จากชีวิตนักเรียนไทยที่ได้ไปใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่เด็กเป็นเวลาถึง 10 ปี โบ-สาวิตรี มาเล่าให้ฟังถึงชีวิตในมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย ที่ไม่ใช่แค่เรียน แต่ยังเล่นกันจริงจัง รวมถึงประสบการณ์การเข้าไปอยู่ในสมาคมนักเรียนหญิงหรือ Sorority ที่เราอาจคุ้นเคยจากหนังฮอลลีวูด
ชีวิต Sorority ของจริงจะสวยเริ่ดเชิดหยิ่งเหมือนในหนังหรือเปล่า ไปติดตามฟังกันได้เลย
01.30
“สวัสดีค่ะ โบ-สาวิตรี สุทธิชานนท์ ค่ะ โบเคยใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกาอยู่ถึง 10 ปี และได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขต Irvine หรือ UCI ด้วยค่ะ ซึ่งมาสคอตของมหาวิทยาลัยโบคือ ตัวกินมด ค่ะ แผล่บๆๆ School prideee
สิ่งที่โบชอบที่สุดของการใช้ชีวิตในโซน Orange County คือหนึ่ง เรามีห้างดีๆ เยอะมาก สอง เรามีชายหาดใกล้ๆ ดังนั้นเวลาหยุดเรียนเราก็แค่ไปชิลล์ที่ชายหาด และที่สำคัญที่สุดคือ เรามีดิสนีย์แลนด์~! เอาอะไรอีกไหมคะ?”
02.33
“ไปตั้งแต่อายุ 12 ค่ะ”
- ก่อนหน้านี้ไปทุกซัมเมอร์ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เพราะมีญาติอยู่ที่นั่น มีไปคอร์สซัมเมอร์ อยู่บ้านก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ
- จำโมเมนต์ที่สนามบินที่หันมองคุณพ่อคุณแม่แล้วน้ำตาคลอได้ เป็นโมเมนต์ที่จำได้ว่าใจหาย แต่ก็คิดว่าไม่เป็นไรหรอก ไปเรียน ถ้าไม่ชอบก็กลับ
- มันเริ่มจากความตั้งใจว่าจะไปแค่ปีสองปี แล้วก็ต่อไปเรื่อยๆ ทั้งไฮสคูล ทั้งมหาวิทยาลัย
- ช่วงแรกที่ไปมั่นใจมาก เพราะเรียนคอร์สซัมเมอร์มา แกรมมาร์แน่น vocab เป๊ะ แต่ไปถึงแล้วเอ๋อเลย ช่วงแรกที่ไปเรียนเนี่ย lost มาก เพราะจะเจอครูไม่ได้แคร์ว่าใครจะฟังทันไม่ทัน กับเพื่อนที่พูดเป็นแต่ภาษาอังกฤษอยู่ภาษาเดียว
- สักสามเดือนถึงเริ่มคล่อง
06.00
“ตัดภาพไปช่วงมหาวิทยาลัย ขั้นตอนการเข้าเป็นอย่างไร”
- สำหรับคนที่แพลนจะไปเรียนต่อต่างประเทศ ต้องบอกว่าระบบการศึกษาเมืองนอกให้ความสำคัญกับเกรดและ involvement ของนักศึกษา ว่ามีส่วนร่วมกับกิจกรรมไหม อยู่กับคนอื่นได้หรือเปล่า มีความสามารถด้านอื่นไหม เล่นกีฬาไหม เป็นผู้นำหรือเปล่า
- เพราะมหาวิทยาลัยก็อยากผลิตคนคุณภาพ ต้องทำเรซูเม่ ต้องมี personal statement ที่เขียนเกี่ยวกับตัวเรา
- จริงๆ มหาวิทยาลัยในอเมริกาจะมีโควต้าเด็กต่างชาติ แต่ตัวโบเป็น resident เพราะอยู่ที่นี่มานาน ซึ่งจะไม่ได้โควต้านั้น
- แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะมีโควต้าของเด็กแคลิฟอร์เนีย ที่การันตีเลยว่าถ้าเป็นท็อป 4% UC ต้องรับเข้าเรียนแน่นอน
08.11
“UC คือ?”
