×

POP Powerful Voices in Crisis: Digital Media

18.08.2021
  • LOADING...

หมวดที่ 5 ของ POP Powerful Voices in Crisis คือ ‘เสียง’ จากคนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ใช้ช่องทางหรือผลงานที่ตัวเองถนัด เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ตั้งคำถามแทนประชาชน ไปจนถึงช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนจากวิกฤตโควิด 

 

เริ่มตั้งแต่ Uninspired by current events และ ไข่แมวx นักวาดภาพประกอบที่ใช้สีสันและลายเส้นสร้างผลงานสะท้อนสังคมได้อย่างทรงพลังและเจ็บปวด, Drama-addict พื้นที่แห่งการถกเถียง ให้ข้อมูล ประสานความช่วยเหลือ และแหล่งรวมดราม่าที่ใหญ่ที่สุด

 

ผมอยู่ข้างหลังคุณ นายแพทย์เพจหนัง ที่ให้ความรู้เรื่องโควิดและวัคซีน, Poetry of Bitch เพจสรุปข้อมูลข่าวสารและดราม่าที่เข้าใจง่ายและรวดเร็ว, ไอซ์-รักชนก ศรีนอก ‘ดาวคลับเฮาส์’ ที่ใช้แพลตฟอร์มใหม่สร้างพื้นที่ให้ความรู้และถกเถียง

 

ฟลุ๊ค กะล่อน ที่ใช้พื้นที่โซเชียลมีเดียนอกจากนำเสนอความบันเทิง พูดคุยทุกแง่มุมของการเมืองที่สำคัญกับชีวิต, นารา เครปกะเทย เจ้าของคลิป ไม่รัก…เหมาหมด และพิมรี่พาย แม่ค้าออนไลน์อันดับหนึ่ง ที่ปากหนักใจถึง ขอช่วยคนที่เดือดร้อนอย่างเดียว ขอไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง 

 

รายชื่อทั้ง 10 เสียง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ ‘เสียง’ และการกระทำ จากคนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สร้างอิมแพ็กต่อสังคมในช่วงเวลาวิกฤต ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ตามที่ตัวเองถนัด เพื่อพูดแทนประชาชนอย่างกล้าหาญ และใช้ความสามารถที่ตัวเองมีช่วยเหลือผู้คนที่กำลังเดือดร้อนให้ได้มากที่สุด

 

THE STANDARD POP ขอบคุณอีกครั้ง แด่ทุก ‘พลัง’ จากทุกชีวิตที่ลงมือทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ให้ทุกคนผ่านวิกฤตอันเลวร้ายครั้งนี้ไปด้วยกัน

 

Digital Media / สื่อใหม่, เพจ, บล็อกเกอร์, ยูทูเบอร์ (9)

1. Uninspired by current events / Illustration การเมือง 

2. ไข่แมวx: cartooneggcatx / Illustration การเมือง 

3. Drama-addict / เพจเฟซบุ๊ก  

4. ผมอยู่ข้างหลังคุณ: IbehindYou / เพจเฟซบุ๊ก, นักเขียน    

5. Poetry of Bitch / เพจเฟซบุ๊ก   

6. ไอซ์-รักชนก ศรีนอก: Ice Rukchanok Srinok / เจ้าของแอ็กเคานต์ Rukchanok Srinok ทางแอปพลิเคชัน Clubhouse   

7. ฟลุ๊ค กะล่อน: Flukkaron / เน็ตไอดอล  

8. นารา เครปกะเทย (อนิวัติ ประทุมถิ่น): Nara Crepekatoeys (Aniwat Pratumtin) / ยูทูเบอร์ 

9. พิมรี่พาย: Pimrypie / ยูทูเบอร์ 

 


 

 

Digital Media: Uninspired by current events

 

ภาพลมทะเลที่โบกพัดผ้าปูโต๊ะปลิวว่อนจนเห็นโลงศพสีขาว เปรียบเทียบดั่งมื้ออาหารบนความตายของผู้คน ในยามที่ผู้บริหารบ้านเมืองทำตัวสบายๆ ในระหว่างเดินทางไปเปิดตัวโครงการ Phuket Sandbox คือผลงานที่มีชื่อว่า Sea Breeze ซึ่งมียอดไลก์ทาง Instagram ร่วมแสน ที่เห็นครั้งแรกก็สร้างอารมณ์ร่วมให้กับคนไทยที่กำลังเผชิญหน้าอยู่กับวิกฤตโควิดได้อย่างขมขื่นฝืนยิ้ม 

