×

POP Powerful Voices In Crisis: Artists 1

18.08.2021
  • LOADING...
POP Powerful Voices In Crisis: Artists

หมวดที่ 6 ของ POP Powerful Voices in Crisis คือพาร์ตแรกของศิลปินที่นอกจากสร้างสรรค์ศิลปะในวงการบันเทิงแล้ว ยังใช้ทั้ง ‘พลัง’ และ ‘เสียง’ ของตัวเองพูดแทนสิ่งที่ประชาชนหลายคนรู้สึก หรือสิ่งที่บางคนเคยพูดแต่ไม่ได้รับความสนใจ ตามแนวทางที่ตัวเองถนัด 

 

ซึ่งมีทั้งลงมือทำ ให้ความรู้ เปิดโหมดด่า นำเสนอผ่านงานศิลปะ เพื่อส่งข้อความออกไปให้รัฐบาลและทุกคนที่มีส่วนต้องรับผิดชอบกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ยิน 

 

รายชื่อพาร์ตแรกประกอบด้วย ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ, โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ, หมิว-สิริลภัส กองตระการ, ป้อง-ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์, เต-ตะวัน วิหครัตน์, เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, โฟกัส จีระกุล, ตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย, ก้อง ห้วยไร่, เล็ก-อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร, วง H 3 F, วง Safeplanet และ หมอริท-เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช 

 

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ ‘เสียง’ และการกระทำจากคนในวงการบันเทิงสาขาต่างๆ ที่สร้างอิมแพ็กต่อสังคมในช่วงเวลาวิกฤต ยังมีคนบันเทิงอีกจำนวนมากที่ส่งเสียงแทนประชาชนในรูปแบบที่ตัวเองถนัด เพื่อพูดแทนประชาชนอย่างกล้าหาญ และใช้ความสามารถที่ตัวเองมีช่วยเหลือผู้คนที่กำลังเดือดร้อนให้ได้มากที่สุด

 

THE STANDARD POP ขอบคุณอีกครั้งแด่ทุก ‘พลัง’ จากทุกชีวิตที่ลงมือทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ให้ทุกคนผ่านวิกฤตอันเลวร้ายครั้งนี้ไปด้วยกัน

 

Artists / ศิลปิน, นักร้อง, นักแสดง, คนบันเทิง, ผู้กำกับ (26)  

  1. ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ: Dai-Diana Jongjintanakarn / นักแสดง, พิธีกร 
  2. โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ: Ohm-Panthapol Prasarnrajkit / นักร้องนำวง  Cocktail 
  3. หมิว-สิริลภัส กองตระการ: Mew-Sirilapas Kongtrakarn / นักแสดง
  4. ป้อง-ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์: Pong-Nawat Kulrattanarak / นักแสดง
  5. เต-ตะวัน วิหครัตน์: Tay-Tawan Vihokratana / นักแสดง
  6. เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล: Jei-Apichatpong Weerasethakul / ผู้กำกับภาพยนตร์  
  7. โฟกัส จีระกุล: Focus Jeerakul / นักแสดง 
  8. ตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย: Tul-Pakorn Thanasrivanitchai / นักแสดง   
  9. ก้อง ห้วยไร่: Kong Huayrai / นักร้อง 
  10. เล็ก-อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร (Greasy Cafe): Lek-Apichai Tragoolpadetgrai / นักร้อง, นักแต่งเพลง, ช่างภาพ   
  11. H 3 F / วงดนตรี 
  12. Safeplanet / วงดนตรี   
  13. หมอริท-เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช: Ritz-Rueangrit Siriphanit / นักร้อง, นักแสดง, ยูทูเบอร์, แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง เจ้าของ THE RITZ CLINIC

 


 

ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ

 

Artist: ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ 

 

ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ คือนักแสดงและพิธีกรหญิงมากความสามารถที่ทุกคนรู้จักเธอเป็นอย่างดีจากรายการ Iron Chef Thailand และ The Next Iron Chef แต่ในเวลานี้ เวลาที่สถานการณ์โควิดกำลังส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างหนัก ได๋ได้ผันตัวมาเป็นจิตอาสาผ่านการเปิดเพจเฟซบุ๊ก เราต้องรอด เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโควิดที่กำลังรอเตียงในด้านต่างๆ เช่น ช่วยประสานงานให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาต่อไป โดยจะมีทีมแพทย์และพยาบาลจิตอาสาคอยให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยผ่านทาง LINE OA 

 

รวมถึงเปิดรับบริจาคอุปกรณ์ป้องกัน เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องวัดออกซิเจน และสิ่งของจำเป็น เพื่อใช้สำหรับทีมอาสาที่จะคอยลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยังรอเตียงอยู่ที่บ้าน โดยจะนำเครื่องผลิตออกซิเจนมาช่วยประคองอาการให้กับผู้ป่วยอาการหนัก พร้อมมอบยาและให้คำแนะนำการดูแลตัวเองเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน

 

นอกจากนี้ได๋และกลุ่มจิตอาสาเราต้องรอด ยังได้ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด เช่น Back Home โครงการที่เราต้องรอดได้ร่วมมือกับทาง หมอแล็บแพนด้า, สรยุทธ สุทัศนะจินดา และ ตัน ภาสกรนที เพื่อช่วยประสานงานให้กับผู้ป่วยที่มีความต้องการกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิดได้เดินทางเข้ารับรักษาที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามในจังหวัดบ้านเกิดของตัวเองอย่างปลอดภัย

 

รวมถึงจัดโครงการที่เปิดให้ตัวแทนชุมชนต่างๆ ได้ลงทะเบียนเพื่อขออาหารให้ผู้ป่วยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดในชุมชน โดยเราต้องรอดจะติดต่อกับร้านอาหารที่ร่วมโครงการเพื่อส่งอาหารให้กับคนในชุมชน พร้อมเปิดรับบริจาคและโอนค่าอาหารเพื่อช่วยเหลือร้านอาหารที่ขาดรายได้

 

ไม่เพียงเท่านั้น ได๋ยังได้ร่วมมือกับกลุ่มจิตอาสาและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการสร้างศูนย์พักคอยจำนวน 4 แห่ง เพื่อใช้สำหรับพาผู้ป่วยมาเข้าพักระหว่างรอเตียง และแยกผู้ป่วยออกมาจากครอบครัวหรือชุมชนเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น

 

Artist: Dai Diana Jongjintanakarn

 

Dai Diana Jongjintanakarn is a talented actress and show host who is well-recognized from ‘Iron Chef Thailand’ and ‘The Next Iron Chef’. When the pandemic has cruelly affected people’s lives, she became one of the volunteers in the Facebook page ‘Savethailandsafein order to help infected patients who wait for help. They help patients to access medical treatment by providing volunteer doctors and nurses to give advice via LINE OA.