- คือ University of California ที่อาจได้ยินกันบ่อยๆ ก็จะมี UC Berkeley, UCLA, UC Davis, UC Santa Barbara ส่วนโบไปเรียนที่ UC Irvine เป็นเหมือนโรงเรียนเครือเดียวกัน ของรัฐบาล
08.46
“ตอนแรกโบไปเรียนแบบ undecided undeclared คือไม่มีเอก ไม่มีคณะเรียน เพราะยังไม่รู้ตัวว่าเราจะทำอะไร”
- เป็นข้อดีที่โบรู้สึกว่าทำไมเมืองไทยไม่ทำแบบนี้บ้าง โบไม่ชอบใจที่เมืองไทยบังคับว่านักเรียนต้องเลือกสายวิทย์หรือสายศิลป์ตั้งแต่ ม.4 เด็กอายุเท่านี้ไม่รู้ตัวหรอกว่าอยากจะทำอะไร หรืออยากเป็นอะไร
- ปีแรกก็เป็นปีของการทดลอง โบเข้าเรียนเบสิกคลาสของทุกกรุ๊ป แล้วก็ดูว่าเราชอบอันไหน ก็เลยถูกดึงดูดเข้าไปทาง social science เอกแรกที่เลือกคือรัฐศาสตร์ แล้วโบก็โฟกัสไปที่เรื่องกฎหมาย
- เพราะตอนนั้นอยากเรียนกฎหมายต่อ ที่อเมริกามันจะไม่มีตรีกฎหมายเลย ต้องโทเท่านั้น เราก็เลือกวิชาตรีที่สามารถเตรียมตัวไปเรียน Law School ต่อได้
10.43
“ผลการเรียนเป็นอย่างไรบ้าง?”
- ปีแรก culture shock มาก จากตอนที่อยู่ไฮสคูลได้ 4.0 ตลอด แต่พอเข้ามหาลัยเทอม 1 เป็นปีแรกที่อยู่หอด้วยตัวเอง จะนอนเมื่อไหร่ก็ได้ กินเมื่อไหร่ก็ได้ จะเที่ยวเมื่อไหร่ก็ได้ ก็ได้เกรด 2.7
- ร้องไห้เป็นบ้า โทรหาแม่ เพราะชีวิตนี้ไม่เคยได้คะแนนต่ำกว่า 3.9 ร้องไห้ว่าฉันโง่เหรอ มาดูตัวเองก็พบว่าไม่ได้โง่หรอก แค่ขี้เกียจแล้วก็เพลินไปหน่อย เหมือนปีแรกเราตื่นตาตื่นใจกับสิ่งใหม่รอบตัว
- เพื่อนๆ ปีหนึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้กันหมด ที่นั่นมีผับอยู่ในแคมปัสเลยค่ะ แต่ถ้าอายุต่ำว่า 21 ก็ดื่มไม่ได้ แต่พอสักเทอม 2 เทอม 3 ก็เริ่มปรับตัวได้
- พอปี 2 ก็ได้ประมาณ 3.7 สามปีหลังค่อยมาฉุดเกรดเฉลี่ยขึ้นไปหน่อย ปีแรกช็อกมาก
12.32
“เห็นว่าชีวิตในมหาวิทยาลัยของโบสนุกมากเพราะได้เข้าสมาคม Sorority”
- มันเหมือนในหนังเรื่อง Legally Blonde น่ะ เป็นแก๊งเด็กผู้หญิง เป็นสมาคมหญิงที่เต็มไปด้วยชะนีน้อยหอยสังข์ที่รับแต่ผู้หญิง
- มันคือสมาคมหญิงที่ชื่อเป็นอักษรกรีก อย่างในหนังก็มีจะมี Delta Nu ซึ่งไม่มีจริง สมาคมของโบชื่อ Delta Delta Delta หรือ TriDelt
- ของผู้ชายเรียกว่า Fraternity
- คัลเจอร์นี้เริ่มมาจากยุคมีมหาวิทยาลัยแรกๆ
- สมาคมของโบเริ่มตั้งแต่ที่ Boston University เป็นร้อยปีมาแล้ว จริงๆ Fraternity เริ่มมีมาก่อน แล้วผู้หญิงเริ่มก่อตั้งสมาคมของผู้หญิงบ้าง
- เป้าหมายจริงๆ คือเพื่อสายสัมพันธ์ เน็ตเวิร์กกิ้ง เหมือนเป็นเน็ตเวิร์กทั่วประเทศ เพราะแต่ละสมาคมจะมีหลายที่ตามมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเรียกว่า chapter
- สมมติเวลาสมัครงาน เจอรุ่นพี่สมาคมเดียวกัน แม้จะต่างมหาวิทยาลัยกัน เขาก็จะทักทาย ให้ความสนิทสนม เหมือนสมัยนี้ที่เป็นสิงห์ดำ สิงห์แดง คนก็จะคอนเน็กต์กันด้วยวิธีแบบนี้มากกว่า
- กิจกรรมหลักๆ ในมหาวิทยาลัยคือการทำ Philanthropy หรือองค์กรสาธารณกุศลของสมาคมต่างๆ กันไป เช่นสมาคมโบจะทำให้โรงพยาบาลเด็กที่เกี่ยวกับมะเร็ง
15.30
“การอยู่ Sorority นี่ต้องอยู่ด้วยกันหรือเปล่า?”
