จากความมุ่งมั่นอยากเป็นคนข่าวที่แท้จริง หญิงไทยผู้ไม่เคยไขว้เขวกับความฝันและความถนัดของตน ดั้นด้นสู่ลอนดอนในฐานะเด็กทุน Chevening เพื่อไปพบว่าความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ตั้งเยอะ มีขนาดแค่เศษเสี้ยวของเพื่อนร่วมชั้น! และจากที่เตรียมใจไปแล้วว่าต้องเรียนโคตรหนักโคตรยาก ก็พบว่า ไอ้ที่คิดไว้ก็แค่เศษเสี้ยว (อีกแล้ว!) ของความยากมหันต์อันแท้ทรูที่รออยู่!
02.26
“สวัสดีค่ะ เอม-กานท์กลอน นะคะ สาขาที่ไปเรียนมาคือ SOAS University of London ประสบการณ์ที่เอมได้รับกลับมาแน่นอนคือความรู้ แต่นอกจากนั้นแล้วคือความอดทนค่ะ และเอมได้รู้จักตัวเองมากขึ้นผ่านเรื่องราวต่างๆ ที่เอมเจอ ถ้าอยากรู้ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ตามมาฟังกันค่ะ”
03.14
ทำไมถึงเลือกไปเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และทำไมต้องเป็นประเทศอังกฤษ
- เอมชอบเรื่องการเมืองและถนัดภาษาอังกฤษ จึงสนใจการเมืองของโลกไปด้วย
- ทำงานมาได้ 4-5 ปีก็ตัดสินใจสอบทุน เพราะไม่อยากรบกวนเงินพ่อแม่
- ทุนที่ว่าคือทุนรัฐบาลอังกฤษที่ให้เปล่า หรือเรียกว่าทุน Chevening
- มีค่าเรียน และเงินเดือนให้
04.44
ความรักในการทำข่าว ความสนใจโลกและภาษาอังกฤษของเอม ได้รับการฟูมฟักมาตั้งแต่เด็กหรือเปล่า
- เด็กๆ เอมชอบอ่านหนังสือต่างประเทศอยู่แล้ว รวมทั้งนวนิยายแปลกึ่งประวัติศาสตร์
- โดนแซวตั้งแต่เด็กว่าเป็นคนซีเรียส
06.10
มีทักษะอะไรเป็นพิเศษในการเป็นนักข่าวสายการเมือง หรือข่าวต่างประเทศบ้าง
- เอมว่าคนเราทำอะไรควรมีแพสชันและความชอบ ถ้าเราไม่มีความชอบในสิ่งนั้น มันจะกลายเป็นทรมาน ถ้าเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบชีวิตคงไม่มีความสุข
- มันต้องเริ่มจากความชอบ ถ้าเราชอบในสิ่งที่เราสนใจไปเอง
- ต้องสังเกตความเป็นไปรอบโลก
- ข่าวต่างประเทศถ้ามองให้ไกล มันก็ไกลทุกเรื่องเพราะมันเกิดขึ้นนอกประเทศเรา แต่เราต้องทำในลักษณะการให้ความรู้ และถึงแม้บางเรื่องจะไกลตัว แต่มันคือเรื่องน่ารู้
08.30
ทำไมต้องเป็นมหาวิทยาลัยนี้
- เอมเรียน University of London โรงเรียนชื่อ SOAS ดังเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการเมืองในภูมิภาคนี้
- การเรียนครั้งนี้แตกต่างจากเรียนปริญญาตรีมาก เพราะตอนนี้เราพร้อมและตกผลึกว่าเราอยากเรียนสิ่งนี้ พลังงานทั้งกายและใจเลยพร้อมจะเรียนรู้มาก
09.14
บรรยากาศในการเรียนเหมือนหรือแตกต่างจากที่เราคิด
- เอมเตรียมใจไปแล้วว่าจะต้องเครียดแต่ก็เกินกว่าที่คิดไว้อยู่ดี
- ตอนเรียนที่ไทยไม่ตั้งใจเท่าไหร่ก็ยังพอเอาตัวรอดได้ แต่ที่นู่นเป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าตัวเองไม่รู้อะไรเลย เพราะคนรอบข้างเก่ง ฉลาด และมีประสบการณ์มากกว่า
- เอมเป็นผู้หญิงคนเดียว และเป็นเอเชียคนเดียวในบางคลาส และนอกนั้นคือผู้ชายตะวันออกกลาง เยอรมัน อังกฤษ
- แรกๆ อาย และไม่กล้าเสนอความเห็นเลยทั้งๆ ที่เคยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนมาก่อน
- เอมปรับตัวด้วยการต้องขยันและอ่านหนังสือตลอดเวลา เพราะไม่ใช่สาขาที่เรียนตอนปริญญาตรี
- บรรยากาศในห้องก็ค่อนข้างจริงจัง หลังจากเรียนจบคลาสใหญ่ทุกคลาส จะมีการแยกกลุ่มไปดีเบตกันต่อ กลุ่มละประมาณ 10 คน
- ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน เริ่มจับทางได้ และเริ่มโต้เถียงกับเพื่อนร่วมห้อง
14.30
เพื่อนมีส่วนสำคัญในการเรียนไหม