 

Moreover, they open a donation for protective equipment, oxygen concentrators, pulse oximeters, and other necessary things. These donated stuff would be used by on-site teams to help patients who wait for help at home. The oxygen concentrators are for curing patients with critical conditions. For home isolation patients, they recieve medicines and primary advice to take care of themselves at home.

 

In addition, Dai and Savethailandsafe volunteering group has started many projects for those who got affected by COVID-19 situation. For example, ‘Back Home’ is the collaboration project between Savethailandsafe and Morlabpanda, Sorayuth Suthassanachinda, and Tan Passakornnatee. This project intends to cooperate for patients who want to get a treatment in their hometown to be able to get a remedy in their local hospital or field hospital safely.

 

Furthermore, they arranged a project letting a representative from each community to register for free food for infected patients and those who got affected by COVID-19. Savethailandsafe collaborated with food shops to deliver food to people in the community and opened a donation to help food sellers which lack income.

 

Lastly, they joined with other volunteering groups and organizations to build 4 community isolations in order to be a shelter for patients who wait for treatment and to separate them from their families and communities to prevent new cases. 

 


 

 

Artist: โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ

 

ภาพที่หลายคนคุ้ยเคย โอมคือคนแต่งเนื้อร้องและนักร้องนำวง Cocktail และยังมีอีกบทบาทหนึ่งคือเป็นผู้บริหาร Gene Lab ค่ายเพลงน้องใหม่ที่ใช้เวลาไม่นานและสามารถสร้างศิลปินอย่าง Tilly Birds, Three Man Down, Taitosmith ฯลฯ ที่มีผลงานฮิต เป็นขวัญใจของนักฟังเพลงรุ่นใหม่และเก่าได้ในเวลาอันรวดเร็ว 

 

นอกจากเนื้อเพลงและดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวง Gene Lab ภายใต้การบริหารงานของโอมยังโดดเด่นเรื่องการใช้ ‘เสียง’ แสดงความคิดเห็นทางการเมืองและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลให้เห็นอย่างต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งตัววง Cocktail เองก็เพิ่งปล่อยเพลง อภิสิทธิ์ชน พูดถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมผ่านการแซงคิวของ ‘คนบางกลุ่ม’ ที่รวมถึงการฉีดวัคซีน ออกมาในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา 

 

และเมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มศิลปินและนักดนตรีกลางคืนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด แต่แทบไม่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐเลย โอมก็เป็นหนึ่งในตัวแทนชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทย เข้าไปยื่นหนังสือ 8 ข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 

 

รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมจัดงาน ‘เปิดหมวกเฟสติวัล’ เทศกาลดนตรีออนไลน์ที่ช่วยเยียวยานักดนตรีมากกว่า 800 วงที่ส่งคลิปการแสดงดนตรีเข้ามาร่วมกิจกรรม พร้อมกับแนวความคิดถึงภาวะถูก ‘ปิดหูปิดตา’ ในรายการ POP Live ที่บอกว่า ประตูบานใหม่ได้เปิดขึ้นแล้ว และจะไม่มีวันถูกปิดอีกต่อไป

 

“เราอยู่ในภาวะที่โดนปิดหู ปิดตา ปิดปาก ปิดจมูก แต่กระนั้นแล้วผู้ที่ปิดอวัยวะเหล่านั้นของเราเขาไม่ทราบว่าเขาไม่มีทางเอื้อมมือหรือเครื่องมือต่างๆ เข้ามาปิดสมอง ความคิด และสติปัญญาของเราได้

 

“เขาอาจจะไม่รู้ว่าเขาทำให้เรามีเวลาได้ทบทวนความคิด ได้มีเวลาตื่นรู้ เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างมากยิ่งขึ้น ผมว่าการปิดครั้งนี้ได้เปิดประตูอีกหลายบานที่ไม่อาจปิดได้อีกต่อไปแล้ว มันเปิดแล้ว และมันจะเปิดต่อไป”

 

ซึ่งเราก็เชื่อเหลือเกินว่า ด้วยความสามัคคี ร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจกัน ของกลุ่มคนดนตรีด้วยกัน จะทำให้ทุกคนยังพอมีกำลัง มีพลังใจ เพื่อรอให้ประตูบานที่ถูก ‘ปิด’ ในวันนี้ ‘เปิดขึ้น’ อีกครั้ง พร้อมกับ ‘เสียงดนตรี’ ที่กลับมามีชีวิต เพื่อสร้างความสุขและเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้คนต่อไป

 

Artist / Ohm-Panthapol Prasarnrajkit

Frequently noticed as a songwriter and a lead vocal of ‘Cocktail’, Ohm has another role as an executive of ‘Gene Lab’, the junior record label which created numbers of popular artists such as Tilly Bird, Three Man Down, Taitosmith, etc. who grab all-age listeners’ attention in a short period of time.

 

Besides the artists’ unique music and lyrics, ‘Gene Lab’ under Ohm’s management is outstanding by how their artists use their ‘voices’ to constantly express their political opinions and criticise Thai government. Moreover, his own band ‘Cocktail’ just released the song ‘A Bhi Sit Chon’ talking about inequality in society through the line jumping event of ‘someones’ who want to get vaccinated, which is based on a true story that occured in July.

