×

รวมเรื่องต้องรู้ในวันที่เทศกาลฝุ่น PM2.5 กลับมาเยือนอีกครั้ง

01.10.2019
  • LOADING...

สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลกลับมาเยือนชาวกรุงอีกครั้ง หลังจากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาฝุ่นละอองขนาดเล็กกระจายตัวอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย และบรรเทาลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

THE STANDARD ชวนทุกคนมารื้อความทรงจำอีกครั้งว่าฝุ่น PM2.5 นี้เกิดจากอะไร รวมถึงวิธีการหลีกเลี่ยงและป้องกันนั้นทำได้อย่างไรบ้าง

 

 

 

1. ทบทวนเรื่อง ‘ฝุ่น PM2.5’ อีกครั้ง

 

PM2.5 คือฝุ่นที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หากเทียบให้เห็นภาพคือมีขนาดเล็กเป็น 1 ใน 25 ของเส้นผมมนุษย์ แน่นอนว่า ‘ขนจมูก’ ไม่สามารถช่วยกรองได้

 

 

  • ฝุ่น PM2.5 เกิดจากอะไร

 

54% เกิดจากการเผาในที่โล่ง

17% จากโรงงานอุตสาหกรรม

13% การขนส่ง

8% การผลิตไฟฟ้า

7% ที่พักอาศัย

 

 

  • อันตรายขนาดใหญ่ที่มาพร้อมฝุ่นขนาดเล็ก

 

 

  • PM2.5 ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคมะเร็งปอด 
  • โรคหัวใจขาดเลือด 
  • โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง

 

  • ในปี 2556 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง
  • State of Global Air ได้ระบุข้อมูลในแต่ละปีว่ามีคนไทยเสียชีวิตจากฝุ่น PM2.5 ประมาณ 37,000 คน โดยรวม 50,000 คน

 

อ้างอิง: Electricity Generating Authority of Thailand, รายงานพลังงานของประเทศไทย 2549 กระทรวงพลังงาน, รายงานโครงการติดตามและประเมินสถานการณ์การเผาในที่โล่งในพื้นที่การเกษตรของประเทศไทย 2548 กรมควบคุมมลพิษ, TQM

 

 

 

2. หน้ากาก N95 หน้ากากอนามัยที่ป้องกัน PM2.5 ได้ดีที่สุด

 

หน้ากาก N95 หรือผ้าปิดจมูกชนิดกรองพิเศษ สามารถป้องกันมลพิษที่มีคุณสมบัติอนุภาคขนาดเฉลี่ย 0.3 ไมครอนได้มากกว่า 95% รวมถึง PM2.5 ด้วย

 

 

  • ใช้ซ้ำได้ไหม เปลี่ยนบ่อยแค่ไหน 

 

ควรตรวจสอบก่อนว่าหน้ากากที่ใช้อยู่เป็นแบบ ‘ใช้แล้วทิ้ง’ หรือ ‘ใส่ซ้ำได้’

 

แบบใช้แล้วทิ้ง สามารถใช้ซ้ำได้ 2-3 วัน หรือถ้ารู้สึกว่ามีฝุ่นสะสมในหน้ากากเยอะเกินไปก็ควรทิ้งทันที

แบบใส่ซ้ำได้ ควรซักหน้ากากทุกวันหรือทุกๆ 1-2 วัน และเปลี่ยนไส้กรองทุกๆ 2-3 วัน หรือถ้ารู้สึกว่ามีฝุ่นสะสมในหน้ากากเยอะเกินไปก็ควรทำความสะอาด

 

 

  • สวมหน้ากาก N95  อย่างถูกต้อง

 

  1. เปลี่ยนหน้ากากใหม่ทันทีเมื่อมีรอยเปื้อนต่างๆ หรือชื้นแฉะ
  2. ควรใช้เพียงคนเดียว ไม่ใช้ร่วมกับคนอื่น
  3. อย่าหัก พับ งอหน้ากาก เพราะทำให้เสียรูปทรงและเกิดรอยยับ ทั้งยังเป็นการลดประสิทธิภาพกรองฝุ่นละออง
  4. ล้างมือก่อนการสวมใส่และหลังการถอดออกทุกครั้ง
  5. การไอ จาม หรือพูดคุยขณะสวมใส่ผ้าปิดปากปิดจมูกชนิดกรองพิเศษอาจทำให้อากาศภายนอกรั่วเข้าไปได้

 

 

  • ใช้เสร็จแล้วควรทิ้งอย่างไร 

 

หน้ากาก N95 สามารถแพร่เชื้อโรคได้หากเราเป็นโรคที่ติดต่อได้ (กรณีที่ผู้ใช้งานป่วย) ดังนั้นทางที่ดีควรควรนำหน้ากาก N95 ที่ใช้แล้วใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น นำไปทิ้งในถังขยะทั่วไป และล้างมือทุกครั้งหลังทิ้งหน้ากาก

 

อ้างอิง: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

 

 

 

  • กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง PM2.5 อย่างเคร่งครัด

 

– ผู้ที่มีโรคประจำตัวในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก 

– ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี

 

อ้างอิง: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมมลพิษ

 

 

 

 

  • อาการแบบไหนจึงสันนิษฐานได้ว่าเริ่มป่วยเพราะ PM2.5 

 

ควรสังเกตพฤติกรรมของตนเองว่าออกเผชิญพื้นที่ที่มีฝุ่นมามากแค่ไหน หากรู้สึกว่ามีอาการไอ เจ็บคอ หายใจแล้วมีเสียงฟืดฟาด ไปจนถึงอาการเคืองตา ตาแดง หรืออาการอื่นๆ เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ให้พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นแต่ละอย่างมีวิธีการรักษาและดูแลในแบบที่ต่างกันออกไป

 

อ้างอิง: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมมลพิษ

 

 

 

  • วิธีเลี่ยงและป้องกันการเผชิญฝุ่น PM2.5 แบบง่ายๆ

 

– งดเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูง หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านเป็นเวลานาน ควรสวมหน้ากากอนามัย N95 เพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละออง

– งดการเผาในที่โล่งทุกชนิด

– หมั่นบำรุงรักษาเครื่องยนต์ไม่ให้เกิดควันดำ 

– ใช้รถสาธารณะทดแทนการใช้รถส่วนบุคคล หากพบรถสาธารณะมีควันดำให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

– ใช้ธูปที่มีขนาดเล็กหรือสั้นลงในขณะไหว้พระหรือไหว้เจ้าตามศาสนสถาน และเมื่อเสร็จพิธีการก็ควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น ช่วยลดการเพิ่มฝุ่นได้

อ้างอิง: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมมลพิษ

 

 

ภาพประกอบ: ฉัตรชัย เฉยชิต

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X