×

‘เสีย 100 ล้านได้ถ้ามีอนาคต’ วิธีคิดแบบ Banker Mindset ของ พิพิธ กสิกรไทย ในยุคเปลี่ยนผ่าน

18.10.2019
  • LOADING...

หากพูดถึง ‘การเงิน’ สมัยก่อนเราอาจนึกถึงแค่ ‘ธนาคาร’ แต่การมาถึงของยุคเปลี่ยนผ่านทำให้เริ่มมีศัพท์ใหม่เข้ามาแทรกแซง ไม่ว่าจะเป็น FinTech หรือ Cryptocurrency

 

ธุรกิจการเงินจึงต้องเร่งปรับตัวและเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับธนาคารกสิกรไทย ภายใต้การนำทัพของ พิพิธ เอนกนิธิ ชายผู้กำลังพาองค์กรที่มีพนักงานกว่า 25,000 คนฝ่าวิกฤตดิสรัปชัน

 

กสิกรไทยกำลังมุ่งหน้าไปทางไหน FinTech ใช่คู่แข่งหรือไม่ อะไรคือความท้าทายสูงสุดในวงการการเงินยุคนี้

 

สุทธิชัย หยุ่น คุยกับ พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ในรายการ THE ALPHA

 


 

รับชม THE ALPHA: Era of Digital Transformation EP.5 ในรูปแบบวิดีโอสัมภาษณ์

 

 

พูดถึงเทคโนโลยีที่มาสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับมโหฬาร ถ้าเทียบเป็นสึนามิ ตอนนี้สึนามิลูกนี้อยู่ที่ไหน

ผมว่ามองรู้ว่าจะเกิดสึนามิดีกว่านะฮะ รู้ว่ามีแผ่นดินไหวแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับสึนามิว่าจะส่งสัญญาณเข้าหาดไหน หรือจะอยู่ส่วนไหนของโลกดีกว่า เปรียบเทียบเหมือนอุตสาหกรรมไหนจะโดนหรือไม่โดน ใครจะโดนก่อนหรือโดนหลัง อย่างนั้นดีไหมครับ (หัวเราะ)

 

ใช่ ภาพรวมที่ผมเห็นพูดถึงทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการเงิน วงการแพทย์ วงการสื่อ แม้กระทั่งวงการมหาวิทยาลัยก็เจอกันหมดเลย ความแรงและความเร็วอาจจะต่างกัน แต่ผมเชื่อว่าผลกระทบมันพอๆ กันเลย ดังนั้นฝ่ายตั้งรับมีความพร้อมที่จะปรับตัวมากน้อยแค่ไหน 

Sooner or Later ผมว่าเกิดขึ้นแน่ ใครจะโดนเยอะ โดนน้อย หรือโดนเมื่อไรแค่นั้นเองนะครับ ท้ายที่สุดก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว ส่วนตัวผมเชื่อว่าผมสนใจเรื่องนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ใน 100 ปีที่ผ่านมา เรามักจะตกใจในช่วงแรก ถ้ามาดูกราฟ อยู่ๆ โตมาอย่างนี้แล้วอยู่ๆ มันหายไปเลย ท้ายที่สุดโลกมันจะโตขึ้นเสมอ

 

ทุกครั้งเลยนะ

ทุกครั้งเลย ตั้งแต่ Industrial Revolution ที่เราบันทึกประวัติศาสตร์ในเรื่องการเจริญเติบโต ยกเว้นหนังสือ Sapiens: A Brief History of Humankind อันนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ผมว่ามันคงมี diff อยู่สักแป๊บหนึ่ง แล้วท้ายที่สุดทุกอย่างมันจะถูกรีบาลานซ์ หาสมดุลใหม่กันอีกรอบหนึ่ง ทุกครั้งที่ผ่านมามันจะขับเคลื่อนการพัฒนาของเศรษฐกิจและการพัฒนาของสังคมโลก ทุกครั้งเลยนะครับ เพราะฉะนั้นครั้งนี้เนื่องจากว่าเราไม่ได้ยืดเวลาให้ยาวมากกว่านี้ พอเรามองเห็นว่าเราเป็นคนที่อยู่ในช่วงเวลานี้ เรารู้สึกว่ามันน่ากลัวยังไงไม่รู้นะครับ ก็เลยบอกว่าถ้าเราเรียนประวัติศาสตร์มานะ นี่มันคือสิ่งที่โลกกำลังจะดีขึ้น ตอนนี้ผมมองอย่างนี้

 

แปลว่าความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มันต่างกับครั้งก่อนๆ ในความแรงและความเร็ว ทุกครั้งเรามองดูการปฏิวัติอุตสาหกรรม  แต่ละครั้งมันใช้เวลา 10-20 ปี แล้วคนก็มีเวลาปรับตัว คนก็จะรู้ว่าถ้าเราปรับอย่างนี้มันเวิร์ก ปรับอย่างนี้ไม่เวิร์ก แต่ครั้งนี้มันไม่มีสูตรขนาดนั้น 

สูตรคงไม่มีนะครับ แต่ถ้าสมมติเราเป็นผลพวงของ Industrial Revolution ของประเทศอังกฤษ หนังสือ Oliver Twist เต็มไปด้วยเด็กที่มันเหลือขอกันเต็มไปหมด เหมือนกันเลย แต่ทางนั้นบอกว่าถ้าเราเป็นวันที่โลกอยู่สปีดนี้ ความรู้ขนาดนี้ กลับไปอยู่ในช่วง Industrial Revolution เราคงบอกว่าเราสู้ได้สบาย (หัวเราะ)

 

ความเร็วตอนนี้ ถ้าเราย้อนกลับไป โอ๊ย อันนั้นสบาย เพราะมันมาทีละขั้นทีละตอน

ใช่ครับ

 

แต่ถ้าถามคนสมัยนั้น วาดภาพได้ไหมว่าวันหนึ่งความเปลี่ยนแปลงมันจะมาเร็วอย่างนี้ ถ้าตอนนั้นบอกว่าเป็นไปไม่ได้

ถูกต้อง

 

ความเปลี่ยนแปลงมันต้องมีสัญญาณชัดเจน มันต้องบอกกับเราว่าเปลี่ยนอย่างนี้แล้วจะไปสู่อะไร แต่ครั้งนี้หลายคนบอกว่ามันไม่มีรูปแบบเดิม ไม่เหมือนเก่าเลย เรียนรู้จากอดีตก็ไม่ได้เลย

ใช่ครับ แต่ผมก็เชื่อว่าท้ายที่สุดมนุษย์จะปรับตัวได้ แล้วทุกอุตสาหกรรมจะปรับตัวได้ แต่ไม่ได้บอกว่าทุกคนจะรอด ดูสิ่งที่ผมรู้สึกส่วนตัวเองและเป็นห่วงนะครับ ลองไปสแกนดู เคยไปเรียนหนังสือที่ Singularity University สิ่งที่เห็นมีความรู้สึกว่า The Future of Abandoned เต็มไปหมดเลยที่จะหยิบทุกสิ่งทุกอย่างมาใช้ในการสร้างนวัตกรรมให้โลกดีกว่าเดิม แต่สิ่งที่น่าจะเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ ผมเห็นด้วยกับคุณสุทธิชัยว่ามันจะเร็วและแรงกว่าเดิมเยอะ จนกระทั่งคำว่า The Existing เขาเรียกว่าอะไรนะ Governance Structure ที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจจะไม่สามารถรับมือกับมันได้ เอา AI มาให้รถยนต์ขับรถ ตกลงในภาวะวิกฤตนี่จะชนเด็กหรือชนหมอ หรือจะชนคนท้อง หรือจะชนใครก็ต้องชนสักคนหนึ่ง เขาก็ยกตัวอย่างพวกนี้มาอภิปรายกันอย่างสนุกสนาน 

 

เป็นเรื่องสำคัญมากเลย ในอดีตเราไม่ต้องพะวงกับเรื่องนี้ เพราะมันมีกฎกติกาที่มนุษย์กำหนด

ถูกต้องครับ

 

ตอนนี้ AI มันฉลาดขึ้นแล้ว ตรงนี้ Singularity University เขามีคำตอบไหม

ผมว่ามันช่วยให้คนคิดให้ถ้วนถี่ ก่อนที่สร้างนวัตกรรมอะไรให้คิดถึงเรื่องพวกนี้ด้วย แล้วผมว่าเป็นหน้าที่ของ Public Sector ที่จะต้องนำในเรื่องนี้ รู้ทัน แล้วจะได้วางโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องระบบควบคุมการจัดการ การสนับสนุน เรียกได้ว่าเป็น Government ก็แล้วกัน ซึ่งตรงนี้ทุกๆ เรื่องมันเต็มไปด้วย Governance ที่มีความท้าทาย แต่ผมกลับรู้สึกไม่ห่วงในการที่มนุษย์จะมีความสามารถสมัยใหม่ในการที่จะใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาแล้วใช้เป็นประโยชน์ สร้างเป็นคุณค่าใหม่ให้กับมนุษยชาติทั้งหมดได้ แต่ที่น่ากลัวคือมันมพร้อมผลข้างเคียงของมัน ซึ่งระบบมันจะตามไม่ทัน อันนี้เป็นความท้าทายมากกว่า

 

แต่มันก็มีการถกแถลงกันอยู่ในขณะนี้ระหว่างค่าย อีลอน มัสก์ กับค่ายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ว่าถึงจุดหนึ่ง AI จะฉลาดกว่ามนุษย์

เป็น Superhuman แล้วใครคอนโทรล Ethical มาตรฐานคืออะไรครับ สมมติว่าฝังชิปเข้าไปเพื่อรักษาโรค ฝังไป 10 ออร์แกนแล้ว ฝังไป 10 อวัยวะแล้ว คุณเป็นคนหรือไม่ใช่คน 

 