- มีบ้านให้สมาชิกมาอยู่ด้วยกัน แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ทุกคน เพราะจะมีห้องจำกัด อยู่ได้ห้องละ 2 คน ซึ่งถ้าใครมีตำแหน่งในสมาคมก็ต้องอยู่บ้านค่ะ
- ซึ่งการอยู่สมาคมทำให้นอกจากการเรียนแล้ว ก็จะมี social event ด้วย เช่น กิจกรรมแลกเปลี่ยนกับ Fraternity สมาคมผู้ชาย หรือไปร่วมกิจกรรมการกุศลกับบ้านอื่นๆ
- การจะได้เข้ามาในบ้านก็มีระบบคัดตัว เรียกว่า recruitment ใช้เวลา 3-5 วัน แล้วแต่โรงเรียน
- การคัดจะเป็นรอบๆ แต่ละวันคนจะเหลือน้อยลง คือนอกจากคนมาสมัครจะต้องเลือกบ้านแล้ว บ้านก็เลือกคุณ ต่างคนต่างเลือก ยิ่งกว่า The Face
- สุดท้ายถ้าเข้าบ้านมาแล้วจะไม่สามารถย้ายได้ ออกแล้วออกเลย เพราะว่าเมื่อเข้ามาแล้วเราจะรู้ ritual พิธีกรรมที่เป็นความลับของบ้าน
- ตอนแรกที่สมาชิกใหม่เข้ามาจะยังไม่ได้เป็นสมาชิก แต่จะเรียกว่า new member ซึ่งยังไม่รู้พิธีกรรมของบ้าน ช่วงแรกก็จะเป็นช่วงลองใจ ว่าเมมเบอร์คนนี้เหมาะกับบ้านไหม ส่วนสมาชิกใหม่ก็ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของบ้านนี้ chapter นี้ มีหนังสือคู่มือมาให้ มีสอบด้วย
- พอผ่านทุกอย่างก็จะมีกิจกรรมที่เรียกว่า initiation แต่ละบ้านจะไม่เหมือนกัน บ้างบ้านเข้าไปทุกคนก็จะใส่ชุดดำ จุดเทียน บางบ้านก็ขาวหมด ก่อนเข้าห้องไป meeting ก็ต้องพูดพาสเวิร์ด มี secret hand shake
22.56
“แล้วอภิสิทธิ์ของการอยู่ TriDelt คืออะไร”
- มันไม่มีอภิสิทธิ์อะไรเลย มีแต่กิจกรรม อย่างบ้านโบก็จะมีกิจกรรมที่เรียกว่า Apple Polishing ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องไปเลียคุณครู เป็นงานที่ทุกคนสามารถไปเชิญโปรเฟสเซอร์มาได้ ก็แล้วแต่ว่าครูจะมาไหม แต่ส่วนใหญ่เชิญใครก็มากันทั้งนั้นเลย อาจารย์บางคนภรรยาเคยอยู่ TriDelt ก็จะมาด้วยความภาคภูมิใจ
- แต่สิทธิ์อื่นๆ ก็ไม่มีหรอก มีแต่เท่ๆ เวลาใส่เสื้อหนาวปักสัญลักษณ์ของบ้าน
- ตอนแรกโบต่อต้านการเข้า Sorority เพราะรู้สึกมันเป็นการซื้อเพื่อน
24.05
“มันจะมีสิ่งที่เรียกว่า Sorority Girl Effect ซึ่งเหมือนกับ Cheerleader Effect คือเวลาเห็นเชียร์ลีดเดอร์ยืนอยู่รวมๆ กันหลายๆ คนจะดูโคตรฮอต สวยมาก แต่พอแยกกันดูมันก็ไม่ได้สวยขนาดนั้น”
27.47
“โบเป็น officer ในนั้นด้วยใช่ไหม รู้เรื่อง Sorority เยอะมาก”
- ไม่ได้เป็นตำแหน่งหลัก แต่มีรูมเมตเป็น President เป็น VP Admin
- ส่วนโบได้เป็น Sunshine Chair เป็นคนเชียร์ พอถึงวันเกิดใครในบ้านก็ต้องทำโปสเตอร์ไป Happy Birthday สมัยนี้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กได้ แต่สมัยนั้นต้องทำโปสเตอร์ ซึ่งโบรู้สึกว่าทำหน้าที่ได้แย่มาก เพราะกิจกรรมเยอะ ไหนจะต้องเรียนอีก เลยไม่มีเวลาทำหน้าที่ Sunshine Chair
- สมาชิกบ้านโบจะภูมิใจว่ามี GPA สูงที่สุด กีฬาก็เป็นแชมป์ ละครเวทีก็มีลำดับที่ดี
- บางครอบครัวมาสมัครเข้าบ้านเป็น legacy คือแม่เป็น แล้วก็อยากให้ลูกเป็นบ้าง
- มีกฎว่าถ้ามีคนเป็น legacy ทางบ้านต้องปฏิเสธเค้าตั้งแต่วันแรก ถ้ามาถึงวันที่ 3 ต้องรับแล้ว ห้ามปฏิเสธ
- ส่วนมากบ้านจะอยากได้คนที่ well-rounded (รอบด้าน) คือลุคก็สำคัญ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะนิสัยก็มีส่วนเหมือนกัน
- แต่ละบ้านจะมีเคมีของตัวเอง พอมีคนใหม่เข้ามาคนในบ้านก็จะเซนส์ได้ว่าคนนี้เข้ากับบ้านเราได้หรือไม่
- แต่เรื่องดาร์กๆ มันก็มี บางบ้านมีทะเลาะแย่งแฟนกัน บ้านของโบก็มีทะเลาะกัน เป็นเรื่องจุกๆ จิกๆ ก็เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกัน
34.00
“ประสบการณ์ประทับใจจากการอยู่ในบ้าน”
- หนึ่งในสิ่งที่ประทับใจมากๆ เลย คือคนในบ้านจะเรียกกันว่า sisters
- ผู้หญิงหลายๆ คนอยู่บ้านเดียวกันมันก็สนุกไปอีกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้หญิงที่มีเคมีตรงกันเรา มีบุคลิกใกล้เคียงกัน มีกิจกรรมร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน
- คนจะติดภาพลักษณ์ Sorority มาจากในหนัง ซึ่งก็เว่อร์ไปนิดนึง ถ้าพูดภาษาอังกฤษก็คือ we’re not all that. คือเราก็ไม่ได้เป็นกันขนาดนั้น
34.56
“หนึ่งในโมเมนต์ที่โบประทับใจคือช่วงสอบไฟนอล ทุกคนลงมารวมตัวนั่งอ่านหนังสือกันในสภาพใส่กางเกงวอร์ม หน้าไม่แต่ง นั่งเยินๆ เน่าๆ กัน อ่านหนังสือเงียบๆ แต่แบ่งขนมกินกัน แค่นี้ก็รู้สึกประทับใจแล้ว เหมือนมีเพื่อนร่วมชะตากรรมในการสอบ”
36.48
“กิจกรรมระหว่าง Sorority กับ Fraternity”
- จะมีกิจกรรมที่เรียกว่า Serenade ที่บ้านผู้ชายจะเอาสมาชิกใหม่มาเดินไปทั่วบ้านผู้หญิงทุกบ้านเลย แล้วร้องเพลง สร้างความประทับใจ เหมือนพรีเซนต์เด็กใหม่ ว่านี่คือหนุ่มๆ ใหม่ของบ้านเรา ร้องเพลง มีดอกกุหลาบมาให้
- มีเพื่อนโบเป็นแฟนกับคนใน Fraternity ตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัย ล่าสุดแต่งงานกันแล้ว ลูกสาม
- อีกกิจกรรมที่บ้านโบทำคือ Spy VS Spy ระหว่างบ้านโบกับบ้าน Fraternity อีกบ้านหนึ่ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่โหดมาก
- จะมีโจทย์มาเลยว่า ถ้าบีบครีมโกนหนวดใส่หัวฝั่งตรงข้ามได้ ได้กี่คะแนน ถ้าเกิดว่าทำอย่างนี้ให้กี่คะแนน เอาน้ำสาดได้กี่คะแนน แล้วเล่นกันกลางแคมปัส
- สรุปว่าเละ! โบเคนกำลังเดินไปเรียนแล้วเพื่อนคนหนึ่งวิ่งมาจับล็อกเอว จับล็อกตัว อีกคนเอาครีมโกนหนวดใส่ทั่วตัว แล้วต้องไปเรียนต่อ แต่สนุก ตลกดี
41.15
“ถ้าเกิดว่ามีเด็กจะไปเรียนต่อ ป.ตรี ที่นั่น โบแนะนำไหมว่าไปเข้าบ้าน”
- แนะนำ มันเป็นโลกหนึ่งที่คนไทยอาจจะอาย เขิน ไม่กล้าไปยุ่ง มันเยอะอะ
- แต่ถ้าใครไปเรียนต่อแล้วมีโอกาสก็น่าจะลองดู ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้อง join ก็ได้แต่ลองไปดู ได้ประสบการณ์
- โบคิดว่ามันเป็นการเตรียมตัวทำงาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน เพราะที่บ้านนี่มันจะมีวันที่เป็น Formal Meeting ต้องใส่ชุดสีขาว แล้วก็ Business Meeting คือต้องใส่ชุดเหมือนไปสัมภาษณ์งาน แล้วก็มีพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับการ recruitment
- เหมือนเตรียมตัวให้เราไปพบปะกับคนที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน แล้วต้องเริ่มสนทนากับเค้า
43.32
“Sorority เปลี่ยนชีวิตโบอย่างไรบ้าง”
- ทำให้มองโลกกว้างขึ้น ไม่ตัดสินคนแค่ลุค เพราะคนมักนึกว่าสาวๆ ใน Sorority ต้องเป็นผู้หญิงโง่ๆ งงๆ
- แต่โบมีเพื่อนคนหนึ่งเหมือนตัวละคร Legally Blonde เลย ผมบลอนด์ ยาว สูง สวย มีหมาชิวาว่า ถือกระเป๋า แต่เรียนจบตรีในสามปีแล้วไปต่อ Law School ไม่ได้โง่เลย
- ส่วนการไปอยู่อเมริกาถึง 10 ปี นอกจากจะทำให้โบโตขึ้นแล้ว ยังทำให้มีอิสระมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองขึ้น กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก กล้าพูดมากขึ้น
- ประสบการณ์ 10 ปีนี้ทำให้โบเป็นคนที่มีหลายมุม well-rounded
- แล้วสิ่งสำคัญที่อเมริกาสอนโบคือเรื่อง PC ยิ่งตอนกลับมาเมืองไทยเนี่ยเห็นชัดมากเลย คือคนไทยชอบเล่นมุกเหยียดด่า “อีอ้วน” หรือ “โอ๊ย อีดำ” หรือ “โอ๊ย ปัญญาอ่อนมากเลย” โรงเรียนโบบอกว่าเราไม่ควรเล่นมุกแบบนี้นะ เพราะเราไม่รู้หรอกว่าคนเนี้ย ที่เราพูดด้วยเค้าอาจจะเป็นโรคเหล่านั้นจริงๆ ก็ได้ ซึ่งมันอาจไปกระทบเค้า อาจไปโดนปมเค้าก็ได้ อย่าไปล้อเลียนเค้า
46.57
“มันไม่มีใครรู้หรอกว่าเราเป็นใคร ไม่รู้หรอกว่าเราเนิร์ดมาจากไหน ไปค้นหาอีกมุมหนึ่งของคนเราน่ะ แล้วพูดไปเหอะ เพราะว่าคนที่ไปเรียนมหาวิทยาลัยก็ไม่รู้จักคนอื่นเหมือนกัน ฉะนั้นช่วงแรกเป็นช่วงที่เราจะสร้างมิตรภาพใหม่ๆ ออกไปคุยกับคนเยอะๆ ไปเลย”
Credits
The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี
The Guest สาวิตรี สุทธิชานนท์
Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข
Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข
นทธัญ แสงไชย
อธิษฐาน กาญจนพงศ์
ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Episode Editor นทธัญ แสงไชย
Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ
Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค
Art Director กริณ ลีราภิรมย์
Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล
Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์
Music Westonemusic.com