×

POP Powerful Voices in Crisis: Icons

18.08.2021
  • LOADING...
POP Powerful Voices in Crisis Icons

หมวดที่ 3 ของ POP Powerful Voices in Crisis คือกลุ่มคนที่เป็น ‘ไอคอน’ ทางความคิดให้กับผู้คน โดยทั้ง ‘เสียง’ ที่ส่งออกมา และ ‘การกระทำ’ ที่พวกเขาทำอยู่มีส่วนอย่างมากในการช่วยเหลือและขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้าในเวลาวิกฤตเช่นนี้ 

 

เริ่มตั้งแต่ ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม ไอคอนของคนดนตรีหนึ่งในกำลังสำคัญของงานเปิดหมวกเฟสติวัล, สุทธิชัย หยุ่น และ สรยุทธ สุทัศนะจินดา สองนักข่าวรุ่นใหญ่ที่เคร่งครัดในการนำเสนอข่าวและมีคนติดตามมากที่สุด

 

ลูกกอล์ฟ-คณาธิป สุนทรรักษ์ ‘ครูสอนภาษาอังกฤษ’ ที่สอนประสบการณ์ชีวิตควบคู่ไปด้วย, หนุ่ม-กรรชัย กําเนิดพลอย พิธีกรรายการ โหนกระแส ที่แค่ ‘อุ๊ย’ ก็เป็นเรื่อง, สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ หรือนิ้วกลม และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล สองนักคิดที่ยังออกมาชวนผู้คนให้คิดถึงประเด็นต่างๆ ที่มีปัญหาอยู่เสมอ 

 

แขก คำผกา ‘เสียง’ แห่ง Voice TV ที่หลายคนยินดีเรียกว่าแม่! จากลีลาการ ‘ฟาด’ ด้วยเหตุผลและการเลือกใช้คำที่เจ็บยิ่งกว่าถูกฟาดด้วยไม้เรียว และ อแมนด้า-ชาลิสา ออบดัม Miss Universe Thailand 2020 เสียงจากเวทีนางงาม ที่วิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างทรงพลัง จนหลายคนยกให้เธอเป็น ‘นางงามของประชาชนทุกคน ที่ไม่ต้องมีวงเล็บ (คนดี) ต่อท้าย

 

THE STANDARD POP ขอบคุณอีกครั้ง แด่ทุก ‘พลัง’ จากทุกชีวิตที่ลงมือทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ให้ทุกคนผ่านวิกฤตอันเลวร้ายครั้งนี้ไปด้วยกัน

 

Icons / ไอคอน, นักคิด, นักข่าว, นักเขียน (9)

  1. ยุทธนา บุญอ้อม: Yuthana Boonorm / พิธีกร, รองผู้อำนวยการอาวุโสหน่วยงาน Showbiz GMM Grammy
  2. สุทธิชัย หยุ่น: Suthichai Yoon / พิธีกรข่าว เจ้าของรายการ Suthichai Live 
  3. สรยุทธ สุทัศนะจินดา: Sorayuth Suthassanachinda / พิธีกรข่าว 
  4. คณาธิป สุนทรรักษ์: Kanatip Soonthornrak / ครูสอนภาษาอังกฤษ เจ้าของสถาบัน ANGKRIZ 
  5. กรรชัย กําเนิดพลอย: Kanchai Kamnerdploy / พิธีกรข่าว, ผู้ดำเนินรายการโหนกระแส 
  6. สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม): Sarawut Hengsawad (Roundfinger) / นักเขียน 
  7. วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล: Wannasingh Prasertkul / นักเขียน, พิธีกร, นักเดินทาง 
  8. ลักขณา ปันวิชัย (คำ ผกา): Lakkhana Panwichai (Kam Phaka) / นักเขียน, พิธีกรข่าว
  9. อแมนด้า ชาลิสา ออบดัม: Amanda Chalisa Obdam / Miss Universe Thailand 2020   

 


 

POP Powerful Voices in Crisis Icons

 

Icons: ยุทธนา บุญอ้อม

 

ยุทธนา บุญอ้อม หรือที่คนทั้งวงการบันเทิง รวมไปถึงคนทางบ้านสะดวกปากที่จะเรียกเขาว่า ‘ป๋าเต็ด’ เป็นทั้งผู้จัดคอนเสิร์ต ผู้จัดเทศกาลดนตรี และพิธีกรรายการทางโลกออนไลน์อย่าง ป๋าเต็ดทอล์ก ที่เชิญชวนผู้คนในแวดวงดนตรีมาร่วมพูดคุยในประเด็นที่ไม่ถามก็คงไม่ได้ เรียกว่าทุกบทบาทและทุกผลงานที่ป๋าเต็ดได้รับและสร้างสรรค์ขึ้นล้วนเกี่ยวโยงกับ ‘เสียงดนตรี’ ด้วยกันทั้งสิ้น  

 

จนกระทั่งสถานการณ์โควิดได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งกลุ่มธุรกิจดนตรีถือเป็นกลุ่มธุรกิจรายแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการที่กลุ่มธุรกิจกลางคืนและอีเวนต์ต่างถูกสั่งปิด มากกว่านั้นยังแทบจะเป็นกลุ่มท้ายๆ ที่จะได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้ง นั่นจึงส่งผลให้กลุ่มผู้ประกอบอาชีพนักดนตรีและทีมงานเบื้องหลังที่เกี่ยวข้องต่างขาดรายได้อย่างหนัก

 