(หัวเราะ) นั่นสิ 

ใช่ไหมครับ แล้วกฎหมายไหนเป็นคนควบคุม ผมว่านี่คือความท้าทาย แต่สิ่งที่รู้สึกมันเห็นชัดเจนคือเรามีโอกาสสร้างอะไรให้กับมนุษย์ได้ดีขึ้นกว่าเดิมและเร็วกว่าเดิมเยอะ แต่ในขณะเดียวกันอีกข้างหนึ่งคือของ Governance ที่จะทำให้สังคมอยู่อย่างสงบสุขเหมือนที่เคยเป็นมานั้นมีความท้าทายอย่างมาก

 

มันต่างจากการปฏิวัติทุกครั้งที่ผ่านมา อีกประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าใหญ่มากก็คือมันกำลังจะถึงจุดที่แม้กระทั่งคำว่าพระเจ้าก็จะมีคำถามขึ้นมาว่า ตกลง AI หรือนวัตกรรมใหม่กำลังมาทดแทนพระเจ้าหรือเปล่า แต่ก่อนนี้เราเชื่อว่าพระเจ้าเป็นคนกำหนดชีวิตมนุษย์ ไม่ว่ามันจะเปลี่ยนแปลงมากมายขนาดไหน มันอยู่ภายใต้กรอบที่พระเจ้ากำหนด แต่มาถึง AI มีคนบอกว่ามันอยู่นอกเหนือจากที่เราเคยเชื่อว่าพระเจ้ากำหนดได้ด้วยซ้ำ ดังนั้นมันจะมาท้าทายความเชื่อเรื่องศาสนาอย่างลึกซึ้งด้วยหรือเปล่า นอกจากเรื่องเศรษฐกิจและธุรกิจที่เราคุยกันอยู่ 

ผมมีความเชื่อว่าอย่างนั้นนะครับ (หัวเราะ) จากเดิมถ้าเราอ่านหนังสือเรื่อง Sapiens: A Brief History of Humankind

 

แล้วเล่มล่าสุดก็คือ Homo Deus: A Brief History of Tomorrow

Homo Deus ตัวนี้คือขั้นเทพเลย เพราะว่าเป็นตรรกะที่ดีมาก สมัยก่อนพอเรารวมตัวกันได้ เขาก็บอกว่าขอฟ้าขอฝน แล้วต้องไปขอจากใครเพื่อสังคมเกษตร มันก็อยู่กันแล้วเนี่ย มนุษย์ยุคนั้นทุกคนก็เลยพึ่งเทวดาที่มองไม่เห็น สังคมมันวิวัฒนาการมาเป็นแบบนั้น ซึ่งนี่เป็นความท้าทายมาก

 

ตอนนี้เทวดามองเห็น เพราะเราเป็นคนสร้างมันขึ้นมา ส่วน AI นั้นมนุษย์สร้างขึ้นมา AI เป็นคนโปรแกรม เราโปรแกรม AI แต่เราโปรแกรมให้มันฉลาดขึ้น 

แต่ท้ายที่สุดผมว่าถ้าไม่มี Governance ผมก็เชื่อว่ามันจะคอนโทรลไม่ได้

 

แล้วสุดท้ายใครเป็นคนกำหนดล่ะ 

ท้ายสุดมนุษย์หรือ Superhuman อาจจะต้องเป็นคนกำหนด

 

Superhuman นี่ไม่ใช่เรานะ

เราที่มีส่วนผสมของ Driven หรือ Powered by something แล้ว ไม่ใช่เราแล้วนะครับ

 

น่ากลัวมากนะ

ผมว่าน่ากลัวมาก

 

มันสนุก มันท้าทาย และมันก็น่ากลัวมาก

ใช่ครับ นี่เป็นนวนิยายการพัฒนาของสังคมโลกเลยนะ  

 

เดิมทีเราก็อ่านเรื่องพวกนี้ในนิยายวิทยาศาสตร์ เราเชื่อว่ามันคงเป็นแค่นิยายเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ตอนที่ผมเด็กๆ ผมก็อ่านนิยายวิทยาศาสตร์สนุกมาก แต่ผมคิดว่าเป็นความเพ้อฝันที่สนุก ขนาดเรื่องดาวอังคาร ตอนนั้นเราก็คิดว่ามันคงเพ้อฝันเฉยๆ ไม่ต้องพูดถึงดวงจันทร์นะ ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ไม่เคยเชื่อว่ามนุษย์จะออกนอกโลกไปถึงขนาดนั้นได้ แต่วันนี้ผมมองย้อนกลับไปตอนผมเด็กๆ แล้วผมเชื่อว่าการไปดาวอังคารเป็นเรื่องเพ้อฝัน วันนี้ผมเชื่อแล้วนะว่ามันเป็นไปได้ 

ผมก็เป็นอย่างนั้น เลยบอกว่าผมไม่มีข้อสงสัยแล้วว่าเราจะใช้นวัตกรรมที่เราช่วยกันสร้างอย่างรวดเร็ว แล้วก็สร้างอะไรที่มีคุณค่า เป็นนวัตกรรม และน่าตื่นเต้นสำหรับมนุษย์ แต่สิ่งผมมีรู้สึกว่ามันท้าทายว่านั้นและเป็นความท้าทายของทั้งโลกคือตกลงจะสร้างนิยามกันใหม่ไหมว่าอันนี้คือมนุษย์หรือไม่ใช่มนุษย์ อันนี้คือ Superhuman หรืออันนี้เป็น Human หรือนี่เป็น Machine แล้วจะไป Govern กันยังไง มันเริ่มล้ำ 

 

แต่ผมมองว่ามันทำให้เราต้องคิดมากขึ้นกว่าเดิม แล้วเรื่องจริยธรรม กรอบศีลธรรม กับเรื่องของวิทยาศาสตร์ มันเริ่มที่จะมาพบกัน แต่เราไม่รู้ว่าเส้นแบ่งเป็นอย่างไร ผมจำได้ว่าตอนโคลนนิ่งเกิดใหม่ๆ แกะดอลลี่ ตอนนั้นถกกันอย่างรุนแรงเลยว่ามนุษย์กำลังไปยุ่งกับพระเจ้าหรือเปล่า เพราะเรากำลังจะโคลนให้เหมือนกับสิ่งที่ธรรมชาติผลิตออกมา ซึ่งเราเชื่อว่าพระเจ้ากำหนดว่าสัตว์และมนุษย์จะออกมาลักษณะอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง แต่ตอนนั้น 20 กว่าปีแล้วมั้ง พอมีโคลนนิ่ง คำถามใหญ่มากเลยก็คือถ้าคุณโคลนแกะได้ คุณก็โคลนมนุษย์ได้ คุณโคลนมนุษย์อย่างที่คุณต้องการได้ คุณโคลนมนุษย์ให้เป็นคนดีก็ได้ คุณโคลนมนุษย์ให้เป็นมาเฟีย ให้เป็นโจรก็ได้ ตอนนั้นก็เรื่องใหญ่แล้วนะ แต่ AI มันยิ่งกว่าโคลนนิ่งไหม

ผมว่ายิ่งกว่า เพราะว่ามันใส่โปรแกรมมิ่งได้ แต่โคลนนิ่งมันเป็น Issue อยู่นะ ตอนนี้ดูเหมือนเราก็พยายามสร้าง Carbon Emission การเลี้ยงสัตว์ ปศุสัตว์ กว่าจะได้เป็นโปรตีนมา Carbon Emission มันเยอะมาก ตอนนี้ก็เลยมีคนทำเนื้อเทียมขึ้นมา คำถามคือเนื้อเทียมเนี่ยตกลงว่าเป็นเนื้อไหม

 

มันเนื้อหรือเปล่า

Source of Protein แต่มันเป็นเนื้อไหม มันมีสารก่อมะเร็งไหม มันมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมนุษย์หรือไม่ นี่คือสิ่งที่น่ากลัว แล้วเปลี่ยนแปลงไปแล้วมันจะกลายเป็นคนที่ไม่ดีหรือเปล่า มันจะเป็นอันตรายต่อโลกหรือเปล่า (หัวเราะ) อันนี้คือ Governance ถูกไหมครับ

 

แล้วบุคลิกนี้เรากำหนดได้ไหม คือแต่ก่อนเราเชื่อว่าเครื่องจักรเนี่ย เรากำหนดเฉพาะสิ่งที่เราสั่งให้มันทำได้ แต่ช่วงหลัง Machine Learning ทำให้เรามองว่ามันมีจิตวิญญาณได้ด้วยหรือเปล่า หรือท้ายที่สุดตอนนี้อาจยังห่างไกล แต่วันหนึ่งมันจะมีความเป็นมนุษย์ 

มีการเรียนรู้ น่ากลัวครับ (หัวเราะ)

 

แล้วในแง่ของ Banking ในแง่ของคุณพิพิธที่ต้องมารับผิดชอบ Digital Transformation ของแบงก์เนี่ย

คือส่วนตัวผมมีความรู้สึกอันหนึ่งนะครับ แบงก์ไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่ถูก Disrupt นะ Media ไปแล้ว เราอาจจะอยู่ที่ 4-5 ก็ไม่ได้บอกว่าเราปลอดภัยนะครับ แต่เท่าที่สังเกตดูนะคุณสุทธิชัย แรกๆ เรากลัว ถ้าคุณสุทธิชัยจำได้ ที่เราคุยกัน 3-4 ปีที่แล้วเขากลัวว่า FinTech คืออะไร 

 

FinTech จะมาล้มเราไหม

ใช่ๆ แล้วท้ายที่สุดสิ่งที่เราเห็น FinTech ก็ล้มไปเยอะมากนะครับ มาวันนี้แม้กระทั่งบริษัทซึ่งอยู่ในระดับ Unicorn นะครับ ถ้าไปดูที่ The Economist เคยลงเรื่องความสามารถในการทำกำไร เขาเรียกว่า Traction คือได้ลูกค้ามาเยอะมาก 20-30 ล้าน แต่มาดูกำไรปุ๊บ รวมของบริษัทตรงนี้ปั๊บ ดูดเงินของโลกไปเยอะมาก ไม่ได้สร้างกำไร ซึ่งวันนี้ทุกคนก็วิ่งหาคนซึ่งเป็น Incumbent Players คือคนที่เห็นอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วก็พยายามสร้างเป็นทีมขึ้นมา สร้างเป็น Partnership Model ขึ้นมา แข่งก็คือแข่ง ร่วมมือก็คือร่วมมือ สังเกตว่าวันนี้เราเดตกันเต็มไปหมด วันๆ เราก็เดตคนโน้นคนนี้เต็มไปหมด ซึ่งผมว่าอันนี้มาถึงจุดซึ่งมันเริ่มสร้างสมดุลใหม่ให้เกิดการแข่งขันที่มีคุณภาพ แล้วก็มีสุขภาพที่ดีสำหรับระบบเศรษฐกิจ เพราะจริงๆ แล้วพวกนี้ก็เก่ง Tech เก่ง Innovation แต่ในเชิงของความเข้าใจตลาด ความเข้าใจลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแบงก์นะครับ เรื่องของ Regulation คือเรื่องใหญ่ เพราะแบงก์เป็นคนที่รับเงินฝากถูกไหมครับ

