×

โน้มน้าวใจคนฟังด้วยน้ำเสียง 8 แบบ

04.09.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

Time index

04:51 น้ำหนักของเสียง

08:09 โฟกัสของเสียง

13:35 ความกระชับของเสียง

17:17 การไหลของเสียง

20:33 แบบฝึกหัดการพูดด้วยน้ำเสียง 8 แบบ

R U OK เอพิโสดนี้ไม่ได้คุยกันเรื่องโรคหรือความป่วยทางจิตใจ แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา เพราะเชื่อหรือไม่ว่าการสื่อสารของคนเรานั้น ‘น้ำเสียง’ มีอิทธิพลต่อคนฟังอย่างมาก บางครั้งมากกว่าคำพูดด้วยซ้ำ

 

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ เลยชวน ปอนด์​ ยาคอปเซ่น มาฝึกออกเสียงทั้ง 8 แบบ ซึ่งมีผลต่อคนฟังต่างกัน เปิดฟังไปด้วย ฝึกตามไปด้วย รับรองว่าสามารถปรับใช้ในการทำงานและสื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง

 

ทฤษฎีน้ำเสียงทั้ง 8 คุณลักษณะ (Laban Effort Quality)

*กรุณากดปุ่ม Play เพื่อฟังเสียงด้านบน

 

แนวคิดหนึ่งในทฤษฎีการสื่อสารกล่าวว่า ‘คำพูด’ ที่เราใช้สื่อสารกันนั้นมีผลต่อคนฟังเพียง 7% ส่วน ‘น้ำเสียง’ มีผล 38% และ ‘ภาษาท่าทาง’ มีผล 55% แสดงให้เห็นว่า น้ำเสียงซึ่งถือเป็นอวัจนภาษา มีผลต่อการสื่อสารต่อคนฟัง ทำให้ผู้ฟังรู้สึกต่างๆ กัน

 

R U OK เอพิโสดนี้ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหว และโฮสต์ประจำรายการ มาเผยเคล็ดลับในการใช้น้ำเสียงในการสื่อสาร คนฟังที่ทำงานเกี่ยวกับการพูด ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับลูกค้า งานบริการ หรือใครก็ตามที่สนใจ สามารถปรับใช้ได้ตามแต่สถานการณ์ ฝึกฝนกันบ่อยๆ อาจทำให้การสื่อสารของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น โปรดคลิกฟังที่ปุ่ม Play ด้านบน เพื่อฝึกออกเสียง

 

  1. น้ำหนักของเสียง

มี 2 ขั้วตรงข้ามกัน คือ น้ำหนักหนัก และน้ำหนักเบา เสียงที่มีน้ำหนักหนักจะแสดงความมั่นใจ หนักแน่น แสดงว่าผู้พูดมีความมั่นใจ ยืนยันชัดเจน ส่วนน้ำหนักเบาจะใช้สื่อสารกับผู้ฟังที่มีความเปราะบางหรือต้องการความอ่อนโยน ให้น้ำเสียงเป็นเหมือนมือที่แตะอยู่บนบ่าของผู้ฟัง

 

  1. โฟกัสของเสียง

มี 2 ขั้วตรงข้ามกัน คือ น้ำเสียงพุ่งตรง และน้ำเสียงอ้อม น้ำเสียงพุ่งตรงจะเป็นเหมือนดาบเลเซอร์ที่ไม่กว้างแต่เน้นเป้าหมายชัดเจน เหมือนผู้พูดไม่ลังเลที่จะส่งสารนี้ออกไปข้างหน้า ใช้ในกรณีที่ต้องการความเด็ดขาด ส่วนน้ำเสียงอ้อม จะอ้อมโค้งก่อนที่สารจะตกไปที่ผู้รับ ถ้าโค้งเดียวจะฟังแล้วเหมือนกำลังโอบอุ้ม แต่ถ้าโค้งซิกแซ็กไปมาจะเป็นการสร้างความหฤหรรษ์ให้สิ่งที่ตัวเองพูด

 

  1. ความกระชับของเสียง

มี 2 ขั้วตรงข้ามกัน คือ น้ำเสียงกระชับ และน้ำเสียงยืดถ่วง น้ำเสียงกระชับใช้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไว แสดงการตัดสินใจที่เด็ดขาด และขณะเดียวกันก็เร้าให้ผู้ฟังคิดน้อย และตัดสินใจเร็วขึ้น ส่วนน้ำเสียงแบบยืดถ่วงนั้นใช้ในกรณีที่ต้องการให้ผู้ฟังใช้ความคิดกับเรื่องที่กำลังจะพูด เพื่อให้ฟังอย่างทะลุรอบด้าน และใช้เวลากับความคิดมากขึ้น แบบเดียวกับการเดินจงกรมหรือปฏิบัติธรรม

 

  1. การไหลของเสียง

มี 2 ขั้วตรงข้ามกัน คือ น้ำเสียงไร้การควบคุม กับน้ำเสียงควบคุม น้ำเสียงไร้การควบคุมจะทำให้รู้สึกเป็นกันเอง และสบาย ส่วนน้ำเสียงควบคุมจะมีความเกร็ง และผู้ฟังจะรู้สึกว่าผู้พูดไตร่ตรองและเป็นทางการ

 

ฟังแล้วอย่าลืมฝึกออกเสียงตามไปด้วย เพราะการพูดถือเป็นทักษะ ถ้ายิ่งฝึกมากเท่าไร ก็จะทำให้ชำนาญมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ถ้าฝึกเป็นประจำจะทำให้เราค้นพบคุณสมบัติของตัวเองที่อาจไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้

 


Credits
The Hosts ปอนด์ ยาคอปเซ่น

ดุจดาว วัฒนปกรณ์

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์
Episode Producer & Editor อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์
Proofreader ภาวิกา ขันติศรีสกุล

Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์

Music Westonemusic.com

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising
X