 

นี่คือตัวอย่างผลงานกราฟิกสามมิติที่เปิดกว้างให้คนตีความหาสัญญะที่ซุกซ่อนไว้ของ Uninspired by current events หรือ แก่น-สารัตถะ จึงเสถียรทรัพย์ นักออกแบบภาพสามมิติ ผู้นำความอัดอั้นใจต่อสถานการณ์บ้านเมืองมาสรรค์สร้างเป็นงานแบบเซอร์เรียลไร้กฎเกณฑ์ผสานกับโลกความจริงสวนทางกับชื่อเพจ

 

นอกจากฝีมือความเฉียบคมและความว่องไวของเขา สิ่งที่ทำให้หลายภาพกลายเป็นไวรัลในเวลาไม่นานคงเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ถูกถ่ายทอดแทนใจผู้คนได้อย่างดีโดยไม่ต้องตีความอะไรมากนัก เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างในภาพล้วนแล้วแต่พ่วงล้อไปกับบริบทของบ้านเมืองที่น่าหดหู่ลงทุกวัน

 

แต่ท่ามกลางความสิ้นหวังในช่วงวิกฤตโควิด เพจ Uninspired by current events ได้จุดประกายความหวังที่ว่า ยังคงมีพื้นที่ให้งานศิลปะถูกชื่นชม ให้คุณค่า และจะถูกแชร์ไปผ่านตาใครอีกหลายคนให้ลองหันมาฉุกคิดถึงความเหนือจริงที่กำลังเกิดขึ้นจริงในประเทศของเราได้ไม่มากก็น้อย

 

Digital Media: Uninspired by current events

 

A graphic art piece of a blowing tablecloth by the beach showing white coffins underneath depicted a pleasant meal of the country’s administrator in the opening event of Phuket Sandbox while people in the country are dying. The piece called ‘Sea Breeze’ has got almost 100,000 likes on Instagram because it made such an impression at first glance to Thai people who are painfully facing COVID pandemic.

 

This is one of the 3D graphic arts which asks viewers to interpret the hidden symbol. Uninspired by current events or Kaen Saratta Chuengsatiansup, a 3D designer, adapted his uneasy feeling about the current situation to create these ruleless surreal art pieces by merging them with the true events in the real world, opposing its own name. 

 

Besides his talent and speed, one thing that made his works suddenly go viral is the emotion that portrayed people’s mind well without any further interpretation as all compositions fit together perfectly along with the everyday’s depressing social context. 

 

In the middle of despair, Uninspired by current events has inspired our hopes that there is some space where art is valuable. These arts will be shared and popped up in front of many eyes so that they can be aware of the surreal we are facing in this country.

 


 

 

Social Media: ไข่แมวx

 

มีศิลปินมากมายที่ใช้ศิลปะเป็นพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิด เช่นเดียวกับเพจ ‘ไข่แมว’ ที่เกิดขึ้นมาหลังการรัฐประหารปี 2557 จากความคับข้องใจต่อเรื่องราวผิดปกติในประเทศไทย เขาจึงเลือกใช้ความถนัดของตัวเองมาถ่ายทอดประเด็นต่างๆ ผ่านภาพการ์ตูนไร้คำพูด ที่บันทึกบริบทความเป็นไปของสังคมและการเมืองไทยในยุคเผด็จการ 

 

แม้ยอดไลก์ครึ่งล้านของเพจเดิมจะปลิวหายไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากมีการเปิดเผยว่ารัฐบาล คสช. กำลังจับตามองความเคลื่อนไหวของเพจอยู่ แต่เพียงไม่นาน เพจไข่แมวก็กลับมาอีกครั้งด้วยชื่อ ไข่แมวx และยังคงส่งเสียงผ่านภาพการ์ตูนสี่ช่องที่จิกกัดสังคมและการเมืองได้อย่างเจ็บแสบมาเสมอ

 