 

และความน่าเชื่อถือก็สำคัญ

ถูกต้องครับ

 

ตัวแบรนด์และความน่าเชื่อถือยังเป็นหัวใจอยู่ คุณเป็นสตาร์ทอัพที่เก่งแค่ไหนก็ตาม แต่คุณยังไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือตรงนั้นได้

เพราะฉะนั้นใครอยากทำแล้วเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วก็ต้องเริ่มหาพาร์ตเนอร์ แบงก์เองก็บอกว่าสมัยก่อนเราคิดไม่เป็น 3-4 ปีที่แล้วเรายังงงๆ อยู่ แต่วันนี้ผมว่าเรามาเร็วมาก

 

ตอนนี้หายงงไหม

ผมว่างงในอนาคตว่าจะเดินไปทางไหนต่อ ต้องงงทุกวันครับ

 

งงทุกวัน (หัวเราะ)
ต้องงงทุกวัน ไม่งงไม่ได้แล้ว แต่ผมมีความมั่นใจมากขึ้น ไปดูแบงก์ในยุโรปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ROE เนี่ย 6-8 วันนี้บางแบงก์เริ่มผงกหัวขึ้นมาคิดที่ 10 กันแล้ว เราก็ไปดูว่าเขาทำอย่างไร เขาเปลี่ยนวิธีการคิด เปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่หมดนะครับ รื้อกันใหม่หมด แล้วแบงก์สามารถที่จะเปลี่ยนได้ เราก็มีความรู้สึกว่ากำลังมาใกล้ทางของเขาแล้วเหมือนกันนะ ที่ผ่านมาเราร่วมมือกับ FinTech และสร้างออกมาเป็นเงินจริงๆ แล้วด้วย

 

มีรายได้จับต้องได้แล้ว

จับต้องได้แล้วครับในการร่วมมือกับ FinTech คุณสุทธิชัยคงเห็น สมัยก่อนเวลาเราจะโอนเงินบริจาค เพื่อนไปสร้างวัดที่เดนมาร์ก โอนไปบริจาคไป 3,000 บาท ค่าโอน 500 บาท ก็เหลือ 2,500 บาท ตอนนี้โอนแป๊บเดียวผ่านมือถือ

 

ฟรีด้วย

เสียแต่ค่า Foreign Exchange ไปทางไหนก็เสีย แต่ทุกอย่างมันสามารถจัดการได้โดยร่วมมือกับ FinTech ซึ่ง FinTech เป็นพาร์ตเนอร์โผล่มาจากไหนในโลกนี้ เราก็เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันได้นะครับ แต่ก็ต้องใช้คนรุ่นใหม่ ใช้วิธีการใหม่ ไม่อย่างนั้นเด็กมันจะหงุดหงิดว่าลุงช้า เราก็ต้องเปลี่ยนตัวเราเอง ซึ่งเราได้ลองทำ พอเราเริ่มเห็นว่าคนอื่นทำได้ พอเห็นว่าเราทำรายได้สำเร็จจากการที่จะไปร่วมมือกับคนอื่น เพราะฉะนั้นเราเริ่มเปลี่ยนวิธีการคิดขององค์กร ที่ชวนคุณสุทธิชัยมานั่งตรงนี้ นี่คือออฟฟิศสมัยใหม่ของกสิกรไทยแล้ว

 

เปลี่ยนลุคแล้ว แล้วนี่ก็เป็นออฟฟิศแบบเปิดนะ นั่งมองหน้ากันได้ ที่สำคัญคือมีตัวชาร์จ

ออกซิเจนบนโลกสมัยใหม่

 

ออกซิเจนบนโลกสมัยใหม่เลยนะครับ แน่นอนเมื่อ 4-5 ปีก่อน KBank ตัดสินใจสร้าง KBTG การตัดสินใจครั้งนั้นมาถึงวันนี้ ประเมินไปแล้วถูกต้องไหม 

ถูกต้องมากครับ คือในเชิงของเศรษฐศาสตร์มันยากที่จะแบ่ง แต่ในเชิงความรู้สึกของคน ซึ่งเมื่อมองกลับไปในระดับประเทศ ทาเลนต์คือสิ่งที่สำคัญ องค์กรขนาดใหญ่อย่างนี้ก็เหมือนกัน ทาเลนต์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ลองนึกว่าถ้าแบงก์ไม่เปลี่ยน ผู้บริหารแบงก์ยังแต่งตัวเหมือนสมัยก่อน ใส่สูท ผูกไท วันนี้จริงๆ ผมมีประชุมบอร์ด ธรรมดาวันศุกร์ผมนุ่งกางเกงยีนส์ ออฟฟิศเราก็เริ่มเปลี่ยน เด็กเขาจะได้รู้สึกว่านี่คือที่ของเขา แต่อย่างที่คุณสุทธิชัยไป KBTG นะครับ 

 

ยิ่งชัดเลย

มันไม่ใส่ขาสั้นมาก็บุญแล้ว (หัวเราะ)

 

ไม่ใส่ขาสั้น ใส่เสื้อคอกลมมาก็บุญแล้ว

เพราะผมใส่แล้ว คอกลมนี่ใส่กันแล้ว แต่ใส่ขาสั้นเรารู้สึกเอ๊ะ (หัวเราะ)


แต่ว่าความเปลี่ยนแปลงมันทำให้เราต้องบริหารแบบใหม่ ทั้งตัวแบงก์เองและ KBTG ผมเคยได้ยินจากผู้บริหารของ KBTG ว่าตอนที่เราตั้งใหม่แล้วย้ายมา คุณสมบัติข้อแรกที่จะมาอยู่ที่นี่ต้องไม่ใช่ Banker ใช่ไหม ถ้าคิดแบบ Banker เหมือนเดิมมันก็ยังไม่เปลี่ยน

คือผมมีความคิดที่ต่าง ผมว่าท้ายที่สุด Banker กับ Technologist มองการทำงานด้วยกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทดลองทำเมื่อเร็วๆ นี้ เราใช้เวลาในการทำงาน 100 วันนะครับ เอาให้ทุกคนไปขังอยู่ที่เดียวกันหมดเลย แล้วเราก็ย้ายไปอยู่ที่ KBTG กัน เอาตั้งแต่เรื่อง UX, UI, Software Engineer, Business, Product Process with Management, Complaint Management

 

ทั้งหมดเนี่ยนะ

สักประมาณ 20 คนครับ ก็โยนเข้าไปแล้วให้มิชชันในการทำงาน ท้ายสุดสิ่งที่เขาส่งกลับมาแล้ววัดออกมาเป็นเงินคือบอกว่า 100 วัน เราทำ Consumer Loan บนมือถือเท่านั้นนะครับ  

 

มือถืออย่างเดียว

มือถืออย่างเดียวนะครับ เราทำไป 3,300 ล้าน เป็นการพิสูจน์ว่านี่คือการเปลี่ยนวิธีการคิด วิธีการทำงาน

 

3,300 กว่าล้านนี่คือนอกเหนือจาก…

ไม่ๆ อันนี้คือ Loan ที่ Book แต่บนมือถือนะครับ

 

บนมือถืออย่างเดียวเลยนะ

ใช่ ผมไม่ได้สนใจมากว่าได้กี่บาท แต่มันทำให้เห็นจริงๆ ว่าเราสามารถที่จะเปลี่ยนคน เปลี่ยนวิธีการออร์แกไนซ์ เปลี่ยนการจัดทีม เปลี่ยนวิธีการทำงาน เอาทุกคนมานั่งทำงานด้วยกัน แล้วมีมิชชันที่มันแคบๆ เล็กๆ 

 

ชัดเจน

ถูกต้อง เพราะเวลาทำอะไรสักที แบงก์ต้องทำใหญ่มากทุกอัน ทำโปรเจกต์กัน 18 เดือน 24 เดือน จนผู้บริหารเปลี่ยนไปแล้ว 2 คนก็ยังไม่เสร็จ ถูกไหม นี่คือแบงก์ เพราะเราทำทุกอย่างเนี้ยบมาก 

 

มีขั้นมีตอนของมัน

ใช่ครับ แต่พอมาลองทำแบบนี้ให้พนักงานเห็น ซึ่งจริงๆ ผมก็ไปเรียนรู้มาจากที่อื่น วิธีการทำงานแบบนี้ก็ประยุกต์ใช้ได้กับ Banker แต่ต้องมีความคิดว่าเราต้องเอาคนที่รู้ทั้ง Business รู้ Complaint รู้ Risk มานั่งด้วยกัน รู้ IT แล้วก็แก้ปัญหาเดี๋ยวนั้นเลย แล้วมีโจทย์ชัดเจน จะทำแก้วที่ใส่น้ำก็แล้วกัน จะทำมาเป็นแก้วหรือเปล่าไม่รู้ แล้วถ้าทำแก้วไม่สวย หน้าตาไม่เหมือนอย่างในแบบก็ไม่ขาย เดี๋ยวนี้ก็คือทำแก้วมาเล็กๆ ก่อน เป็นขรุขระก่อน ทำเป็นกระดาษ เรียนรู้ไปครับ

 

ขายได้ก็ขาย

ขายได้ก็ขาย ขายได้น้อยก่อน ถูกไหมครับ แต่อย่างน้อยที่สุดมันได้เรียนรู้ แล้วก็ปรับไปเรื่อยๆ เราทำเป็น Research 0.25 จริงๆ เราอยาก 1 นะครับ แต่ Research 0.25, 0.5, 0.75 แล้วก็ 1.0 