- อาจจะไม่เกี่ยวโดยตรง แต่การที่ได้คุยกับเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติ จะประกอบการมองเห็นความเป็นไปของโลกได้ดีขึ้น
- เอมได้เพื่อนดีๆ เก่งๆ ทั้งคนซีเรีย อินเดีย ฯลฯ และมีภูมิหลังที่หลากหลายมาก
- เพื่อนที่ประทับใจถึงทุกวันนี้เป็นคนพม่า เขาเป็นคนเก่งและตั้งใจเรียน ทุกวันนี้ถ้าทำข่าวเกี่ยวกับอาเซียนจะปรึกษาเขาตลอด
17.07
การผ่อนคลายระหว่างการเรียน
- ลอนดอนมีของกินและสถานที่ผ่อนคลายเยอะ มีสีสัน แม้แต่ออกมานอกมหาวิทยาลัยยังมีผับ
- ลอนดอนจะมีอาหารเกาหลี ญี่ปุ่นเยอะ ส่วนอาหารอังกฤษเอมแนะนำร้านเครป ย่าน South Kensington เป็นเครปที่มีทั้งของคาวและหวาน
- ตอนอยู่เมืองไทยเอมทำอาหารไม่เป็น อาหารจานแรกที่ทำสำเร็จคือข้าวผัด
- เอมเคยลืมเปิดเครื่องดูดควันเลยทำให้สัญญาณไฟไหม้ของตึกดัง ต้องระวัง เพราะ Landlord จะซีเรียสเรื่องความปลอดภัยมาก
21.20
ไปเรียนอังกฤษจริงๆ อันตรายไหม เพราะมีเรื่องก่อการร้ายค่อนข้างบ่อย
- จริงๆ ลอนดอนก็ไม่ใช่เมืองที่ปลอดภัยตลอดเวลา เพราะเป็นเมืองใหญ่ ควรรู้ว่าย่านไหนควรเดิน ย่านไหนไม่ควรเดิน
- ลอนดอนจะแบ่งเป็นโซน โซน 1 คือในเมือง โซน 3 ที่ไกลจากตัวเมืองและเป็นที่อยู่อาศัย ค่อนข้างต้องระวังตัวเพราะไม่รู้ว่ามีมิจฉาชีพหรือเปล่า
- เคยมีเพื่อนเอมอยู่บนรถเมล์แล้วโดนวิ่งราว ซึ่งจริงๆ แล้วมันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมืองหลวงอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะระวังตัวยังไง
23.23
บางคลาสเอมเป็นผู้หญิงเอเชียคนเดียว โดนดูถูกบ้างไหม
- ไม่ถึงกับโดนดูถูกโดยตรง แต่รู้สึกเหมือนกันว่าบางครั้ง ถ้าเทียบกับผู้หญิงฝรั่งด้วยกัน เราจะดูซอฟต์กว่า
- ยิ่งพอเราไม่มั่นใจจะตอบอะไร พูดอะไรไปก็เหมือนไม่มีน้ำหนัก ซึ่งต้องใช้เวลาพิสูจน์ตัวเองและในที่สุดก็ทำได้
- จริงๆ แล้วอยู่ที่แต่ละคนด้วยว่าเรามองว่าสิ่งนั้นคือการดูถูกหรือเปล่า แต่โดยรวมแล้วมันน้อยลงมากๆ เพราะคนรุ่นใหม่ไม่คิดเรื่องนี้
26.08
นักเรียนไทยมีอะไรทำที่ลอนดอนบ้าง
- มีร้านอาหารไทย ร้านคาราโอเกะ ที่เด็กไทยจะมารวมตัวกัน
- กิจกรรมก็หลากหลาย ทั้งเล่นกีฬา มาเจอกัน เที่ยวผับ
- เอมมาเรียนที่อังกฤษในวัยที่โตแล้ว รู้สึกอยากเที่ยวน้อยลง แต่ก็มีเพื่อนคนไทยที่คอยปรับทุกข์
- เอมตั้งใจว่าจะไม่คบแต่คนไทยอย่างเดียว อยากเปิดใจคบกับเพื่อนต่างชาติ
29.05
- มีนักเรียนไทยที่ไปพบรักกันต่างแดนเยอะมาก
- เวลาเพื่อนอกหักเพื่อนจะชอบโทรมาปรึกษา เลยมองว่าการมีความรักระหว่างเรียนต่างประเทศเป็นเรื่องดี แต่การเรียนก็ต้องใช้พลังมากเหมือนกัน
- เราต้องคอยเตือนตัวเองตลอดว่ามาทำอะไรที่นี่ เอมรู้สึกว่าควรหลีกเลี่ยงดราม่าให้มากที่สุด เพราะมันกระทบกับการเรียน
“การเรียนโทที่อังกฤษเหมือนเขาปล่อยเราลงไปในมหาสมุทร แล้วเราจะว่ายน้ำท่าไหนก็ได้ คุณจะว่ายท่ากบ ฟรีสไตล์ หรือหมาตกน้ำก็แล้วแต่ แต่คุณต้องถึงฝั่งให้ได้ มันไม่มีใครบอกอะไรเลย”
34.31
เอมได้เข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาที่นั่นหรือเปล่า
- เคยจัดวิทยุของมหาวิทยาลัย
- มีการช่วยผู้ลี้ภัย นักศึกษาจัดระดมทุนหรือจัดพูดคุยวิชาการเรื่องผู้ลี้ภัย เพราะยุโรปมีปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยเข้ามาเยอะ
- การทำกิจกรรมจะเสริมเรื่องที่เรียน จะรับรู้ปัญหาจริงๆ บางเรื่องที่มีการถกเถียงและได้ฟังความเห็นจากหลายฝั่งจะเปิดโลกเรามากขึ้น
36.28
สรุปแล้วการเรียนปริญญาโทยากไหม
- เอมพูดเลยว่ายาก แต่รู้สึกคุ้มมาก
- วันแรกของมหาวิทยาลัยรู้สึกตัวเองมีต้นทุนติดลบกว่าคนอื่นไปไกลมาก แต่จากเราที่ไม่รู้อะไรแล้ววันหนึ่งที่สอบแล้วเพื่อนมาถาม หรือบางวิชาที่ไม่เคยมั่นใจแต่สุดท้ายทำคะแนนได้ดี มันสอนเราว่าสุดท้ายไม่ว่าจะทำอะไรประสบความสำเร็จแค่ไหน เอมจะนึกถึงคำว่า ความอดทน
- ความฉลาดมันไม่ได้เป็นตัวตัดสินทุกอย่าง แต่ถ้าเรามีความอดทนทำมันจริงๆ มันนำไปสู่ความฉลาดได้ มันเป็นสิ่งที่สอนชีวิตมาก พอกลับมาทำงานก็ทำให้เราอดทนมากขึ้นด้วย
39.17
- สิ่งที่ได้มาเกินความคาดหวัง ทั้งในเรื่องของความรู้ ที่กลับมาทำงานแล้วจะมีบางมุมมองที่มองได้มีมิติมากขึ้น
- การไปเรียนได้เจอนักวิชาการ อาจารย์จะส่งเสริมเวลาทำงานข่าว
- ไม่ว่าจะไปเรียนด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่เราได้เรียนรู้ชีวิตแน่นอน มันจะสอนให้เราแกร่งและจัดลำดับความสำคัญในชีวิตได้ดีขึ้น
“การเรียน 1 ปีที่นั่น ทำให้เวลาเราตัดสินใจ หรือถ้ามีปัญหาในชีวิต มันจะเป็นสัญชาตญาณว่าเราจะเรียงลำดับชีวิตตัวเองอย่างไร และตัดสิ่งไหนก่อน สิ่งนี้ทุกคนจะได้แน่นอน”
41.09
ประสบการณ์ที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด
- ประสบการณ์ที่ดีที่สุดน่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิต ที่ทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น การที่เราไปเรียนแล้วใช้ชีวิตด้วยตัวเอง เราจะได้รู้จักตัวเองผ่านกิจกรรมเหล่านั้นไปด้วย เวลาเราเจอปัญหาเราจะเห็นตัวเองว่าจะจัดการกับปัญหาอย่างไร
- ประสบการณ์ที่แย่ที่สุดคงทะเลาะกับ Landlord ทุกคนมักจะเจอปัญหานี้ เพราะลอนดอนค่อนข้างเข้มงวด บางทีน้ำหยดสองหยดก็เป็นเรื่องใหญ่ ต้องเตรียมใจตรงนี้แต่ก็ต้องผ่านมันไปให้ได้
Credits
The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี
The Guest กานท์กลอน รักธรรม
Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข
Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข
นทธัญ แสงไชย
อธิษฐาน กาญจนพงศ์
ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข
Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ
Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค
Art Director กริณ ลีราภิรมย์
Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล
Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์
Music Westonemusic.com
- ทุน Chevening เป็นทุนรัฐบาลอังกฤษที่จะมอบให้ในลักษณะของทุนการศึกษา และทุนวิจัย โดยจะมอบให้กับนักศึกษาในระดับปริญญาโทเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งสามารถเรียนมหาวิทยาลัยอะไรก็ได้ในอังกฤษ โดยให้ทั้งค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าเดินทางระหว่างประเทศ ฯลฯ
- SOAS หรือ School of Oriental and African Studies เป็นส่วนหนึ่งของ University of London มีชื่อเสียงด้านสังคมวิทยา มนุษยชน กฎหมาย ศิลปะ ฯลฯ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับทวีปเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
- ร้าน Crémerie Crêperie ย่าน South Kensington เป็นร้านเครปที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีทั้งแบบคาวและแบบหวาน เดินทางโดยการนั่ง Tube ลงสถานี South Kensington เดินไปทาง Thurloe Street และเลี้ยวเข้า Exhibition Road จะเจอร้านโดยมีผ้าใบสีเขียวเป็นจุดสังเกต