ท่ามกลางวิกฤตการระบาดของโรคโควิด การ์ตูนตลกร้ายหลายๆ ภาพของไข่แมวx น่าหดหู่เสียจนความตลกเลือนหาย เหลือเพียงความจริงอันโหดร้ายจากเหตุการณ์จริง เมื่อจากการบริหารจัดการของภาครัฐยังไม่อาจบรรเทาให้ยอดผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตมีจำนวนลดน้อยลงในระดับที่น่าพอใจ ส่วนทางกับภาพของบุคคลาการทางการแพทย์ด่านหน้าที่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายอย่างบอบช้ำ ท่ามกลางการบริหารจัดการวัคซีนที่เต็มไปด้วยข้อครหา 

 

และนั่นทำให้บทบาทของของไข่แมวx ในวันนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่การเป็นเพจการ์ตูนยั่วล้อเผด็จการทหาร แต่การ์ตูนของเขายังพยายามจะถ่ายทอดและบอกเล่าความจริงอันขำขืนของประชาชนในช่วงเวลาวิกฤตได้อย่างน่าชื่นชม 

 

การทำงานของรัฐบาล ไม่ต่างอะไรกับช่วงเวลาก่อนหน้านี้เลย

 


 

 

Digital Media: Drama-addict

 

“ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่เคยดีใจที่เกิดการรัฐประหารตอนนั้น ขออภัยพ่อแม่พี่น้องอย่างเป็นทางการว่าจ่าก็เป็นคนหนึ่งที่ผลักกันคนละมือให้ประเทศชาติแม่งกลายมาเป็นอย่างทุกวันนี้ ป.ล. ถ่มถุยตามสะดวก สำนึกผิดนานแล้ว” 

 

ส่วนหนึ่งข้อความบนเพจ https://www.facebook.com/DramaAdd/ พร้อมกับ 140,000 ไลก์, 19,000 แชร์ และ 17,000 คอมเมนต์ ที่ทั้งเข้ามาแสดงความคิดเห็น ให้อภัย ไปจนถึง ‘ถ่มถุย’ ตามที่ วิทวัส ศิริประชัย หรือ จ่าพิชิต ขจัดพาลชน โพสต์เอาไว้เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2564 

 

คือหนึ่งในตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะมีหลายคนไม่ชอบ, วิพากษ์วิจารณ์, ตั้งคำถาม ไปจนถึงมองว่าตัว ‘จ่าพิชิต’ เองนี่แหละที่เป็นคนก่อ ‘ดราม่า’ ขึ้นมาเอง, น้อยครั้งที่จะออกมาขอโทษเพื่อทำผิด แถมยังลบคอมเมนต์เพื่อรักษาบรรยากาศอยู่บ่อยๆ แต่ Drama-addict คือเพจที่มีคนให้ความสนใจ เป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็นที่มีอิมแพ็กกับสังคมอย่างปฏิเสธไม่ได้ 

 

เมื่อ ‘เสียง’ ของเพจที่มีผู้ติดตามเกือบ 3 ล้านคน ส่งออกมาเพื่อตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ประเด็นเหล่านั้นจะถูกพูดถึงในวงที่กว้างมากขึ้นมาทันที ยกตัวอย่างจากโพสต์ที่ตั้งคำถามง่ายๆ ว่า “ขอทราบเหตุผลที่ยังสั่ง (วัคซีน) Sinovac มาเพิ่มหน่อย” แล้วมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากถึง 7,600 ครั้ง ภายในระยะเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง 

 

นอกจากนี้ จ่าพิชิตยังใช้พื้นที่ของตัวเองในการประชาสัมพันธ์ แชร์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤตโควิดด้วยอัตราความถี่รายชั่วโมง รวมทั้งเป็นหนึ่งในคนกลางทำงานช่วยประสานหาเตียงให้กับผู้ป่วยโควิดร่วมกับเพจต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด 

 

แน่นอนว่าในทุกๆ การเคลื่อนไหวของจ่าพิชิต ยังเป็นแหล่งรวม ‘ดราม่า’ ที่ผู้คนเข้าไปแสดงความคิดเห็น ระบายอารมณ์ ถกเถียง กันอย่างเข้นข้นเหมือนที่ผ่านมา เหมือนสโลแกนของเพจที่ว่า ‘เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า มีดราม่าเป็นเพื่อน’ 

 

ซึ่งเราคิดถึงเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้นว่าพื้นที่ที่เขาสร้างขึ้นมาจะกลายเป็น

 