 

When artists, musicians, and singers who got affected by COVID-19 outbreak were united to call out for compensation from Thai government, Ohm was one of the representatives of Musician and Crew Association of Thailand (MCAT) to submit their eight requirements to the government and stakeholders.

 

Moreover, Ohm was one of the organizers who held ‘Open Hat Festival’, the online music festival which provided showing space for more than 800 music bands to send in their performances. With the concept ‘eyes and ears being covered’, it was stated in POP Live show that the new gate was opened and it would never be shut anymore.

 

“Our ears, eyes, mouths, and noses are being covered. However, those who are covering our parts don’t know that they will never reach or use any tools to cover our brains and wisdoms. They may not know that they gave us time to think, awake, and learn many things. I think this shut has opened many other unclosable gates. They have already opened and they will continue opening.” 

 

With unity the artists hold in their actions and spirits, we believe that they will be able to carry on and wait for the ‘closed’ gate to ‘reopen’ with the ‘music’ that comes back to life in order to keep creating happiness and being the voices for the people.

 


 

 

Artists: หมิว-สิริลภัส กองตระการ

 

“อีดาราปากแจ๋ว งานอดิเรกคือเป็นเครื่องด่ารัฐบาล และเทพีแห่งสงครามกับสลิ่มและไอโอ” 

 

ข้อความระบุตัวตนในแอ็กเคานต์ทวิตเตอร์ @mew_sirilapas ที่บอกความเป็น หมิว-สิริลภัส กองตระการ อย่างกระชับ ได้ใจความ บ่งบอกถึงการกระทำและ ‘เสียง’ ที่เธอส่งออกมาได้ดีที่สุด 

 

หมิว เข้าสู่วงการบันเทิงจากเวทีนางงาม มิสทีนไทยแลนด์ ปี 2546 และ มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ปี 2552 เริ่มต้นบทบาทนักแสดงสังกัดช่อง 7 เปิดตัวด้วยผลงานละคร นักฆ่าขนตางอน และ เพลงรักทะเลใต้ ในปี 2553 

 

หลังจากนั้นหมิวกลายเป็นหนึ่งในนักแสดงที่มีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี โดยเฉพาะในปี 2561 มีที่ผลงานละครออกมาถึง 5 เรื่อง รวมทั้งการพิธีกรรายการ หมอชิตติดจอ, เส้นทางบันเทิง และ ปลดหนี้พลิกชีวิต ฯลฯ

 

จนกระทั่งสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยเริ่มทวีความเข้มข้น การรวมกลุ่มของผู้ชุมนุม การเสนอ ‘ข้อเรียกร้อง’ ต่อรัฐบาลกลายเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกคนพูดถึง หมิวก็ยังยืนอยู่หน้ากล้องทำหน้าที่ในวงการบันเทิงอย่างตั้งใจ 

 

พร้อมกับอีกบทบาทใหม่ในการใช้ ‘เสียง’ เพื่อต่อต้านการสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงของรัฐบาลด้วยความตั้งใจไม่แพ้กัน ที่หลายครั้งที่หมิวคอยขับรถรับส่งผู้ชุมนุมที่เดือดร้อนจากการสลายการชุมนุมด้วยตัวเอง 

 

หลายครั้งเราจะเห็นหมิวอยู่ในห้อง Clubhouse ร่วมกับเพื่อนๆ กลุ่ม ‘ภาคีศิลปิน’ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน รวมถึงชวนกันตั้งคำถามว่า ศิลปินดาราสามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้หรือไม่

 

และคำตอบนั้นก็เริ่มปรากฏ เมื่อหมิวถูกสั่ง ‘พักงาน’ เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม แต่เธอก็ยังเดินหน้า Call Out ส่งเสียงอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา (หลายครั้งก็แปลงร่างเป็นเครื่องด่า) ก่อนจะถูกคำสั่ง ‘ปลดฟ้าผ่า’ ต้องยุติสัญญากับต้นสังกัด แต่เธอยังยืนยันว่าใช้เสียงในทุกช่องทางเพื่อวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลต่อไป โดยเฉพาะเรื่องวิกฤตโควิดที่หมิวเพิ่งเป็นตัวแทนภาคประชาชนยื่นหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทวงวัคซีน Pfizer ให้บุคลากรด่านหน้า

 

ยืนยันการเป็น ‘อีดาราปากแจ๋ว’ ที่ยอมแลกแม้กระทั่งหน้าที่การงาน เพื่อเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ยืนเคียงข้างประชาชนจริงๆ 

 

Artist: Mew-Sirilapas Kongtrakarn

 

“A sharp-tongued actress. My hobbies are being a government cursing machine and the goddess of online wars among salim and IO”

 

A bio on her twitter account @mew_sirilapas can concisely describe herself as Mew-Sirilapas Kongtrakarn, her actions, and her ‘voice’ very best.

 

Mew started her career in the entertainment industry from the beauty contest called Miss Teen Thailand in 2003, Miss Thailand Universe in 2009 and later started her acting career in two dramas: Nak Kaa Khon Taa Ngorn and Pleng Rak Talay Taii on Channel 7 in 2010.

 

Later, she became one of the actresses who had dramas released successively every year. Especially in 2018, she had five dramas including being an MC in TV programs such as Mo Chit Tid Chor, Sentang Banterng and Plod Nee Plick Cheewit, etc.

 

As the political situation in Thailand had intensified, there was a group of people gathering and declaring the ‘demands’ which became the national issue. At that time, Mew was standing in front of the camera doing the best out of her job.

 

Along with her new role of using her ‘voice’ to condemn police’s violent dispersal of protesters, Mew even drove some of the protestors home herself several times.

 

We frequently saw her in Clubhouse with her friends in the group of Association of free artists and musicians of Thailand discussing, exchanging opinions, sharply criticizing the government, and questioning whether Thai celebrities could express their political opinions.

