใช้ได้ 16 ชั่วโมง 23 นาที 54 วินาที ซึ่งหากใช้เวลาไม่เกินนี้ คาดว่าการประชุมจะแล้วเสร็จในเวลา 02.00 น. โดยแบ่งเป็นครม. 2 ชั่วโมง 28 นาที 5 วินาที ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล 2 ชั่วโมง 58 นาที 3 วินาที ส.ส. พรรคร่วมฝ่ายค้าน 7 ชั่วโมง 54 นาที 46 วินาที และ ส.ว. 3 ชั่วโมง 3 นาที 1 วินาที หากมีผู้อภิปรายยังไม่ครบตามกรอบเวลา จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของประธานรัฐสภาว่าจะสามารถขยายเวลาไปจนถึงเที่ยงวันของวันที่ 27 กรกฎาคมได้หรือไม่

 


 

 


 

ปารีณา ไกรคุปต์

 

สีสันสภาช่วงเช้าในการแถลงนโยบายวันที่สอง ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ได้ลุกขึ้นสอบถามว่า กรณีของ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเสรีรวมไทย ที่ถูกเชิญออกจากห้องประชุมไปเมื่อค่ำวานนี้ (25 ก.ค.) สภาจะอนุญาตให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ‘เสนอหน้า’ เข้ามาในห้องประชุมวันนี้ได้หรือไม่ ทำให้สมาชิกในห้องประชุมส่งเสียงฮือฮา ก่อนที่ปารีณาจะยอมถอนคำพูดดังกล่าว เนื่องจากเป็นการเสียดสี และประธานสภาวินิจฉัยว่าให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เข้าร่วมประชุมได้ตามปกติ

 


 

สนธิรัตน์ ยันภาพรวมอภิปรายวันแรกสร้างสรรค์ นายกฯ ชี้แจงชัดเจนทุกประเด็น

 

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงภาพรวมการประชุมรัฐสภาเมื่อวานนี้ว่า เป็นไปด้วยความสร้างสรรค์และเป็นไปด้วยดี ซึ่งการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลหลายมุมก็เป็นประโยชน์และสามารถนำไปขับเคลื่อน รวมทั้งข้อเสนอต่างๆ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงอย่างชัดเจน พร้อมที่จะรับฟังและนำสิ่งนั้นไปดำเนินการให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ซึ่งวันนี้คาดว่าจะได้รับความเห็นที่ดีๆ จากฝ่ายค้าน 

 

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

 

ส่วนบรรยากาศการอภิปรายเมื่อวานที่ค่อนข้างดุเดือดนั้น ไม่อยากให้มองว่า ส.ส. พรรคพลังประชารัฐทำหน้าที่องครักษ์พิทักษ์นายกรัฐมนตรีได้ไม่ดีพอ เพราะทุกคนก็ทำหน้าที่ของตัวเองตามกลไกของรัฐสภา จึงไม่อยากให้มองว่าเป็นข้อบกพร่องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อยากให้ช่วยกันประคับประคอง เพราะเรากำลังก้าวกลับมาสู่ประชาธิปไตย 

 

ส่วนจะปรับกลยุทธ์หรือไม่ เนื่องจากนายกรัฐมนตรีถูกตกเป็นเป้าในการอภิปราย และทำให้ต้องลุกขึ้นชี้แจงเองนั้น สนธิรัตน์กล่าวว่า ภาพรวมอะไรที่ควรจะชี้แจงเพื่อจะสร้างความเข้าใจก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงชัดเจนในทุกประเด็น และมองว่าได้แสดงความเป็นผู้นำที่เข้าใจ รับรู้ และรู้รายละเอียด ในการตอบข้อสงสัยต่างๆ เพื่อความกระจ่าง หากมีพาดพิงอีกจะให้นายกรัฐมนตรีเหมือนเมื่อวานใช่หรือไม่ คงไม่ขนาดนั้น เราไม่ได้วางแผนแบบนั้น ดังนั้นเรื่องอะไรที่ไม่จำเป็นต้องชี้แจงก็จะไม่ชี้แจง เพราะทำให้เสียเวลา เพราะเป็นจุดยืนของรัฐบาลอยู่แล้ว

 

สนธิรัตน์ยังกล่าวถึงกรณีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ได้รับแจ้งว่า เง็กอิม แซ่โค้ว อายุ 82 ปี มารดาของอดีตภรรยาของตนเองได้หายตัวไปขณะท่องเที่ยวที่ประเทศรัสเซีย เมื่อช่วงค่ำวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ปลอดภัย ขณะนี้พบตัวแล้ว ซึ่งเป็นแม่ของอดีตภรรยา และขอขอบคุณกระทรวงต่างประเทศที่ช่วยประสาน รวมถึงทุกคนที่แสดงความเป็นห่วง เบื้องต้นยังไม่ทราบรายละเอียดถึงการหายตัวไป โดยคาดว่าภายใน 1-2 วันนี้จะเดินทางกลับมายังประเทศไทย 

 


 

คาดแถลงนโยบายลากยาวถึงตีสอง เหลือเวลาอภิปรายอีก 16 ชั่วโมงกว่า

 

ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร คาดประชุมร่วมแถลงนโยบายรัฐบาลจะแล้วเสร็จประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 27 กรกฎาคม ระบุอยู่ที่ดุลพินิจของประธานรัฐสภา พิจารณาตามสถานการณ์ ยืนยันกำหนดเวลาการอภิปราย 28 ชั่วโมง 30 นาที เป็นไปตามมติของวิป 3 ฝ่าย

         

สุกิจ อัถโถปกรณ์

 

นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกำหนดเวลาในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวันนี้ว่า เวลาของการอภิปรายในวันนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับเวลาจัดสรร 5 ชั่วโมง ใช้ไปแล้ว 2 ชั่วโมง 31 นาที 55 วินาที ดังนั้น ครม. เหลือเวลาชี้แจงอีก 2 ชั่วโมง 28 นาที ส่วน ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลได้รับเวลาจัดสรร 5 ชั่วโมง ใช้ไปแล้ว 2 ชั่วโมง 1 นาที เหลือเวลาอภิปรายอีก 2 ชั่วโมง 58 นาที ขณะที่พรรคร่วมฝ่ายค้านได้รับเวลาจัดสรร 13 ชั่วโมง 30 นาที ใช้ไปแล้ว 5 ชั่วโมง 35 นาที เหลือเวลาอภิปรายอีก 7 ชั่วโมง 54 นาที ด้านสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้รับเวลาจัดสรร 5 ชั่วโมง ใช้ไปแล้ว 1 ชั่วโมง 56 นาที เหลือเวลาอภิปราย 3 ชั่วโมง 3 นาที

          

ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเพิ่มเติมว่า โดยภาพรวมวิป 3 ฝ่ายได้กำหนดเวลาในการประชุมทั้งหมด 28 ชั่วโมง 30 นาที ใช้ไปแล้ว 12 ชั่วโมง 6 นาที ดังนั้น เวลาที่เหลือในการอภิปรายในวันนี้คือ 16 ชั่วโมง 23 นาที 55 วินาที ซึ่งวันนี้หากเริ่มประชุมได้ในเวลา 09.30 น. คาดว่าจะประชุมแล้วเสร็จการในเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 27 กรกฎาคม 2562 พร้อมระบุว่า การประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวันนี้ต่อเนื่องถึงวันพรุ่งนี้จะแล้วเสร็จหรือไม่ เป็นไปตามดุลพินิจของประธานรัฐสภา พิจารณาตามสถานการณ์ต่อไป ยืนยันกำหนดเวลาการอภิปราย 28 ชั่วโมง 30 นาที เป็นไปตามมติของที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายให้ความเห็นชอบร่วมกัน

 


 

นายกฯ ยันตอบได้ทุกเรื่อง พอใจภาพรวมแถลงนโยบายวันแรก อารมณ์ดีทักสื่อ How are you? Good Morning.

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาเป็นวันที่ 2 ในเวลา 08.40 น. เพื่อแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา โดยผู้สื่อข่าวถามถึงภาพรวมการประชุมรัฐสภาเมื่อวานนี้ ซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ ปฏิเสธตอบคำถาม และมีสีหน้ายิ้มแย้ม อีกทั้งตอบเพียงสั้นๆ ว่า How are you? Good Morning.

 

จากนั้น นายกฯ ได้ขึ้นไปร่วมลงชื่อเข้าประชุมและเดินลงมาที่ห้องจัดเลี้ยงเพื่อทานอาหารเช้า โดยผู้สื่อข่าวสอบถามว่าพอใจกับภาพรวมการประชุมแถลงนโยบายหรือไม่ โดย พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า “ก็ดี” และเมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ ซึ่งตนเองไม่กังวล ส่วนวันนี้หากฝ่ายค้านอภิปรายซักถามพาดพิงถึงตนเองก็พร้อมที่จะลุกขึ้นชี้แจงด้วยตนเองทุกเรื่อง

 

ขณะเดียวกันพรรคร่วมรัฐบาลได้มาร่วมรับประทานอาหารก่อนการแถลงนโยบายที่จะมีขึ้นในเวลา 09.30 น.