 

แก้ตลอดเวลา ระหว่างทางเราก็แก้ไป

ใช่ครับ

 

มันจะไม่มีจุดที่ว่า เอาล่ะ เราซ้อมเสร็จ เตรียม Launch Date เหมือนกับแต่ก่อน แต่ก่อนต้องมีวันประกาศเปิดตัวถูกต้องไหม
ถูกต้อง นั่น Banker มาก เพราะเราทำอะไรเนี้ยบ ทำอะไรต้องใหญ่ Systematic Excel ใหญ่มาก Project Plan Gantt Chart แบบเพอร์เฟกต์มาก

 

อย่างนั้นหายไปหรือยัง

ก็บอกว่าถ้าไปดูแบงก์ที่ล้ำไปแล้วนะครับ เขาไม่ได้บอกว่าทุกๆ ยูนิตสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นวิธีการทำงานแบบนี้ได้ทั้งหมด ส่วนมากคนที่อยู่ในธุรกิจหรืออยู่ในสิ่งที่มันเกี่ยวข้องกับ IT พวกนี้จะทำงานได้ เพราะวิธีการทำงานแบบที่เรียกว่าเป็น High-agility มันมาจากบริษัท IT หรือ Software Company ก่อน เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้บอกว่าทุกชิ้นสามารถที่จะเปลี่ยนใน Banking ได้นะครับ เราก็เริ่มจากสิ่งที่มันมีความเป็นไปได้มากที่สุด รู้สึกคนทำแล้วมันจับต้องได้ ก็คือเป็นเงิน เพราะ Banker นี่ถ้าไม่เห็นตัวเลขเราไม่ค่อยเชื่อ

 

ไม่ยอม

มันวัดไม่ได้ ไม่อย่างนั้นก็เหมือนกับพวก Tech Startup มาบอกว่าตอนนี้มีลูกค้าแล้ว 10 ล้านคน เราจะถามเลยว่าตกลง Return Equity เธออยู่เท่าไร เขาก็อึกอัก ถูกไหมครับ อีกอย่างหนึ่งเขาก็มองว่าทำไมลุงเชยจัง มีความเป็นไปได้ เพราะเราถ้าไม่มีรีเทิร์น เราหา Equity ไม่ถูก แต่เขายังไม่มีรีเทิร์น เขาติดลบถูกไหมครับ ส่วนมากเขาจะติดลบกัน

 

เพราะก็มีตัวอย่างว่าสตาร์ทอัพหลายแห่งในโลกที่โด่งดังมากขาดทุนตลอด แต่ความสำเร็จอยู่ที่ว่ามีคนมาซื้อเขาต่อไป

ใช่ครับ

 

ฉะนั้นเรื่องอย่างนี้ใน KBank คิดไม่ได้ใช่ไหม

ตอนนี้เราก็มีวิธีการวัด เช่น ได้ลูกค้ามากี่ราย มาแล้วแอ็กทีฟไหม แอ็กทีฟแล้วชอบไหม เพราะฉะนั้นเริ่มเปลี่ยนตัววัดซึ่งเป็น Very Leading Indicator คือล้ำก่อนหน้าที่จะ Translate นี่คือชอบไหม ติดใจไหม ใช้บ่อยไหม ก็ต้องมีมายด์เซตแบบนี้ เดี๋ยวนี้ CFO เราก็เปลี่ยนวิธีการคิดไปหมด เพราะคนเวลา Locate Resource ใช่ไหมครับ

 

CFO เป็นคนบอกว่าเงินรวมเป็นเท่าไร จะคืนเมื่อไร สำหรับ CFO จะเปลี่ยนความคิดเขาง่ายอย่างนั้นเลยเหรอ

ก็ต้องเห็นนะครับ สำหรับ CFO ทาง KBank ก็เป็นนักธุรกิจมาก่อน (หัวเราะ) โชคดี แล้วก็จะเห็นโลกนะครับ เราก็ไปจีน ไปประเทศโน้นประเทศนี้ ก็จะเห็นด้วยกัน 

 

ชวนเขาไปด้วยใช่ไหม ต้องไปสัมผัสเองเลย

ต้องเห็น คุยกับแบงก์โน้นแบงก์นี้ คุยกับ Tech Startup คุยกับเทคโนโลยีเฟิร์มที่เขาเริ่มเข้ามาทำ Financial Services แล้ว ทุกคนก็จะเห็นและมีมายด์เซตที่เข้าใจค่อนข้างตรงกัน แล้วก็พยายามจะจัดทรัพยากรของทั้งคนและเงินที่เหมาะสม แล้วก็แบ่งเป็นกลุ่มนี้คือกลุ่มที่เจ๊งได้ 50% ก็เหมือนกับ Venture Capital ไปลงทุนในปักกิ่ง ไปถามเถ้าแก่ดูนะ ปรับออฟฟิศอย่างหรูหรา ให้คนมาอยู่เท่าโน้นเท่านี้ เออ อัตราการประสบความสำเร็จของบริษัทอยู่ที่เท่าไร 30% เราก็ตกใจ ตายแล้ว 30% ถ้าเราปล่อยสินเชื่อ SMEs ไปเราก็เจ๊ง ต้องปิดแบงก์แล้วล่ะ เขาบอก อ๋อ ในสิ่งที่เขาได้เนี่ย 10% แรกเขาได้รีเทิร์นประมาณ 1,000% ใครบินได้จะบินสูงเลย แต่เขาก็มีความรู้สึกว่าแม้กระทั่งคนที่ล้ม เขาก็มองว่านี่คือคนซึ่งมีคุณค่า เพราะคิดเป็น เพียงแต่อาจจะไม่ครบ อาจจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นเขาจะปั้นต่อ ถึงแม้จะเป็นคนที่ล้มไปแล้ว 

 

ฉะนั้นความล้มเหลวไม่เป็นอุปสรรค

ไม่ใช่อุปสรรคครับ มีแต่โปรโมตให้ลอง

 

อันนี้จะยากหน่อยสำหรับวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยๆ ของเรา

ใช่ครับ แต่มันก็ง่ายนิดหนึ่ง Banker ถนัดตัวเลข แล้วบอกลองนะ 10 ล้าน ถูกไหม มันก็ไม่ได้ยาก แต่พอพูดอย่างนี้ปุ๊บคนมันจะเข้าใจ เพราะ Banker มันจะเห็น ถูกไหมครับ ทุกคน 10 ล้าน ไม่เป็นไรใช่ไหมพี่ เออ ทำๆ 

 

ไม่เป็นไรคือ 10-100 ล้านก็ยังเสียได้ ถ้ามีอนาคต

มีอนาคต ถูกไหมครับ ก็ไม่ได้จำเป็นว่าทุกอย่างจะต้องบินได้สูงทุกอัน แต่คือคนซึ่งมาลองทำแบบนี้เขาจะมีความกล้า นี่คือคนแบบที่เราหา แต่ไม่มีใครประสบความสำเร็จตั้งแต่ทำครั้งแรกหรอก ยกเว้นว่าในเคสที่ผมเล่าให้ฟัง อันนั้นคือตั้งใจ ทุกคนใส่กันไปหมด ต้องรอด ต้องได้ จริงๆ แล้วมันก็เหมือนกับสินค้าที่เราขายอยู่ปัจจุบัน แต่เราเปลี่ยนวิธีการขาย สินเชื่อเราก็ขายอยู่แล้ว เราทำให้มันดีขึ้นโดยใช้ Data มาคิด แต่ทุกอย่างเรามีกติกาว่าเราไม่ ครั้งนี้เราทำทุกอย่างผ่านทางมือถือหมด เป็นความท้าทาย เพราะโลกที่เราอยู่มันเป็นโลกดิจิทัลแล้ว เพราะฉะนั้นลองดูในเฟสต่อไปว่าจะทำให้ยากขึ้นกว่าเดิม เอาทั้ง Digital กับ Physical มารวมกัน Complication มันจะเกิดขึ้นอีก แต่คนซึ่งเรียนรู้มาแล้วมันมีประสบการณ์เยอะกว่า มันมีความรู้ มีความกล้า แล้วยอมรับในวิธีการทำงานแบบใหม่แล้ว แต่เราต้องเปิดให้เขาเล่นนะ ให้มี Creativity แล้วก็มี Innovativeness Innovative Idea ขึ้นมา ผมว่าอันนี้สำคัญมาก

 

แต่เนื่องจาก KBank เป็นองค์กรที่อยู่มายาว ก็จะมีพนักงานเก่าแก่จำนวนเกินครึ่งนะ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในยุคใหม่ การมีแบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก การที่เป็นองค์กรเก่าแก่ เป็นข้อได้เปรียบหรือข้อเสียเปรียบในการปรับตัว

ผมว่ามี 2 กลุ่ม ถ้าเป็นกลุ่มใหม่ อย่างที่เรียนคุณสุทธิชัยตอนต้น ถ้าเราไม่มี KBTG ถ้าเราไม่มีการลงทุนร่วมกับ LINE เราไม่มีการลงทุนกับ Grab กับ Central JD คนพวกนี้เป็น Out date แล้ว แต่พอเรามีอย่างนี้ออกสู่ตลาด เขาคงมีความรู้สึกว่าองค์กรนี้ล้ำ องค์กรนี้พร้อม น่าจะเหมาะสำหรับเขา แต่พอเขาเข้ามา เอ๊ะ จะเข้ามาตรงทีมไหนดีถ้าเหมือนแต่งตัวกันเหมือนเดิม อันนี้คือภายนอกนะครับ มันสะท้อนออกมาเหมือนกันนะว่า เออ เขาคงรับไม่ได้ เพราะฉะนั้นภายในเราก็ต้องเปลี่ยนต่างๆ เยอะเหมือนกันเพื่อให้เขารู้สึก เข้ามาแล้วเขาสามารถอยู่ได้ ไม่ใช่บอกว่า เออ ไปเห็นโชว์เคสออกมาว่าเริ่ม JV กับคนโน้นคนนี้ ล้ำแล้ว เริ่มไปในธุรกิจ แต่อีกกลุ่มหนึ่งก็มีความรู้สึกว่าตกลงแบงก์จะทิ้งฉันไว้ข้างหลังไหม

