ประมาณ 30% ของการ์ด Pokémon ที่สร้างจากแอนิเมชันญี่ปุ่นที่มีชื่อเดียวกัน และซื้อขายตั้งแต่ปี 1997 ถูกพิมพ์ออกมาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังคือ ‘นักเก็งกำไร’
ปีที่แล้วบริษัท Pokémon ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Nintendo และอีก 2 บริษัทที่จัดการผลิตภัณฑ์ Pokémon ทั้งหมด กล่าวว่า “เราตระหนักดีว่าแฟนๆ บางคนกำลังประสบปัญหาในการซื้อผลิตภัณฑ์ Pokémon (การ์ดเกม) เนื่องจากมีความต้องการสูงมาก ” และสัญญาว่าจะพิมพ์ซ้ำ ‘ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบในปริมาณสูงสุด’
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- Niantic ผู้พัฒนาเกม Pokémon Go อันโด่งดัง กำลังปลดพนักงานกว่า 8% และยกเลิก 4 โปรเจกต์ใหม่
- จากอารมณ์หวนคิดถึงวัยเยาว์ของชาวมิลเลนเนียล สู่ ‘ยุคตื่นทองการ์ด Pokémon’ ที่ทำให้ผู้สะสมและสตาร์ทอัพก้าวขึ้นเป็น ‘เศรษฐี’ ในชั่วพริบตา
- ชวนดู ‘การ์ด Pokémon’ ของสะสมราคาหลักล้านบาท
ในเดือนมิถุนายน Pokémon ได้ออกมาเผยว่า การพิมพ์ซ้ำปริมาณสูงสุดหมายถึงอะไร โดยได้เปิดเผยว่า บริษัทได้พิมพ์การ์ดเกม 9 พันล้านใบระหว่างเดือนมีนาคม 2021 – มีนาคม 2022 ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของปริมาณที่พิมพ์เมื่อปีก่อน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยประจำปีที่ 1 พันล้านใบ
จนถึงปัจจุบัน Pokémon ได้พิมพ์การ์ดเกมประมาณ 43.2 พันล้านใบตั้งแต่เปิดตัว
“การพิมพ์ซ้ำนั้นได้ผล” Charlie Hurlocker ที่ปรึกษาอาวุโสของ CGC บริษัทที่ประเมินคุณภาพของการ์ดก่อนการประมูล บอกกับ Polygon Hurlocker กล่าวพร้อมเสริมว่า แม้แต่การ์ดทั่วไปส่วนใหญ่ก็ยังขายได้ในราคา 6 เซนต์ในช่วงที่ความนิยมของ Pokémon สูงในปีที่แล้ว
สิ่งที่น่าสนใจคือตลอดปี 2021 นักลงทุนรายย่อยใช้เงินสดหุ้นในลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ด้วยความหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ในขณะที่บางคนตัดสินใจลงทุนในการ์ด Pokémon
ปกติแล้วการ์ด Pokémon จำหน่ายเป็นแพ็กในราคาเท่ากันที่ 4 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 150 บาท ซึ่งประกอบด้วยการ์ดทั่วไปและการ์ดหายาก ซึ่ง ‘การ์ดหายาก’ สามารถทำราคาได้สูงสำหรับผู้ที่โชคดี
ในเดือนเมษายนปี 2021 ลูกค้ารายหนึ่งสามารถเปิดได้การ์ด ‘Shiny Charizard VMAX’ ซึ่งสามารถขายต่อได้ในราคา 350 เท่า หรือ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 50,000 บาท) แม้แต่การ์ดที่เก่ากว่าและหายากกว่าก็สามารถขายได้เป็นเงินมหาศาล เมื่อต้นปีที่แล้วการ์ดโฮโลแกรม Charizard จากปี 1999 ขายบน eBay ในราคา 311,800 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 11 ล้านบาท
ความโชคดีที่อาจเกิดขึ้นทำให้นักสะสมต่างแห่ไปซื้อการ์ด Pokémon ด้วยหวังว่าจะได้การ์ดหายากที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเข้ากระเป๋า ซึ่งความสนใจในการซื้อขายการ์ด Pokémon ในฐานะสินทรัพย์เพิ่มขึ้นสูงมากในปีที่แล้ว ทำให้ต้องเข้าคิวรอจากบริษัทตรวจสอบถึง 10 เดือนเลยทีเดียวเพื่อประเมินมูลค่าการ์ด
กระนั้นดูเหมือนการคลั่งไคล้จะเย็นลงแล้ว รวมไปถึงการลงทุนอื่นๆ เช่น NFT สินทรัพย์ประเภทนี้มีมูลค่าลดลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนบางส่วนหันไปหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
อ้างอิง:
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
- Twitter: twitter.com/standard_wealth
- Instagram: instagram.com/thestandardwealth
- Official Line คลิก https://lin.ee/xfPbXUP