เพื่อช่วยเหลือกลุ่มอาชีพนักดนตรีและทีมงานเบื้องหลังที่ขาดรายได้อย่างเร่งด่วนที่สุด ป๋าเต็ดและสมาชิกจากชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมมือกันจัดงาน เปิดหมวกเฟสติวัล เทศกาลดนตรีออนไลน์ที่จะทำให้ดนตรีกลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยเปิดพื้นที่ให้นักดนตรีได้กลับมามอบความสุขแก่ผู้ชมผ่านเสียงเพลงอีกครั้ง พร้อมเปิดให้ผู้ชมสามารถสนับสนุนนักดนตรีที่ชื่นชอบได้ผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีของนักดนตรีโดยตรง หรือสนับสนุนผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีกลางเปิดหมวกเฟสติวัล

 

นอกจากนี้ ป๋าเต็ดยังได้ใช้พื้นที่โซเชียลมีเดียของตัวเองในการออกมาส่งเสียงเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการบริหารจัดการสถานการณ์โควิดที่ล้าช้าของภาครัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้กลุ่มอาชีพนักดนตรีและทีมงานเบื้องหลังยังไม่สามารถกลับมาประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิตของตัวเองและครอบครัวได้อย่างที่ควรจะเป็น 

 

Icons: Yuthana Boonorm

 

Yuthana Boonorm, as known as Pa-Ted by people in the entertainment industry or in general, is a concert and music festival promoter and a host of an online talk show, Pa-Ted Talk, which he invites guests from the music industry to talk and discuss unavoidable topics together. It can be said that the roles he experienced and the work he produced all relate to music.

 

Since the COVID-19 pandemic changed our normal lives, music industry was one of the first groups that has been severely affected because nightlife and entertainment businesses were shut down. Nonetheless, they were one of the last groups that can have their business run again. The result was that musicians and backstage workers lacked income.

 

To help and support musicians and backstage workers who are lack of income as soon as possible, Pa-Ted and Musicians and Crew Association of Thailand (MCAT) teamed up to organize ‘Open Hat Festival’. Open Hat Festival was an online music festival which let musicians perform and bring happiness back to the audience through their songs. Also, the audience could support their favorite musicians by sending money directly to musicians’ or the festival’s official bank account.

 

Besides, Pa-Ted has frequently used his social platforms to speak up about politics, especially government’s poor management which caused delays. Those are one of the reasons why musicians and backstage staff still cannot earn money for themselves and their family as they should.

 


 

POP Powerful Voices in Crisis Icons

 

Icons: สุทธิชัย หยุ่น

 

ในฐานะคนข่าวที่ติดตามทุกความเคลื่อนไหวของโลก เหตุบ้านการเมือง รวมไปถึงกระแสทางสังคมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน สุทธิชัย หยุ่น ในวัย 74 ปี ยังคงสนุกกับการเรียนรู้และเข้าถึงรูปแบบการนำเสนอข่าวสารในแบบฉบับของตัวเอง โดยเฉพาะทางยูทูบแชลแนล Suthichai Live ที่ปัจจุบันมีแฟนรายการติดตามอยู่มากกว่า 4 แสนคน 

 

เช่นเดียวกับช่วงสถานการณ์ของโรคโควิดที่ยังคงการระบาดอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะกับสถานการณ์ภายในประเทศที่เต็มไปด้วยปัญหาในหลากหลายมิติ 

 

บทบาทสำคัญของสุทธิชัยคือการนำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ บทสัมภาษณ์บุคคล ไล่เลียงทั้งบุคลากรทางการแพทย์ นักวิชาการ รัฐมนตรี ไปจนถึงกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องจากอีกหลายภาคส่วน ให้กับแฟนรายการได้ติดตาม

 

ยิ่งในช่วงเวลาที่สถานการณ์การระบาดของโควิดดำเนินควบคู่ไปกับกระแสขับเคลื่อนทางสังคมและการเมือง ช่วงเวลาที่ภาคประชาชนต่างออกมาใช้ ‘เสียง’ ในการสื่อสาร ต่อการบริหารจัดการอันล้มเหลวของภาครัฐ รวมไปถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความผิดปกตินานัปการของภาครัฐต่อการบริหารจักการวัคซีนโควิด 

 

จนนำมาซึ่งความพยายามใช้กลไกของภาครัฐที่สุ่มเสี่ยงต่อการปิดกั้น จำกัดการแสดงความคิดเห็นของภาคประชาชน รวมไปถึงสื่อมวลชน โดยเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ข้อกำหนด ห้ามนำเสนอข่าวที่อาจทำให้ประชาชนหวาดกลัว พร้อมให้อำนาจ กสทช. สั่งระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต อันเต็มไปด้วยความคลุมเครือ  

 

คำถามมากมายเหล่านี้ได้ทำให้เกิดการนัดหมายขึ้นของ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ โดยได้จัดเวทีเสวนา ‘หยุดอ้างข่าวปลอม หยุด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุกคามเสรีภาพสื่อ-ประชาชน’ เพื่อแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น 

 

นำโดย สุทธิชัย ในฐานะสื่อมวลชนอาวุโส และ กิตติ สิงหาปัด ผู้ดำเนินรายการ ข่าว 3 มิติ, สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมต่อตั้ง Cofact Thailand, นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร THE STANDARD รวมไปถึงตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM ถ่ายทอดสดผ่านเพจสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

และบทบาทเหล่านี้นี่เองที่เป็นทั้งกระจกสะท้อนตัวตน รวมไปถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสื่อมวนชนรุ่นใหม่ ว่าเมื่อไรก็ตามที่อำนาจรัฐมีความพยายามจะสร้างความไม่ปกติ มันจึงเป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนที่จะต้องออกมาปกป้องต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย นั่นก็คือการแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน 

 

Icons: Suthichai Yoon 

 

As a press person who always updates the world movement, political issues, and social topics, 74-year-old Suthichai Yoon usually has the eager to learn and find his own way to report information, as we can see in his 400-thousand-follower YouTube channel named ‘Suthichai Live’.