 

นั่นสิ

เพราะฉะนั้นในสิ่งนี้เราก็พยายามตีโจทย์นะครับ ท้ายที่สุดเรื่องใหญ่นอกจากเรื่องของวิธีการทำงาน วัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่ค่อยๆ แบ่งออกไปเรื่อยๆ อย่างวันนี้ KBTG ก็อีกพันธุ์หนึ่งแล้ว เพราะฉะนั้นคนที่เป็น Business นี่อีกพันธุ์หนึ่ง นี่คือพันธุ์ Hybrid นะครับ แล้วก็ถ้าเราไปดู ทาง HR ทำให้ผมดูมาเป็นพีระมิด คนที่พร้อมสำหรับไปใน S-Curve ที่ 2 จะบางมากนะฮะ

 

มันใหญ่มาก

ใหญ่มากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน พอเรามองความสามารถ เราจะมองแบบนี้ แต่ตอนนี้มันอย่างนี้

 

มาใหม่ แล้วข้างล่างฐานใหญ่

ใช่ครับ ซึ่งนี่คือการบอกว่าจะไต่ S2 ได้หรือไม่นะครับ ตอนนี้ใน HR ทำเรื่องใหญ่โตมากก็คือเตรียมของ ไคฟูลี (Kai-Fu Lee)  AI Super Power มันจะเห็นคนเป็น 4 แบบ อันบนพวกโซเชียล เกลียดโซเชียล แกน Y แกนขวาเป็นพวก Creativity and Complicity ของ Thinking ฝั่งซ้ายคือเอาเครื่องมาแทนได้ เพราะคนของเราอย่างเป็นเทรลเลอร์หรือนับเช็คอยู่ข้างหลังจะอยู่กลุ่มซ้ายล่าง หน้าที่ของเขาคือจะยกขึ้นไปอยู่ข้างบนได้ยังไง 

 

Retrain

Retrain Reskills นะครับ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของเขาคือรับเราเป็นธุรกิจที่อยู่ใน เรียกว่าเป็น Services Industry แล้วความเป็นไทยคือขอให้มีอะไรสักอย่างหนึ่ง ท้ายที่สุดการเปลี่ยนคนให้มี Service ไม่ยากมากนัก

 

ไม่ยากเพราะ Service Minded 

มันอยู่ข้างใน นี่คือสิ่งที่มองเป็น Positive Side วันนี้ HR ก็เลยทำให้ผมดูตอนนี้ว่ามีเท่าไร ความจริงเราทำเรื่องนี้มาประมาณ 2 ปีแล้วนะครับ แล้วก็เป็น K Device ครับ Device คือแปลว่าเครื่องมือ De-wise ฉลาดเนี่ยนะครับ ก็คือเราเอาคอนเทนต์ พาร์ตเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นเมืองนอกหรือเมืองไทย แม้กระทั่งศาสตราจารย์ดังๆ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เราทำเป็นคอนเทนต์ขึ้นมาเพื่อคนออนไลน์ วันนี้คนเข้าไปเรียนแล้ว 99% 

 

เหรอครับ

ใช้เวลา 2 ปีครับ 

 

เราบังคับไหม

ไม่บังคับ เดี๋ยวจะบังคับแล้ว (หัวเราะ) แต่ตอนนี้ได้ 99% แปลว่าอะไรครับ แปลว่าเขาคุ้นกับ Channel ในการเรียนรู้แล้ว ไม่ต้องรอ ถ้ารอเรา กลัวเราจะเปลี่ยนไม่ทัน รอให้มาเทรนที่ศูนย์ เทรนที่บางปะกงกว่าจะครบปีเนี่ย พนักงานยังไม่ครบเลย แต่ตอนนี้เราต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ จะสมมติว่าเดิมทีอย่างเราร่วมกับจุฬาฯ นะครับ หลักสูตรที่เขาทำเป็นคอนเทนต์ออนไลน์ก็มาสอน สอนแรกๆ แทนที่จะโปรโมตออนไลน์ คนก็ไม่อ่าน ตอนแรกเราก็จัดเป็นเซกชันมาทีละ 40-50 คน ออนไลน์ก็ด้วย ออฟไลน์ก็ด้วย แต่ตอนหลังอันไหนที่เป็นออฟไลน์ไปแล้ว เราก็ใส่ออนไลน์หมด แล้วคน Complete น่าจะประมาณสัก 250,000 คนประมาณนั้น 

 

โอ้ เหรอครับ

ใช่ๆ หมายถึงว่าเรามีพนักงาน 25,000 คน 2 ปีที่ผ่านมามีคนเรียนไปแล้ว 10 หลักสูตรในเครื่องมืออันใหม่ 

 

แล้วพิสูจน์อย่างไรว่าเขาเรียนแล้วได้ความรู้ที่เขาควรจะได้ 

อันนี้คือ Next Step คือคุ้นก่อน ถ้าไม่คุ้นเนี่ย 

 

Expose เขาก่อน

ต้อง Expose ให้เขามี Experience ที่ดีก่อน แล้วก็ตอนนี้จัดเป็นแคมเปญยิงเข้าไป แต่ตอนนี้ที่ทำ Next Step คุยกับทีมก็คือต้องบันทึกแล้วว่าใครสนใจวิชาไหน แล้วใครอยู่ใน Skill Level ไหน สมมติในขณะที่เราเรียกว่าเป็น Garage Model ที่เป็น Ways of doing things นะครับ เราเริ่มสกิลอัพ ตอนนี้เราเริ่มทำใน Lending ต่อไปเราเริ่มทำใน Investment ต่อไปเราเริ่มทำในเรื่องของ Insurance สมมตินะครับ หลายๆ โปรดักต์ Category เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มลากคน ดึงคนออกจากงานประจำ ในสิ่งที่เขามีสกิลเซตอันใหม่ เริ่มดึงแล้วก็ทำเป็นโปรไฟล์ของพนักงาน นี่คือ Asset ที่สำคัญของแบงก์ในกลุ่ม A ในกลุ่ม B ในกลุ่ม C ฝั่งที่เรากำลังสร้างถนนเส้นใหม่เพื่อมูฟจากโลกนี้ไปอยู่อีกโลก ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แน่นอน 

 

แต่โลกนี้จะเล็กลงเรื่อยๆ รู้ตัวไหม ให้เขารู้ตัวไหม 

ผมว่าการที่เขาเข้ามาร่วมนะครับ 99% 

 

ซึ่งชัดเจนว่าเขาตระหนักแล้วล่ะ

ใช่ๆ แล้วสมมติว่าอีกเรื่องที่เราทำนะครับ คือเรื่องจริงแล้วถ้าถาม 3 หลักนะครับ หนึ่ง เราต้องเปลี่ยนโลกที่เราเคยอยู่บนโลก Physical ให้ไปอยู่ที่ลูกค้า ซึ่งลูกค้ามีเทรนด์ออนไลน์หมด แต่ออนไลน์ก็ไม่ได้บอกว่าเราอยู่ทุกที่ เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มทำงานกับพาร์ตเนอร์ที่เป็นพาร์ตเนอร์ออนไลน์

 

ครับ คราวนี้เราคงต้องบอกว่าเราต้องตามลูกค้า เพราะลูกค้าไปอยู่บนโลกออนไลน์ Potential Partner ของออนไลน์อยู่ที่ไหน Central Department Store เขาก็มี Central ออนไลน์ ออนไลน์มากันหลายรูปแบบมากแล้ว เราก็ต้องรู้ว่าถ้าเราไปอยู่ในชีวิตลูกค้า เราจะต้องพาร์ตเนอร์กับใคร แล้วจะต้องทำตัวแบบไหน เพราะฉะนั้นก็แปลว่าต้องพัฒนาศักยภาพมาใหม่หมด ซึ่งคนเหล่านี้ที่เราจะเริ่มทยอยใส่เข้ามาในฝั่งนี้นะครับ อันที่ 2 นะครับเขาบอกว่าเราจะต้องทำ Product เช่น Payment ง่ายที่สุด เพราะทุกคนต้องการ Payment แล้วหลังจากนั้นถ้า Payment ที่เขากำลังจะจ่ายอยู่รู้ว่าคนนี้เครดิตดี เราต้องมี Analytical Power ในการบอกว่าคนนี้เราจะไฟแนนซ์ 

 

คราวนี้พอเราไปดูว่าเขาใช้บริการ คือ Payment จะง่ายสุด ทุกคนต้องการ Payment ถามว่าพอ Payment รู้ว่าใครเป็นใคร คุณสุทธิชัยซื้อตู้เย็น 100,000 บาท ดอกเบี้ย 2% เอาไหมครับ แต่ถ้าเป็นคนอื่นเราไม่เสนอ เพราะต้องมีข้างหลัง ต้องมี Engine เครื่องจักรอันหนึ่งคือเขาเรียก Analytics ที่ต้องรู้ข้อมูลว่าคนนี้คุ้มไหมที่จะให้สินเชื่อ นี่คือจาก Payment กลายไปเป็น Lending นะครับ แล้วมันต้องเรียลไทม์ มันต้องสมูทในการที่จะ On Board สองข้าง เพราะนี่คือแบงค์ นี่คือสินค้า หรือบางอันนี่คือระบบนิเวศที่เข้าไปอยู่ แล้วจะเสนอว่ากลับไปบ้านแล้วมีอย่างอื่นอีกไหม ก็ต้องรู้อีกถูกไหมครับ ต้องบอกว่านี่คือ Intelligence Marketing นี่คือ Digital Marketing อีกแล้วที่เราไป แปลว่าทั้งความรู้ทางวิธีการคิดกับพาร์ตเนอร์ ฝั่งแบงคก์เองมี Channel อยู่ไม่รู้กี่ Channel ก็ต้อง Harmonize ให้หมด แล้วก็ต้องไป Harmonize กับชาวบ้านด้วย เพราะฉะนั้นตอนนี้ถ้าอยากจะขึ้นไปอยู่บนโลกออนไลน์ก็ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้อีกต่อไป 