 


 

25 กรกฎาคม 2562

 

KEY MESSAGES: ภาพรวมแถลงนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ 2 วันแรก ฝ่ายค้านอัดนโยบายเลื่อนลอย-คุณสมบัติรัฐมนตรี

 

 

  • ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายหลังนายกฯ แถลงนโยบาย ด้วย 3 ผู้นำฝ่ายค้าน พุ่งเป้าโจมตีนโยบาย เลื่อนลอย-โลเล-หลอกลวง ระบุรัฐบาลเขียนนโยบายกว้าง ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน และไม่เชื่อว่าทำได้จริง
  • คุณสมบัติรัฐมนตรียังเป็นประเด็นร้อนที่ฝ่ายค้านยกมาอภิปราย โดยเฉพาะรัฐมนตรีที่เคยเกี่ยวพันกับคดีต่างๆ เช่น อุตตม สาวนายน กรณีปล่อยกู้กรุงไทย, ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า กรณียาเสพติด
  • เช่นเดียวกับประเด็นความไม่เป็นประชาธิปไตยของรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ และผลงาน 5 ปีที่ผ่านมาที่ล้มเหลว เศรษฐกิจตกต่ำ หนี้สินครัวเรือนพุ่งสูง 
  • พล.อ. ประยุทธ์ ลุกขึ้นชี้แจงในหลากหลายประเด็น ทั้งปัญหาภัยแล้งที่เกิดจากปริมาณฝนไม่เพียงพอ และเกิดภัยแล้งทั่วโลก การก่อหนี้เพื่อทำให้เกิดรายได้ โดยชวนเอกชนลงทุน การค้าขายฝืดเคืองที่เกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หนี้ครัวเรือนที่เกิดจากการจับจ่ายที่ไม่มีวินัยของประชาชน
  • การประท้วงมีขึ้นประปราย ส่วนใหญ่อ้างเหตุอภิปรายเกินขอบเขต ย้อนอดีตที่ผ่านมาแล้ว และไม่เปิดโอกาสให้รัฐบาลได้ทำงาน 
  • ยังมีรัฐมนตรีหลายคนที่ยังไม่ถูกอภิปรายถึงมากนัก เช่น พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ, วิษณุ เครืองาม, สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ฯลฯ ซึ่งต้องจับตาในการอภิปรายวันต่อไป
  • ไฮไลต์สำคัญที่หลายฝ่ายจับตา คือการควบคุมอารมณ์ของ พล.อ. ประยุทธ์ ขณะที่มีการอภิปรายพาดพิงหลายครั้งจากฝ่ายค้าน สุดท้ายจึงมีเหตุการณ์ปะทะคารมในช่วงค่ำระหว่าง พล.อ. ประยุทธ์ กับ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ที่มีการอ้างถึงความสัมพันธ์ในอดีต ก่อนจะประกาศตัดสัมพันธ์กลางสภา จนต้องมีการพักการประชุมชั่วคราว

 


 

เสรีพิศุทธ์ กลับบ้าน บอกเสียใจเสียน้องชายไป 1 คน เตรียมอภิปรายนโยบายรัฐบาลพรุ่งนี้อีก 2 ประเด็น

 

เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

 

หลังจากพักการประชุม ชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส. อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย เสนอให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเสรีรวมไทยถอนคำพูด แต่หากไม่ถอนก็ขอให้ออกจากห้องประชุมไปก่อนตามมารยาท และ พรเพชร วิชิตชลชัย ในฐานะประธานสภาเห็นด้วยให้ถอนคำพูด แต่ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ไม่ยอม ประธานสภาจึงขอให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ออกจากห้องประชุม ซึ่ง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เดินออกจากห้องประชุมพร้อมด้วย ส.ส. พรรคเสรีรวมไทยอีก 9 คนด้วย 

 

เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

 

พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ กล่าวหลังลงจากห้องประชุมว่า เพิ่งเริ่มประเดิมนิดๆ หน่อยๆ เพราะประเด็นที่ตนพูดคือเห็นว่านายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งตนต้องพูดให้ประชาชนเห็นว่าคณะรัฐมนตรีเข้ามาโดยชอบหรือไม่

 

ส่วนการประกาศตัดพี่น้อง ตนก็เสียใจที่เสียน้องไป 1 คน กลับบ้านร้องไห้แล้ว เสียน้องชายไป 1 คน แต่ที พล.อ. ประวิตร ไม่โกรธที่ตนถามเรื่องใส่นาฬิกา 

 

ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่มีการเข้าไปคุยกันเป็นการส่วนตัวในตอนพักการประชุม และตนจะไม่คุย เพราะคุยไม่รู้เรื่อง นายกรัฐมนตรีเคยตัวเสียแล้วกับการสั่งการซ้ายหันขวาหัน แล้วจะมาสั่งตนได้อย่างไร ตนจะไม่เคลียร์ และพรุ่งนี้จะแถลงอีก 2 ประเด็นคือ นโยบายที่แถลงวันนี้ขัดรัฐธรรมนูญ และ ครม. แถลงนโยบายวันนี้ไม่มีอำนาจ วันนี้ตนจะกลับบ้านก่อน เพราะวันนี้ถ้าตนจะมาขออภิปรายใหม่ก็จะมีคนเหม็นหน้า โดยเฉพาะประธานที่เคยเป็นประธาน สนช. ที่มาเป็น ส.ว. ต่อ ก็ไม่เป็นกลางมาตลอด ในห้องประชุมก็ไม่เป็นกลาง 

 

พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เผยว่า ตนกับ พล.อ. ประยุทธ์ ไม่มีความขัดแย้งกัน เห็นฝีมือกันมาตั้งแต่เด็ก หลอกกันไม่ได้ 

 

เมื่อถามว่าในอนาคตจะมองหน้ากันได้หรือไม่ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ตอบว่า ไม่รู้ ถ้ายกมือไหว้ตน ตนก็พูดด้วย เพราะเป็นรุ่นพี่ แก่กว่า แต่ตนจะไม่ยกมือไหว้ก่อน หลังจากนี้หากมีการประชุมสภาที่นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณางบประมาณหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจ ตนก็จะเล่นเต็มที่ ตั้งแต่วันพรุ่งนี้จะจัดหนักกว่าวันนี้ และถ้าถูกเชิญออกจากห้องประชุมอีกก็จะเดินออกแล้วขอเข้ามาใหม่ เพราะไม่มีกำหนดเวลาออก พ้นประตูปุ๊บก็จะเข้ามาอภิปรายใหม่ จากนั้น ส.ส. ทั้ง 10 คนของพรรคเสรีรวมไทยเดินทางกลับ โดย พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ กล่าวก่อนขึ้นรถกลับว่า “ถ้าไม่ให้ทำหน้าที่ก็ไม่อยู่เปลืองภาษีชาวบ้าน เอาเวลาไปทำการบ้านอภิปรายพรุ่งนี้ดีกว่า จัดหนักกว่าเดิม”

 

 


 

นายกฯ โต้เดือด เจอ เสรีพิศุทธ์ อภิปราย ประกาศตัดพี่น้องกลางสภา ก่อนเดินออกจากห้องประชุม

 

ประยุทธ์ เสรีพิศุทธ์

 

พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ อภิปรายเรื่องคุณสมบัติของรัฐมนตรี และถาม พล.อ. ประวิตร ว่า นาฬิกาที่ยืมเพื่อนคืนไปหมดแล้วหรือยัง เพราะกล้องถ่ายเยอะ เดี๋ยวติดภาพไปแล้วจะมีปัญหาอีก พร้อมระบุว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาตนลงพื้นที่ไปพบปะประชนมาตลอด และประชาชนมักจะพูดว่าถ้าเป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัยไม่สง่างาม เพราะครั้งแรกปล้นเขามา ครั้งที่ 2 โกงเขามา แต่ตนไม่เชื่อ เพราะตนเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกัน และสถาบันนี้ไม่สอนให้คนมาโกง แต่สอนให้ซื่อสัตย์สุจริต และเมื่อท่านเข้ามายึดอำนาจ โดยอ้างว่าบ้านเมืองไม่สงบเรียบร้อย แต่ตนและประชาชนไม่เชื่อ ตนเห็นว่า พล.อ. ประยุทธ์ ต้องการเอาอำนาจมากกว่า และหัวหน้า กปปส. ที่ทุกคนเห็นว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ แต่พอวันนี้ทุกคนใน กปปส. เข้ามาร่วมพรรคนี้เพื่อสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ ชาวบ้านก็คิดว่า พล.อ. ประยุทธ์ เป็นแกนนำ กปปส. มากกว่า และเมื่อเข้ามาก็แต่งตั้งองค์กรอิสระเพื่อช่วยเหลือพวกพ้อง 

 

ซึ่งระหว่างการอภิปราย มี ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ และ ส.ว. ประท้วงว่าเสียดสีบุคคล เช่น พล.อ. ธวัชชัย สมุทรสาคร กล่าวว่า พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ไม่มีวุฒิภาวะพอให้เป็น ผบ.ตร. ด้วยซ้ำ เพราะพาดพิงถึงสถาบัน ถ้าอยากให้ประเทศไทยเจริญควรให้ชายไทยทุกคนเกณฑ์ทหารเหมือนเกาหลี แล้วเราจะไม่มาปฏิวัติใดๆ ทั้งสิ้น ทุกคนเป็นเพื่อนกัน จะไม่มาทะเลาะเบาะแว้งกันแบบนี้ ถ้าแบบนี้มันต้องปฏิวัติ 20 ปี เมื่อพูดจบก็มีเสียงโห่ในรัฐสภาดังขึ้น 

 

ขณะที่มี ส.ส. และ ส.ว. อีกหลายคนขอให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ถอนคำพูดว่าโกงการเลือกตั้ง เช่น เสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. ขอให้ถอนคำพูด ซึ่ง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ กล่าวตอบโต้ว่า ถ้าเป็นกลางก็คิดดูว่าตัวเองมาจากไหน อย่าติดนิสัยจาก สนช.