 

The answer then appeared as she ‘got suspended’ from her work in March but she still called out frankly (and often became a cursing machine) before she suddenly got ‘let go’ by her company. However, she persisted to use her voice as much as she could to criticize the government’s management, especially in COVID-19 crisis when she became a representative of people to submit a petition to Ministry of Public Health in order to procure Pfizer vaccine for frontline medical staff.

 

It can be confirmed that she is ‘a sharp-tongued actress’ who gave up her job to speak up and stand beside Thai people.

 


 

 

Artists: ป้อง-ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์

 

ถ้าวัดระดับ ‘เสียง’ ของคนบันเทิงที่ส่งออกมา กลุ่มศิลปินดาราอายุมากกว่า 40 ปีดูจะเป็นกลุ่มเสียงที่เบาบางถ้าเทียบกับรุ่นน้องที่เข้าวงการมาทีหลัง

 

ยกเว้นเสียงของ ป้อง-ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ พระเอกรุ่นใหญ่วัย 43 ปี ที่กล้าออกมาส่งเสียงทักท้วงเรื่องไม่ถูกต้อง ตั้งแต่ประเด็น ‘ฉลองไม่ฉลาม’ ที่ตั้งคำถามถึงการจัดงานเลี้ยงของรัฐบาลที่มีเมนูหนึ่งเป็นซุปฉลามผ่านโซเชียลมีเดีย และเป็นตัวแทนเข้าไปยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอความร่วมมือรัฐบาลเลิกเสิร์ฟหูฉลามในงานเลี้ยงของรัฐทุกรูปแบบในอนาคต

 

ต่อเนื่องมาถึงการวิพากษ์วิจารณ์ท่าทีของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ส่งมินิฮาร์ตร่าเริงระหว่างลงพื้นที่ให้กำลังใจครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิงที่โคราช ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้า และปิดท้ายแบบเจ็บๆ ว่า “ประเทศอื่นเห็นผู้นำเราทำแบบนี้ มันน่าอาย” 

 

ทำให้เขากลายเป็นนักแสดงรุ่นใหญ่ (จากสังกัดใหญ่) ที่มีแฮชแท็ก #Saveป้องณวัฒน์ จนขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์มาแล้วถึง 2 ครั้ง

 

มาถึงกรณีล่าสุดเมื่อช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ป้อง ณวัฒน์ งัดความรู้ในฐานะนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ระดับปริญญาโท และอดีตข้าราชการกระทรวงการคลัง มากางข้อมูลสถิติวิเคราะห์ประเด็น ‘หนี้สาธารณะต่อ GDP จะไม่หยุดอยู่แค่นี้’ 

 

พร้อมแนะนำว่าการจัดหาวัคซีนคุณภาพมาฉีดให้ประชาชนอย่างทั่วถึง คือการเยียวยาที่ดีที่สุด จนมีคนรีทวีตข้อความดังกล่าวมากกว่า 50,000 ครั้ง พร้อมกับคนที่เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อยอดจากประเด็นดังกล่าวเป็นจำนวนมาก 

 

นอกจาก ‘เสียง’ ของคนวงบันการบันเทิงที่ดังขึ้นมา สิ่งที่น่ายินดีคือเหตุการณ์ครั้งนี้ ช่วยยืนยันให้เห็นว่า การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้อย่างปลอดภัย 

 

ไม่ควรต้องดันแฮชแท็ก #Saveป้องณวัฒน์ หรือ #Save ใครต่อใครอีกแล้ว

 


 

 

Artist : เต-ตะวัน วิหครัตน์ 

 

กว่า 8 ปีในวงการบันเทิง เต-ตะวัน วิหครัตน์ คือหนึ่งในนักแสดงชายที่น่าจับตามองทั้งในแง่ความสามารถและเสน่ห์ทางการแสดง โดยเฉพาะบทบาท พีท จากซีรีส์ Kiss the series ที่ทำให้เขากลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เตยังมีอีกบทบาทเป็นพิธีกรรายการออนไลน์ ทั้ง เตร็ดเตร่ กับ เต ตะวัน, เสน่ห์ห้องเครื่อง และรายการล่าสุดอย่าง กระหายเล่า   

 

ขณะเดียวกันเตยังเป็นคนบันเทิงที่มักจะใช้พื้นที่โซเชียลมีเดียของตนเองในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม และเป็นกระบอกเสียงในการเรียกร้องสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ  

 

เช่นเดียวกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด เตออกมาแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา พร้อมทั้งใช้พื้นที่ของตนเองในการกระจายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงในการส่งต่อข้อมูลเพื่อช่วยหาเตียงให้กับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 

 

ต่อมาเมื่อพบว่าตนติดเชื้อโควิด เตยังใช้พื้นที่ในรายการ กระหายเล่า ออกมาบอกเล่าประสบการณ์ของตนให้กับคนอื่นๆ ทั้งข้อมูลการตรวจหาเชื้อ การเช็กอาการเบื้องต้น รายละเอียดการรักษา รวมถึงการดูแลตัวเองในด้านต่างๆ โดยหวังว่าเป็นประโยชน์กับประชาชนจำนวนมากที่ต้องดูแลตัวเองในช่วงการระบาดของโรคโควิด 

 

สำคัญที่สุด คือความพยายามของเตในการทำให้พื้นที่ของเขา เป็นพื้นที่ปลอดภัยของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้วยการเชิญชวนแฟนคลับมาพูดคุย ถกเถียงในประเด็นต่างๆ โดยเขามักย้ำเสมอว่า ‘สังคมประชาธิปไตยคือพื้นที่ที่ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นได้โดยไม่ถูกปิดกั้นหรือ ‘ปิดปาก’ 

 

THE STANDARD POP จึงอยากปรบมือสนับสนุนและหวังว่าประเทศไทยจะสามารถมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างเปิดกว้างและรอบด้าน เช่นเดียวกับพื้นที่ปลอดภัยบนโซเชียลมีเดียของเตในสักวัน

 

Artist / Tay-Tawan Vihokratana

 

Experienced more than 8 years in the industry, Tay Tawan Vihokratana is one of the notable actors in terms of potential and acting charisma, especially his well-known role ‘Pete’ in ‘Kiss the series’. Nevertheless, he has another role as an online show host in ‘เตร็ดเตร่ กับ เต ตะวัน’, ‘เสน่ห์ห้องเครื่อง’, and the latest show ‘กระหายเล่า’

 

Furthermore, Tay is an entertainer who frequently uses his own social media space to express his points of view and speak up about social issues.