‘เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ใช้ดราม่าขับเคลื่อนและช่วยเหลือสังคม’

 


 

 

Digital Media: ผมอยู่ข้างหลังคุณ (นพ.พีรพล ภัทรนุธาพร)

 

นพ.พีรพล ภัทรนุธาพร คือจิตแพทย์และนักเขียนผู้ใช้นามปากกา ‘ผมอยู่ข้างหลังคุณ’ ที่หยิบนำเรื่องราวเกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์มาบอกเล่าผ่านตัวหนังสือ เช่น โลกหมุนรอบกลัว หนังสือที่พาผู้อ่านเข้าไปสำรวจเรื่องราวของความกลัว และมักจะหยิบประเด็นที่น่าสนใจจากภาพยนตร์และซีรีส์หลายๆ เรื่องมาตีความให้ทุกคนได้ร่วมพูดคุยผ่านทางเฟสบุ๊กเพจ ‘ผมอยู่ข้างหลังคุณ’ และ Xspace

 

ขณะที่สถานการณ์โควิดกำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศไทย นพ.พีรพลได้เลือกใช้โซเชียลมีเดียของตัวเองในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับโควิดให้ผู้ติดตามได้อ่านและทำความเข้าใจอยู่เสมอ เช่น หยิบนำข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิดมาสรุปให้อ่านง่ายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน พร้อมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโควิด และการบริหารจัดการวัคซีนของภาครัฐ เพื่อส่งเสียงให้ภาครัฐได้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นและผลลัพธ์ที่อาจจะตามมาในอนาคต  

 

นอกจากเรื่องสถานการณ์โควิดและวัคซีน นพ.พีรพลยังคอยนำเสนอประเด็นการเมืองในด้านต่างๆ เช่น คำแนะนำเกี่ยวกับการพูดคุยประเด็นการเมืองภายในครอบครัวที่อาจจะมีความคิดและจุดยืนที่แตกต่างกัน รวมถึงร่วมส่งเสียงคัดค้านเกี่ยวกับประเด็นที่เจ้าหน้าที่รัฐเลือกใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุม และประเด็นที่ภาครัฐพยายามจะปิดกั้นเสรีภาพสื่อในการนำเสนอความจริง

 

นอกจากนี้ยังมีการหยิบนำประเด็นที่น่าสนใจจากภาพยนตร์และซีรีส์มาเชื่อมโยงเข้ากับประเด็นการเมืองในปัจจุบันอีกด้วย เช่น การหยิบนำเนื้อหาจาก The Boys ซีรีส์ซูเปอร์ฮีโร่ชื่อดังที่ว่าด้วยเรื่องราวการต่อสู้ระหวางกลุ่มซูเปอร์ฮีโร่ (ที่ไม่ได้เป็นคนดีเท่าไรนัก) และกลุ่มคนธรรมดาที่อยากจะแก้แค้นเหล่าฮีโร่ มาตีความเกี่ยวกับนิยามของคำว่า ‘คนดี’ ของเหล่าฮีโร่ที่คอยทำความดีเพื่อผลประโยชน์ 

 

ภาพ: IbehindYou / Facebook

อ้างอิง: 

 

Digital Media: I behind You (Dr.Peerapol Pattaranupaporn)

 

Dr.Peerapol Pattaranupaporn is a psychiatrist and a writer known as ‘I behind You’. He talked about human’s mind through his writings such as How to Survive Horror and Stressful Life, a book suggesting readers to explore the story of fear. He often brings up interesting issues from movies and series to interpret them with viewers via Facebook page ‘I behind You’ and Xspace.

 

While the coronavirus has been spreading severely in Thailand, Dr.Peerapol has always been using his social media to be a sharing space posting information about COVID. For example, he collected information about each vaccine and concluded it briefly to make it easier for readers to understand. Also, he stated his opinion towards the vigilant measures against COVID and the vaccine management of the government, so that he could speak up to urge the public sections to be aware of nearby problems and results that are coming afterwards.

 

Apart from COVID and vaccines, Dr.Peerapol has always been talking about politics in many aspects. For instance, he suggested the way to talk about politics in the family that has different thoughts and standing points. He also called out against how public officers brutally used violence to control the protestors and how the government tried to block the media and take away freedom of the press to report truthfully.