 

ด้าน พล.อ. ประยุทธ์ ทนไม่ไหว ลุกขึ้นพูดโดยที่ไม่ขออนุญาตประธาน โดยกล่าวด้วยอารมณ์โมโหว่า “ท่านเป็นรุ่นพี่ผม แต่งงานวันเดียวกับผม แต่วันนี้ท่านไม่เป็นรุ่นพี่ผม” พร้อมระบุพูดจาหยาบคาย อวดอ้างอำนาจ เมื่อพูดเสร็จก็เดินออกจากห้องประชุม โดยที่มีสมาชิก ส.ส. และ ส.ว. โห่เสียงดังขึ้นมาทั้งสภา และประธานประกาศพักการประชุม 10 นาทีทันที

 

เมื่อกลับมาประชุมอีกครั้ง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ อภิปรายต่อ ก่อนจะถูกประธานสภาไล่ออกจากห้องประชุมระหว่างการอภิปราย เนื่องจากอ้างอิงคำบอกเล่าของผู้อื่นมากล่าวในสภา โดยประธานสภาขอให้ถอนคำพูด แต่ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ปฏิเสธ จึงถูกเชิญออกจากห้องประชุม ซึ่ง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ทิ้งท้ายว่า “แล้วไงต่อ” ก่อนจะเดินออกจากห้องประชุม

 

ประยุทธ์ เสรีพิศุทธ์

ประยุทธ์ เสรีพิศุทธ์

ประยุทธ์ เสรีพิศุทธ์

ประยุทธ์ เสรีพิศุทธ์

ประยุทธ์ เสรีพิศุทธ์

 

 


 

KEY MESSAGES: 6 ประเด็น จาก 3 ครม. ตอบคำถามพรรคฝ่ายค้านในศึกแถลงนโยบาย

 

ภายหลังการอภิปรายที่ดุเดือดจากฝ่ายค้านตลอดทั้งวัน 3 รัฐมนตรีอย่าง วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลุกขึ้นตอบคำถาม พร้อมชี้แจงถึงประเด็นคำถามที่ถูกพาดพิง

 

และนี่คือ 6 ประเด็นที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ 3 ครม. จากขั้วรัฐบาล

 

 

1. กรณี ‘88 การ์มองเต้ รีสอร์ท’ ถูกยกฟ้องไปแล้ว แต่ในปี 2560 มีการฟ้องร้องกันเพิ่มเติม ทำให้ตอนนี้กำลังดูว่าการที่อัยการไม่ฟ้องนั้นมีหลักการและเหตุผลอย่างไร

2. เป้าหมายการบังคับใช้ทวงคืนผืนป่า ตอนนี้เน้นไปที่การดำเนินเรื่องกับกลุ่มนายทุน โดยมีการยึดที่ดินที่ผิดกฎหมายแล้ว 500,000 ไร่

3. รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้มีน้ำที่เหลือสำหรับการเพาะปลูกมาจากเขื่อนภูมิพล-เขื่อนสิริกิติ์ ประมาณ 1.2 ล้าน ลบ.ม. และภัยแล้งกำลังคลี่คลาย หลังกรมอุตุฯ ระบุจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง

4. กำลังเตรียมมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร โดยหาเมล็ดพันธุ์ในการปลูกใหม่ พร้อมเตรียมเงินช่วยเหลือทั้งในส่วนของรัฐบาลและธนาคารเพื่อการเกษตร

5. รัฐบาลมีมาตรการประกันราคาพืชผลเกษตร อาทิ มันสำปะหลัง, ยางพารา และปาล์ม ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอน

6. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนที่จะขยายความร่วมมือทางการค้ากับกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ

 


 

คนละหมัด! ประยุทธ์ VS เสรีพิศุทธ์ ปะทะเดือด ตัดสายสัมพันธ์

 

 


 

นายกฯ ชี้แจงเดือด หลังถูกโรมพาดพิง ยืนยันไม่เคยมีแผนรัฐประหาร โบ้ยให้สนใจจำนำข้าวเสียหายดีกว่า

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลุกขึ้นชี้แจงหลังถูก รังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ พาดพิงว่า รัฐประหารที่ผ่านมาตนไม่อยากทำ แต่สถานการณ์ขณะนั้นหากไม่ยุติจะบานปลาย และไม่ได้เตรียมการมาก่อน อยากให้เคารพกฎหมาย ไม่ใช่อภิปรายไปเรื่อย และอยากให้สนใจว่าความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวว่ามีเท่าไร ตัวเลขคดีอาญาอยู่ที่ 1,162 คดี ส่วนตัวเลขคดีอาญาในชั้นอัยการสูงสุด 871 คดี ส่วน อ.ต.ก. 291 คดี จึงอยากถามว่าเรื่องนี้อยู่ที่ไหน

 

จากนั้น คารม พลพรกลาง ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ ได้ลุกขึ้นประท้วง ทำให้ พล.อ. ประยุทธ์ ชี้หน้าไปยังที่นั่งของสมาชิกรัฐสภา 

 

“คุณด้วย ไม่ต้องพูด คุณเกี่ยวข้องอยู่เเล้ว” นายกฯ กล่าวอย่างมีอารมณ์ 

 

จากนั้นประธานปล่อยให้คารมประท้วง โดยระบุว่าที่นี่คือสภาฯ เป็นที่รวมของตัวเเทนประชาชน ไม่ใช่ค่ายทหาร ต้องระมัดระวังนิดหนึ่ง

 

“ผมก็มาจากประชาชน 9 ล้านกว่าเสียงเหมือนกันที่เลือกเขามาเป็นนายกฯ” พล.อ. ประยุทธ์กล่าว ก่อนที่จะมีรอยยิ้มและเสียงปรบมือจากสมาชิก 

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 


 

 

BREAKING: พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ถูกประธานสภาไล่ออกจากห้องประชุมระหว่างการอภิปราย เนื่องจากอ้างอิงคำบอกเล่าของผู้อื่นมากล่าวในสภา โดยประธานสภาขอให้ถอนคำพูด แต่ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ปฏิเสธ จึงถูกเชิญออกจากห้องประชุม ซึ่ง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ทิ้งท้ายว่า “แล้วไงต่อ” ก่อนจะเดินออกจากห้องประชุม

 


 

 

21.01 น. พรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในการประชุม สั่งพักการประชุม 10 นาที หลังมีผู้ประท้วง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ในระหว่างอภิปรายจำนวนมาก จนนายกรัฐมนตรีลุกขึ้นตอบโต้ ถึงขั้นตัดขาดความเป็นพี่

 


 

Live: การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาวันที่ 1 (25 กรกฎาคม 2562) ช่วงที่ 2

 


 

รวมลีลาแถลงนโยบายสไตล์ ‘ประยุทธ์’

 


 

ประยุทธ์ โต้กลับ ไล่ตอบทุกคำถาม ออกตัวพูดไม่เก่ง เน้นทำจริง

 


3 ผู้นำพรรคฝ่ายค้านซัดรัฐบาลแถลงนโยบาย ’เลื่อนลอย’ ‘โลเล’ ‘หลอกลวง’

 


พล.ท.พงศกร VS พล.อ. ประยุทธ์ นโยบายชายแดนใต้ และการซื้ออาวุธ

 

 


รมช. เกษตรฯ แจงสถานการณ์ภัยแล้งกำลังดีขึ้น พร้อมเตรียมมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรไว้แล้ว

 

 

ระหว่างการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัยที่ 2 วันนี้ (25 ก.ค.) หลังพรรคฝ่ายค้านอภิปรายเกี่ยวเนื่องกับการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาลที่ขาดตกบกพร่อง และทำให้เกษตรกรจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน ล่าสุด 18.40 น. ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงต่อสภาว่า 

 

ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ลงพื้นที่และดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีน้ำที่เหลือสำหรับการเพาะปลูกมาจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งยังพอหล่อเลี้ยงชาวนาในภาคเหนือตอนล่างกับภาคกลางประมาณ 22 จังหวัด คาดว่าน้ำจะเดินทางมาถึงเขื่อนเจ้าพระยาโดยใช้เวลา 5-6 วัน ซึ่งจะสามารถเลี้ยงลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ ส่วนพื้นที่นาในภาคกลาง น้ำที่มีอยู่สามารถใช้ได้ตลอดสิ้นเดือนสิงหาคม โดยขณะนี้ได้ลดการปล่อยน้ำจาก 45 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากมีฝนตกแล้ว และกรมอุตุนิยมวิทยายังระบุด้วยว่า ไม่เกินวันที่ 10 สิงหาคมจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นความต้องการในการใช้น้ำจะค่อยๆ ลดลง

 

ส่วนพื้นที่การเกษตรในภาคอีสานถือว่าเสียหายหนัก เพราะฝนแล้งติดต่อกัน 2 เดือน ซึ่งทางกระทรวงได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือ โดยหาเมล็ดพันธุ์ในการปลูกใหม่ในเดือนสิงหาคมนี้ พร้อมเตรียมเงินช่วยเหลือทั้งในส่วนของรัฐบาลและธนาคารเพื่อการเกษตร ส่วนราคาสินค้าการเกษตรกำลังอยู่ในระหว่างการปรึกษากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรต่อไปได้ 

 

นอกจากนี้ รมช. เกษตรฯ ยังเชื่อว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ จากปริมาณฝนที่เพิ่มมากขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้

 


วราวุธ ชี้แจงกรณีรีสอร์ตรุกป่าถูกยกฟ้องไปแล้ว ยืนยันใครทำร้ายผืนป่า “เราจะไม่ยอม”

 

วราวุธ ศิลปอาชา

 

วันนี้ (25 ก.ค.) วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลุกขึ้นตอบคำถามของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ถึงประเด็นของ 88 การ์มองเต้ รีสอร์ท ว่ามีการดำเนินอย่างไร แล้วคนที่มีฐานะและไม่มีฐานะจะดำเนินเหมือนกันหรือไม่ 

 

วราวุธเผยว่า กรณีของรีสอร์ตดังกล่าว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 ได้มีการเข้าไปดำเนินคดี จนผ่านมาถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 ทางอัยการได้ออกคำสั่งอันมีที่สิ้นสุดว่าไม่ฟ้องในกรณีนี้ แต่ทว่าในปี 2560 มีการฟ้องร้องกันเพิ่มเติม ทำให้ในณะนี้กำลังดูว่าการที่อัยการไม่ฟ้องนั้นมีหลักการและเหตุผลอย่างไร และดูพื้นที่ดังกล่าวที่อัยการบอกว่าเป็นของ ส.ป.ก. นั้นเป็นความจริงหรือไม่ และต้องมาตรวจสอบกันอีกว่า ถ้าเป็นในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกรมอุทยาน ก็เป็นส่วนที่ทั้ง 2 หน่วยงานจะต้องมาหารือกันว่าแท้จริงแล้วเป็นที่ของใคร

 

“โดยที่ผ่านมา กรณีของอำเภอวังน้ำเขียวมีคดีดำเนินการถึง 352 คดี และทยอยออกคำสั่งตามการปกครองตาม ม.22 แล้ว 207 คดี และรื้อถอนเสร็จแล้วจำนวน 119 คดี และเหลือการดำเนินการอยู่ 88 คดี ดังนั้นเราให้ความมั่นใจได้ว่า หากใครจะมาทำร้ายผืนป่าประเทศไทยในรัฐบาลนี้เราไม่ยอมแน่นอน”

 

สำหรับประเด็นต่อมาคือ การจัดการและการถือครองที่ดินว่าจะมีการจัดการอย่างไร ทางวราวุธชี้แจงว่า การแก้ไขปัญหาถือครองที่ดินนั้น ทางรัฐบาลมีคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ซึ่งก็จะรับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการที่ดิน โดยจะกำหนดมาตรการและแนวทางที่จะกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และติดตามการบริการที่ดินอย่างเป็นประสิทธิภาพให้ได้ตามหลักเกณฑ์การจัดที่ดิน และที่สำคัญการจัดการนั้นเราจะให้เป็นรูปแบบการจัดการแปลงรวม 

 

“ที่สำคัญคือเราไม่ได้ให้กรรมสิทธ์ เพียงแต่อนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดินที่เป็นของรัฐหรือกลุ่มชุมชน ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ คทช. กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสหกรณ์หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม ซึ่งการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวนั้น หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจทางกฎหมายในแต่ละที่ดินจะเป็นผู้กำหนดระเบียบกฎเกณฑ์และเงื่อนไขภายภายใต้ความเห็นชอบของ คทช.”

 

สำหรับการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกินนั้น ทาง รมว.ทส. เผยว่า ทางรัฐได้ทำการดำเนินงานที่ทำกินแบบแปลงรวม แต่ไม่ให้กรรมสิทธ์ และที่ผ่านมาได้อนุญาตให้ประชาชนเข้าใช้แล้วกว่า 600,000 ไร่ จากพื้นที่เป้าหมายกว่า 1.3 ล้านไร่ มีประชาชนได้รับประโยชน์อีก 40,000 ราย

 

ส่วนประเด็นของ ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่พูดถึงนโยบายลังเลกับการทวงคืนผืนป่า การให้ประชาชนอยู่ร่วมกับป่าเป็นนโยบายที่สวนทางกัน ทางวราวุธแจงว่า เป้าหมายการบังคับใช้ทวงคืนผืนป่านั้นเน้นไปที่การนำเนินงานกับกลุ่มนายทุนที่เพิ่มเข้ามายึดครองที่ดินแบบผิดกฎหมายเป็นหลัก และจะฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวให้กลับมาดีดังเดิม โดยบางพื้นที่ที่เหมาะสมจะมีการนำไปจัดสรรให้ประชาชนผู้ยากไร้ได้มีพื้นที่ทำกินตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2561 ที่เป็นมติเห็นชอบการจัดการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ของคณะกรรมนโยบายที่ดินแห่งชาติ และที่ผ่านมาได้ยุบที่ดินยางพาราจากกลุ่มนายทุนที่ผิดกฎหมายแล้วกว่า 500,000 ไร่ 

 

“รัฐบาลชุดปัจจุบันของนายกประยุทธ์ เรื่องป่าและคนต้องอยู่ด้วยกันให้ได้ ส่วนจะเป็นเรื่องป่ารุกคนหรือคนรุกป่านั้น เดี๋ยวเราต้องค่อยมาแก้กัน ประชาชนทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยจะต้องได้รับการดูแล และที่สำคัญทรัพยากรที่สำคัญของไทย ผมจะไม่ยอมให้ใครมาทำอันตรายเด็ดขาด แต่เราต้องเดินไปด้วยกัน” วราวุธ ศิลปอาชา กล่าวทิ้งท้าย

 


KEY MESSAGES: ชลน่าน ศรีแก้ว ชำแหละ 5 ประเด็นนโยบายรัฐบาล

 

ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. บัญชีรายชื่อจากพรรคเพื่อไทย อภิปรายถึงที่มาของนโยบายชุดนี้ว่า ทำแบบซ่อนเร้นและปิดบังรัฐสภา เนื่องจากขาดเป้าหมายสู่ความสำเร็จที่ชัดเจน อีกทั้งการแต่งตั้ง อุตตม สาวนายน เป็น รมว.การคลัง ถือเป็นการละเลยต่อมาตรฐานจริยธรรม

 

และนี่คือ 5 ประเด็นที่คุณต้องรู้จากการอภิปรายของ ชลน่าน ศรีแก้ว

 

ชลน่าน ศรีแก้ว

 

1. รัฐบาลนี้ทำนโยบายแบบซ่อนเร้น-ปิดบังรัฐสภา เพราะขาดเป้าหมายและความสำเร็จที่ชัดเจน

2. การขับเคลื่อนนโยบายต้องทำโดยคนที่มีความรู้ แต่ทั้งหมดในคณะรัฐมนตรีไม่มีความรู้, ความมั่นใจ, ความสามารถ มีปัญหาคุณสมบัติ

3. ถามนายกฯ ถึงประเด็นนโยบายดูแลสวัสดิการพี่น้องประชาชนที่ใช้เม็ดเงินกว่า ‘แสนล้าน’ มีการจัดแจงอย่างไร

4. การตั้ง อุตตม สาวนายน เป็น รมว.การคลัง ที่พัวพันคดีปล่อยเงินกู้ ถือเป็นการละเลยต่อมาตรฐานจริยธรรม

5. ชมเชยนโยบายพลังงาน เขียนไว้สวยหรู ถ้าทำได้จะเป็นคุณูปการกับประเทศ แต่เท่าที่ทราบคือเป็นการเอื้อประโยชน์นายทุนใหญ่ ตั้งคำถามถึงสัดส่วนในการบริหาร

 


 

KEY MESSAGES: 6 ประเด็นนายกฯ ตอบคำถามพรรคฝ่ายค้านในศึกแถลงนโยบาย

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นชี้แจงในหลายประเด็น ทั้งปัญหาภัยแล้งและปัญหาเศรษฐกิจ หลังถูกฝ่ายค้านอภิปรายจี้ตลอดวันแถลงนโยบาย 

 

และนี่คือ 6 ประเด็นที่คุณต้องรู้ผ่านการชี้แจงของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

นโยบายรัฐบาล

 

1. ปัญหาภัยแล้งเกิดจาก ‘น้ำไม่เพียงพอ’ และรัฐบาลแก้ไขมาตลอด ด้วยการติดต่อกับประเทศจีน-ลาว เพื่อให้ปล่อยน้ำจากเขื่อนสู่ไทย

 

2. รายได้ที่รัฐเก็บมา 2 ล้านล้านบาท จำเป็นต้องตั้งงบประมาณขาดดุลไว้ เผื่อไว้สำหรับกู้ หากจำเป็นต้องกู้ ก็จะทำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

3. รัฐบาลที่ผ่านมามีงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท แต่ทำไมไม่ทำให้เกิด ถนน รถไฟฟ้า อย่างที่รัฐบาลของตนได้ทำในวันนี้

 

4. หนี้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นหนี้ที่ ‘สร้างรายได้’ โดยเป็นการลงทุนร่วมรัฐบาล-เอกชน ไม่ใช่ดำเนินการโดยรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว

 

5. การที่กล่าวหาว่า ประเทศไทยมีการเติบโตทาง GDP น้อย ทุกคนต้องดูว่าฐานเศรษฐกิจเป็นแบบไหน ซึ่งเราเป็นแบบนี้มา 30 ปีแล้ว

 

6. ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา รัฐบาลได้มาเพียง 11% และคนเสียภาษีจริงมีแค่ 4% เท่านั้น 

 

 

 


 

นายกฯ ลุกชี้แจงรอบบ่ายในสภาหลังถูกพาดพิง ท่าทีขึงขัง ย้ำบริหารประเทศมีผลงานรูปธรรม

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลุกขึ้นชี้แจงหลังถูกฝ่ายค้านพาดพิงด้วยท่าทางที่ขึงขัง หลังถูกฝ่ายค้านอภิปรายตำหนิทั้งเรื่องการอ่านแถลงนโยบายในช่วงเช้าว่าอ่านรัวเร็ว ฟังไม่ชัด ยอมรับว่าส่วนตัวอาจพูดและอ่านไม่เก่ง เรื่องนี้ขออภัยด้วย 

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

ซึ่งที่ผ่านมายืนยันว่าไม่ได้พูดอย่างเดียว แต่ทำงานแก้ไขปัญหามาตลอด และพบว่าปัญหาในตอนนี้ที่ประชาชนและเกษตรกรต้องเผชิญคือปัญหาขาดแคลนน้ำ รัฐบาลได้เร่งแก้ไขเรื่องการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และได้ประสานต้นน้ำไปทางประเทศจีนและลาวให้ปล่อยน้ำลงมาจากเขื่อนผ่านแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนี้ก็ได้ปล่อยน้ำเกินอัตราที่กำหนดแล้ว ปัญหาต่อไปจะทำให้ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำประปา แต่หากปล่อยให้หมด ทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน พร้อมยืนยันว่ารัฐบาลได้ทำฝนหลวงไปแล้วกว่า 5,000 เที่ยวบิน และกำลังเร่งแก้ไขมาโดยตลอด 

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นอกจากนี้ยังได้ชี้แจงถึงงบประมาณของรัฐบาลว่าส่วนหนึ่งมาจากภาษีประชาชน และการวางวงเงินกู้เพื่อการลงทุนจำนวน 2 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลจะนำมาใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ไม่ใช่แค่กู้ไว้และจะนำมาใช้อย่างเดียว โดยประเด็นนี้ทำมาทุกรัฐบาล พร้อมย้ำว่าหลังจากที่เข้ามาบริหารประเทศ รัฐบาลมีผลงานเกิดเป็นรูปธรรม ทั้งเส้นทางคมนาคมรถไฟและรถไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตอนนี้ก็ยังมีนักลงทุนต่างประเทศเตรียมย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย 

 

พร้อมชี้แจงถึงประเด็นหนี้สินครัวเรือนว่าสาเหตุเกิดจากการใช้จ่ายที่ไม่คุ้มค่า ใช้จ่ายไม่เหมาะสม ฟุ่มเฟือย ซึ่งไม่เกี่ยวว่ามีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก หรือการประหยัด มันคนละเรื่องกัน จึงมองว่าปัญหานี้ควรแก้ปัญหาที่การสร้างรายได้ในแต่ละครัวเรือน ไม่ใช่หาทางออกด้วยการกู้หนี้ยืมสินเพิ่มเติม