 

As well as COVID-19 situation, Tay stated his opinion and criticised the government straightfully. Also, he used his social media to spread useful information and pass along the info to help new cases find a bed available in the hospital. 

 

After he found that he tested positive, Tay appeared in his show ‘กระหายเล่า’ to share his personal experience to others, including how to get tested, how to check the primary symptoms, how to get treated, and how to take care of his health, in hopes that it would be helpful to many people who need to take care of themselves during the pandemic.

 

Most importantly, Tay has always tried his best to make his space a safe area to exchange opinions, which is the reason he invited his fans to talk and discuss issues. Tay frequently said that “Democracy is the space that people can express their opinions without being blocked or ‘gagged’.”

 


 

เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

 

Artist: เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

 

“ผมโชคดีที่ได้มายืนอยู่ตรงนี้ ในขณะที่เพื่อนร่วมชาติของผมจำนวนมากเดินทางไม่ได้ หลายคนต้องเผชิญกับความลำบากอย่างสาหัสจากโรคระบาด เพราะความผิดพลาดในการบริหารงานของรัฐ การจัดการทรัพยากร งานสาธารณสุข และการเข้าถึงวัคซีน ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลโคลอมเบีย รวมทั้งรัฐบาลประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ขอให้ตื่นขึ้นและทำงานเพื่อประชาชนของพวกคุณ เดี๋ยวนี้” 

 

ท่ามกลางเสียงปรบมือแสดงความยินดีหลัง Memoria สามารถคว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ 2021 มาครองได้สำเร็จ 

 

เจ้ย-อภิชาติ​พงศ์ วีระเศรษฐกุล ก้าวขึ้นเวที ก่อนที่เขาจะกล่าวสปีชสำคัญ เพื่อบอกกล่าวเล่าถึงชีวิตของเพื่อนร่วมชาติรวมไปถึงเพื่อนร่วมโลกอย่างประเทศโคลอมเบียที่เขาใช้เป็นโลเคชันถ่ายทำหลักของ Memoria อีกนับพัน นับหมื่น หรือนับล้าน ที่กำลังเผชิญกับชะตากรรมอันยากลำบาก อันเนื่องมาจากการจัดการปัญหาการระบาดของโรคโควิด ในช่วงเวลาเดียวกับที่เขากำลังได้รับเสียงปรบมืออยู่ในเวลานี้ 

 

เจ้ยต้องการจะสื่อสารถึงคนไทยและโคลอมเบียให้ได้รับรู้ว่าพวกเขาไม่ได้กำลังเผชิญปัญหาอย่างโดดเดี่ยว และ ‘เสียง’ ของเขาพร้อมจะบอกเล่าถึงความทุกข์ทนเหล่านี้บนเวทีโลกเมื่อโอกาสนั้นมาถึง 

 

สำหรับ THE STANDARD POP การออกมา ‘ส่งเสียง’ ของเจ้ยบนเวที Cannes Film Festival ในค่ำคืนนั้น ไม่ได้เป็นเพียงการเรียกร้องไปถึงรัฐบาลเท่านั้น แต่ข้อความของเขายังทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้เข้าร่วมงานและผู้ชมทั่วโลกได้ทราบถึงวิกฤตที่ประชาชนคนไทยและผู้คนในอีกหลายประเทศกำลังเผชิญ ซึ่งเราหวังเป็นอยางยิ่งว่าการส่งเสียงของเจ้ยบนเวทีระดับนานาชาติ จะช่วยปลุกให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น และเร่งแก้ไขปัญหาเหล่านั้นโดยเร็วที่สุด

 

Artist: Joei-Apichatpong Weerasethakul

 

“I am lucky to be standing here, while many of my countrymen cannot travel. Many of them suffer greatly from the pandemic, with the mismanagement of resources, healthcare, and vaccine accessibility. I want to call out for the Thai and Colombian governments, and the governments of countries in a similar situation, to please wake up, and work for your people, now.”

 

A big round of applause was given after ‘Memoria’ got the Jury Prize from Cannes Film Festival 2021. Joei Apichatpong Weerasethakul stepped on the stage after his winning.

 

After the loud ovation, Joei started his significant speech talking about the life of his fellow citizens and thousand millions of his world-mate Colombians, the main location of his movie, while they were facing a difficult fate due to the poor pandemic management at the same time.

 

Joei desired to communicate to Thai and Colombian people that they are not facing this hardship alone. When the time has come, his ‘voice’ is alway with them to say what they are confronting to the world.

 

For THE STANDARD POP, the way Joei projected his ‘voice’ on Cannes Film Festival that night was not only a callout to the government, but his message also presented the crisis Thai people and world population are facing to the whole world. We wholeheartedly hope that the appearance of his ‘voice’ on an international stage will help the government to realize the critical state we are going through and solve these problems immediately.