 

He once raised an interesting topic from movies and series to connect with current political issues. For example, he brought up the series ‘The Boys’, a popular superhero series talking about the fight between two groups. One is the superheroes (who are not such good people) and another is a group of ordinary people who want to take revenge on them, leaving viewers with a new definition of ‘good’ while the heroes are doing good things only for their own benefits. 

 


 

 

Digital Media: ไอซ์-รักชนก ศรีนอก

 

‘แมว หนังสือ การเมือง และเรื่องชาวบ้าน’ 

 

คือข้อความแนะนำตัวบน Facebook ที่ดูแล้วไม่ต่างอะไรจากการใช้ใช้โซเชียลมีเดียของคนรุ่นใหม่ตามปกติ 

 

แต่สิ่งที่ทำให้ ไอซ์-รักชนก ศรีนอก แตกต่างจากคนอื่นคือ การศึกษาหาข้อมูล คิด วิเคราะห์ แยกแยะ รวมทั้ง ‘ความกล้า’ ที่จะแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามกับทุกเรื่อง ทุกคน ที่เธอสงสัยอย่างตรงไปตรงมา 

 

หากมองว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้ง Facebook, Twitter, Instagram ฯลฯ คือป๊อปคัลเจอร์แห่งยุคสมัยใหม่ ‘เสียง’ ของ ไอซ์ ที่หลายคนยกให้เป็น ‘ดาวคลับเฮาส์’ คนแรกๆ ก็ต้องเป็นหนึ่งในเสียงสำคัญที่มีอิมแพ็กกับหลายๆ เรื่องในสังคม 

 

ไอซ์เริ่มเข้าไปใน Clubhouse เพราะความชอบเรื่องหนังสือ แล้วก็เริ่มเข้าไปอยู่ในห้องที่พูดคุยเรื่องการเมืองอย่าง ‘ประเทศไทย ประเทศที่ใครๆ ก็ต้องอิจฉา’ ของ ‘ศาสดา’ เปิดห้อง ‘เราจะมาชื่นชมรัฐบาลอย่างจริงใจ’, สวมบทเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในห้องสภาโจ๊ก, ชวนคุยเรื่อง ‘ตั๋วช้าง’ ไปจนถึงยกมือตั้งคำถามกับ Tony Woodsome 

 

หลังจากนั้นไอซ์ก็ยังใช้พื้นที่ Clubhouse #กลุ่มพลังคลับ ชวนคนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกประเด็นทางสังคม ตั้งแต่การศึกษา, สิ่งแวดล้อม, สวัสดิการประชาชน, การแสดงความคิดเห็นการทางเมืองของศิลปินดารา, ปัญหาเชิงโครงสร้าง, การปฏิรูปสถาบันฯ, การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน, การทำงานของทีมแพทย์, วิกฤตเตียงผู้ป่วย, วัคซีนที่ล่าช้า, การชุมนุมและสลายการชุมนุม ไปจนถึงสารพัดปัญหาของรัฐบาลในการจัดการวิกฤตโควิด ที่เปิดห้องพูดคุยกี่รอบก็ไม่มีวันจบ

 

จุดเด่นของไอซ์ในฐานะ Moderator คือทักษะตั้งคำถาม สรุปประเด็น ควบคุมเวลาของสปีกเกอร์ที่ขึ้นมาพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรับฟังทุกๆ ความคิดเห็นอย่างตั้งใจ และผลักดันการพูดคุยแต่ละครั้งให้มีประโยชน์สูงสุด จนหลายคนเชื่อว่าถ้าเห็นห้องไหนมีแอ็กเคานต์ที่ชื่อ Rukchanok Srinork ขึ้นมา เราจะได้ประโยชน์จากบทสนทนานั้นแน่นอน 

 

Digital Media: Ice Rukchanok Srinok

 

“Cats, books, politics, and other people’s business”

 

That is a bio on Facebook which seems like other ordinary social media sites.

 

What makes Ice Rukchanok Srinok different from others is the way he seeks for information, think, analyze, ‘boldly’ express her opinion, and dare to question everything and everyone straightforwardly.

 

If social media platforms like Facebook, Twitter, Instagram, etc. are pop culture of the generation, the ‘voice’ of Ice, the early Clubhouse’s celebrity, is one of the most significant voices which has an impact on various issues in the society.