 

Suthichai has been acknowledging the ongoing pandemic situation which affected the world’s way of living and the national situation with problems in almost all aspects.

 

Therefore, one of his important roles is to present the analyzed information, situation, and interviews from people in various fields of work such as medial workers, scholars, ministers, and other people from relative sections to his fans.

 

This show took part in the pandemic period along with the social and political movement, especially when people started using their voice to point out the failure and confusing news from the poor management.

 

On July 29th, Government Gazette announced the ambiguous regulation prohibiting telling fake news and authorized National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC) to shut the internet down. This rule showed the will of the government to abuse the power to shut and block people’s and media’s freedom.

 

Many questions about the regulation appeared and it ended up with an event where 6 press organizations held a talk space named ‘Stop mentioning fake news. Stop Emergency Decree. Stop intimidating freedom of press and people’ to express and exchange opinions.

 

Suthichai as a senior press person collaborated with the news reporter from ‘Khao Sam Miti’ Kitti Singhapad, the founder of Cofact Thailand Supinya Klangnarong, THE STANDARD’s editor-in-chief Nakarin Wanakijpaibul, and representatives of the media organizations to discuss via application ZOOM and broadcast live on Thai Journalists Association’s page.

 

This role is a reflection to one’s self and a good model for the media in our next generation. This example says that it’s a duty of the media to protect the basic rights of democracy which is freedom of speech and the right to access the truth whenever the government’s absolute power is used to make absurdity.

 


 

POP Powerful Voices in Crisis Icons

 

Icons: สรยุทธ สุทัศนะจินดา

 

“ขอบคุณจริงๆ ไม่รู้จะบอกอย่างไรถึงความรู้สึกของผม โดยเฉพาะท่านที่บอกว่า มีความรู้สึกเหมือนจะต้องลุกไปโรงเรียน ทั้งที่ปัจจุบันทำงานแล้ว มีลูกแล้ว” 

 

ย้อนกลับไปในวันที่ สรยุทธ สุทัศนะจินดา เริ่มต้นกลับมาทำหน้าที่พิธีกรข่าวอีกครั้งใน เรื่องเล่าเช้านี้ และรายการ เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ หลังห่างหายจากหน้าจอโทรทัศน์ไปกว่า 5 ปี พร้อมด้วยพีเรียดตอบรับจากแฟนรายการอันท้วมท้นอบอุ่น 

 

หากแต่ที่จริงแล้ว นั่นน่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานตามนิยาม ‘กรรมกรข่าว’ ที่ตนเองยึดถือมาตลอดอีกครั้งอย่างเข้มข้น ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรคโควิดในประเทศไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาในหลากหลายมิติ 

 

ตั้งแต่การรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตที่สูงขึ้นรายวัน ข่าวการบริหารจัดการวัคซีนที่เต็มไปด้วยปัญหา และสำคัญที่สุด คือข่าวความทุกข์ยากแสนสาหัสในการเข้าถึงระบบการรักษาที่มีคุณภาพ ข่าวชาวบ้านที่ต้องนอนรอเตียงอยู่ที่บ้าน กระทั่งรุนแรงไปไกลในระดับที่คนออกมานอนตายริมถนน

 

เรื่องราวของคนในประเทศเหล่านี้ คือ เรื่องเล่าเช้านี้ และ เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ที่สรยุทธเลือกมานำเสนอ ชนิดที่แทบไม่สนใจหยิบประเด็นข่าวอื่นๆ มาปน บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่าการกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้งนั้นมีความหายทั้งกับตัวเขา และประชาชนที่ต้องการทั้งกระบอกเสียงและสะพานเชื่อมโยงเรื่องจริงอันทุกข์ยาก และพวกเขากำลังรอคอยโอกาสการช่วยเหลือ 

 

ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ สรยุทธไม่ได้ทำหน้าที่กรรมกรข่าวไว้เฉพาะแต่ในรายการ แต่เขายังใช้เวลานอกเหนือจากนั้นติดตามและรายงานข่าวสถานการณ์โควิดอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงไปถึงการให้ความช่วยเหลือร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครมากมาย ผ่านทางพื้นที่ส่วนตัว อย่างเฟซบุ๊กเพจ ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว’ 

 

หลายคนบอกว่า การกลับมาหลังหายจากหน้าจอไป 5 ปี สรยุทธเปลี่ยนไป? 

 

แต่สำหรับเรา ในฐานะแฟนรายการที่เฝ้าติดตามการทำหน้าที่ของสรยุทธมาในทุกวิกฤตครั้งสำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์น้ำท่วม ไฟป่า พายุใหญ่ถล่ม ฯลฯ เขาก็ยังทำหน้าที่รายงานข่าวไปพร้อมๆ กับเป็นสะพานเชื่อมโยงความช่วยเหลือไม่เคยเปลี่ยน และถ้าจะสังเกตถึงสิ่งที่เปลี่ยนไป สิ่งนั้นน่าจะเป็นฟีลลิ่งความดุดัน เข้มข้น ที่เหมือนว่าเขาพร้อมจะท้าชนกับความไม่ถูกต้องของคนในสังคมมากขึ้นกว่าในอดีต 

 

สุดท้ายนี้ถ้าเป็นไปได้ เรื่องง่ายๆ ที่เราอยากได้คำตอบคือ กรรมกรข่าวชื่อสรยุทธ เอาเวลาที่ไหนไปนอน และนอนวันละกี่ชั่วโมงกันเนี่ย 

 

Icons: Sorayuth Suthassanachinda

 

“I’m so thankful. I don’t know how to explain what I’m feeling, especially for those who said it felt like getting up to school even though now you have a job and even a kid.”