 


 

 

Artist: ตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย

 

‘หมอบรรณ’ แพทย์นิติเวชผู้รักความยุติธรรมจากซีรีส์ พฤติการณ์ที่ตาย (2563) คือตัวละครที่ทำให้ ตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย กลายเป็นนักแสดงที่ถูกพูดถึงอย่างมากเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบทพูดที่ถูกแชร์ต่อเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ที่ว่า

 

“ต้องรอให้ระบาดทั่วก่อนใช่ไหม พวกคุณถึงจะเริ่มทำงาน แม่งเปลืองภาษีว่ะ” เพราะความตรงไปตรงมาและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องของหมอบรรณ เป็นสิ่งที่ทำให้แฟนซีรีส์หลายคนตกหลุมรัก 

 

แต่ถ้าได้ติดตามตุลย์มาอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าคงจะคิดเห็นคล้ายกันว่าตัวตนจริงๆ ของเขาก็ดูเหมือนจะไม่ได้ต่างอะไรกับตัวละครสักเท่าไร เพราะตุลย์คือคนที่มักออกมาแสดงความคิดเห็นทางสังคมและการเมืองอย่างตรงไปตรงมาอยู่เสมอ เช่นเดียวกันกับในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ที่ตุลย์ก็ยังคงใช้พื้นที่โซเชียลมีเดียของตัวเองแสดงความคิดเห็นที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐอย่างตรงไปตรงมา

 

ทั้งการวิพากวิจารณ์เกี่ยวกับมาตรการเยียวยาประชาชนที่ไม่ทั่วถึง การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโควิดที่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ รวมไปถึงประกาศต่างๆ จากรัฐบาลที่มักสร้างความสับสนให้ประชาชน ไม่เพียงเท่านั้น ตุลย์ยังเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ออกมาเรียกร้องวัคซีน mRNA ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนตั้งแต่ระยะแรก 

 

ตุลย์โพสต์ข้อความที่ต้องการสื่อสารถึงผู้นำรัฐบาล ผ่าน Instagram Stories ของเขา พร้อมกับแท็ก @prayuthofficial ด้วยความหวังว่าเสียงของเขาจะถูกมองเห็นและส่งไปถึงเจ้าของชื่อแอ็กเคานต์ในสักวัน

 

ล่าสุดเขายังเป็นอีกหนึ่งคนบันเทิงที่ร่วมกิจกรรมทำเทียนแฮนเมดเพื่อจำหน่ายกับโครงการ KOL Sharing โดยรายได้จะบริจาคให้กับสภากาชาดไทย นำเงินไปเยียวยาผู้ที่ขาดรายได้จากการกักตัวและผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด

 

ถ้าหากมีโอกาสได้เข้าไปในแอ็กเคานต์ทวิตเตอร์ของตุลย์ @octotul เราจะพบข้อความสำคัญที่เขาปักหมุดเอาไว้ด้านบนเสมอว่า 

 

“สุดท้ายไม่อยากได้อะไรไปมากกว่า อยากเห็นประเทศเจริญ เห็นภาษีที่ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง เห็นระบบขนส่งสาธารณะที่ส่งเสริมการใช้ชีวิต เห็นระบบที่ไม่เอื้อให้นักการเมืองโกงกิน เห็นกฎหมายที่แข็งแรง เท่าเทียม และไม่คุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชน” 

 

ความเชื่อและความหวังในการเห็นสังคมไทยดีขึ้น คงเป็นสาเหตุที่ทำให้เขายังยืนหยัดในการเป็นกระบอกเสียงเพื่อประชาชนมาจนถึงทุกวันนี้

 

Artist / Tul-Pakorn Thanasrivanitchai

 

‘Dr.Bun’, the righteous medical examiner from the series ‘Manner of Death’ (2020), is the character which sent Tul Pakorn Thanasrivanitchai to be the talk of the town at the end of last year. This dialogue which was repeated until it became viral online began with the sentence 

 

“So you’re gonna start working when it’s entirely spread? Such a waste of taxes.” The straightfulness and righteousness of Dr.Bun is the reason why many series lovers fell in love with him

 

If you have been a fan of Tul, you may have thought that his true identity is not quite different from this character. Tul has always been righteously open with his opinions towards social and political issues. Along with COVID-19 pandemic, he used his media space to express his point of view, reflecting the government’s potential straightforwardly.

 

Tul criticised the unthorough relief measure, inefficient vaccine access and collocation, and official announcement which confused a lot of people. Moreover, he also used his voice to call out mRNA vaccines for medical workers and people.

 

Tul wrote a message to the government leader and posted it on his Instagram Stories. He even tagged the prime minister’s account @prayuthofficial hoping that someday his voice would be heard by the account owner.

 

Recently, Tul participated in a handmade candle making activity in order to sell them with KOL Sharing Project. The entire donation was given to Thai Red Cross Society, to treat people who lost their incomes due to quarantine and elders who needed personal care during the pandemic time.

 

Entering Tul’s twitter account @octotul, you would first see the important message that was pinned at the top saying

 

“Lastly, I don’t need anything more than the country’s prosperity, efficiently used tax, equal education, good transportation that supports our lives, good system that politicians can’t take advantage of, and good law that is righteous, equal, and supportive to people’s rights and freedom.”

 

The belief and hope to see the change of Thailand that Tul holds might be the reason why he has been the voice for people until now.

 


 

 

Artist: ก้อง ห้วยไร่

 

ก้อง ห้วยไร่ หรือ วีระเดช ยอดจำปา เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งที่ไม่ว่าจะปล่อยเพลงอะไรออกมาก็ได้รับยอดวิวถล่มทลายเสมอ เช่น ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน, คู่คอง (เพลงประกอบละคร นาคี) ,โอ้ละน้อ, อกหักดีกว่าฮักบ่เป็น, ซ่อยลืม, เว้าใหญ่ ฯลฯ

 

เพลงใหม่ ไม่รู้ ไม่มี ที่ก้องเพิ่งปล่อยมาล่าสุด ทั้งวลีคุ้นหูในเนื้อเพลงและภาพในมิวสิกวิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นก้องที่นั่งลอยแพออกไปด้วยสภาพสิ้นหวัง, บุคคลในชุด PPE ที่ลุยน้ำลากเสาน้ำเกลือไปพาเขากลับมา ก่อนจะล้มลงนอนแน่นิ่งไป, ชายหลังโพเดียมยืนส่งมินิฮาร์ต และกลุ่มคนกำลังรับประทานอาหารที่โต๊ะริมบึงน้ำกับใบหน้ายิ้มแย้ม 

 

ทั้งหมดคือสิ่งที่ทำให้เข้าใจได้ว่านี่ไม่ใช่บทเพลงที่ตัดพ้อถึงความรักเพียงเท่านั้น แต่เขาตั้งใจสื่อถึงสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างตรงไปตรงมา

 