 

Ice joined Clubhouse because of his love for books. Then, he started to join the room which talked about politics in ‘Thailand, the land where other people are jealous of’ by ‘Sasada’. Additionally, he created a room ‘We will sincerely praise the government’. Ice used to join a parliament roleplay as Thailand’s woman former prime minister Yingluck Shinawatra, started a conversation about ‘Elephant Ticket’, or even raised her hand in the room to ask Tony Woodsome. 

 

Furthermore, Ice used the space in Clubhouse #กลุ่มพลังคลับ to exchange opinions towards social issues such as education, environment, people welfare, celebrities’ callout, structural problems, monarchy reform, media broadcast, medical works, insufficient bed, late vaccine collocation, protest and the violent disband, and other problems from the government’s pandemic management which can expand the talk to go on and on.

 

The outstanding point of Ice as a moderator is his way to make questions, summarize, control the speaker’s time well, listen to every opinion carefully, and make the best out of every talk. It can be assured that if there is an account named Rukchanok Srinork in the room, it will be such a worth listening talk.

 


 

 

Digital Media: ฟลุ๊ค กะล่อน

 

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ฟลุ๊ค กะล่อน อาจเป็นชื่อของเน็ตไอดอลที่ผู้คนคุ้นเคยต่อเสียงตำหนิติติงเรื่องการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งเขาเริ่มทำช่อง Youtube ในชื่อ โลกของคนมีหนวด แล้วก้าวเดินเติบโตจนกลายมาเป็นยูทูเบอร์ที่ปัจจุบันมีผู้ติดตามมากถึง 1.15 ล้านคน

 

ฟลุ๊ค-ธรรณพ แสงโอสถ ในวัย 24 ปี ใช้พื้นที่ของตัวเองท่ามกลางคอนเทนต์บันเทิงและความงามในการพูดถึงประเด็นสังคมและการเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมให้ทุกคนมั่นใจในตัวเอง ก้าวข้ามมาตรฐานความงามที่สังคมกำหนด ความหลากหลายทางเพศ รณรงค์สมรสเท่าเทียม สวัสดิการรัฐ การศึกษาไทย ฯลฯ 

 

ฟลุ๊คบอกว่าการที่มีตนเองผู้ติดตามอายุน้อยจำนวนมาก ยิ่งทำให้การออกมาพูดถึงประเด็นเหล่านี้จะกลายเป็นกระบอกเสียงที่ดีให้เด็กรุ่นใหม่ได้รับรู้ว่า คนรุ่นนี้กำลังทำเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนรุ่นถัดไปอยู่

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางวิกฤตขณะนี้ที่ประชาชนไม่ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง ที่ตรวจโควิดราคาสูง เตียงรองรับผู้ป่วยมีไม่เพียงพอ ไปจนถึงการมีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตอยู่ข้างถนน ทั้งหมดนี้คือความล้มเหลวที่ทำให้ฟลุ๊คยืนหยัดที่จะส่งเสียงและออกมาเน้นย้ำว่าประชาชนและสื่อมวลชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ โดยที่รัฐบาลไม่มีสิทธิมาปิดกั้นการแสดงออกอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย

 

Digital Media: Flukkaron 

 

Many years ago, Flukkaron might only be a name of a net idol whom people often complained about her inappropriate behaviors. Nowadays, he has a Youtube channel named ‘โลกของคนมีหนวด’ (a person with moustache’s world) and he has grown as a youtuber with more than 1.15 million followers.

 

Fluk-Thannop Sangosod in the age of 24 used his space full of entertainment and beauty content to talk about social and political issues. Fluke supported everyone to have self confidence and step over the definite beauty standard. Moreover, she spoke up for gender diversity, equal marriage rights, state welfare, education, etc.

 

Fluk said that the bigger number of young followers she got, the more efficient her voice was. Her callout would be a proof to pass the message along to new generations that this generation is working on the future and the better quality of life for them.

 

In the crisis when vaccines are not enough for everyone, self-test kit is expensive, beds for patients are insufficient, and infected people are dying on the street, Fluk has insisted to voice these failure and repeat that people and media can express their speech freely in democracy and the government has no rights to shut people up.

 


 

 

Digital Media: นารา เครปกะเทย (อนิวัติ ประทุมถิ่น)

 

“แม่รักประยุทธ์ไหม ไม่รักใช่ไหม หนูเหมาหมด!” 