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

ส่วนกรณีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสำหรับผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลพยายามที่จะทำให้ผู้มีสิทธิได้รับความสะดวกสบายมากที่สุด จากที่มีเพียงหนึ่งธนาคาร ตอนนี้ก็มีธนาคารพาณิชย์หลายแห่งสนใจที่จะเข้ามาร่วมโครงการ

 

แม้นายกรัฐมนตรีจะชี้แจงด้วยท่าทีที่ขึงขัง แต่ก็พูดติดตลกตลอดการชี้แจงว่าที่พูดไม่ได้อารมณ์เสีย ตอนนี้กำลังยิ้มอยู่ แต่อยากให้ทุกคนเข้าใจ เพราะรายละเอียดที่เตรียมมามีเป็นจำนวนมาก หากพูดหมดตามเอกสารที่เตรียมมาเองเกรงว่าคืนนี้ก็จะไม่จบ พร้อมชี้แจงว่าส่วนตัวสามารถชี้แจงให้เกิดสาระได้ แต่หากพูดเก่งแล้วไม่มีสาระก็ไม่เกิดประโยชน์ 

 

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังได้พูดในที่ประชุมรัฐสภาว่าตอนนี้มีคดีคงค้างกว่า 1,000 คดี โดยไม่ระบุว่าหมายถึงใคร แต่ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเตรียมตัวไว้ 

 

นายกรัฐมนตรียังชี้แจงเรื่องการแก้ไขความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ย้ำการดำเนินการของทหารเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่เคยยิงใครก่อน พร้อมขอความเห็นใจให้กับทหารที่ถูกกระทำ แต่กลับไม่มีใครสนใจ 

 

ขณะที่บางช่วงบางตอน สมาชิกฝ่ายค้านลุกขึ้นประท้วงโดยใช้ถ้อยคำที่กระแทกแดกดันเหมือนผู้แทนประชาชนเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ยืนยันว่าตนเองให้เกียรติผู้แทนประชาชน และไม่เคยมองใครเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา

 


 

Live: การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาวันที่ 1 (25 กรกฎาคม 2562) ช่วงที่ 1

 


 

Key Messages: ปิยบุตรสับนโยบาย ‘ประยุทธ์’ เลื่อนลอย-โลเล-หลอกลวง

 

ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายถึงนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่นี้ว่ามีลักษณะเด่น 3 ประการคือ เลื่อนลอย โลเล และหลอกลวง หาความชัดเจนจากนโยบายฉบับนี้ไม่ได้ 

 

และนี่คือ 5 ข้อสรุปสำคัญจากการอภิปรายของ ปิยบุตร แสงกนกกุล

1. นโยบายรัฐบาลมีความเลื่อนลอย โลเล หลอกลวง ไม่ได้เจาะจง ไม่มีเนื้อหาที่เป็นรูปธรรม ย้อนแย้ง และไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลชุดนี้ต้องการทำสิ่งใดกันแน่

2. มีนโยบายที่ใช้หาเสียงจำนวนมากที่ไม่บรรจุเป็นนโยบาย เช่น การปรับขึ้นเงินเดือนเป็น 20,000 บาท และงดเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3. รัฐบาลเลือกผลักดันแต่นโยบายเฉพาะหน้าที่เอาไว้ใช้ในการกระตุ้นกระแสนิยมสำหรับเลือกตั้งครั้งต่อไป

4. การเขียนนโยบายชุดนี้แย่กว่ารัฐบาลสมัยประยุทธ์เป็นนายกฯ จากการรัฐประหาร

5. การเป็นรัฐบาลผสม 19 พรรคร่วมทำให้เสียโอกาสการผลักดันนโยบายที่ก้าวหน้าและสร้างสรรค์

 

 


 

เลื่อนลอย-โลเล-หลอกลวง ปิยบุตรสรุปนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ 2

 

ปิยบุตร แสงกนกกุล

 

ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายระหว่างการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาว่าถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่ผู้ก่อการรัฐประหารเมื่อปี 2557 ได้เข้าสภาโดยมีฝ่ายค้านถ่วงดุล

 

ปิยบุตรขอให้นายกรัฐมนตรียืนยันว่าการกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณมีคำพูดครบถ้วนหรือไม่ เพราะฟังจากข่าวพระราชสำนักแล้วไม่ได้กล่าวคำว่า “จะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อความถูกต้องจึงขอให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงยืนยัน

 

ปิยบุตรยังได้สรุปนโยบายชุดนี้ว่ามีลักษณะเด่น 3 ประการคือ เลื่อนลอย โลเล หลอกลวง

 

1. เลื่อนลอย คือผสมปนเปทุกเรื่อง จับยัดหมด ไม่ได้เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีแต่คำสวยหรู แต่ไม่มีเนื้อหาที่เป็นรูปธรรม ไม่มีวิธีการว่าจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่สมาชิกอยากทราบที่สุด เพื่อที่จะได้วิพากษ์วิจารณ์ถูก

 

เช่น การแก้ไขปัญหาข้าวครบวงจร ซึ่งไม่ทราบว่าทำอย่างไร รวมถึงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการขับเคลื่อนการทูตเชิงรุก ซึ่งก็ไม่ทราบวิธีการเช่นกัน

 

2. โลเล คือไม่แน่ใจว่าต้องการอะไรกันแน่ เพราะหลายอย่างเขียนแย้งกันไปมา เช่น นโยบายเร่งทวงคืนผืนป่า แล้วก็จะจัดสรรให้ชาวบ้านอยู่กับป่าได้ แต่นโยบายการทวงคืนผืนป่าที่ผ่านมามีประชาชนติดคุกมากมาย แต่ไม่ทราบว่าจะผสานสองเรื่องนี้ให้ไปด้วยกันได้อย่างไร

 

รวมถึงการเกษตรก็ไม่ทราบว่าจะประกันราคาสินค้าเกษตรหรือประกันรายได้ รวมถึงเรื่องลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา แต่จะทบทวนรูปแบบการกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้เหมาะสม กล่าวคือเขียนแบบไม่รู้จะเอาแบบไหนกันแน่

 

3. หลอกลวง คือเราจำได้ดีว่าการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมามีนโยบายก้าวหน้าจำนวนมาก ซึ่งก็มีหลายพรรคเข้าร่วมรัฐบาล

 

ยกตัวอย่าง นโยบายเร่งด่วนข้อ 5 ตอนพรรคพลังประชารัฐหาเสียงเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาท เด็กจบใหม่ปริญญาตรีเงินเดือน 20,000 บาท อาชีวะ 18,000 บาท รวมถึงงดเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ทั้งหมดนี้ไม่ปรากฏในนโยบาย

 

นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ก็ไม่ปรากฏในนโยบาย

 

ส่วนพรรคภูมิใจไทยมีนโยบายกัญชาเสรี ให้ปลูกบ้านละ 6 ต้น แต่ในนโยบายเขียนแค่ให้ศึกษา ไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำ

 

เมื่อเทียบการเขียนนโยบายชุดนี้ยังแย่กว่ารัฐบาลสมัยท่านเป็นนายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหารเสียอีก 

 

ปิยบุตรระบุว่าความผิดทั้งหมดต้องโทษไปที่ระบบคือรัฐธรรมนูญที่ทำให้มีพรรคร่วมรัฐบาล 19 พรรค แต่ยังเสียงปริ่มน้ำ

 

ด้วยกติกาทำให้การตัดสินใจทางการเมืองของพรรคการเมืองบิดเบือน เพราะหลายพรรคที่ประกาศไม่เอาการสืบทอดอำนาจ แต่ต้องเข้าไปร่วมรัฐบาล เพราะรู้ว่ามีเสียง ส.ว. 250 เสียง นโยบายต่างๆ ของแต่ละพรรคจึงถูกนำมาใส่ไว้ให้ครบ มีแต่น้ำ หาเนื้อไม่เจอ ไม่มีนโยบายที่หาเสียงไว้

 

ปิยบุตรกล่าวต่อว่ารัฐบาลผสม 19 พรรคทำให้ประเทศเสียโอกาส เพราะมีโอกาสน้อยมากที่จะให้รัฐบาลผลักดันนโยบายที่ก้าวหน้าและสร้างสรรค์

 

คาดว่ารัฐบาลนี้จะผลักดันได้แค่นโยบายเฉพาะหน้า เน้นอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มคะแนนนิยม ไม่ผลักดันนโยบายก้าวหน้าเชิงโครงสร้างแน่นอน

 

ปิยบุตรยังกล่าวถึงนโยบายหลักที่ให้ไว้ 12 ด้าน

 

โดยเฉพาะการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้เห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่อย่างยาวนานสถาพรได้ ต้องไม่นำสถาบันมาเป็นเครื่องมือโจมตีทางการเมือง หรือเปิดโอกาสให้กองทัพมายึดอำนาจโดยใช้ข้ออ้างเรื่องหมิ่นสถาบัน

 

ทั้งนี้มีแต่ระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่อย่างมั่นคงสถาพรและคงพระเกียรติยศ 

 

ปิยบุตรยืนยันว่าพรรคอนาคตใหม่มีนโยบายปกป้องสถาบันพระมหากษตริย์ แต่จะต้องไม่นำมาใช้ทำลายล้างการเมือง

 

ทั้งนี้ประเด็นที่จะเสนอคือถ้าต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์จะทำแบบเดิมไม่ได้ แต่ต้องทำให้ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตย ต้องให้อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งมากกว่าการแต่งตั้ง

 

นอกจากนี้ยังเสนอให้มีนโยบายพานักโทษการเมืองที่ลี้ภัยกลับมา โดย

ย้อนไปเปรียบเทียบชื่นชมนโยบาย 66/23 สมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเอาคนเหล่านี้กลับมาจากป่าจากการร่วมต่อสู้สมัยคอมมิวนิสต์ และที่ผ่านมาคนเหล่านี้ก็ร่วมพัฒนาประเทศ รวมถึงอยากให้รัฐบาลกำหนดให้ชัดว่าจะให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อใด