ก้องเป็นศิลปินอีกคนที่แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนเสมอในการใช้ ‘เสียง’ ของตัวเองวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวที่มีจำนวนผู้ติดตามมากถึง 2.8 ล้านคน 

 

และไม่ใช่แค่ ‘เสียง’ เท่านั้น เขายังอาสาเป็นคนกลางที่ประสานงานรับมอบของอุปโภคบริโภค อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อนำไปแจกจ่าย พร้อมลงพื้นที่สร้างโรงพยาบาลสนามและจัดหาเตียงให้กับศูนย์พักคอยในจังหวัดอื่นๆ อีกหลายแห่ง โดยมีทั้งเพื่อนศิลปินในวงการเพลงลูกทุ่งและแฟนคลับช่วยกันสมทบทุนร่วมบริจาคอีกมากมาย

 


 

 

Artist: เล็ก-อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร (เล็ก Greasy Cafe)

 

นอกจากการหยิบนำแง่มุมความรักมาบอกเล่าผ่าน ‘บทเพลง’ เล็ก-อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร หรือ เล็ก Greasy Cafe ยังใช้ ‘ตัวหนังสือ’ ที่เขาเขียนด้วยลายมือของตัวเองมาเป็นสื่อกลางในการบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตอยู่เสมอ 

 

ไม่เพียงแค่นั้น เล็กยังใช้ ‘ตัวหนังสือ’ เป็นสื่อกลางในการ ‘ส่งเสียง’ เพื่อถ่ายทอดมุมมองทางสังคมและการเมืองของตัวเอง และนั่นหมายรวมไปถึงความผิดพลาดของภาครัฐในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด จนทำให้ตัวเลขของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังช่วย ‘ส่งเสียง’ เพื่อต่อต้านการใช้ความรุนแรงของภาครัฐในการสลายการชุมนุม

 

เล็กได้แสดงทัศนะไว้กับ THE STANDARD POP ในรายการ POP Live Special #ต้องรอด! เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 เกี่ยวกับการออกมา ‘ส่งเสียง’ ผ่าน ‘ตัวหนังสือ’ ไว้ว่า การออกมาพูดในครั้งนี้ไม่ใช่การพูดในฐานะของศิลปิน แต่เป็นการพูดในฐานะของประชาชนคนหนึ่งที่อยากจะส่งเสียงไปถึงภาครัฐ 

 

“เรารู้สึกว่าตราบใดที่คุณยังรับเงินเดือนที่มาจากเงินภาษีของประชาชน ทำตัวดีๆ จริงใจกับคน ตอนนี้มันเป็นเรื่องคอขาดบาดตายจริงๆ คนตายวันละเท่าไร คนตกงานวันละเท่าไร ไม่ใช่เฉพาะแค่เราเป็นนักดนตรี แต่เราขอพูดในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เรารู้สึกว่าเราต้องรอดกันหมด ไม่ใช่แค่อาชีพใดอาชีพหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง”

 

และเราเชื่อมั่นว่าเสียงทุกเสียงล้วนมีความสำคัญในการผลักดันให้ภาครัฐได้ตระหนักถึงวิกฤตที่ประชาชนกำลังเผชิญ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  

 

Artist: Lek-Apichai Tragoolpadetgrai (Greasy Cafe)

 

Not only in his ‘songs’ that love has been portrayed, Lek-Apichai Tragoolpadetgrai, as known as Greasy Cafe, has also depicted the stories of love and life through the ‘words’ by his own handwriting.

 

Moreover, Lek has used his ‘words’ as a medium to ‘speak up’ his attitudes towards society and politics. He stated about the failure of the government’s COVID-19 management that caused higher numbers of new cases and deaths. Additionally, Lek used his ‘voice’ to stand against violence that the government used to disband the protest.

 

On July 3rd, 2021, in THE STANDARD POP’s show named POP Live Special #ต้องรอด!, Lek expressed his point of view about ‘calling out’ through his ‘words’ that it was not a callout as an artist, but it was a call out as one of the people who wants to be heard by the government.

 

“As long as your salary comes from people’s tax, be nice and be honest to the people. It is a serious matter at the moment. How many people have died? How many people have lost their jobs? Not only as an artist, but I speak as one of the people. We all need to survive, not only one particular profession or group.”

 

We believe that every voice takes an important role to urge the government to see this current crisis we are going through and solve them immediately and effectively.

 


 

 

Artists: H 3 F

 

H 3 F คือวงอินดี้คุณภาพที่ทำเพลงภาษาอังกฤษล้วนจนหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าพวกเขาคือวงดนตรีสัญชาติไทย โดยมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มเพื่อนที่มหาวิทยาลัยรังสิตชวนกันก่อตั้งวงขึ้นมาและเล่นดนตรีคัฟเวอร์เพลงที่ร้านกลางคืน ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มสร้างผลเพลงของตัวเองตามออกมาภายใต้ชื่อ H 3 F อย่างทุกวันนี้

 

ตามปกติวง H 3 F จะมีรายได้จากการเล่นดนตรีที่ร้านกลางคืนเป็นหลัก พวกเขาจึงเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการป้องกันโควิด ตามที่รัฐมีคำสั่งให้ปิดสถานบันเทิง ซึ่งเป็นมาตรการที่ไม่ได้มีทางออกมารองรับกลุ่มคนในสายอาชีพนี้ ที่ไม่ใช่เพียงนักร้อง นักดนตรี แต่ยังมีทีมงานเบื้องหลัง พนักงานต้อนรับ พนักงานเสิร์ฟอาหาร แม่บ้าน อีกหลายอาชีพ และอีกหลายชีวิต ที่ต้องพึ่งพาร้านกลางคืนในการหาเลี้ยงปากท้อง ทั้งที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งประชาชนเจ้าของภาษีควรจะได้รับการเยียวยาจากภาครัฐอย่างเท่าเทียม

 