 

Looking back on the day Sorayuth Suthassanachinda was back to be the reporter of ‘Rueng Lao Chao Nee’ and ‘Rueng Lao Sao-Artit’ again with great feedback from the fans after he had gone for more than 5 years.

 

In fact, that was the beginning of his job as a ‘news labor’, the word he has upholded, during the time of pandemic and all aspect problems in Thailand.

 

He has reported various problems including new cases, high death numbers, problematic vaccine management, difficulty to access to quality treatment, people desperately waiting for beds at home, and those who were dead on the street

 

The story of people in the country is what Sorayuth put in ‘Rueng Lao Chao Nee’ and ‘Rueng Lao Sao-Artit’ without other irrelevant news. It can be said that this new start means a lot to him and whoever whose sufferings need to be heard and reported. 

 

An interesting point is that Sorayuth is not a news labor only in the news channel, but also in his whole life. He has continuously spent time reading and reporting COVID-19 situation. Moreover, he has been a bridge to cooperate helps to many volunteer groups through his Facebook page ‘Sorayuth Suthassanachinda the news labor’ 

 

Some might have questioned that Sorayuth has changed after he had gone for 5 years.

 

As a fan of Sorayuth’s news report who has witnessed many of his dedication in every huge crisis such as flood, wildfire, or storm, he has been working hard and giving help as always. The only thing that has changed is his increasingly tense mood which seems like he is ready to beat the unrighteousness in the society even more.

 

One last easy question if possible is how the news labor named Sorayuth manages his time to sleep and how many hours of sleep he gets per day.

 


 

POP Powerful Voices in Crisis Icons

 

Icons: ลูกกอล์ฟ-คณาธิป สุนทรรักษ์

 

“ลูกกอล์ฟขอออกจากวงการบันเทิงนะคะ เพราะถ้าจะเงียบขนาดนี้ ลูกกอล์ฟไม่ต้องการเสียเวลาอยู่ในที่แห่งนี้ค่ะ”

 

ถึงแม้จะประกาศ ‘ลาออก’ จากวงการบันเทิง และขอให้แค่เรียกว่า ‘คนไทยคนหนึ่ง’ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ครูลูกกอล์ฟ-คณาธิป สุนทรรักษ์ คือหนึ่งใน ‘เสียง’ จาก Pop Culture ที่สร้างแรงกระเพื่อมให้กับสังคมวงกว้างได้อยู่เสมอ 

 

เริ่มตั้งแต่การยอมรับความผิดพลาดของตัวเองในอดีตที่เคยแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงกับคนที่ยืนอยู่อีกฝั่งการเมือง หันมาเริ่มเป็นกระบอกเสียง Call out ถึงปัญหาหลายเรื่องที่เกิดขึ้น 

 

ทั้งเรื่องการเมือง การใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุม การจัดการวิกฤตโควิด เตียงไม่พอรักษา ปัญหาเรื่องวัคซีน ไปจนถึงการสร้างพื้นที่ตั้งคำถาม ชวนให้ค้นหาข้อมูลและเหตุผลมาพูดคุยกันบนพื้นที่โซเชียลมีเดียเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน 

 

ครูลูกกอล์ฟ เริ่มทำรายการไลฟ์สัมภาษณ์ที่ชวนผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ทั้ง สิ่งแวดล้อม การเมือง และการทำข่าว มาพูดคุยปัญหาและแนวทางที่ควรจะเกิดขึ้น รวมทั้งบทบาทล่าสุดในฐานะ ‘ครูภาษาอังกฤษคนหนึ่ง’ ในรายการ Netflix English Room ที่ช่วยยืนยันว่าการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ใช่เรื่องผิด และไม่ควรมีใครถูกปิดโอกาส 

 

วันนี้ครูลูกกอล์ฟได้พยายามแสดงให้เห็นแล้วว่า แม้จะไม่ใช่ในฐานะคนวงการบันเทิง แต่ในฐานะ ‘มนุษย์คนหนึ่ง’ ทุกคนควรได้รับสิทธิในการส่ง ‘เสียง’ เหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย และได้รับการสนับสนุนเหมือนกันทุกๆ คน

 

Icon: Loukgolf-Kanatip Soonthornrak

 

“I decided to resign from the industry. If you are this silent, I don’t want to waste my time being here.”

 

Even though the ‘resignment’ was announced according to the request to be called as only a ‘Thai citizen’, we couldn’t deny that Loukgolf-Kanatip Soonthornrak is one of the powerful voices of Pop Culture which has such a huge effect on society.

 

Accepting his own mistakes in the past when he used to aggressively express his opinion towards people in the opposite political sides, Loukgolf turned himself to be a voice to speak up about current problems.

 

Those issues include politics, the use of violence, COVID-19 management, insufficient bed for patients, and vaccine problems. Moreover, Loukgolf suggests people to question, give information, and discuss reasonably on his facebook and Instagram platform that has more than one million followers.

 

Loukgolf started a live show interviewing specialists in many fields such as environment, politics, and news. They were invited to discuss the problems and the process to solve them. Additionally, his most recent role as a ‘teacher’ in the show called ‘Netflix English Room’ has emphasized that expressing one’s political standpoint is not wrong and no one should be rejected because of that.

 

Loukgolf has already shown us that as a ‘human’, everyone should have the right to speak their ‘voices’ without fear and we should be supported equally despite no status in the entertainment industry.

 


 

POP Powerful Voices in Crisis Icons

 

Icons: กรรชัย กําเนิดพลอย

 

เสียงอุทาน ‘อุ๊ย’ ที่คาดว่าจะกลายเป็นหนึ่งในท็อปไดอะล็อกประจำปี 2564 และลีลาซักประเด็นที่เต็มไปด้วยลูกล่อลูกชน เหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้ หนุ่ม-กรรชัย กําเนิดพลอย เป็นอะไรที่มากว่าพิธีกรรายการตีแผ่ประเด็นร้อนทางสังคม 

 

แต่ ณ วันนี้ อดีตนักแสดงหนุ่มที่หลายปีมานี้ผันตัวเองเขามาสู่วงการข่าว ได้กลายเป็นทั้งเพื่อน ทั้งญาติสนิท คอยทำหน้าที่ ‘ตั้งคำถาม’ แทนใจคนไทยทั้งประเทศ 

 

ถ้าบุคลากรทางการแพทย์คือด่านหน้าการต่อสู้กับวิกฤตการระบาดของโรคโควิด  

 

บทบาทของ หนุ่ม กรรชัย ในรายการ โหนกระแส ก็ไม่ต่างกับการทำหน้าที่ด่านหน้า ของทุกกระแสดราม่าร้อนๆ ทางสังคม การเมือง โดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิดที่เขามักจะให้ความสำคัญ และหยิบจับมาเป็นประเด็นในรายการ ตั้งแต่เรื่องสุขทุกข์ของประชาชนตัวเล็กๆ ไปจนถึงความไม่ชอบมาพากลของกลไกรัฐที่มักจะถูกตั้งคำถามจากสังคมอยู่เสมอ 

 

พิสูจน์ความยอดเยี่ยมได้จากแฮชแท็ก #โหนกระแส ที่มักจะขึ้นไปติดท็อปเทรนด์ทวิตเตอร์ได้แทบทุกเดือน หลายคนพูดติดตลก (ที่ก็ดันเป็นจริงตามนั้นด้วย) ว่าถ้าไม่พร้อม ไม่แม่น อย่าได้ตกปากรับคำไปออก โหนกระแส เพราะมีโอกาสสูงมากที่จะโดนเชือดกลางอากาศเอาง่ายๆ 

 

ขณะเดียวกันที่นอกห้องส่ง หนุ่ม กรรชัย ยังคงเป็นกระบอกเสียงช่วยเหลือประชาชนที่กำลังเผชิญปัญหาท่ามกลางวิกฤตโควิด ทั้งการประกาศหาเตียงให้ผู้ป่วนบนพื้นที่โซเชียลมีเดียวส่วนตัว ไปจนถึงการลงพื้นที่ช่วยแจกจ่าย ‘กล่องอิ่ม’ ข้าวสาร อาหารแห้ง ในชุมชนและแคมป์คนงาน ฯลฯ ที่ต่างก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ 

 

ท้ายที่สุดนี้ ท่ามกลางคลิปของรายการโหนกระแสที่ถูกตัดมาแชร์ต่อตอนแล้วตอนเล่า สิ่งเหล่านี้บอกเล่าถึงพลังขับเคลื่อนทางสังคมของ หนุ่ม กรรชัย ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราก็หวังเหลือเกินว่าเขาจะทำหน้าที่กระบอกเสียงแทนประชาชนในระดับไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมเช่นนี้ไปอีกนานๆ 

 

Icons: Kanchai Kamnerdploy 

 

‘Oh!’ might be one of the best quotes in 2021 and the unique style in questioning things and debating made Num-Kanchai Kamnerdploy more than a host of a TV show reporting social hot issues.

 

Today, the former actor who has changed his acting career to journalism these last years has turned into our friend or close relative to help Thai people speak up questions in their minds.

 

If the medical staff who have to deal with the critical situation of COVID-19 are the frontline workers, the role of Num Kanchai in his talk show, Hone-Krasae, is not quite different. Hot issues, from gossip to social and politics, COVID-19 situation, little people’s well-being, and suspicions for the government, were frequently brought up to criticize in the show.

 

It can be proved by the hashtag #โหนกระแส that usually be on the Twitter top trend almost every month. Many people jokingly said (and mostly they were right) that not to confirm their invitation to be a guest in Hone-Krasae if you were not ready and precise enough because you might get embarrassed or feel ashamed easily.

 

Behind the camera, Num Kanchai is a spokesperson who helps people who are suffering from the virus crisis. He finds hospital beds for patients who got infected via his personal social platforms, visit and distribute ‘food box’ and dried food to local community and construction worker camps who have been affected by the government’s poor management of the pandemic.

 

At last, many videos of Hone-Krasae show which were cut and shared online can prove how well Num Kanchai can drive the movement of the people. We highly hope that he will be able to continuously use his voice fearlessly like this for a long time.

 


 

POP Powerful Voices in Crisis Icons

 

Icon: สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม)

 

เชื่อว่าใครหลายคนที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจจะต้องเคยอ่านผลงานของ ‘นิ้วกลม’ หรือ เอ๋-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ อย่างน้อยหนึ่งเล่ม และเชื่ออีกเช่นกันว่าในบรรดาหลายหมื่นหลายแสนตัวอักษรของเขา ต้องเคยมีบางส่วนบางเสี้ยวที่ได้ทำหน้าที่ส่งต่อแรงบันดาลใจและแง่คิดดีๆ ให้กับคนอ่าน

 

เช่นเดียวกับเวลานี้ เวลาที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสภาพจิตใจของผู้คนอย่างหนัก นิ้วกลมจึงเริ่มหยิบเรื่องราวและเชิญชวนบุคคลต่างๆ มาร่วมพูดคุยให้ผู้ชมได้ติดตามและทำความเข้าใจในหลากหลายประเด็น ผ่านรายการ Have a nice day! เช่น เราควรจะดูแลสภาพจิตใจตนเองอย่างไรท่ามกลางบรรยากาศการล็อกดาวน์ การถอดบทเรียนมาตรการรับมือสถานการณ์โควิดของประเทศอังกฤษที่ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้มากขึ้น รวมถึงกลุ่มคนไร้บ้านได้รับผลกระทบอย่างไรในสถานการณ์โควิด 

 

นอกจากนี้นิ้วกลมยังเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ออกมาร่วมเป็นกระบอกเสียงให้แก่ประชาชนผ่านงานเขียนของเขาที่เผยแพร่ทางเพจเฟซบุ๊ก Roundfinger เกี่ยวกับมาตรการป้องกันและเยียวยาของภาครัฐที่ไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทั่วถึง 

 

การเปิดเผยข้อมูลและมาตรการควบคุมที่สร้างความสับสนให้กับภาคธุรกิจและประชาชน รวมถึงการหยิบนำเรื่องราวของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เขาได้พบเจอมาแบ่งปันให้ทุกคนได้ตระหนักถึงว่า สถานการณ์ที่กำลังวิกฤตอยู่ในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อความฝันและสภาพจิตใจของกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างไร

 

Icons: Sarawut Hengsawad (Roundfinger)

 

It is known that many book lovers must have read at least one of ‘Roundfinger’ or Aey-Sarawut Hengsawad’s works. Among millions of his letters, some tiny parts of them must have passed forward inspirations and thoughts towards readers. 

 

At this moment, COVID-19 pandemic has had a huge impact on people’s lives and minds. Roundfinger has brought up their stories and has invited many guests on the show called ‘Have a nice day!’ trying to understand many issues which are happening. The show talks about, for instance, how to take care of your mental health during the lockdown, how England managed with COVID-19 and started being back to normal, and how the homeless got affected through the virus crisis.

 

Moreover, Roundfinger is another icon who speaks up for people through his writings on Facebook fanpage named ‘Roundfinger’. He stated about how the government’s plan couldn’t prevent the spread and how it’s inaccessible to many people.

 

Revealing information and rules that had confused many people and business owners, including sharing topics that new generations encounter, encourages everyone to realize how this current crisis has affected new generations’ dreams and mental states.

 

ภาพ: Roundfinger / Facebook

 


 

POP Powerful Voices in Crisis Icons

 

Icon: วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

 

เป็นเวลาหลายสิบปีที่ สิงห์-วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล เก็บกระเป๋า สะพายกล้อง แล้วออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ เรื่องราวของผู้คน เรื่องราวของความสุข ความทุกข์ และปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของโลก มานำเสนอผ่านสื่อต่างๆ เช่น รายการสารคดี พื้นที่ชีวิต, เถื่อน Travel, นิทรรศการภาพถ่ายและเรื่องเล่า ไปจนถึงหนังสือบันทึกการเดินทาง เพื่อหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นสะพานเชื่อมโยงให้เรื่องราวที่อาจจะดูไกลตัว ค่อยๆ เขยิบเข้ามาใกล้ตัวและหัวใจของผู้คนมากยิ่งขึ้น 

 

แม้กระทั่งในช่วงเวลาที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด ส่งผลกระทบให้การเดินทางระหว่างประเทศต้องหยุดชะงัก สิงห์ก็ยังคงออกเดินทางผ่านรายการ COVID Hero เพื่อพาทุกคนไปทำความรู้จักองค์กรต่างๆ ที่คอยช่วยเหลือผู้คนในยามวิกฤต รวมถึงเรื่องราวของผู้คนที่เราอาจจะหลงลืมหรือมองไม่เห็นว่าพวกเขาต้องใช้ชีวิตอย่างไร เช่น การพาผู้ชมไปทำความรู้จักกับมูลนิธิ Swing Thailand ที่คอยช่วยเหลือกลุ่มอาชีพขายบริการ หรือการพาผู้ชมไปสำรวจชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ฯลฯ 

 

ขณะเดียวกัน สิงห์ยังได้จัดทำรายการไลฟ์สดอย่าง วันนะซิง Report ร่วมกับ มารีญา พูลเลิศลาภ พร้อมเชิญบุคคลและกลุ่มคนจากองค์กรต่างๆ มาร่วมพูดคุยเพื่ออัปเดตสถานการณ์โควิดในปัจจุบันให้ผู้ชมได้รับทราบ เช่น ตัวแทนของกลุ่มอาสา เส้นด้าย (Zendai) ที่คอยช่วยเหลือในด้านประสานงานและหาเตียงให้แก่ผู้ป่วยโควิด และตัวแทนจากมูลนิธิ Swing Thailand ฯลฯ 

 

ไม่ใช่แค่เรื่องราวของสถานการณ์โควิดเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลากหลายรายการที่สิงห์ได้สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวและปัญหาที่ใครหลายคนอาจมองข้ามมาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจและตระหนักถึง โดยเฉพาะเรื่องราวของปัญหา Climate Change ที่หากปัญหานี้ยังไม่ได้รับการถูกแก้ไขหรือให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ในอนาคตอันใกล้เราอาจต้องเผชิญกับวิกฤตที่รุนแรงยิ่งกว่าการแพร่ระบาดของโควิดก็เป็นได้

 

Icon: Wannasingh Prasertkul

 

It has been decades since Singh-Wannasingh Prasertkul packed his luggage, held his camera, and set off to places around the world to record the histories, people’s stories, and problems hidden in a tiny place. He has talked about these topics through the show ‘Peun Tee Chee Wit documentary’, ‘Tuen Travel’, his photo and story exhibition, and his journal diary, in hopes that they will make a bridge to shorten the gap of these irrelative stories from places far away and make it easier to understand.

 

Despite the pause of travelling affected by the pandemic, Singh set off a new journey in the show ‘COVID Hero’ introducing organizations who help people in this crisis. Moreover, he talked about the story of people who we might have forgotten how they live. For example, Singh took us to know Swing Thailand which is the organization created to helps sex workers. He then took us to see the life quality of alienated workers who work in Thailand and many other topics.

 

Meanwhile, Signh has held a live show called ‘วันนะซิง Report’ with Mareeya Poonlertlarp where they invited people from organizations to talk and update the current situation to viewers. For example, one of the team members of Zendai who cooperates to find a bed for infected patients, one of Swing Thailand members, etc.

 

Singh’s works are not only related to COVID-19 situation, but there are also many other topics he has done in order to pass along the stories and problems which some of us overlooked. These problems deserve to be understood and aware of, especially climate change which may have worse effects than the pandemic if we don’t solve it now and still take it for granted.

 

ภาพ:

  • Wannasingh / Facebook
  • Wannasingh / Instagram

 


 

POP Powerful Voices in Crisis Icons

 

Icon: ลักขณา ปันวิชัย (คำผกา)  

 

ถ้าเชื่อเรื่อง ‘รัฐบาลที่ขับเคลื่อนด้วยการด่า’ 

 

เราเชื่อว่า ‘เสียง’ ของ แขก-ลักขณา ปันวิชัยแขก หรือ คำผกา คือหนึ่งในคนที่ทำให้วัฒนธรรมการด่าเป็นรูปธรรมจับต้องได้ขึ้นมาจริงๆ 

 

ถึงจะไม่ได้ผูกพันกันทางสายเลือด แต่หลายคนก็ยินดีที่จะเรียก แขก คำผกา ว่า ‘แม่!’ ด้วยลีลาการ ‘ฟาด’ ที่เฉือดเฉือน คมกริบยิ่งกว่ามีด และเจ็บยิ่งกว่าถูกฟาดด้วยไม้เรียวหรือก้านมะยม

 

อย่างที่เราเห็นในรายการ In Her Eyes และ Talking Thailand จากสำนักข่าว Voice TV ที่มักจะมีคนตัดไฮไลต์ตอนที่เธอเปิดโหมด ‘เครื่องจักรแห่งการด่า’ ส่งข้อความที่ใครหลายคนแค่คิดในใจ แต่ไม่สามารถสร้างสรรค์ถ้อยคำที่ลื่นไหลไปถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

 

ถึงแม้จะเรียกว่า ‘เครื่องจักร’ แต่เธอคือเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนด้วยเหตุผลและชุดข้อมูลที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์มาเป็นอย่างดี โดยมีคำผรุสวาทเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้ชุดคำที่ออกมาทรงพลังมากขึ้น 

 

ตั้งแต่เรื่องสากกะเบือยัน ‘เรือดำน้ำ’, วิกฤตผู้ป่วย, เตียงพอ, คอร์รัปชัน, วัคซีน VIP, สารพัดความล้มเหลวในการแก้ปัญหาของรัฐบาล ไปจนถึง ‘ภาวะความเป็นผู้นำ’ ของคนระดับสั่งการที่มีน้อยเหลือเกิน 

 

และไม่ใช่แค่ฝั่งรัฐบาล แต่ใครก็ตามที่มีพฤติกรรมหรือแนวคิดน่าสงสัย (บางคนอาจจะเรียกว่า ‘บูด’ หรือ ‘บ้ง’ แขก คำผกา ก็พร้อมที่จะเดินเครื่องชวนให้ผู้คนคิด วิเคราะห์ แยกแยะ สร้างวัฒนธรรมของการวิพากษ์วิจารณ์ให้ทุกคนทำได้เป็นเรื่องปกติ 

 

จาก ‘การด่า’ ที่บางคนอาจตั้งคำถาม จนตอนนี้กลายเป็นว่า ทุกครั้งที่เกิดปัญหา เราจะนึกถึง ‘เสียง’ ของเครื่องจักรแห่งการด่าคนนี้ขึ้นมาทันที

 

Icon: Lakkhana Panwichai (Kam Phaka)

 

If you support the idea that ‘the government is driven by cursing’

 

The ‘voice’ of Lakkhana Panwichai or Kam Phaka is another icon which makes the cursing culture visibly rise. 

 

Even though they are not relatives, many people are willing to call Kam Phaka the ‘mother!’ because of her barbed way with words, which are sharper than a knife and more hurtful than being hit by a cane.

 

As we have seen in the show ‘In Her Eyes’ and ‘Talking Thailand’ from Voice TV, there are some highlight parts when Kam Phaka started her ‘cursing machine mode’. The way she uttered the words in people’s mind was catching, because we sometimes couldn’t create a flowy sentence when talking about the government and related groups, not like what she did.

 

Despite being called a ‘machine’, Kam Phaka is a machine full of reasons and analyzed datas. Those cursing words are used as a grease to create immensely powerful sentences.

 

She has criticised everything the government did from soup to nuts, including the military submarines, new case crisis, insufficient bed in hospital, corruption, VIP vaccines, government’s failure, and the tiny amount of ‘leadership’ from the leader.

 

Not only the government, but whoever stated fallacy opinions (as a slang word ‘rotten’), Kam Phaka was ready to start the machine and encouraged viewers to think and analyze. Her curses have normalized a criticisable culture. Instead of questioning the curse, it turned out that we think of this cursing machine ‘voice’ every time a problem occurred.

 


 

POP Powerful Voices in Crisis Icons

 

Icon: อแมนด้า ชาลิสา ออบดัม 

 

“สิ่งที่ควรหามาฉีดให้ประชาชน คือวัคซีนที่มีคุณภาพค่ะ อย่างอื่นพักฉีดก่อน” 

 

ตัวอย่าง ‘เสียง’ เล็กๆ แต่มีพลัง จาก อแมนด้า ชาลิสา ออบดัม เจ้าของมงกุฎ Miss Universe Thailand 2020 ที่เปิดโหมด ‘ฟาดแบบสับ’ จนหลายคนเรียกเธอว่า ‘นางงามของประชาชน’ 

 

อแมนด้า คือหนึ่งในนางงามที่เปิดหน้าใช้เสียงและพื้นที่ของตัวเองวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง และประกาศจุดยืน 5 แนวคิดที่เธอสนับสนุน ได้แก่ ประชาธิปไตย, หลักการสิทธิมนุษยชนคือหัวใจหลักในการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์, ต่อต้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ, เสรีภาพในการพูดบนพื้นฐานความจริง และความเท่าเทียมกันของทุกคน มาตั้งแต่เหตุการณ์กระชับพื้นที่และควบคุมตัวแกนนำจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 13-14 ตุลาคม 2563 

 

ช่วงต้นเดือนมีนาคม 2564 เสียงที่ดังขึ้นเรื่อยๆ ของอแมนด้ามีราคาที่ต้องจ่าย เมื่อกรมสุขภาพจิตออกแถลงการณ์ยุติการเป็นทูตด้านสุขภาพจิต ทั้งที่เพิ่งแต่งตั้งให้เธอรับตำแหน่งได้ไม่ถึง 1 สัปดาห์ โดยให้เหตุผลว่า กรมสุขภาพจิตไม่สามารถดำเนินภารกิจที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างความไม่สบายใจแก่ประชาชนในสังคม

 

แต่ในราคาที่ต้องจ่าย อแมนด้าก็มีสิ่งที่ได้รับ คือเสียงสนับสนุนจากคนจำนวนมากที่เข้ามาให้กำลังใจ ส่วนเธอก็เดินหน้า ‘ฟาด’ รัฐบาลต่อไป เพื่อตอบแทนแรงใจที่ได้รับกลับมา และ ‘เสียง’ ของเธอก็มีพลัง และดังขึ้นมากจริงๆ 

 

ดูจากทวิตเตอร์ของอแมนด้าในช่วงหลัง ที่ไม่ว่าจะฟาดเรื่องไหน จะมียอดรีทวีตการันตีที่หลักหมื่น เช่น

 

“อยากให้อุปกรณ์ทางการแพทย์พร้อมเพรียงและครบถ้วน เหมือนอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน น่าจะช่วยคนได้อีกเยอะเลย” มีคนรีทวีตล่าสุดที่ 62,000 ครั้ง 

 

หรือจะมาแบบเบาๆ มีหางเสียง “ขอไฟเซอร์ให้หมอนะจ๊ะ” ยอดรีทวีตก็พุ่งไป 80,000 ครั้ง 

 

ไม่ใช่แค่ฟาดแต่บนโซเชียลมีเดีย หรือคอยเป็นกระบอกเสียงเพื่อคนที่เดือดร้อน อแมนด้าและเพื่อนๆ Miss Universe Thailand ได้ร่วมเป็นเป็นหนึ่งในอาสาสมัครกลุ่ม เส้นด้าย เข้าอบรมการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี เตรียมตัวสำหรับการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจากวิกฤตโควิดอย่างถูกต้อง

 

เรียกว่าเป็นนางงามของประชาชนทุกคน โดยไม่ต้องวงเล็บว่า (คนดี) อย่างแท้จริง 

 

Icon: Amanda Chalisa Obdam

 

“Thing you should find to jab people is the qualified vaccines. Anything else needs to be on hold.”

 

A little but powerful voice from Amanda Chalisa Obdam, the owner of Miss Universe Thailand 2020 crowd, was stated so savagely that she was called ‘Miss Universe of the people’.

 

Amanda is one of the beauty queens who has been using her voice and space to criticise the government. She has declared 5 things she supports which are democracy, basic human rights to practice with humans, anti-violence, freedom of speech, and equality since the protest leaders and others were charged on October 13th-14th, 2020.

 

In the beginning of March, 2020, the loud voice of Amanda has got to pay its price when Department of Mental Health announced to dismiss Amanda from her role as the country’s mental health ambassador even though she had taken this name for less than a week. It was said that Department of Mental Health couldn’t continue this work as it might cause conflict and uneasiness to people in the society.

 

Besides the price she got, Amanda has received support from many people who wanted to cheer her up. Therefore, Amanda has forwarded to ‘beat’ the government in order to pay back the support with her louder and more powerful voice.

 

It was seen that Amanda’s tweet would get a guaranteed amount of retweets at ten thousand above these days when she stated an opinion.

 

“I want the medical equipment to be as abundant and complete as these police equipment. It may be more helpful to a lot of people.”, Amanda’s 62K retweeted message.

 

Even when she softly said “Pfizer for medical workers, please”, it was retweeted 80K times.

 

Not only on social media sites that she used her voice for people, Amanda and her Miss Universe Thailand friends were also one of the team members of Zendai to train basic steps to rescue patients and learn how to prepare themselves to help COVID-19 affected people properly.

 

It can be said that Amanda is the real angel of the people with no need to put (good person) at the end.

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X