 

ถูกต้อง Collaboration สำคัญมาก

Collaboration นี่สำคัญมาก 

 

เพราะว่าฐานข้อมูลลูกค้าตอนนี้ เราแชร์กันหมดใช่ไหมครับ 

เราอย่าบอกว่าแชร์ คือเรื่องของ Privacy ใน Banking Industry มันก็คือเรื่องใหญ่ เพราะฉะนั้นวิธีการที่เราทำ เราทำขึ้นมาเพื่อให้มีความรู้ เรียกว่าเป็น Knowledge เพราะว่า Information คือที่มาของคำว่าความรู้ รู้ว่า Insight ของลูกค้าคนนี้เป็นยังไง อยู่ที่ไหน อันนี้คือเป็นความรู้ดีกว่า เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถที่จะเอามาบอกว่าแคร็กออกมาจนกระทั่งรู้ว่าคุณสุทธิชัยอยู่ที่ไหน ชอบอะไร อันนี้ไม่ได้ครับ เราเปิดเผยกันไม่ได้ครับ 

 

มองคู่แข่งซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เฉพาะในประเทศแล้วล่ะ ก็จะมาจากต่างประเทศด้วย ประเทศจีนทำเรื่องนี้เยอะมาก เรามองการแข่งขันจากต่างประเทศอย่างไร โดยเฉพาะจีน 

ผมมองอย่างนี้ครับ พอดีผมเองก็มี Exposture อยู่ในจีน ต้องบินไปดูบอร์ดทุกเดือน คราวนี้ไปทุกครั้งก็พยายามที่จะคุย พยายามที่จะติดตาม กลับมามองล่าสุด แรกๆ ก็กลัวนะครับ แต่ตอนหลังมีความรู้สึกว่าพวกนี้คือ Potential Partner ที่ดีมาก เพราะเขาอยู่เหนือเรา ล้ำหน้าไปกว่าเราประมาณสัก 3 ปี เพราะฉะนั้นอะไรที่เราเห็นในจีน ผมว่ามันมีโอกาสในการที่จะยกมาทำในประเทศเราได้ หรือที่ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งธนาคารเราเองก็เตรียมที่จะมี Network ใน Region ซึ่งเป็น Potential Market ในอนาคตที่จะถึง เพราะประเทศไทยอิ่มมาหลายปีเหมือนกันนะ (หัวเราะ) นิ่งมาหลายปีนะครับ ก็เลยคิดว่าน่าจะดี ตอนแรกก็ถามเขา ก็กลัวเหมือนกัน แต่ต่อให้ตัวยักษ์ใหญ่ที่มาแล้วก็ Collaborate กันได้ แล้วยิ่งคนซึ่งกำลังจะมา พวกนั้นโตเร็วมาก แล้วมันดีวันดีคืนกันทุกคน ทุกอย่างมัน Polished ขัดมันหมด ยิ่งตัวใหม่มันยิ่งเจ๋งมากเลย แล้วพอเจ๋งมากปั๊บ มาทีหลังปั๊บ เขาก็มีพี่เบิ้มอยู่แล้ว ถ้า Bid พี่เบิ้มไม่ได้ หรือหานิชมาร์เก็ตไม่ได้ก็ต้องออก เราก็เป็นพาร์ตเนอร์

 

เขามองเราเป็นพาร์ตเนอร์หรือเขามองเราเป็นคู่แข่ง เขาต้องกำจัดเราหรือเขาอยู่กับเราดีกว่า

ผมว่าถ้าตัวกลางๆ นะครับ ตัวเล็กหรือตัวกลางซึ่งมันมาใหม่อย่างที่บอก ขัดสีฉวีวรรณอย่างสวยงามนะครับ ผมว่าเขาพร้อมที่จะ Collaborate เพราะว่าตอนนี้ทุกคนอยู่ในคำว่า Collaborative Mindset ทั้งนั้นแล้ว มันเรียนรู้มาจากที่ผ่านมา ช่วงนั้นแบงก์ก็กลัวมากอย่างที่เรียนตอนต้น ถูก Disrupt โดยพวกนี้ สุดท้ายพอพวกนั้นล้มไปเยอะๆ แม้กระทั่งยักษ์ใหญ่ที่เหลืออยู่ก็ต้องต่อสู้ Investor แล้วว่าฉันจะส่งมอบกำไรให้เธอแล้ว ก็ Collaboration มันก็เลยมา พอตัวเล็กมาปั๊บ ตัวใหญ่ก็พยายามที่จะ Collaborate กันเอง ต่างคนต่างหาในพื้นที่ที่ตัวเองมีความแข็งแรงมาผสมผสานกันในการสร้าง Value ใหม่

 

ซึ่งยักษ์ใหญ่ต่างประเทศเขาจะ Collaborate กับเราต่อเมื่อเขาเห็นเรามีคุณค่าอะไรบางอย่าง อะไรคือคุณค่าของเรา 

ผมเชื่อว่าใน Local Market อะครับ ถ้าเป็นตลาดอย่างนี้ เราจะเป็นคนที่มีคุณค่าสำหรับเขาในเรื่องของ Regulation ไม่ใช่ในเรื่องของ Financial Services เป็นเรื่องของความเข้าใจตลาด ความเข้าใจของพาร์ตเนอร์ Ecosystem มันใหญ่มาก เพราะฉะนั้นการที่เรา Land อาจจะไปร่วมมือกับคนนี้ซึ่งมีพรรคพวกอยู่แล้ว 10 คน ก็แปลว่าท่านไม่ต้องสร้าง มันคือเกมเร็ว แต่ถ้าไม่ทำ บริษัทเทคโนโลยีเล็กๆ มา Land ใน 10 คนที่แข็งแรงอยู่แล้ว แป๊บเดียวขึ้นเลยนะครับ คือปลาใหญ่ปลาเล็ก ตอนนี้มันคือใครเร็ว แล้วปลาเร็วจริงๆ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องไม่กระหยิ่มยิ้มย่องใจว่าเรารู้จักตลาดนี้ดี เพราะต้องสร้าง Ecosystem อย่างรวดเร็วนะ เรียกว่าหาทางที่จะชนะด้วยการเปิด เปิดไม่ใช่สมัยก่อนอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างนั้นไม่ถูกไม่ได้ ต้องยอมถอย ต้องยอมอะไรต่างๆ กัน 

 

แล้วขั้นตอนการตัดสินใจเดี๋ยวนี้สั้นลงไหม

สั้นลงมากครับ  

 

แต่ก่อนต้องมีคณะกรรมการ มีกรรมการมากมาย เดี๋ยวนี้มันปรับโครงสร้างอย่างไร

นี่คือบอกว่ากสิกรไทย ตั้งแต่เกิดวิกฤตมานะครับ ระดับผมนี่แทบไม่ยุ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องเครดิตมาเลย เพราะว่าเราให้คนที่เป็นอาชีพ ไม่ให้มี Bias as Professional กันเลย เราก็มีหน่วยงานที่เรียกว่า Underwriter ในการอนุมัติเครดิต เราก็ปรับกันมาเรื่อยๆ แต่นั่นคือหลังจากวิกฤตเราเปลี่ยนรูปแบบใหม่หมด ก็คือคนอนุมัติ หน้าที่คืออนุมัติ จะตั้งคำถาม จะอนุมัติ จะมีเงื่อนไขยังไง จะสอบสวนอะไรต่างๆ ยังไง อันนี้ก็โชคดีมากที่มีวัฒนธรรมแบบนี้อยู่ มันคือ Delegation of Authority ไปหมดแล้ว เราคอนโทรลในเฉพาะ Policy ในการรีวิว ในการมอนิเตอร์ เช่น คนนี้ง่ายไปนิดหนึ่ง คนนี้ไม่ได้ ต้องดึงให้ตึงนิดหนึ่ง คอยดึง คอยปลด

 

ภาพรวมที่เราดู แต่ว่ารายละเอียดในลูกค้าแต่ละราย แต่ละคนก็รับผิดชอบไป

ระดับผู้จัดการแทบไม่มี ยกเว้นเรื่องใหญ่ก็ดีลกัน อันนั้นก็คือเขาไปในบอร์ด ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าเป็น Managing Director ไม่ใช่ President ก็คือในบอร์ด Discussion กันแล้ว

 

แล้ว AI จะมาแทนการตัดสินใจนี้มากน้อยแค่ไหน

ใหญ่ๆ อย่างนี้คงไม่ครับ ตอนนี้เราเริ่มจะสังเกต เมื่อกี้ที่ผมเล่าให้ฟังคือทำเป็นโรงรถขึ้นมา ก็คือใน Consumer Lending นั่นคือรายหนึ่งปล่อยประมาณ 1 แสนบาทครับ

 

อย่างนั้นใช้ AI ได้ 

แล้วต้นทุนมันจะต่ำลงอย่างมโหฬารมหาศาล สมัยก่อนให้คนไป ก็คนไม่ไป แล้วมันจะช่วยจัดการปัญหาที่ว่าทั่วโลกเขาพูดถึงเรื่อง Financial Inclusion คนจนตัวเล็กๆ ไม่ได้เงินสักที เพราะแบงค์บอกว่าถ้าฉันทำเหมือนเดิม ปล่อยให้เธอ 100 บาท ฉันก็ต้นทุนหมดไปแล้ว 10 บาท เพราะว่าแบงก์ก็ต้องเห็นเอกสารทุกอย่าง แต่นี่คือพลังของข้อมูลไง ซึ่งมันถูกแปลงมาเป็นสมการ 

 