 

จุดเริ่มต้นจากความตลกในคลิปขายเครป ‘แอ๊ว’ ผู้ชาย ที่เต็มไปด้วยสีสัน จังหวะสนุกสนาน สร้างเสียงหัวเราะ จน อนิวัต ประทุมถิ่น หรือ นารา เครปกะเทย  เริ่มเป็นที่รู้จัก

 

หลังจากนั้นนาราก็กลายเป็นยูทูเบอร์ที่มีคนติดตามมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านคอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ที่ชวนเพื่อนๆ ไปทำกิจกรรมตลกๆ แต่บางครั้งก็ถูกตั้งคำถามด้านภาษาที่ใช้ ความเหมาะสม ไปจนถึงกรณีการรับเงินสนับสนุนจากเว็บไซต์พนันออนไลน์ (นาราได้ออกมาขอโทษ ทำรายการสัมภาษณ์คนที่ถูกเว็บไซต์พนันทำลายชีวิตเพื่อเตือนคนอื่นๆ) 

 

กระทั่งมาถึงช่วงที่สถานการณ์โควิดเข้าขั้นวิกฤต นาราเริ่มเปลี่ยนคอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ที่เคยนำเสนอ เป็นการไปเดินจ่ายตลาดพร้อมกับตั้งคำถามง่ายๆ กับพ่อแม่ค้าในตลาดว่า “รักประยุทธ์ไหม?” ถ้าร้านไหนไม่รัก นาราจะเหมาของที่เหลือทั้งหมด ก่อนจะนำอาหารไปแจกจ่ายให้กับคนอื่นๆ จนกลายเป็นคลิปไวรัลที่มีคนพูดถึงจำนวนมาก 

 

ถ้ามองข้ามความสนุกในคลิป เราจะพบว่านี่ไม่ใช่คอนเทนต์ที่ทำเพื่อความสะใจอย่างเดียว แต่เป็นคอนเทนต์ที่ตั้งคำถามกับความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล ตั้งคำถามกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ รวมถึงการพาไปดูตลาดที่เงียบเหงา สินค้าเหลือเต็มแผง ก็เป็นภาพสะท้อนเรื่องเศรษฐกิจที่กำลังแย่ได้เป็นอย่างดี 

 

นอกจากคอนเทนต์จ่ายตลาด ล่าสุดนาราได้เริ่มทำคอนเทนต์ที่เธอเริ่มสร้างศูนย์พักคอยโดยประชาชน, โรงครัวเพื่อประชาชน ไปจนถึงคลิปแจกข้าว 1 เดือน แทนรัฐบาล ที่ไม่ใช่แค่ให้ความช่วยเหลือ แต่เป็นการส่ง ‘เสียง’ ครั้งสำคัญอีกครั้งว่า 

 

รัฐบาลกำลังทำอะไรอยู่ ประชาชนถึงต้องมาดูแลและช่วยเหลือกันเองขนาดนี้!

 

Digital Media: Nara Crepekatoeys (Aniwat Pratumtin) 

 

“Do you love Prayut? No? I’ll buy all of that!”

 

It all began with the fun in the video where she ‘flirted’ while selling crepes. Since that time, people started to recognize Aniwat Pratumtin or Nara Crepekatoeys.

 

After that video, Nara became a youtuber with more and more followers via her funny lifestyle contents. However, some people felt uncomfortable with her inappropriate language, moreover, her latest case when Nara received supportive money from an online casino site (Nara gave an apology to her viewers and created a clip interviewing people whose lives were destroyed by gambling).

 

As the pandemic situation got worse, Nara changed her old content style to a new one where she went grocery shopping in a local market and asked the vendors if they ‘loved Prayut’. Once they said no, Nara would buy all the goods they were selling, then gave them away to other people. When this video was uploaded, it went viral online and became one of the most mentioned videos.

 

Besides the fun inside, we found that this video was not only made for entertaining, but also for questioning people’s trust in government, current situation, and the worst economic situation where markets were full of products while there’s no customers to buy.  

 

Aside from grocery shopping content, Nara has recently started a new content where she built people’s community isolation and people’s kitchen. In another video, Nara cooked free meals to give away for one month, not only to state that there is no help from the government, but also speak out that 

 

What is the government doing right now and why are there only people who help each other at the moment?

 


 

 

Digital Media: พิมรี่พาย-พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์

 

“เป็นแม่ค้ามาตลอดชีวิต…แต่สิ่งหนึ่งที่จะไม่ทำคือ ค้าขายบนความตายของคน เขาออกมาพูดกันขนาดนี้ แทนที่จะฟัง กลับมองเป็นศัตรู” 

 

หนึ่งในข้อความจาก พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ หรือพิมพี่ราย ‘แม่ค้า’ ออนไลน์ที่ขายของแทบทุกอย่างตั้งแต่น้ำปลาร้ายันน้ำหอม พร้อมกับบทบาทศิลปินเจ้าของเพลง อย่านะคะ ที่มียอดวิวสูงถึง 52 ล้านครั้ง 

 

ถึงแม้จะยืนยันอยู่หลายครั้งว่าเธอขอทำหน้าที่ตัวเองต่อไป ช่วยเหลือผู้คนเท่าที่ทำได้โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง แต่ในเมื่อทุกอย่างเชื่อมโยงกันไปหมด ทำให้หลายครั้งเธอถูกโยงเข้าดราม่าประเด็นต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

 

นอกจากบทบาทแม่ค้าออนไลน์อันดับหนึ่งที่มีคนจำนวนหลักหมื่นถึงแสนเข้าไปดูเธอไลฟ์ขายของ บางคนตั้งใจเข้าไปซื้อของ บางคนรู้สึกว่าแค่ได้เข้าไปมองลีลาการขายของที่เป็นเอกลักษณ์ก็นับว่าเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่งในชีวิตแล้ว  

 

พิมรี่พายยังโดดเด่นมากๆ ในเรื่องการทำคอนเทนต์ช่วยเหลือคนเดือดร้อนในหลายๆ พื้นที่ที่ไม่มีคนสนใจ (เช่นเดียวกับที่มีคนตั้งคำถามกับการช่วยเหลือของเธอด้วยเหมือนกัน) ตั้งแต่สร้างแผงโซลาร์เซลล์ให้คนบนดอย, ติดหลอดไฟให้คนในชุมชนคลองเตย, ให้ความช่วยเหลือชุมนุมผู้พิการทางการได้ยินให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ฯลฯ รวมทั้งบรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่รายได้ลดลงจากพิษเศรษฐกิจ ที่ ‘แม่ค้า’ อย่างเธอเข้าใจเรื่องนี้ยิ่งกว่าใคร 

 

ในช่วงสถานการณ์โควิดเข้าขั้นวิกฤต พิมรี่พายลงพื้นที่สร้างโรงพยาบาลสนามจำนวน 50 เตียง พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี, ส่ง ‘กล่องกำลังใจ’ บรรจุอาหารสำเร็จรูปเพื่อประทังชีวิต ให้คนที่เดือดร้อนเพราะวิกฤตครั้งนี้มากกว่า 30,000 กล่อง 

 

เคยออกมาบอกในไลฟ์ว่า พยายามติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการสร้างโรงพยาบาลสนามให้ชุมชนคลองเตยอยูหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ มาจนถึงกรณีล่าสุดที่พิมรี่พายพยายามช่วยเหลือด้วยการไลฟ์ขายน้ำแร่ (ขวดละ 120 บาท) ‘แถม’ ชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit 

 

หลังจากมีคำสั่งออกมาว่าช่องทางจำหน่ายชุดตรวจ ATK ต้องเป็นสถานพยาบาล คลินิกเวชกรรม คลินิกเทคนิคการแพทย์ และร้านขายยาที่มีเภสัชกรเท่านั้น ไม่สามารถขายทางออนไลน์ได้ 

 

ซึ่งกรณีดังกล่าวดังต้องรอคำชี้แจงอย่างเป็นทางการว่าความพยายามของเธอนั้นขัดกับหลักกฎหมายหรือเปล่า รวมทั้งยังมีหลายคนตั้งคำถามกับการช่วยเหลือหลายๆ ครั้งของเธอว่าหวังผลทางการตลาดหรือไม่ อย่างไร 

 

แต่สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ทุกๆ คำพูด ทุกๆ การกระทำ ทุกๆ ความช่วยเหลือของพิมรี่พายนั้น เป็นอีกหนึ่งเสียงที่สร้างอิมแพ็กต์ให้กับสังคมในวงกว้างได้จริงๆ 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X