 

ในช่วงท้าย ปิยบุตรกล่าวถึงนโยบายการสนับสนุนให้มีการศึกษา รับฟังความเห็นประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ

 

โดยสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ทุกคนสนับสนุนเต็มที่ให้แก้รัฐธรรมนูญ เพราะขาดความชอบธรรมทั้งที่มาจากการรัฐประหารและเนื้อหาที่มีการแต่งตั้ง ส.ว. ให้ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี และรับรองให้คำสั่ง-ประกาศ คสช. ที่เคยประกาศไปถูกต้องตามกฎหมาย จึงขออย่าให้รัฐบาลเขียนไว้แค่ให้พรรคร่วมรัฐบาลพอใจ แต่สุดท้ายก็ไม่รู้ว่าจะแก้หรือไม่แก้

 

“พวกเรามีความปรารถนาดีต่อชาติบ้านเมือง รักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่น้อยไปกว่าพวกท่าน แต่การแสดงออกของแต่ละท่านอาจจะแตกต่างกัน พวกเราไม่ได้มีความคิดล้มล้างอะไร ไม่ได้มีความคิดรุนแรง เราเพียงต้องการให้บ้านเมืองกลับสู่ระบบปกติ และออกจากความขัดแย้ง 13 ปี” ปิยบุตรกล่าว

 


 

Key Messages: 4 ข้อสงสัยของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ในการแถลงนโยบาย

 

วันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ รับหน้าที่เป็นฝ่ายค้านรายที่ 2 ลุกขึ้นมาทำหน้าที่อภิปรายนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน พร้อมบอกว่านโยบายเหล่านี้เต็มไปด้วยความเลื่อนลอย โดยตนไม่มีความเชื่อถือว่าจะทำได้จริง

 

และนี่คือ 4 ข้อสรุปสำคัญจากการอภิปรายของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา

1. มองว่านโยบายถูกเขียนอย่างเลื่อนลอย ไม่เชื่อว่าจะนำไปดำเนินการได้จริง และขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน

2. ถาม ‘ประยุทธ์’ ถึงคำพูดตอนปฏิวัติ “อย่ามีใครคิดสู้ ถึงสู้ก็สู้ไม่ได้ ผมเตรียมการมา 3 ปีกว่า” หมายความว่าอะไร

3. ตั้งคำถามว่าจะให้เชื่อผู้ที่เคยปฏิวัติว่าจะมาทำงานในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร

4. ตั้งข้อสงสัยกรณีตั้ง สมคิด-อุตตม ดูแลการเงินและงบประมาณ แต่ส่วนตัวกลับขาดวินัยทางการเงินได้อย่างไร

 

Key Messages-4 ข้อสงสัยของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา

 


 

วันนอร์ดาบสอง ซักฟอกนโยบายรัฐบาล บอกเลื่อนลอย จะให้นักการเมืองมีคุณภาพ แต่สัมมนารีสอร์ตผิดกฎหมาย

 

 

วันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส. บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชาติ อภิปรายต่อจาก สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส. เชียงใหม่ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ว่า นโยบายรัฐบาลเลื่อนลอย พูดเรื่อยเปื่อย จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แม้แต่นายกรัฐมนตรีก็ยังรู้สึกไม่อยากจะอ่าน อ่านข้ามไปข้ามมา เพราะไม่จูงใจให้อ่าน นโยบายยากในการติดตามผล ทั้งผู้ปฏิบัติและคนที่จะตรวจสอบ นโยบาย 35 หน้า ไม่เห็นว่ามีวิสัยทัศน์อะไร พูดง่ายๆ คือ หาวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนไม่ได้ ยากที่ประชาชน ผู้ประกอบการ นักลงทุนจะเชื่อมั่นมาลงทุน เพราะไม่มีวิชันว่าจะทำเมื่อไร จะเริ่มเมื่อไร แล้วจะวัดอย่างไร

 

“ท่านบอกว่าเตรียมการปฏิวัติมา 3 ปี จะให้ผมเชื่อมั่นว่า ท่านนายกรัฐมนตรีมีความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร หากท่านสามารถเตรียมการเพื่อการปฏิวัติได้อย่างละเอียด เก็บรายละเอียดการสืบทอดอำนาจได้อย่างรัดกุมแบบนี้ สู้เอาความมานะพยายามที่เตรียมการกว่า 3 ปี มาทำงานเพื่อประชาชนจริงๆ เริ่มต้นที่สนใจในหลักการประชาธิปไตยเสียก่อน ซื่อสัตย์สุจริตให้เป็นรูปธรรม เป็นที่ประจักษ์ จะดีกว่าเยอะ”

 

วันมูหะมัดนอร์กล่าวอีกว่า ในส่วนการแถลงนโยบาย ไม่ใช่สักแต่ว่าอ่านนโยบายแบบผ่านๆ แล้วจบๆ กันไป ประเทศมันไม่ได้ดีขึ้นด้วยการอ่านนโยบายอย่างเดียว การกระทำก็เป็นส่วนสำคัญ และสำคัญกว่าอีกด้วย ยกตัวอย่างที่รัฐบาลบอกว่า การบริหารราชการแผ่นดินจะยึดหลักการ 4 ข้อ โดยข้อ 2 บอกว่า จะยืดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่การรัฐประหารที่ผ่านมา จะยึดมั่นระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร เขียนได้อย่างไรว่ายึดมั่น ตนไม่เชื่อมั่นในคนปฏิบัติ เพราะท่านทำปฏิวัติรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ ไม่น่าเชื่อว่าข้อความอันนี้เกิดจากคนที่เคยปฏิวัติ ถ้าบอกยึดมั่นระบบเผด็จการประชาธิปไตยพอไปได้ และขอถามว่า ที่เตรียมการมา 3 ปีกว่า แล้วมาอ้างว่ายึดอำนาจเพราะบ้านเมืองวุ่นวาย ถามว่าเตรียมการอะไร 

 

วันมูหะมัดนอร์อภิปรายด้วยว่า ที่บอกว่าส่งเสริมให้นักการเมืองมีคุณภาพ แต่พรรคที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีไปสัมมนาในรีสอร์ตผิดกฎหมาย มีการจับกุม 2 ครั้ง แล้วบอกว่ามีคุณภาพได้อย่างไร 

 

“การกำกับดูแลวินัยการเงินการคลัง รองนายกฯ สมคิดรู้ดีว่าเป็นบทบาทของ รมว.คลัง ที่ผ่านมาเวลาจะเลือก รมว.คลัง จะดูว่าไปกำกับดูแลได้เคร่งครัดแค่ไหน แต่ อุตตม สาวนายน รมว.คลัง รมว.คลังที่แต่งตั้งก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มีวินัยทางการเงิน สมัยไปดูแลสถาบันการเงินคือธนาคารกรุงไทย ท่านได้อนุมัติเงินให้เกิดความเสียหายกว่า 1 หมื่นล้านบาท แล้วบอกไม่ผิดได้อย่างไร กรรมการ 3 ใน 5 ติดคุก รายงานการประชุมท่านก็นั่งอยู และไม่ได้คัดค้าน แล้วจะให้เชื่อว่าจะมากำกับเงินของประเทศ 3 ล้านล้าน ให้เคร่งคัดได้อย่างไร”

 

ขณะที่คณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะรัฐมนตรีการคลังที่ต้องอาศัยความซื่อสัตย์ เคร่งครัดในวินัย ในงบประมาณของชาติ เงินภาษีประชาชนทั้งนั้น แค่ธนาคารที่เคยนั่งบริหาร ซึ่งเล็กกว่างบประมาณของชาติเยอะ ก็ยังถูกตั้งคำถาม และด้วยมหัศจรรย์ของกฎหมายอย่างไรก็ไม่ขอพูดถึง แต่ก็มันก็ค้างคาใจ สุจริตในที่ประจักษ์อย่างไรกันแน่ แบบนี้ถือว่าไม่เหมาะสม 

 

หัวหน้าพรรคประชาชาติกล่าวอีกว่า เรื่องที่ดิน ก็จะรอดูว่านโยบายการกระจายที่ดินนั้นจะถูกปฏิบัติอย่างไร สำเร็จหรือไม่ เพราะนโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดี ความเหลื่อมล้ำบ้านเรามีเยอะ เรื่องที่ดินเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญ ชาวบ้านตาดำๆ ที่ไม่มีที่ทำกิน กับ เศรษฐีที่ครองที่ดินมากมาย รัฐบาลจะทำอย่างไร ประชาชนจะเป็นผู้ติดตามดูแน่นอน การกระจายอำนาจ เพิ่มบทบาทการปกครองของการปกครองส่วนท้องถิ่น พูดกันมาเยอะช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ทั้งเรื่องการเลือกตั้งทุกระดับ ลดอำนาจรัฐบาล เพิ่มอำนาจท้องถิ่น อันนี้ใช่ แต่ในทางปฏิบัติ อยากให้ช่วยกวดขันจริงๆ จังๆ หน่อย เพราะดูงบประมาณที่รัฐบาลให้ไปมันน้อยกว่าภาระที่ได้รับ ไม่ใช่เอางบประมาณที่ต้องรับใช้ประชาชนไปซื้ออาวุธกันสนุกสนาน เอาให้มันจริงจัง การกระจายอำนาจที่กระจายงานไปท้องถิ่นนั้น งบประมาณก็ต้องตามไปด้วย 

 

“ข้องใจคำว่าเร่งด่วนของนโยบายรัฐบาลนั้น เสริมให้เราได้เข้าใจหน่อยว่า ภายในระยะเวลาเท่าไร เพราะหากไร้ซึ่งการระบุระยะเวลา คำว่าเร่งด่วน ก็ไม่มีความหมาย และมันจะประเมินผลไม่ได้ หรือว่าท่านกลัวการประเมินผล กลัวในเรื่องการตรวจสอบ อย่าไปกลัวเลยครับ ท่านทำได้ ประชาชนก็ตรวจสอบได้ มันเป็นเรื่องธรรมดาในวิถีทางประชาธิปไตย หรือว่าท่านยังไม่คุ้นชิน”