ต้นทุนแบงก์หายไปเยอะไหม 

ต้นทุนแบงก์หายไปเยอะ แต่ตอนนี้เรายังไม่ถึงสเกลที่บอกได้ว่าเราหายไปเยอะมากกว่าเดิมเท่าไร ถ้าทดลองนะครับ บอกว่าคนก็ไม่ได้เพิ่ม ก็เอา 20 คนนั้นใส่เข้าไป เงินเดือนเท่าเดิม แต่ลองคิดมาใหม่ ถ้าบอกว่า 20 คนนั้นเท่าเดิม ลองสเกลใหญ่ ผมเชื่อว่าในอนาคตเราจะลดได้อีกเยอะ อันนี้คือสิ่งที่เห็นเป็นข้อดี ถามว่าพอเป็นอย่างนี้ปั๊บ Value ก็ถูกสร้างขึ้นมาทันทีในการลด Cost ไม่ใช่หา Revanue อย่างเดียว ต่อไปคือถ้าเกิดบอกดีจริงๆ ท้ายสุดความแข่งขันมาเยอะๆ ทุกคนก็ตามกันทันหมด อาจจะ 1-2 ปี แต่ทุกคนก็ทำเหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นการแข่งขันมันจะทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลง คนก็สามารถที่จะเข้ามาใช้บริการทางการเงินที่เป็นลักษณะแบบนี้ได้ง่ายขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ผมก็เลยมีความหวังอย่างที่เรียนตอนต้น ทั้งโลกมันจะดีขึ้น แต่กลับมาที่ยังไม่ได้ตัด เคลียร์ก็คือว่าแล้ว Governance จะจัดการ อันนี้คือ Financial Services มันยังไม่เท่าไร แต่ถ้าเกี่ยวกับ Bio Molecular Technology เทคโนโลยีเรื่อง Genome

 

ใครจะเป็นคน Regulate ใครที่จะมีความรู้พอที่จะ Regulate ด้วยใช่ไหมครับ อีกแง่หนึ่งก็คือ Cryptocurrency Libra ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ของ Facebook หรือกลุ่มที่ Facebook ไปตั้งขึ้นมาจะมีผลกระทบอย่างไร

ส่วนตัวผมชื่นชมนะครับในความพยายามที่จะคิดเป็น Another Global Currency ก็แล้วกันนะครับ หลังจากที่ Cryptocurrency อื่นๆ มันก็เฟลเรื่องของความน่าเชื่อถือ คราวนี้สุดท้ายก็ เอ๊ะ หลายๆ คนมารวมกัน มาเป็น Association มีแบ็กโดย Currency ที่มันแข็งแรง SGD, US Dollar, EU Japanese Yen มันก็เข้าท่านะ แต่กลับไปเรื่องเดิมคือ Governance คำว่า Governance เหมือนกับรูปแบบของแบงก์ชาติ เวลาเรารันประเทศนะครับ ไม่ได้บอกว่าตาม Demand Supply โดยแท้จริงถูกไหมครับ Inflation เท่านี้ คนกินอยู่ได้รอดไหม ดอกเบี้ยนโยบายจะเปลี่ยนแปลงไปไหม แล้วจะทำยังไงล่ะ สูญเสียอำนาจอธิปไตยไปเลยหรือเปล่าในการบริหารจัดการ ซึ่งก็แปลว่าถ้าผมเป็น Central Banker ผมก็คงอยากเรียนรู้ แต่ในขณะเดียวกันก็เตรียมพร้อม แต่ในขณะเดียวกันก็จะยกระดับตัวเอง ในขณะเดียวกันก็บอกว่าคงยอมยากครับ จะมีรัฐบาลไหนยอม ถูกไหม

 

พอถึงจุดหนึ่ง Central Bank อาจจะไม่สามารถบอกว่าฉันยอมหรือไม่ยอม เพราะว่ากติกาและเทคโนโลยีมันทำให้ทำโดยไม่ต้องผ่าน Regulator ได้

แต่ท้ายที่สุดมันยากครับ สมมติว่าเป็นยูนิต Value Unit นะครับ เวลาเรา Transect เล็กๆ น้อยๆ มันคงไม่มีความแตกต่างเท่าไร แต่ถ้าบอกว่าใช้ในการชำระหนี้แล้วลงบุ๊กเข้าไปใน คือวันนี้สมมติว่าเวลามีธนาคารกสิกรไทยมี Asset เป็น US Dollar กี่บาท มีหนี้เป็น US Dollar กี่บาท เป็น Euro กี่บาท เป็นอะไรต่างๆ นี่คือไม่ง่ายนะครับ อยู่ๆ มามี Digital Currency ซึ่ง Fluctuation แรงมากนะ ต่อให้เป็น Libra เนี่ย ไม่ได้เป็น Stable Coin เหมือน Central Bank Digital Currency นะ เพราะฉะนั้นแปลว่ามันเหวี่ยงแรงมาก พอเหวี่ยงแรงมากปั๊บ จะลงบัญชีเท่าไi Mark to Market บริษัทอาจจะเจ๊งไปเลยวันนั้น เพราะว่านั่นคือ The Whole System ในการทำ Governance ถูกไหมครับ จะบอก Investor ให้เธอ Investor เธอดูอย่างนี้นะ สมมติว่ากำไร 100 ปั๊บ เจอ Volatility คืออะไรนะ ความผันผวนของตัว Digital Currency อันนี้บริษัทจริงๆ แล้ว Operation ไม่ได้เจ๊งนะ จะเจ๊งทางบัญชี แล้วสมมติว่ามีหนี้เป็น Digital Currency ลงไปในบุ๊ก แล้วอยู่ๆ จะเอาเงินนี้ไปจ่าย ต้องไปเจรจากัน ไม่จ่าย รับไม่รับ รับในฐานที่เท่าไi ถามว่าถ้าในโลกที่มันใช้กันเยอะๆ ราคามันเห็นกัน แต่บางทีผมไม่รับชำระหนี้เป็น Libra ครับ สมมติว่าผมเป็นเจ้าหนี้นะ อันนี้คือความโกลาหลปั่นป่วน ซึ่งต้องคิดให้ทะลุอีก 

 

หรือมันจะมีสองโลก โลกหนึ่งยอมรับ

แต่ในโลก Physical มันมีโลกเดียวอยู่ตอนนี้ (หัวเราะ) แต่โลกทางบัญชีและการเงินมันมีสองโลก จริงๆ โลกทางบัญชีและการเงินมันมีสองลกมานานแล้ว เพราะมีเรื่องของเงินที่เราจับต้องได้ แล้วก็มีเงินที่จับต้องไม่ได้ แต่พอดีว่ามันเป็นสกุลเงินเดียวกัน บาทแลกบาทถูกไหม แล้วคนที่ Provide เช่น อาร์เจนตินา ก็เหมาะนะที่จะใช้เป็น Stable Digital Currency ไม่มี Inflation แต่ถามบอกว่าถ้า Bail Out ขึ้นมา ถ้าใช้ Currency นี้ เอ๊ะ Association นี้จะมาจ่ายเหรอ ใครเป็นคน… ถือว่าทั้งประเทศก็ล่มสลายในบัดเดี๋ยวนั้นเลย ผมว่านี่คือเก่ง ดี ควรจะคิด แต่ในขณะเดียวกัน ไอ้ Governance Structure ที่ทำให้มันช่วยได้ก็ดี แล้วล่าสุดถ้าคุณสุทธิชัยดู รัฐบาลจีนจะทำเรื่องของ Central Bank Digital Currency 1 หยวนเท่ากับ 1 Coin 

 

เป๊ะเลยใช่ไหม

ผมว่านี่คือสิ่งที่น่าเกิด ผมว่าน่าเกิด

 

เพราะว่ามันชัดเจน Stable จริง 

Stable จริง คือเวลาใช้

 

แล้วมีคนค้ำประกันด้วย

มีคนค้ำประกันด้วย ถูกต้อง แล้วที่สำคัญคือ Trace ได้หมด เงินพวกนี้ไปอยู่ที่ใคร 

 

ใช่แล้ว

สมัยก่อนเป็น Cash เนี่ย Trace ไม่ได้ แต่นี่ Trace ได้หมดเลย

 

แล้วป้องกันเรื่องฟอกเงินได้ ป้องกันอาชญากรรมต่างๆ นานาได้ด้วย 

แล้วในการจัดการเรื่องของ Money Supply มันรู้หมด เงินหมุนกี่รอบ ไปอยู่ที่ไหน อยู่กี่วัน หมุนกลับมาที่เดิมหรือยัง

 

แสดงว่าคุณพิพิธคิดว่ามันเกิด

ผมมีความเชื่อนะครับ แต่ผมก็ไม่ได้ศึกษาละเอียด เดินทางไปจีนก็ได้ยิน ได้ฟัง ได้คุย มันก็เหมือนกับหลอม

 

แต่อย่าประมาทนะ จีนพูดอะไรเนี่ย ภายในไม่ถึงปีจะเกิด

(หัวเราะ) ผมเห็นแล้ว มีคนถามบอกว่าแล้วมันจะอิมแพ็กกับประเทศไทยยังไง ผมก็ลองนั่งจินตนาการดูนะ บอกว่าวันนี้ที่โน่นใครมี Alipay Account ถูกไหม ก็ต้อง Wallet ของ Alipay Wallet ของ WeChat Pay ของ Tenpay ถูกไหมฮะ แต่ถ้ามีอันนี้ขึ้นมาครอบ พวกนั้นหายหมดเลยนะ 

 

ถูกต้อง หายไปได้นะ

กลายเป็นกระเป๋า Another Digital Currency ขึ้นมาแล้วเทียบเท่ากับ RMB ทะลุหมดเลยนะ สมมติ Next Step ต่อไปบอกว่าเข้ามาเมืองไทย เรารับ Alipay WeChat Pay Tenpay แล้วไม่รู้กี่ Pay ในประเทศจีน ต่อไปนี้เราก็บอกว่าเราตั้งเครื่องรับของ Central Bank Digital Currency ของจีน เราก็รับหยวนมาเรื่อยๆ ต่อไปกลายทุกอย่างมัน Converse กัน โลกนี้หมดเลยนะ

 

นั่นสิ

ซึ่งผมว่าท้ายสุด หยวน คำว่า Internalization ของ RMB อาจจะเกิดขึ้นจริง

 

มันเกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยี 

เขาพยายามโปรโมตมาไม่รู้เท่าไร ท้ายที่สุดอาจจะมี อันนี้ตัวเปิดประตูใหม่หรือเปล่า มันเป็นไปได้เยอะมาก

 

