วันนี้ (26 ธันวาคม) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 เวลา 08.00-10.00 น. ตรวจวัดได้ 31.6-56.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 41.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
โดยค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 59 พื้นที่ ได้แก่
- เขตราชเทวี
- เขตสัมพันธวงศ์
- เขตพญาไท
- เขตวังทองหลาง
- เขตปทุมวัน
- เขตบางรัก
- เขตบางคอแหลม
- เขตจตุจักร
- เขตลาดกระบัง
- เขตธนบุรี
- เขตคลองสาน
- เขตบางกอกน้อย
- เขตภาษีเจริญ
- เขตบางเขน
- เขตบางพลัด
- เขตบางขุนเทียน
- เขตสาทร
- เขตคลองเตย
- เขตบางซื่อ
- เขตหลักสี่
- เขตบึงกุ่ม
- เขตสวนหลวง
- เขตลาดพร้าว
- เขตคลองสามวา
- เขตสายไหม
- เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
- เขตบางแค
- เขตดอนเมือง
- เขตดินแดง
- เขตพระโขนง
- เขตราษฎร์บูรณะ
- เขตบางกอกใหญ่
- เขตตลิ่งชัน
- เขตทวีวัฒนา
- เขตดุสิต
- เขตหนองแขม
- เขตบางบอน
- เขตทุ่งครุ
- เขตบางนา
- เขตคันนายาว
- เขตมีนบุรี
- เขตหนองจอก
- เขตประเวศ
- เขตห้วยขวาง
- เขตวัฒนา
- เขตจอมทอง
- สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร
- สวนจตุจักร เขตจตุจักร
- สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง
- สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง
- สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ
- สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย
- สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม
- สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา
- สวนหนองจอก เขตหนองจอก
- สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน
- สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด
- อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย
- สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร
สำหรับคุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ สำหรับประชาชนทั่วไปแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร, จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก หรือระคายเคืองตา
ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยงแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร, เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที
PM2.5 กับผลกระทบทางผิวหนัง
ขณะที่ นพ.ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผิวหนังเป็นอวัยวะหลักที่ต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมและมลภาวะต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ฝุ่นละอองดังกล่าวจะส่งผลต่อผิวหนัง
ด้วยข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 สามารถเข้าสู่ผิวหนังผ่านทางรูเปิดของผมหรือขนได้โดยตรง หรือสามารถเข้าสู่ผิวหนังที่อยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ (Barrier-Disrupted Skin) เช่น ผิวหนังที่เป็นโรคภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis)
นอกจากนี้ PM2.5 ยังสามารถจับตัวกับสารเคมีและโลหะต่างๆ และนำพาเข้าสู่ผิวหนัง มีผลทำร้ายเซลล์ผิวหนังโดยตรงและทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติ ทั้งในด้านกลไกการป้องกันของผิวหนังจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและการซ่อมแซมผิวหนัง กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบของเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนังหรือโรคผื่นผิวหนังอักเสบ จะมีการระคายเคืองคันมากยิ่งขึ้นและผื่นกำเริบมากขึ้นได้
ควรหลีกเลี่ยงการแกะ เกา และเสียดสี เพราะอาจทำให้เกิดผื่นได้
ส่วน พญ.จันทร์จิรา สวัสดิพงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติมว่า การสัมผัสกับฝุ่นต่อเนื่องเป็นเวลานานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผิวเสื่อมชราได้เร็วขึ้นนอกเหนือจากปัจจัยทางแสงแดดและการสูบบุหรี่ ทำให้เกิดจุดด่างดำเพิ่มมากขึ้นบริเวณใบหน้า เกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้นด้วย เนื่องจากฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อผิวหนังได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ดังนั้นการปกป้องผิวหนังให้สัมผัสกับฝุ่นดังกล่าวให้น้อยที่สุดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิมเพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้น
สำหรับการดูแลรักษาเบื้องต้นกรณีมีผื่นคันหลังการสัมผัสฝุ่น PM2.5 คือ ควรหลีกเลี่ยงการแกะ เกา การเสียดสี และการระคายเคืองต่างๆ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นผื่นมากขึ้นได้ ควรใช้สบู่อ่อนๆ ในการทำความสะอาดร่างกาย และทาครีมบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ
กรณีที่มีอาการคันสามารถกินยาแก้แพ้ที่เป็นสารต้านฮิสตามีน (Oral Antihistamine) เพื่อลดอาการได้ การซื้อยาทาสเตียรอยด์เพื่อลดผื่นหรือการอักเสบของผิวหนังควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นผื่นมากขึ้นควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
อ้างอิง:
- ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร
- กรมอุตุนิยมวิทยา
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
- กรมการแพทย์
- สถาบันโรคผิวหนัง