H 3 F จึงเป็นหนึ่งในศิลปินกลุ่มแรกที่ออกมาแสดงจุดยืนร่วมกับชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทย ภายใต้สมาพันธ์ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงแห่งประเทศไทย (สธก) พร้อมเดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าของข้อเรียกร้อง 8 ข้อในการช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันโควิด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา

 

นอกจากนี้ทั้งสามสมาชิกยังมีส่วนร่วมในโปรเจกต์ คืนกลางคืน ที่ศิลปินและผู้ประกอบการร้านกลางคืนร่วมกันจัดกิจกรรมเล็กๆ โดยหารายได้จากการขายบัตรและสินค้าต่างๆ เพื่อให้ศิลปินและผู้ประกอบการพอมีรายได้จุนเจือเข้ามา และยังเป็นการเยียวยาหัวใจให้อยู่กันได้ต่อไปท่ามกลางวิกฤติการระบาดของโรคโควิดเช่นในเวลานี้

 


 

 

Artists: Safeplanet

 

หากบุคลากรทางการแพทย์คือด่านหน้าในการช่วยเหลือประชาชน ลงพื้นที่ต่อสู้กับกับวิกฤตโควิด วง Safeplanet คือหนึ่งใน ‘ด่านหน้า’ ที่ออกมาส่ง ‘เสียง’ และลงมือทำ เพื่อเรียกร้องการช่วยเหลือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนๆ ‘นักดนตรี’ ที่เดือดร้อนมาตั้งแต่ต้น 

 

อย่างที่รู้กันว่า กลุ่มนักดนตรี (โดยเฉพาะนักดนตรีกลางคืน) คือหนึ่งในอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิดมากที่สุด พวกเขาคือกลุ่มคนที่โดนคำสั่งให้ ‘ปิดก่อน เปิดทีหลัง’ ในทุกครั้งที่เกิดปัญหาการระบาดทุกระลอก

 

ในสถานการณ์ปกติ นักดนตรีคืออาชีพที่ผู้คนนึกถึงในฐานะผู้ใช้เสียงเพลงสร้างความสุขให้กับชีวิต แต่เมื่อเกิดวิกฤต พวกเขากลับถูก ‘มองข้าม’ และแทบไม่ได้รับการเยียวยาอย่างที่ควรจะเป็น 

 

พวกเขามักจะถูกบอกอยู่ซ้ำๆ ว่าต้องรู้จักปรับตัวให้เข้าสถานการณ์ โดยหลายคนไม่เคยรู้เลยว่าที่ผ่านมาพวกเขาทั้งสู้ ทั้งปรับตัวมากเท่าไร บางคนต้องเอาเครื่องดนตรีที่เป็นเหมือนชีวิตมาขาย, บางคนต้องไปทำอาชีพอื่น, บางคนผันตัวไปเป็นพ่อค้า แทบทุกคน ‘ปรับตัว’ พยายามเอาชีวิตรอดอย่างถึงที่สุด เพื่อรอวันจะได้กลับมาเล่นดนตรีที่พวกเขารักอีกครั้ง 

 

Safeplanet คือหนึ่งในวงดนตรีที่ออกมาเป็นตัวแทนพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา เปิดหน้าวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ต่อต้านความรุนแรง รวมทั้งลงถนนไปยืนอยู่ข้างประชาชนที่ออกมาส่งเสียงเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด 

 

และสุดท้ายที่ไม่ท้ายสุด Safeplanet เป็นตัวแทนกลุ่มนักดนตรีอิสระ ร่วมกับสมาพันธ์ผู้ประกอบการอาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิง เดินทางไปยื่นหนังสือและข้อเรียกร้องแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาที่เหมาะสมในช่วงที่วิกฤตโควิดรุนแรงขึ้นทุกขณะ

 

เพื่อส่ง ‘เสียง’ ของกลุ่มคนดนตรีว่าพวกเขามีชีวิต และชีวิตของพวกเขามี ‘คุณค่า’ เช่นเดียวกัน  

 


 

 

Artists: ริท-เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช

 

ภาพจำแรกของ ริท-เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช คือการถูกประทับนามสกุล ‘เดอะสตาร์’ นับจากเขาเข้าประกวดและสามารถคว้าตำแหน่งรองชนะเลิศ รายการเรียลิตี้ประกวดร้องเพลงชื่อดังระดับประเทศอย่าง เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์ 

 

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ริทยังคงมีผลงานในวงการบันเทิงเรื่อยๆ โดยปัจจุบันเขามีช่อง YouTube ชื่อ MhorRitz ทำคอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ คัฟเวอร์เพลง ควบคู่กับการพาไปดูชีวิตประจำวันของอาชีพแพทย์ รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในรายการ เรื่องของหมอ

 

สำคัญที่สุดในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด ‘ริท’ ที่ปัจจุบันผู้คนทั้งประเทศจดจำและเปลี่ยนคำเรียกถึงเขาเป็น ‘หมอริท’ ได้ผลิตคอนเทนต์ภายในช่อง YouTube ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน มีทั้งการรีวิวฉีดวัคซีน Sinovac ให้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัคซีนและโรคโควิด รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ในฐานะเจ้าของคลินิกความงามชื่อว่า THE RITZ ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่รัฐบาลสั่งปิดสถานประกอบการชั่วคราว

 

“เพราะการตาย…ไม่ใช่เพียงตัวเลข” 

 

คือเสียงที่เขาส่งผ่านจากพื้นที่โซเชียลมีเดียของตัวเอง ก่อนจะขยับขยายมาเป็นโครงการ ‘หมอริทช่วยโควิด’ ซึ่งล่าสุดได้ประกาศยกระดับการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดเป็นการดูแลแบบ Home Isolation อย่างเต็มรูปแบบ โดยได้รับความช่วยเหลือจากทีมแพทย์ จิตอาสา ผู้บริจาค ไปจนถึงการสนับสนุนจากสภากาชาดไทยและ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ร่วมกันขับเคลื่อนให้โครงการนี้เดินหน้าต่อไป เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่รอรับการรักษา และผู้ป่วยที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษาให้ได้ทั่วถึงมากที่สุด

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X