เป็นไปได้ แล้วก็ผมคิดว่าจินตนาการของเราเนี่ย แต่ก่อนเราคิดว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้ เดี๋ยวนี้เราจินตนาการอะไรไปแล้วเราก็บอก เฮ้ย What if ถ้ามันเกิดขึ้นจริง เราต้องเตรียมตัวยังไงแล้วใช่ไหมครับ

ใช่ รู้สึกว่าไปฟังดูแล้ว พอมานั่งคิดถึงมุมมองของเรา ท้ายที่สุดเทรดก็เยอะนะครับ สมมติว่าอันนี้เป็น People to People Business ก่อน คือคนจีน Tourist มาปั๊บเราก็รับสกุลเงิน Digital Currency ของจีน ก็ Why not แล้วเอาไปจ่ายค่าอะไรต่างๆ ได้ด้วยนะ

 

แล้วแลกมาเป็นเงินบาทก็ไม่ยากแล้ว เพราะเป็นหยวนนี่ใช่มะ

ถูกต้อง อันนี้คือน่าสนใจมาก แล้วสมัยก่อนที่บอกว่าแบงก์ชาติกับแบงก์ชาติ Large Corporate กับ Large Corporate นี่มันกลับข้างแล้ว มันเริ่มที่ Retail เลย เด็กๆ ก่อนเลย แล้วมัน Powerful นะ 

 

ทุกวันนี้เราเห็นพวกนี้ เราคิดไปข้างหน้าเยอะมากใช่ไหมครับ

ครับ

 

สรุปแล้ว Digital Transformation ของ KBank So Far So Good ใช่ไหมครับ

เอาเป็นว่าเราอยู่ Right Track and Right Direction ดีกว่า คือบอกว่าเราจะประสบความสำเร็จแล้ว Sustain ขึ้นไปได้ไหม โลกมันเปลี่ยนเร็วมาก เราก็ไม่รู้ว่าเกมต่างๆ มันคืออะไร แต่ถ้ามองแบบ European Bank ที่ผมยกตัวอย่างให้เห็น หรือ Chinese Bank ซึ่งประสบความสำเร็จในการทำ Translation ในความคิดเราไม่ได้ห่างจากเขาแล้ว แต่ในการ Execute ที่จะมูฟองค์กร 25,000 คนไปได้มันก็ต้องใช้เวลา แต่ถ้าถามว่าใน Pillar ที่สำคัญเป็น Foundation เนี่ย ผมว่าเราได้ Address ไปค่อนข้างเยอะมากแล้ว เราทำเทคโนโลยีคอมพานี ดึงทาเลนต์เข้ามา เราทดลองทำสิ่งใหม่ๆ เริ่มจับกับพาร์ตเนอร์ เราทำกับ Tech Startup ต่างๆ ขึ้นมาจนกลายเป็นเงินแล้ว แล้วตรงนี้คือเรื่องของวันนี้ Data คือเรื่องใหญ่ของเรา เราก็มีวิธีการในการจัดการ Uplift ความรู้ความสามารถในเรื่องของการจัดการ Data อย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก นี่คือคีย์ที่ทุกคนอยากจะมาทำ คือเรื่องของ Lending ใครๆ วิ่งเข้ามาเนี่ยนะ Financial Service ทุกคนจะทำ Lending หมด เราก็บอกว่าเราเปลี่ยนวิธีการทำ Lending ของเราแบบเดิมไปอยู่บนโลกดิจิทัลแล้ว นี่คือ First Step แล้วตอนนี้เรากำลังขยายโรงงาน โรงรถของเราเนี่ยออกไปอย่างรวดเร็วมาก จาก 1 จะกลายเป็น 3 จาก 3 จะกลายเป็นเรื่อยๆ ฟังซัพพลายของมนุษย์เราก็เตรียม Uplift คนแล้วนะครับ เรียนรู้กันบนออนไลน์หมดแล้วนะครับ แล้วต่อไปบอกว่าใครพร้อมเราจะ Speed up เข้ามา แล้วย้ายเข้ามาใน Track S2 S-Curve ใหม่ นี่คือสิ่งที่เราพยายามขยับให้เร็ว

 

คุณพิพิธเป็นหัวหน้าทีม เปรียบตัวเองเป็นโค้ชหรือเป็นคอนดักเตอร์ของวงออร์เคสตรา 

ผมบอกว่าผมไม่อยากเป็นผู้เล่น เพราะเป็นผู้เล่นแล้วมักจะเห็นไม่ค่อยชัดนะครับ แต่ด้วยความที่เราเคยเป็นผู้เล่นมาก่อน บางทีมันนะ

 

บางทีมันๆ ก็ลงไปเตะบอลด้วย

มันเผลอบ้าง แต่ก็คือไปฟังไปดูแล้ว หน้าที่ของคุณไม่ใช่ทำ เป็นฝรั่งมันโค้ชนะ คุณต้อง Identify ปัญหาให้ได้ คุณต้องแก้ปัญหาให้ได้ นั่นคือหน้าที่ของคุณแบบคนที่มองภาพอย่างนี้ ต้องใส่วิธีการจัดการอีกแบบหนึ่ง

 

เพราะฉะนั้นก็มองตัวเองเป็นโค้ชทีมฟุตบอล

มองตัวเป็นเป็นเนวิเกเตอร์ เป็นโค้ชดีกว่า

 

แต่เป็นคอนดักเตอร์ของวงออร์เคสตราก็พอๆ กันเนอะ

ใช่ครับ

 

ต้องให้ทุกอย่างมันไปด้วยกันหมด 
เดี๋ยวไม่เพราะ ไม่สวย 

 

ไม่เพราะ ไม่สวยใช่ไหม

ถูกต้องครับ ผมว่าอันนี้เป็นความยากของมนุษย์ซึ่งเคยทำงานแบบเป็น Professional ในแต่ละ Area มาก่อน  บางทีคนถามว่าแล้ววันนี้อยู่ตรงไหน ผมบอกผมโชคดีมากเลยนะ ผมมาเริ่มงานตั้งแต่ปี 1997 เริ่มงานไม่กี่เดือนก็แตก นั่นเดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม

 

กรกฎาคมสิ 2 กรกฎาคม อ๋อ ไม่กี่เดือนเลย

ใช่ ไม่กี่เดือนก็ไปเลย พอมาเจออีกครั้งหนึ่งที่รุนแรง แต่ก็ไม่รุนแรงมาก เหมือนปี 1997 นี่รุนแรงมาก แต่ตัวเองยังเด็กเกินไปที่จะดื่มด่ำกับไอ้ความเจ็บปวดอันนั้น มันก็เลยไม่ได้เป็นอะไรที่เป็น Asset ที่มีคุณค่ามากนัก เพราะเราไม่ได้เจ็บปวด

 

ไม่ได้อยู่ตรงกลางของพายุ

ยังเป็นเด็กอยู่

 

ต้องถามคุณปั้น อยู่ตรงกลางของพายุเลยแหละ

(หัวเราะ) มาอีกทีปี 2008 ก็โตขึ้น แต่มันเล็ก แล้วท้ายที่สุดก็คือยุคนี้แหละ แล้วก็ได้ร่วมเกี่ยวกับ Transformation Journey ของ KBank ตั้งแต่ปี 1997 แล้วมาปี 2008 ใช่ไหมครับ แล้วพอดีปี 2008 ก็ไปเริ่ม ปี 2010 ไปจีนก็ได้เริ่มเห็น แต่ไม่ได้เจ็บ

 

ไม่ได้เจ็บ แต่ว่าความรุนแรงมาก แล้วเห็นไหม คลื่นลมแรงมากเลย ขึ้นเรือเขานี่ โอ้โห มันสั่นคลอนอย่างนี้เลยใช่ไหมครับ แต่สนุกใช่ไหม

ผมว่าสนุกนะครับ สุดท้ายสิ่งที่ถามตัวเองมาโดยตลอด เพิ่งตอบคำถามให้กับตัวเอง ว่า เอ๊ะ หรือว่าองค์กรใหญ่แบบไทยๆ แบบแบงก์ที่มันแบบคอนโทรลมากๆ ระเบียบวินัยสูงมาก มันเปลี่ยนยาก ก็เลยไปถาม ไปดูแบงก์โน้นแบงก์นี้ แบงค์จีนไม่ต้องพูดถึง เพราะเขาใหม่ แล้วเขามี Ambition แรงมาก เพราะนี่คือ Nature ของคนจีน แล้วรัฐบาลชัดเจนมากว่าจะทำอะไร ไปเหมือนกันหมดเลย แล้วเขาเป็น Fascinator ที่ดีมาก พอกลับมาปั๊บ ไปดูแบงก์จีนเราก็ไม่ค่อยแน่ใจ พอสุดท้ายไปดูแบงก์ในยุโรป ซึ่งยุโรป Establish กว่าเราเยอะ โอ้โห (หัวเราะ) Banker ในยุโรป แล้วท้ายสุดเราก็เห็นว่าเขาทำอย่างไร เขาคิดอย่างไร เขา Transform กันอย่างไร เราก็เลยบอกว่าที่เราคิดมาเนี่ย ลองลงมือทำเลย ก็ได้ลองลงมือทำเหมือนที่เล่าให้คุณสุทธิชัยฟัง ก็เลยเห็นกันว่าตอนนี้ถ้าเกิดมีคนถามบอกว่ายังไง ผมว่าเรามั่นใจนะ

 

มีคำตอบให้กับตัวเองแล้ว

มีคำตอบให้กับตัวเองแล้วตอนนี้ 

 

ฉะนั้นในทุกวันที่คุณพิพิธตื่นขึ้นมาก็ยังสนุกและท้าทาย แล้วก็รู้ว่าภารกิจนี้ใหญ่หลวงนัก แต่มั่นใจ

ยังเชื่อว่าเราต้องไปทางนี้ เราถูกทาง แล้วเราก็ About The Right Time ในเวลาที่มาถึง ท้ายที่สุดผมว่า Banking คงไม่เหมือนเดิม คำว่าแบงก์คงเหมือนเดิม แต่ Banking อยู่แน่นอน

 


 

Credits

 

The Host สุทธิชัย หยุ่น

The Guest พิพิธ เอนกนิธิ 

 

Show Producers อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising