Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ต่อเนื่องจากเอพิโสดที่แล้ว อยู่กับ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับคำถามที่ค้างไว้ว่า แล้วชาติเกิดขึ้นเมื่อไร
พ่วงกับคำถามสำคัญว่าทำไมชาติจึงทรงพลัง รวมถึงแง่มุมความรู้สึก Sense of Belonging หรือความรู้สึกยึดโยงของมนุษย์ที่อาจทำให้เราไม่อาจไม่มี ‘ชาติ’
ชวนคิด ชวนถาม กับ ธงชัย วินิจจะกูล, ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
ติดตาม Shortcut ปรัชญา ในช่องทางอื่นๆ
Credits:
The Host ภาคิน นิมมานนรวงศ์, รัฐโรจน์ จิตรพนา
Show Producer นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์, พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล
Video Editor เสาวภา โตสวาท
Videographer ศักดิภัท ประพัทธวรคุณ, ธนกร ศักดิ์มณีกุล, พนาธร ไชยกุล
Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ
Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Graphic Designer พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์
Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน
Social Video Creator พฤกษา แซ่เต็ง
Proofreader ณัชชยา เมธากิตติพร
Webmaster วิศิษฏ์ นิติพัฒนาภิรักษ์
Social Media Admins สุทธกิตติ์ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์, ธัญฐรัตน์ โกมลวัฒน์, มนัสชนก แก้วพรหม
Archive Team
อ้างอิง:
- ‘ชาติ’ (nation) ไม่ใช่ ‘รัฐ’ (state) องค์ประกอบของชาติจึงอาจไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล ดินแดน ประชาชน และอำนาจอธิปไตยแบบที่ท่องจำกันมาในแบบเรียนเสมอไป
อ่าน “ชาติคืออะไร?” แปลโดย นภ ดารารัตน์ สำนักพิมพ์พารากราฟ (https://kledthai.com/9786164555228.html)
- การมีดินแดนและเส้นเขตแดนที่ชัดเจนเป็นเงื่อนไขสำคัญของการจินตนาการหน้าตาของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติ
แต่ถ้าเส้นพรมแดนของแต่ละประเทศถูกขีดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน น่าคิดว่าก่อนมีเส้นพรมแดน เรามี “ชาติ” แบบที่เรามีตอนนี้หรือไม่
ดูประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของเส้นพรมแดนทั่วโลกตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 จนถึงปัจจุบัน ได้จาก “Map: All of the World’s Borders by Age” (https://www.visualcapitalist.com/map-worlds-borders-by-age/)
- ตัวอย่างที่ดีของประเด็นเรื่องการจำและการลืมในสังคมไทย ดู “สถาปัตยกรรม จำ-ลืม | echo” https://youtu.be/6G7OgGhAM6w?si=L7Cw3ofcrXS0aptQ
- หนังสือที่ถกเถียงเรื่องจุดเริ่มต้นของชาติไทยที่รอบด้านที่สุดเล่มหนึ่งในตอนนี้คือ รวมบทความเรื่อง “เมื่อใดจึงเป็นชาติไทย” บรรณาธิการโดย ฐนพงศ์ ลือขจรชัย และ พิพัฒน์ พสุธารชาติ สำนักพิมพ์อิลลูมิเนชันส์เอดิชันส์ (https://www.illuminationseditions.com/product/35/)
และฟังเสวนาเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ได้ที่ การ Live เสวนาหนังสือ ‘เมื่อใดจึงเป็นชาติไทย’ (https://youtu.be/rRsb4pv6x5o?si=HFb8AxDM32uRG3OB)
- แนวคิดเรื่อง “พลเมืองโลก” (Global Citizen) ก่อนให้เกิดข้อถกเถียงมาก โดยเฉพาะในหมู่คนที่เชื่อในอุดมการณ์ชาตินิยม เพราะคุณค่าบางอย่างในระดับสากลอาจขัดแย้งคุณค่าในระดับชาติ
ในภาษาไทย ข้อถกเถียงเหล่านี้อาจดูได้จาก
“ถกเรื่องความเป็น “พลเมืองโลก” ความหวังและอุปสรรคของการไปสู่โลกไร้พรมแดน” (https://techsauce.co/saucy-thoughts/globalcitizen-tsgs19)
“Global Citizenship Education: เราจะสอนให้นักเรียนเป็นพลเมืองโลกได้อย่างไร” (https://thepotential.org/knowledge/global-citizenship-education/)
ในวงวิชาการภาษาอังกฤษ มีคนวิจารณ์ไว้เช่นกันว่าแนวคิด “พลเมืองโลก” มีปัญหา แต่เหตุผลอาจไม่ใช่แค่ว่ามันขัดกับอุดมการณ์ชาตินิยม ดูเพิ่มเติมได้ที่
“Challenges to Global Citizenship Education” (https://discovery.ucl.ac.uk/id/eprint/10159716/1/9781032025414c03_p62-78.pdf)
“Is Global Citizenship a Pedagogy for the Privileged?” (https://www.taylorfrancis.com/chapters/edit/10.4324/9781003241874-5/global-citizenship-pedagogy-privileged-stacey-jones-alysa-perreras)
- อ่านประวัติศาสตร์ของแนวคิดเรื่อง “รักชาติ” vs. “ชังชาติ” ในสังคมไทยโดยย่อได้ที่ “ชาตินิยม (คนรักชาติ / คนชังชาติ)” เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว (http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ชาตินิยม_(คนรักชาติ_/_คนชังชาติ))