 


 

Key Messages: สมพงษ์นำฝ่ายค้านอภิปรายคนแรก ชี้ ครม. หน้าเดิม นโยบายเดิม แต่ล้มเหลว

 

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นำทีมฝ่ายค้านอภิปรายชำแหละนโยบายและคุณสมบัติของคณะรัฐมนตรีเป็นคนแรก ภายหลังการแถลงนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

 

และนี่คือ 5 ข้อสรุปสำคัญจากการอภิปรายของ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์

 

1. ประชาชนไม่ให้ความเชื่อมั่นรัฐบาลชุดนี้ เพราะได้ ครม. หน้าเดิม มาตรการเดิม ที่บริหารงานล้มเหลวในหลายด้านมาแล้วตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

2. พลเอก ประยุทธ์ และคณะรัฐมนตรีบางส่วนมีคุณสมบัติที่ขัดข้อกฎหมาย เช่น การเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบางคนมีคดีติดตัว

3. ยกนโยบายที่ล้มเหลว โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ ‘รวยกระจุก จนกระจาย’ คนรวยที่สุด 1% ครอบครองทรัพย์สิน 66.9% หนี้ครัวเรือนสูง เกิดภาวะขาดดุล เศรษฐกิจรั้งท้ายอาเซียน

4. ล้มเหลวในการจัดสรรงบประมาณ โดยเฉพาะงบกองทัพที่ใช้มากจนเกินความจำเป็น

5. ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะนำนโยบายไปทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ชี้เป็นประชาธิปไตยจอมปลอมแบบเผด็จการ

 

 


 

สมพงษ์ หัวหน้าเพื่อไทย เปิดฉากนำทีมฝ่ายค้านซักฟอกนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ บอกได้คนหน้าเดิมที่ทำล้มเหลวมาบริหาร

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นชี้แจงในหลายประเด็น ทั้งปัญหาภัยแล้งและปัญหาเศรษฐกิจ หลังถูกฝ่ายค้านอภิปรายจี้ตลอดวันแถลงนโยบาย 

 

และนี่คือ 6 ประเด็นที่คุณต้องรู้ผ่านการชี้แจงของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

นโยบายรัฐบาล

 

1. ปัญหาภัยแล้งเกิดจาก ‘น้ำไม่เพียงพอ’ และรัฐบาลแก้ไขมาตลอด ด้วยการติดต่อกับประเทศจีน-ลาว เพื่อให้ปล่อยน้ำจากเขื่อนสู่ไทย

 

2. รายได้ที่รัฐเก็บมา 2 ล้านล้านบาท จำเป็นต้องตั้งงบประมาณขาดดุลไว้ เผื่อไว้สำหรับกู้ หากจำเป็นต้องกู้ ก็จะทำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

3. รัฐบาลที่ผ่านมามีงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท แต่ทำไมไม่ทำให้เกิด ถนน รถไฟฟ้า อย่างที่รัฐบาลของตนได้ทำในวันนี้

 

4. หนี้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นหนี้ที่ ‘สร้างรายได้’ โดยเป็นการลงทุนร่วมรัฐบาล-เอกชน ไม่ใช่ดำเนินการโดยรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว

 

5. การที่กล่าวหาว่า ประเทศไทยมีการเติบโตทาง GDP น้อย ทุกคนต้องดูว่าฐานเศรษฐกิจเป็นแบบไหน ซึ่งเราเป็นแบบนี้มา 30 ปีแล้ว

 

6. ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา รัฐบาลได้มาเพียง 11% และคนเสียภาษีจริงมีแค่ 4% เท่านั้น

 


 

พรรคเพื่อไทย

 

เมื่อเวลา 11.55 น. สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส. เชียงใหม่ และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ว่าที่ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดฉากอภิปรายคนแรกหลัง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้แถลงนโยบายจบลง โดยระบุว่าไม่เชื่อมั่นในนโยบายของรัฐบาล จากการติดตามข่าวทั้งในประเทศ และต่างประเทศจะพบว่าประชาชนไม่ได้ให้ความเชื่อมั่นรัฐบาลชุดนี้เลย เพราะได้คนหน้าเดิม มาตรการเดิม ที่ทำงานล้มเหลวมาแล้วเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา หากได้บริหารประเทศต่อก็จะมีแต่ความมืดมน ล้มเหลว และนำประเทศไปสู่หายนะ หากรัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายโดยนำบุคคลที่ขาดความชอบธรรมและขาดความสามารถมาบริหาร

 

สมพงษ์กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมามีการออกกฎหมายห้ามรณรงค์ในระหว่างการทำประชามติรัฐธรรมนูญ มีการจับกุมประชาชน แต่ฝ่ายข้างคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ โดยตั้งครู ก. ครู ข. ขึ้นมา ร่างรัฐธรรมนูญมีการกำหนดให้มี ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง โดยสามารถที่จะร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ 

 

“ต่อมาวันดีคืนดี ตัวท่านนายกฯ ก็กลับมาเป็นแคนดิเดตนายกฯ ในพรรคที่รัฐมนตรีในรัฐบาลของท่านออกไปตั้งพรรคการเมือง” จากนั้นก็มีการตอบแทนผลประโยชน์กันในรูปแบบต่างๆ 

 

ในส่วนของคุณสมบัติรัฐมนตรีบางคนนั้น รัฐธรรมนูญมีความมุ่งหมายต้องการไม่ให้คนที่มีความผิดในคดียาเสพติดมาเล่นการเมืองตลอดชีวิต รวมถึงมีการระบุเรื่องจริยธรรมเอาไว้ด้วย 

 

“เพราะฉะนั้นการตั้ง ครม. ที่เกิดขึ้นนี้มันแปลกๆ ดูเหมือนไม่ใช่การปฏิรูปเลย พี่เป็นไม่ได้เอาน้องมา ภรรยาเป็นไม่ได้เอาสามีมา พ่อเป็นไม่ได้ก็เอาลูกมา มันพิลึกกึกกือ จึงอยากจะเรียนถามว่ามันคือการปฏิรูปการเมืองตรงไหน”

 

นายกฯ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง แต่ท่านเป็นหัวหน้า คสช. ที่มาจากพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ มีเงินเดือน มีอำนาจ หากใครไม่ปฏิบัติตามก็มีความผิด หากไม่ใช่เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ตรงนี้ตนจะไม่พูดต่อ แต่ข้อเท็จจริงได้ปรากฏอยู่

 

ปัญหาของเกษตรกรถูกปล่อยให้แก้ไขปัญหาด้วยตนเองมาด้วยตลอด คำพูดในนโยบายที่ระบุเป็นเพียงคำพูดที่สวยหรู ขาดความชัดเจนในการเข้าไปสู่เป้าหมายที่จะเข้าไปแก้ปัญหาเกษตรกรที่แท้จริง

 

ส่วนการปฏิรูปต่างๆ ที่ผ่านมาท่านออกมาตรา 44 จัดการกับนักการเมืองท้องถิ่นก็ไม่รู้ไปคุยกันยังไง ต่อมาก็ให้นักการเมืองท้องถิ่นเหล่านั้นสามารถกลับไปทำงานต่อ 

 

ขณะที่ความล้มเหลวของการใช้งบประมาณ โดยเฉพาะกองทัพ ตนรู้ว่ากองทัพต้องใช้งบประมาณเพื่อปกป้องประเทศและอธิปไตย แต่ประเทศก็มีความต้องการด้านอื่นเหมือนกัน ก็ไม่อยากให้มากจนเกินขอบเขต งบประมาณกองทัพต้องมีการปรับปรุงให้มีความเหมาะสม

 

สมพงษ์สรุปว่าตนไม่เห็นว่ารัฐบาลนี้จะมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำนโยบายไปทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนให้เจริญรุ่งเรืองได้ มีปัญหาความชอบธรรมในการเข้าสู่ตำแหน่ง ล้มเหลวในการบริหารประเทศ โกหกประชาชนและนานาชาติ บอกว่าจะนำเข้าสู่ประชาธิปไตย แต่ขณะนี้เป็นประชาธิปไตยจอมปลอมแบบเผด็จการ

 


 

ประยุทธ์แถลงนโยบายต่อสภาฯ ครั้งแรก ถูกประท้วงอ่านเอกสารข้ามเนื้อหาหลายครั้ง

 

นโยบายต่อสภาฯ

 

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส. พรรคเศรษฐกิจใหม่ ลุกขึ้นอภิปรายหลัง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

 

มิ่งขวัญกล่าวว่า ต้องการให้การแถลงนโยบายถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่นายกรัฐมนตรีได้อ่านข้ามย่อหน้าที่หนึ่งของการแถลงนโยบาย ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญที่สุด

 

เพราะคือพระบรมราชโองการประกาศให้เป็นนายกรัฐมนตรีและการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งคือการประกาศสถานภาพว่าท่านมาแถลงนโยบายในฐานะนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ให้เราไปคาดเดาเข้าใจกันเองว่าท่านมาพูดในสถานะอะไร รวมถึงการทำนโยบายที่แถลงได้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งการอ่านข้ามในส่วนนี้ถือเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะต้องประกาศสถานภาพนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีก่อนแถลงนโยบาย

 

พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวตอบชี้แจงว่า “อันที่จริงแล้วผมก็มือใหม่นะมือใหม่ แล้วอีกใจหนึ่งที่คิดตอนแรกที่ท่านทักท้วงว่า ทำไมไม่อ่าน เพราะผมคิดว่าเอกสารมันมีอยู่แล้ว ซึ่งผมยังไม่เข้าใจวิธีการตรงนี้ และขอขอบคุณในคำแนะนำของท่าน ผมเป็นรุ่นน้องในทางการเมืองของท่านทั้งหมดอยู่แล้ว”

 

จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้อ่านข้อความที่ตกหล่นไปตามที่มิ่งขวัญทักท้วง

 

ทั้งนี้ ในระหว่างการแถลงนโยบายของ พล.อ. ประยุทธ์ ได้ถูกฝ่ายค้านประท้วงหลายครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่คือ ประเด็นการอ่านข้ามเนื้อหา อ่านไม่ครบ ทำให้การบันทึกการประชุมอาจมีเนื้อหาไม่ตรงกับเอกสารที่แจกสมาชิกรัฐสภา โดยช่วงหนึ่ง พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส. เพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงว่า ท่านนายกฯ อ่านข้ามหน้า 14-15 รวมถึงการพูดนอกเรื่อง ไม่อ่านตามเอกสาร รวมถึงการพูดกับสมาชิกโดยตรงแทนการพูดผ่านประธานรัฐสภา

 


 

Key Messages: จับตากลยุทธ์ฝ่ายค้าน สู้ศึกแถลงนโยบายคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2

 

นโยบายคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2

 

1. ฝ่ายค้านเตรียม 78 ส.ส. อภิปรายหลังนายกฯ แถลงนโยบาย เน้นคุณสมบัติของรัฐมนตรี 10 คน รวม พล.อ. ประยุทธ์, พล.อ. ประวิตร, พล.อ. อนุพงษ์ และวิษณุ รวมถึงคดีค้างเก่าของ 4 รัฐมนตรี เช่น ร.อ. ธรรมนัส และอุตตม

 

2. ขอให้ พล.อ. ประยุทธ์ และคณะรัฐมนตรี อยู่ฟังการแถลงนโยบายให้นานที่สุด เพราะเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญของประเทศ

 

3. เตรียมใช้เวลาเต็มที่ 13 ชั่วโมงครึ่ง อาจลากยาวไปถึงวันที่ 27 กรกฎาคม โดยเริ่มจาก สมพงษ์ อมรวิวัฒน์, นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว และช่วงเย็น พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เตรียมอภิปราย 

 


 

นายกฯ ยิ้มแย้ม โชว์ลีลาแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ยืนยันประเทศต้องเดินแบบก้าวหน้า ออกตัวพูดเร็ว ให้อ่านเอกสารตาม

 

การประชุมรัฐสภาเพื่อแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา มี ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เริ่มแถลงนโยบายด้วยลีลาที่ไม่ธรรมดา มีการใช้คำพูดเชิงหยอกล้อ สร้างสีสันให้กับช่วงแรกของการแถลงนโยบาย 

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

พล.อ. ประยุทธ์ ระบุว่า “ผมคิดถึงพวกท่านมาโดยตลอด แม้ไม่ได้มาเจอ แต่ผมก็ดูโทรทัศน์ทุกวัน ผมก็จดประเด็นไว้ตลอด ว่าใครพูดอะไร แล้วก็นำข้อวิพากษ์วิจารณ์ ส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแก้ปัญหา วันนี้จึงถือเป็นเกียรติที่ได้มาพบปะทุกท่าน มาเสนอนโยบายในนาม ครม. ใหม่ ซึ่งเป็นนโยบายในกรอบกว้างๆ ต่อจากนี้จะรับฟังความคิดเห็นและนำไปทำเป็นแผนขั้นตอนการดำเนินการ ไม่ว่าพรรคการเมืองใดเสนอนโยบายเข้ามา ทุกอย่างเข้ามาอยู่ในนโยบายของคณะรัฐมนตรี ถ้าผมพูดเร็วไป ก็ขอให้เปิดเอกสารตามไปด้วย เพราะได้แจกล่วงหน้ามาแล้ว 3 วันแล้ว”

 

พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สังคมไทยต้องเดินหน้า คนไทยต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมรับกับศตวรรษที่ 21 มีใครไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้บ้าง หลายคนก็ยังไม่เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี วันนี้เราต้องยอมรับว่าอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน เราต้องสู้กับความยากจน ภัยคุกคามที่ไม่มีแบบแผน ความเหลื่อมล้ำ โดยต้องสร้างโอกาสให้ทุกคน เข้าถึงโอกาสได้อย่างเท่าเทียมกัน

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

ขณะที่ ส.ส. พรรคเพื่อไทย นำโดย จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส. กทม. และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. น่าน ได้ประท้วงการแถลงของ พล.อ. ประยุทธ์ โดยมีช่วงหนึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวแซว นพ.ชลน่าน ว่า “ดาวสภาอยู่แล้ว เชิญครับ” “ผมไม่ทะเลาะกับพวกท่านอยู่แล้ว เอาล่ะ ผมจะอ่านให้ฟัง อ่านภาษาไทยเนี่ยแหละ คุณเปิดหนังสือและอ่านตามผมไปด้วย” พล.อ. ประยุทธ์ กล่าว 

 

จากนั้น พล.อ. ประยุทธ์ จึงได้หยิบเอกสารนโยบายของคณะรัฐมนตรีเล่มสีน้ำเงินที่ส่งให้รัฐสภามาอ่านตามตัวอักษรต่อไป

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
 

 

09.45 น. นายกฯ ประยุทธ์ เริ่มแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หยอดคำหวาน “ผมคิดถึงท่านมาตลอด” เจอประท้วงจากฝ่ายค้านแล้ว

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

เวลา 09.45 น. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เริ่มต้นการแถลงนโยบายคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา โดยระบุว่า “ผมคิดถึงท่านมาโดยตลอด ถึงไม่ได้มาที่นี่ ก็จดไว้ทุกวัน พร้อมกับจดชื่อไว้ด้วย เพื่อจะได้ตอบให้ตรงประเด็น และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติ วันนี้ก็รู้สึกยินดีที่ได้มาพบกับพวกท่าน หลายคนเราก็คุ้นเคย วันนี้ก็มารับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ ยอมรับว่านโยบายก็จะกว้างๆ หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมไม่เป็นไปตามที่สัญญาไว้ แต่จริงๆ แล้วก็อยู่ในกล่องนี้ร่วมกันทั้งหมด”

 

จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายตามกรอบที่เอกสารได้แจกให้กับสมาชิกรัฐสภา ยืนยันว่า พร้อมที่จะรับฟังทุกเรื่อง ก้าวหน้า มั่นคง สังคมสงบเรียบร้อย สามัคคี เอื้ออาทร พร้อมถามว่า “ใครไม่เห็นด้วยกับผมตรงนี้บ้าง” ช่วงหนึ่ง นายกฯ เอ่ยขึ้นว่า “ใครประท้วงเหรอ?” ก่อนที่ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา จะบอกว่า “ท่านนายกฯ ท่านแถลงนโยบายตามเอกสารที่ยื่นมา”

 

เมื่อแถลงนโยบายได้ช่วงหนึ่ง จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย ประท้วงท่านนายกฯ ว่า ไม่ใช่ให้มาอภิปราย แต่ต้องแถลงนโยบายตามเอกสาร คือต้องอ่านเอกสารตามที่แถลง นายกรัฐมนตรีได้ตอบกลับว่า ยินดีที่จะแถลง โดยการอ่านเอกสารในฉบับภาษาไทย

 


 

09.30 น. เปิดประชุมรัฐสภา เตรียมแถลง ซักฟอกนโยบายรัฐบาลประยุทธ์สมัยที่ 2 แล้ว

 

ชวน หลีกภัย

 

บรรยากาศในห้องประชุมใหญ่ทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งถูกใช้เป็นที่ประชุมร่วมรัฐสภาชั่วคราวในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยคณะรัฐมนตรีทั้ง 36 คน จะนั่งบนเวทีไล่เรียงไปตามกระทรวง มีไมโครโฟนสำหรับลุกขึ้นชี้แจง ขณะที่พรรคฝ่ายค้านและรัฐบาล รวมถึงสมาชิกวุฒิสภา ได้ทยอยมาถึงอาคารประชุมแล้ว ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กดออดเรียกสมาชิกเพื่อเข้าห้องประชุม ซึ่งจะเริ่มในเวลา 09.30 น.

 


 

08.40 น. พล.อ. ประวิตร ถึงทีโอที สีหน้ายิ้มแย้ม ร่วมแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา

 

ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ประวิตร วงษ์สุวรรณ

 

เวลาประมาณ 08.40 น. ที่อาคารหอประชุมบริษัททีโอที จำกัด มหาชน พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาพร้อมคณะทำงาน เพื่อเข้าร่วมประชุมรัฐสภาในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม โดย พล.อ. ประวิตร มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ทักทาย ส.ส. พรรคพลังประชารัฐที่มาให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ก่อนจะเดินทางขึ้นลิฟต์ไปยังห้องประชุม

 

ประวิตร วงษ์สุวรรณ

 


 

09.20 น. เสรีพิศุทธ์เตรียมชำแหละ ครม. ขัดกฎหมาย บอกให้รอฟัง รับรองไม่เหมือนใคร

 

เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

 

พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส. พรรคเสรีรวมไทย ยืนยันความพร้อมในการอภิปรายรัฐมนตรีทั้งคณะ อยากให้ประชาชนรอดูว่า คณะรัฐมนตรีนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยจะมุ่งไปที่คุณสมบัติของคณะรัฐมนตรี

 

ขอให้รอฟังก็แล้วกัน โดยจะขึ้นอภิปรายเวลาประมาณ 19.00 น. รับรองที่ตัวเองพูดจะไม่เหมือนของคนอื่น

 


 

ประยุทธ์ไม่ตื่นเต้นวันแถลงนโยบาย บอก “ธรรมดา อยู่มา 5 ปีแล้ว”

 

ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

08.50 น. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เดินทางถึงรัฐสภาชั่วคราว สำนักงานทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อร่วมการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

 

นักข่าว: ท่านนายกฯ นอนหลับสบายดีไหม ตื่นเต้นหรือไม่

 

“ธรรมดา อยู่มา 5 ปีแล้ว” พล.อ. ประยุทธ์ ตอบ

 

การเดินทางมายังรัฐสภาของนายกรัฐมนตรีในวันนี้ ถือเป็นกลไกตามระบอบรัฐสภาที่กำหนดให้ฝ่ายบริหาร โดยคณะรัฐมนตรี ต้องแถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมก่อนบริหารราชการแผ่นดินอย่างเต็มรูปแบบ และ ถือว่าเป็นครั้งแรกของการเข้ามาสภา ภายหลังการเลือกตั้งและได้รัฐบาล

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising