ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘การบริโภคอาหารในช่วงโควิด-19’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,273 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการบริโภคอาหารในช่วงโควิด-19 เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากการสำรวจเมื่อถามถึงรายได้ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.51 ระบุว่า แย่ลง รองลงมาร้อยละ 37 ระบุว่า เหมือนเดิม และร้อยละ 1.49 ระบุว่า ดีขึ้น
ส่วนความเพียงพอต่อการใช้จ่ายของรายได้ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 17.91 ระบุว่า เพียงพอ ร้อยละ 16.03 ระบุว่า ค่อนข้างเพียงพอ ร้อยละ 33.46 ระบุว่า ไม่ค่อยเพียงพอ ร้อยละ 32.13 ระบุว่า ไม่เพียงพอเลย และร้อยละ 0.47 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความกังวลต่อเงิน/รายได้ หรือทรัพยากร สำหรับการบริโภคอาหารที่จำเป็นพบว่า ร้อยละ 21.13 ระบุว่า มีความกังวลมาก ร้อยละ 38.18 ระบุว่า ค่อนข้างมีความกังวล ร้อยละ 23.80 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกังวล ร้อยละ 16.65 ระบุว่า ไม่มีความกังวลเลย และร้อยละ 0.24 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามผลกระทบต่อเงิน/รายได้ หรือทรัพยากรในการหาซื้อหรือจัดหาอาหารเพื่อการบริโภค จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค-19 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.86 ระบุว่า บริโภคได้ตามปกติ รองลงมา ร้อยละ 35.43 ระบุว่า บริโภคอาหารครบทุกมื้อ แต่จำกัดชนิดอาหาร เพื่อประหยัดเงิน ร้อยละ 17.44 ระบุว่า งดบริโภคอาหารดี มีคุณค่า และมีราคา เพื่อประหยัดเงิน ร้อยละ 13.75 ระบุว่า ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ ขณะที่ร้อยละ 8.01 ระบุว่า งดอาหารบางมื้อ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ได้บริโภคอาหารทั้งวันเพราะไม่มีเงิน และร้อยละ 0.24 ระบุว่า ทั้งครัวเรือนไม่มีอาหารเหลือเพราะไม่มีเงิน
สำหรับการออกไปรับอาหารแจกฟรีตามสถานที่ต่างๆ หรือไปรับอาหารจากตู้ปันสุข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.19 ระบุว่า ไม่เคยไปรับ ขณะที่ร้อยละ 16.81 ระบุว่า เคยไปรับ
ด้านพฤติกรรมการบริจาคเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.89 ระบุว่า ไม่เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ ขณะที่ร้อยละ 35.11 ระบุว่า เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ โดยในจำนวนของผู้ที่เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.07 เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ของตนเอง และร้อยละ 32.20 ระบุว่า เคยร่วมแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ของหน่วยงาน/องค์กร/สมาคม
ทั้งนี้เมื่อสอบถามผู้ที่เคยแจกเงิน อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เกี่ยวกับมูลค่าของสิ่งของ อาหาร หรือเงินที่แจก พบว่า ร้อยละ 62.30 ระบุว่า มูลค่าไม่เกิน 1,000 บาท ร้อยละ 23.25 ระบุว่า มูลค่า 1,001-5,000 บาท ร้อยละ 3.16 ระบุว่า มูลค่า 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 2.25 ระบุว่า มูลค่า 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 3.17 ระบุว่า มูลค่า 20,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 5.87 ระบุว่า ไม่ระบุ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการได้รับเงินช่วยเหลือ/เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากรัฐบาลพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.42 ระบุว่า ไม่เคยรับ ขณะที่ ร้อยละ 46.58 ระบุว่า เคยรับ โดยในจำนวนของผู้ที่เคยได้รับเงินช่วยเหลือ/เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จากรัฐบาล ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.01 ระบุว่า เคยรับเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท ผ่านโครงการเราไม่ทิ้งกัน รองลงมาร้อยละ 37.77 ระบุว่า เคยรับเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท สำหรับกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 2.53 ระบุว่า เคยรับเงินเยียวยาจากสำนักงานประกันสังคม และร้อยละ 1.69 ระบุว่าเคยรับเงินเยียวยาสำหรับกลุ่มคนที่มีความเปราะบางทางสังคม เช่น เด็กแรกเกิด ผู้พิการ และคนชรา
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
อ้างอิง: